หน้าแรก I ประวัติพระพุทธเจ้า I บททำวัตรเช้า-เย็น แปลI จิตสังเขป I ตู่มือมนุษย์I การฝึกใจ l ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ I ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก I
มงคลชีวิต ๓๘ ประการ

มงคลหมู่ที่ ๑

- ไม่คบคนพาล
- คบบันฑิต
- บูชาบุคคลที่ควรบูชา

มงคลหมู่ที่ ๒

- อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
-
มีบุญวาสนามาก่อน
- ตั้งตนชอบ
มงคลหมู่ที่ ๓
- เป็นพหูสูต
-
มีศิลปะ
- มีวินัย
- มีวาจาสุภาษิต
มงคลหมู่ที่ ๔
- บำรุงบิดามารดา
-
เลี้ยงดูบุตร
- สงเคราะห์ภรรยา (สามี)
- ทำงานไม่คั่งค้าง
มงคลหมู่ที่ ๕
- บำเพ็ญทาน
-
ประพฤติธรรม
- สงเคราะห์ญาติ
- ทำงานไม่มีโทษ
มงคลหมู่ที่ ๖
- งดเว้นจากบาป
-
สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
- ไม่ประมาทในธรรม
มงคลหมู่ที่ ๗
- มีความเคารพ
-
มีความถ่อมตน
- มีความสันโดษ
- มีความกตัญญู
- ฟังธรรมตามกาล
มงคลหมู่ที่ ๘
- มีความอดทน
-
เป็นคนว่าง่าย
- เห็นสมณะ
- สนทนาธรรมตามกาล
มงคลหมู่ที่ ๙
- บำเพ็ญตบะ
-
ประพฤติพรหมจรรย์
- เห็นอริยสัจ
- ทำพระนิพพานให้แจ้ง
มงคลหมู่ที่ ๑๐

- จิตไม่หวั่นในโลกธรรม
-
จิตไม่โศก
- จิตปราศจากธุลี
- จิตเกษม

 

มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต

มงคลข้อที่ ๑๐ เรียกว่า เป็นผู้มีวาจาภาษิต คำว่า "วาจาภาษิต" ในที่นี้ หมายถึง วาจา ซึ่ง ประกอบด้วยองค์ ๕ ที่เรียกว่า วาจาภาษิต คือ

๑ พูดตามกาละ

๒ พูดแต่วาจาสัจจริง

๓ พูดด้วยความอ่อนหวาน

๔ พูดวาจาที่ประกอบไปด้วยประโยชน์

ประการที่ ๕ การพูดนั้น พูดด้วยเมตตาจิต ไม่ใช่เล่ห์เลี่ยมอะไรทั้งหมด จึงจะเรียกว่า เป็นวาจาภาษิต คำพูดใดๆ ประกอบด้วยองค์ ๕ แล้ว เรียกว่า วาจาภาษิต อันเป็นมงคลในพระพุทธศาสนา

"ปลามีชีวิตยืนยาวอยู่ได้ก็เพราะอาศัยปากเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็เพราะปากนั่นเอง ปลาจึงต้องติดเบ็ดเสียชีวิตโดยง่าย
เช่นกัน คนเราจะประสบความสำเร็จได้รับความเจริญก้าวหน้าในชวิต
ก็เพราะอาศัยวาจาสุภาษิตจากปาก
แต่ก็เพราะวาจาทุพภาษิตจากปากเพียงคำเดียวบางครั้งแม้แต่ชีวิตก็ยากจะรักษาไว้ได้"


วาจาสุภาษิตคืออะไร ?
วาจาสุภาษิต หมายถึง คำพูดที่ผู้พูดได้กลั่นกรองไว้ดีแล้ว
มิใช่สักแต่พูดอวัยวะในร่างกายของคนเรานี้ก็แปลก
ตา มีหน้าที่ดูอย่างเดียว ธรรมชาติให้มา ๒ ตา
หู มีหน้าที่ ฟังอย่างเดียว ธรรมชาติให้มา ๒ หู
จมูก มีหน้าที่ดมกลิ่นอย่างเดียว ธรรมชาติให้มา ๒ รู
แต่ปาก มีหน้าที่ถึง ๒ อย่าง คือทั้งกินและพูด ธรรมชาติกลับให้มาเพียงปากเดียว แสดงว่าธรรมชาติต้องการให้คนดูให้มาก ฟังให้มากแต่พูดให้น้อย ๆ ให้มีสติคอยระมัดระวังปากจะกินก็กินให้พอเหมาะ จะพูดก็พูดให้พอดี
ลักษณะคำพูดที่พอเหมาะพอดี เป็นคุณทั้งแก่ตัวผู้พูดและผู้ฟังเรียกว่า

วาจาสุภาษิต

องค์ประกอบของวาจาสุภาษิต

๑.ต้องเป็นคำจริง ไม่ใช่คำพูดที่ปั้นแต่งขึ้นไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่บิดเบือนจากความจริง ไม่เสริมความ ไม่อำความต้องเป็นเรื่องจริง จริง จริง

๒.ต้องเป็นคำสุภาพ เป็นคำพูดไพเราะที่กลั่นออกมาจากน้ำใจที่บริสุทธิ์
ไม่เป็นคำหยาบ คำด่า คำประชดประชัน คำเสียดสี คำหยาบนั้นฟังก็ระคายหู แค่คิดถึงก็ระคายใจ

 

๓.พูดแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ เกิดผลดีทั้งแก่คนพูดและคนฟังถึงแม้คำพูดนั้นจะจริงและเป็นคำสุภาพ
แต่ถ้าพูดแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไรกลับจะทำให้เกิดโทษ ก็ไม่ควรพูด

๔.พูดไปด้วยจิตเมตตา พูดด้วยความปรารถนาดี อยากให้คนฟังมีความสุข
มีความเจริญยิ่ง ๆขึ้นไป ในข้อนี้หมายถึงว่า แม้จะพูดจริง เป็นคำสุภาพ พูดแล้วเกิดประโยชน์
แต่ถ้าจิตยังคิดโกรธ มีความริษยาก็ยังไม่สมควรพูด

๕.พูดถูกกาลเทศะ แม้ใช้คำพูดที่ดี เป็นคำจริง เป็นคำสุภาพเป็นคำพูดที่มีประโยชน์
และพูดด้วยจิตที่เมตตา

แต่ถ้าผิดจังหวะไม่ถูกกาลเทศะผู้ฟังยังไม่พร้อมที่จะรับแล้ว จะก่อให้เกิดผลเสียได้เช่น
จะกลายเป็นประจานกันหรือจับผิดไป

-พูดถูกเวลา (กาล) คือ รู้ว่าเวลาไหนควรพูด เวลาไหนยังไม่ควรพูด ควรพูดนานเท่าไร ต้องคาดผลที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย

-พูดถูกสถานที่ (เทศะ) คือ รู้ว่าในสถานที่เช่นไร เหตุการณ์แวดล้อมเช่นไร จึงควรที่จะพูด
หากพูดออกไปแล้วจะมีผลดีหรือผลเสียอย่างไร

เช่น มีความหวังดีอยากเตือนเพื่อนไม่ให้ดื่มเหล้า แต่ไม่เตือนขณะที่กำลังมาอยู่อย่างนี้นอกจากเขาจะไม่ฟังแล้ว เราเองอาจเจ็บตัวได้ "คนฉลาดไม่ใช่เป็นแต่พูดเท่านั้น ต้องนิ่งเป็นด้วย" "คนที่พูดเป็นนั้น ต้องรู้ในสิ่งที่ไม่ควรพูดให้ยิ่งกว่าสิ่งที่ควรพูด"

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการพูด
ลักษณะของทูตที่ดี (ทูตสันติ)
๑.ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ด่วนปฏิเสธ
๒.เมื่อถึงคราวพูด ก็สามารถทำให้ผู้อื่นฟัง
๓.รู้จักกำหนดขอบเขตของการพูดให้กะทัดรัด
๔.จำเนื้อความทั้งหมดที่จะพูด
๕.เข้าใจเนื้อความทั้งหมดโดยละเอียดตามความเป็นจริง
๖.ทำให้ผู้อื่นเข้าใจตามได้
๗.ฉลาดในการพูดที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
๘.ไม่ก่อการทะเลาะวิวาท


"ผู้ใด เข้าไปสู่บริษัทที่พูดคำหยาบคาย ก็ไม่สะทกสะท้าน
ไม่ยังคำพูดให้เสีย ไม่ปกปิดข่าวสาร พูดจนหมดความสงสัย และเมื่อถูกถามก็ไม่โกรธผู้นั้นย่อมควรทำหน้าที่ทูต"

(วินัย จุลวรร 7/201)

โทษของการด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์
ผู้ด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ คือ พระสงฆ์ และผู้ปฏิบัติธรรมติเตียน พระอริยเจ้า
จะประสบควมฉิบหาย ๑๑ ประการ ต่อไปนี้
๑.ไม่บรรลุธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ
๒.เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว
๓.สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว
๔.เป็นผู้หลงเข้าใจว่าได้บรรลุสัทธรรม
๕.เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
๖.ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง
๗.บอกลาสิกขา คือ สึกไปเป็นฆราวาส
๘.เป็นโรคอย่างหนัก
๙.ย่อมถึงความเป็นบ้า คือ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต
๑๐.เป็นผู้หลงไหลทำกาละ คือ ฆ่าตัวตาย
๑๑.เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติวินิบาต

ถ้อยคำที่ไม่ควรเชื่อถือ
๑.คำกล่าวพรรณนาคุณ ศรัทธา ของบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา
๒.คำกล่าวพรรณนาคุณ ศีล ของบุคคลผู้ทุศีล
๓.คำกล่าวพรรณนาคุณ พาหุสัจจะ ของบุคคลผู้ไม่สดับ
๔.คำกล่าวพรรณนาคุณ จาคะ ของบุคคลผู้ตระหนี่
๕.คำกล่าวพรรณนาคุณ ปัญญา ของบุคคลผู้โง่
ทั้ง ๕ ประการจัดเป็นคำซึ่งไม่ควรฟัง ไม่ควรเชื่อ

ลักษณะเสียงที่สมบูรณ์ของมหาบุรุษ
๑.แจ่มใส ไม่แหบเครือ
๒.ชัดเจน ชัดถ้อยชัดคำ ไม่ติดขัด
๓.ไพเราะ อ่อนหวาน
๔.เสนาะโสต
๕.กลมกล่อม หยดย้อย
๖.ไม่แตก ไม่พร่า
๗.ซึ้ง
๘.มีกังวาน

อานิสงส์การมีวาจาสุภาษิต
๑.เป็นคนมีเสน่ห์ เป็นที่รักของชนทุกชั้น
๒.มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม
๓.มีวาจาสิทธิ์ ได้รับความสำเร็จในสิ่งที่เจรจา
๔.ย่อมได้ยินได้ฟังแต่สิ่งที่ดีงาม
๕.ไม่ตกในอบายภูมิ "วาจาสุภาษิต ไม่ว่าจะพูดด้วยสำเนียงภาษาอย่างไรก็ตาม วาจานั้นย่อมเป็นวาจาชั้นสูง
ควรแก่การสรรเสริญของบัณฑิต ตรงกันข้ามวาจาทุพภาษิตแม้จะพูดด้วยภาษาใดสำเนียงดีแค่ไหน บัณฑิตก็ไม่สรรเสริญ"

จบมงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต

(พุทธพจน์)

อ่านหน้าต่อไป

 

หน้าแรก I ประวัติพระพุทธเจ้า I บททำวัตรเช้า-เย็น แปลI จิตสังเขป I ตู่มือมนุษย์I การฝึกใจ l ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ I ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก I

Non Copyright 2002. Buddhamamaka Home Page. All Rights Reserved. Comment or suggestion : [email protected]

 

Hosted by www.Geocities.ws

1