หน้าแรก I ประวัติพระพุทธเจ้า I บททำวัตรเช้า-เย็น แปลI จิตสังเขป I ตู่มือมนุษย์I การฝึกใจ l ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ I ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก I
มงคลชีวิต ๓๘ ประการ

มงคลหมู่ที่ ๑

- ไม่คบคนพาล
- คบบันฑิต
- บูชาบุคคลที่ควรบูชา

มงคลหมู่ที่ ๒

- อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
-
มีบุญวาสนามาก่อน
- ตั้งตนชอบ
มงคลหมู่ที่ ๓
- เป็นพหูสูต
-
มีศิลปะ
- มีวินัย
- มีวาจาสุภาษิต
มงคลหมู่ที่ ๔
- บำรุงบิดามารดา
-
เลี้ยงดูบุตร
- สงเคราะห์ภรรยา (สามี)
- ทำงานไม่คั่งค้าง
มงคลหมู่ที่ ๕
- บำเพ็ญทาน
-
ประพฤติธรรม
- สงเคราะห์ญาติ
- ทำงานไม่มีโทษ
มงคลหมู่ที่ ๖
- งดเว้นจากบาป
-
สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
- ไม่ประมาทในธรรม
มงคลหมู่ที่ ๗
- มีความเคารพ
-
มีความถ่อมตน
- มีความสันโดษ
- มีความกตัญญู
- ฟังธรรมตามกาล
มงคลหมู่ที่ ๘
- มีความอดทน
-
เป็นคนว่าง่าย
- เห็นสมณะ
- สนทนาธรรมตามกาล
มงคลหมู่ที่ ๙
- บำเพ็ญตบะ
-
ประพฤติพรหมจรรย์
- เห็นอริยสัจ
- ทำพระนิพพานให้แจ้ง
มงคลหมู่ที่ ๑๐

- จิตไม่หวั่นในโลกธรรม
-
จิตไม่โศก
- จิตปราศจากธุลี
- จิตเกษม

 

มงคลคาถาที่ ๓ จิตไม่เศร้าหมอง

ระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ข้อ ๕-๖
มงคลสูตรในขุททกปาฐะ

[๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล
ครั้นปฐมยามล่วงไปเทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

[๖] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล

พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า

การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

พาหุสัจจะ ๑ ศิลป ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาสิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

การบำรุงมารดา-บิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑ การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

การงดการเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

ความเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑ ความกตัญญู ๑ การฟังธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้าโศก ๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัย ในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ

จบมงคลสูตร

มงคลคาถาที่ ๓ จิตไม่เศร้าหมอง

มงคลที่ ๓๖ เรียกว่า จิตไม่เศร้าหมอง คำว่า " จิตไม่เศร้าหมอง " นี้หมายถึง จิตที่พ้นจากความโศก จิตที่พ้นจากความเศร้า จิตที่พ้นจากความแห้งใจ จิตที่พ้นจากความแห้งผากภายใน ซึ่งหมายถึงผู้ที่มีจิตเข้าสู่อริยบุคคลขั้นต้น ซึ่งเรียกกันว่า โสดา

"สัตว์ทั้งหลายแม้พญาราชสีห์ หากติดบ่วงนายพราน ก็ย่อมสิ้นกำลังและอำนาจ ได้รับแต่ความทุกข์ทรมานฉันใด คนทั้งหลายแม้มีฤทธิ์อำนาจมากเพียงใด หากติดบ่วงสิเน่หา ก็ย่อมสิ้นฤทธิ์หมดอำนาจ มีจิตโศกเต็มไปด้วยความทุกข์ทรมานฉันนั้น"

มงคลชีวิต ๓๘ ประการ


จิตโศกคืออะไร ?
คำว่า โศก มาจากภาษาบาลีว่า "โสกะ" แปลว่า "แห้ง"
จิตโศก จึงหมายถึง สภาพจิตที่แห้งผาก เหมือนดินแห้ง ใบไม้แห้ง หมดความชุ่มชื้น เนื่องจากไม่สมหวังในความรัก ทำให้มีอาการเหี่ยวแห้งหม่นไหม้ โหยหาขึ้นในใจ ใจซึมเซาไม่อยากรับรู้อารมณ์อื่นใด ไม่อยากทำการงาน "เปมโต ชายเต โสโก" ความโศกเกิดจากความรัก
(พุทธพจน์)

จะเป็นรักคน สัตว์ หรือสิ่งของก็ทำให้เกิดความโศกได้ทั้งนั้น แต่ที่หนักก็มักจะเป็นเรื่องรักคน โดยเฉพาะความรักของชายหนุ่มหญิงสาว
ปกติใจของคนเราซนเหมือนลิง ชอบคิดโน่นคิดนี่ รับอารมณ์อย่างโน้นอย่างนี้ เดี๋ยวจะฟังเพลงเพราะๆ เดี๋ยวไม่เอาอีกแล้วกินขนมดีกว่า กินอิ่มแล้ว ไม่เอานอนดีกว่า เดี๋ยวเที่ยวดีกว่า เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่อยู่ในอารมณ์ใดนานๆ

แต่แปลก พอใจของเราไปเจออารมณ์รักเข้าเท่านั้นแหละ มันไม่เปลี่ยน ติดหนับเลยเหมือนลิงติดตัง
พูดถึงลิงติดตัง บางท่านอาจไม่เข้าใจ ตังก็คือ ยางไม้ที่เขาเอาไปเคี่ยวจนเหนียวหนับ แล้วเอาไปป้ายไว้ตามต้นไม้ ตามที่ต่างๆ ไว้ดักนก ดักสัตว์เวลาสัตว์มาเกาะติดเข้าจะดิ้นไม่หลุด
ลิงเวลามาเจอตังเข้า มันจะใช้ขาข้างหนึ่งแหย่ดูตามประสาซน พอติดหนับดึงไม่ขึ้น ก็จะใช้ขาอีกข้างจะมาช่วยยัน ขาข้างนั้นก็ติดตังหนับเข้าอีกจะใช้ขาอีก ๒ ข้างมาช่วย ก็ติดตังหมดทั้ง ๔ ขา ใช้ปากช่วยดันปากก็ติดตังอีก ตกลงทั้ง ๔ ขาและปากติดตังแน่นอยู่อย่างนั้น ดิ้นไม่หลุดรอให้คนมาจับไป นี่ลิงติดตัง

คนเราก็เหมือนกัน ลงได้รักละก็ หนุ่มรักสาว สาวรักหนุ่มก็ตามทีแรกก็บอกว่าจีบไปอย่างนั้นเอง พักเดียวถอนตัวไม่ออก ร้อง "ไม่เห็นหน้าเจ้า กินข้าวบ่ลงกันเชียวล่ะ"

คำว่าเสน่ห์ ในภาษาไทยเราแปลว่า ความน่ารัก แต่คำคำนี้มาจากภาษาบาลีว่าสิเนหะ แปลว่า ยางเหนียว ตรงตัวเลย ถ้าใครมาบอกเราว่าแม่คนนั้นเสน่ห์แรงจัง ให้รู้ตัวไว้เลยว่าแม่นั่นน่ะยางเหนียวหนับเลย อย่าไปเข้าใกล้นะ เดี๋ยวติดยางเหนียวเข้าเป็นลิงติดตัง แล้วจะดิ้นไม่หลุด

ตอนรักเขายังไม่เท่าไร แต่ว่า รักเขาแล้วเขาไม่รักเราสิ หรือเมื่อความรักกลายเป็นอื่นเข้า หรือเขาตายจากเราไปก็ตาม ใจมันจะแห้งผากขึ้นมาทีเดียว แต่ก่อนเคยชอบรับอารมณ์อย่างนั้นอย่างนี้ พอถึงตอนนี้ใครจะมาร้องเพลงให้ฟังก็รำคาญ จะชวนไปเที่ยวดูหนัง ก็รำคาญ จะร้องจะรำจะเล่นอะไร รำคาญไปหมด ข้าวยังไม่อยากจะกิน ใจมันแห้งผาก ซึมเซารับอารมณ์ไม่ไหว คือ อาการที่เรียกว่า จิตโศก

บางคนอาจนึกว่าก็แล้วถ้าความรักสมหวัง ก็คงไม่เป็นไร จิตไม่โศกละซี แต่ในความเป็นจริงน่ะมันเป็นไปไม่ได้ เพราะเราก็รู้อยู่แล้วว่าทุกอย่างในโลกนี้ล้วนตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์มันไม่เที่ยงต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แตกดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ลงว่าใครได้รักอะไรเข้าละก็ ไม่ว่าจะเป็นคนสัตว์หรือสิ่งของ ก็ให้เตรียมตัวโศกเอาไว้ได้ ถ้ารักมากก็โศกมาก รักน้อยก็โศกน้อย รักหลายๆ อย่างก็โศกถี่หน่อยนี่เป็นอย่างนี้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเตือนสติไว้ว่า
"ผู้ใดมีความรัก ถึง ๑๐๐ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๑๐๐
ผู้ใดมีความรัก ถึง ๙๐ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๙๐
ผู้ใดมีความรัก ถึง ๘๐ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๘๐
ผู้ใดมีความรัก ถึง ๔๐ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๔๐
ผู้ใดมีความรัก ถึง ๒๐ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๒๐
ผู้ใดมีความรัก ถึง ๑๐ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๑๐
ผู้ใดมีความรัก ถึง ๕ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๕
ผู้ใดมีความรัก ถึง ๔ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๔
ผู้ใดมีความรัก ถึง ๓ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๓
ผู้ใดมีความรัก ถึง ๒ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๒
ผู้ใดมีความรัก ถึง ๑ ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึง ๑

"ผู้ใดไม่มีสิ่งอันเป็นที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีความทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นไม่มีความเศร้าโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่มีอุปายาส คือ ความตรอมใจ ควมกลุ้มใจ" โบราณ ท่านสรุปเป็นข้อเตือนใจไว้ว่า "มากรักก็มากน้ำตา หมดรักก็หมดน้ำตา มากรักก็มากทุกข์ หมดรักก็หมดทุกข์"

ข้อควรปฏิบัต
ผู้ที่ทำพระนิพพานให้แจ้งแล้ว ขณะที่ใจท่านจรดอยู่ในพระนิพพาน ความรักเข้าไปรบกวนท่านไม่ได้ ตัดรักได้ ใจท่านจึงไม่แห้ง ไม่มีโศก ดังพุทธพจน์ที่ว่า "เมื่อไม่มีรักแล้ว ความโศกก็ไม่มี ความกลัวก็ไม่มี" พวกเราปุถุชนทั่วไป แม้ยังไม่สามารถตัดรักได้เด็ดขาดแต่ถ้าหมั่นทำสมาธิ เจริญมรณานุสติเป็นประจำ ก็จะทำให้ความรักมามีอิทธิพลเหนือใจเราไม่ได้มาก มีสติดี ถึงคราวเด็ดเดี่ยว ก็จะมีจิตโศกน้อยกว่าคนทั่วไป อาการไม่หนักหนาสาหัสนัก เพราะนึกถึงความตายแล้วทำให้ใจคลายออกจากรักซึ่งเป็นต้นทางของความโศก พอคิดว่าเราเองก็ต้องตาย จะตายเมื่อไรก็ไม่รู้ เท่านี้ก็เริ่มจะได้คิด ความโศกความรักเริ่มหมดไปจากใจ

มีสติมาพิจารณาตนเอง ไม่ประมาท ขวนขวายในการสร้างความดี แล้วที่สุดตั้งใจเจริญสมาธิภาวนาเต็มที่ก็จะสามารถทำพระนิพพานให้แจ้งได้ และตัดความรัก ตัดความโศกออกจากใจได้อย่างเด็ดขาดในที่สุด

ข้อเตือนใจ

"ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ อันมากมายหลายอย่างนี้มีอยู่ในโลก ก็เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก เมื่อไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ เหล่านี้ย่อมไม่มี ผู้ใดไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหนๆ ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีความสุข ปราศจากความโศก เพราะเหตุนั้น ผู้ใดปรารถนาความไม่โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลีแล้ว ไม่พึงทำสัตว์หรือสังขารใดในโลกไหนๆ ให้เป็นที่รักเลย"


(พุทธโอวาท)

จบมงคลคาถาที่ ๓๖ จิตไม่เศร้าหมอง

อ่านหน้าต่อไป>

หน้าแรก I ประวัติพระพุทธเจ้า I บททำวัตรเช้า-เย็น แปลI จิตสังเขป I ตู่มือมนุษย์I การฝึกใจ l ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ I ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก I

Non Copyright 2002. Buddhamamaka Home Page. All Rights Reserved. Comment or suggestion : [email protected]

 

Hosted by www.Geocities.ws

1