หน้าแรก I ประวัติพระพุทธเจ้า I บททำวัตรเช้า-เย็น แปลI จิตสังเขป I ตู่มือมนุษย์I การฝึกใจ l ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ I ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก I
มงคลชีวิต ๓๘ ประการ

มงคลหมู่ที่ ๑

- ไม่คบคนพาล
- คบบันฑิต
- บูชาบุคคลที่ควรบูชา

มงคลหมู่ที่ ๒

- อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
-
มีบุญวาสนามาก่อน
- ตั้งตนชอบ
มงคลหมู่ที่ ๓
- เป็นพหูสูต
-
มีศิลปะ
- มีวินัย
- มีวาจาสุภาษิต
มงคลหมู่ที่ ๔
- บำรุงบิดามารดา
-
เลี้ยงดูบุตร
- สงเคราะห์ภรรยา (สามี)
- ทำงานไม่คั่งค้าง
มงคลหมู่ที่ ๕
- บำเพ็ญทาน
-
ประพฤติธรรม
- สงเคราะห์ญาติ
- ทำงานไม่มีโทษ
มงคลหมู่ที่ ๖
- งดเว้นจากบาป
-
สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
- ไม่ประมาทในธรรม
มงคลหมู่ที่ ๗
- มีความเคารพ
-
มีความถ่อมตน
- มีความสันโดษ
- มีความกตัญญู
- ฟังธรรมตามกาล
มงคลหมู่ที่ ๘
- มีความอดทน
-
เป็นคนว่าง่าย
- เห็นสมณะ
- สนทนาธรรมตามกาล
มงคลหมู่ที่ ๙
- บำเพ็ญตบะ
-
ประพฤติพรหมจรรย์
- เห็นอริยสัจ
- ทำพระนิพพานให้แจ้ง
มงคลหมู่ที่ ๑๐

- จิตไม่หวั่นในโลกธรรม
-
จิตไม่โศก
- จิตปราศจากธุลี
- จิตเกษม

 

มงคลที่ ๘ มีศิลปะ

มงคลข้อที่ ๘ พระองค์ตรัสว่า มีศิลปะ เป็นมงคล คำว่า "ศิลป" ในที่นี้หมายความถึง การเป็น ผู้ฉลาดในหัตถกรรม ด้วยความสามารถแห่งศิลปนั้น ทั้งของคฤหัสและบรรพชิต ศิลปของบรรพชิตนั้น ก็คง จะไม่กว้างขวาง เหมือนศิลปของคฤหัส เพราะบรรพชิตนั้น มีแต่เพียงปัจจัย ๔ การเย็บจีวรก็ดี ทำด้วยตัว ของตัวเอง นี่ ก็เรียกว่า เป็นศิลปะ

"เราปลูกมะม่วง จะอิ่มจะรวยอยู่ที่ผลของมัน ช่วงแรกที่ปลูก มีลำต้นกิ่งใบ เป็นเพียงระยะเตรียมตัวเพื่อที่จะได้ผล เช่นเดียวกัน ความรู้ทุกอย่างหรือความเป็นพหูสูตที่เรามีอยู่ เป็นเพียงการเตรียมตัวเท่านั้น จะช่วยเราได้จริง ต่อเมื่อเรามีศิลปะ สามารถนำออกมาใช้ได้อย่างดีเท่านั้น"

ศิลปะคืออะไร ?
ศิลปะ แปลว่า ฉลาดทำ คือ ทำเป็นนั่นเอง

พหูสูตนั้นเป็นผู้ฉลาดรู้ เรียนรู้ในหลักวิชา รู้ว่าอะไรเป็นอะไร รู้ว่าอะไรทำอย่างไร ส่วนศีลปะ เป็นความสามารถในทางปฏิบัติ คือสามารถนำความรู้นั้นมาใช้ให้บังเกิดผลได้

คนที่มีความรู้นั้น ไม่ใช่ว่าจะมีศีลปะทุกคน เช่นรู้วิธีหุงข้าว ว่าจะต้องเอาข้าวสารใส่หม้อซาวข้าว แล้วใส่น้ำยกขึ้นตั้งไฟ น้ำเดือดสักพักก็รินน้ำข้าวออกดงให้ระอุอีกครู่หนึ่ง ก็คดข้าวออกมากินได้ นี่คือหลักวิชา แต่คนที่รู้เพียงเท่านี้ไม่แน่นักว่าจะหุงข้าวกินได้ทุกคน อาจจะได้ข้าวดิบบ้าง แฉะบ้าง ไหม้บ้าง เพราะ ไม่มีศิลปะในการหุงข้าว ฉลาดรู้แต่ยังไม่ฉลาดทำ
เรื่องอื่น ๆ ก็เช่นกัน ไม่ว่าจะขับรถยนต์ เตะตะกร้อ ว่ายน้ำ ทำกับข้าว ลองดูก็ได้ว่า ถ้ารู้แต่ทฤษฎีอย่างเดียวจะทำได้หรือไม่

ประเภทของศิลปะ
ทางกาย คือ ฉลาดทำการช่างต่าง ๆ เช่น ช่างทอ ช่างเครื่อง ช่างวาด ช่างออกแบบ ช่างปั้น ช่างภาพ ช่างพิมพ์ รวมทั้งฉลาดในการทำอาชีพอื่น ๆ เช่น การทำสวน ทำไร่ ปลูกพืชผัก การเขียนหนังสือ การตรวจคนไข้ ตลอดจนถึงการยืน เดิน นั่ง นอน อย่างมีมารยาท การแต่งตัวให้เหมาะสม การต้อนรับแขก การแสดงความเคารพ การสำรวมกายก็จัดเป้นศิลปะทั้งสิ้น
ทางวาจา คือ ฉลาดในการพูด มีวาทศิลป์ รู้จักเลือกพูด แต่สิ่งที่ดีเป็นประโยชน์สามารถยกใจของผู้พูดและผู้ฟังให้สูงขึ้นได้
ทางใจ คือ ฉลาดในการคิดมีสติสัมปชัญญะ สามารถควบคุมความคิดให้คิดไปในทางที่ดี คิดในทางสร้างสรรค์ คิดในทางที่ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยย่อ ศิลปะ จึงหมายถึง คิดเป็น พูดเป็น ทำเป็น

องค์ประกอบของศิลปะ

สิ่งที่ทำแล้วจัดว่าเป็นศิลปะ ต้องประกอบด้วยองค์ ๖ ดังนี้

๑.ทำด้วยความประณีต
๒.ทำให้สิ่งของต่าง ๆ มีค่าสูงขึ้น
๓.ทำแล้วส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
๔.ทำแล้วไม่ทำให้กามกำเริบ
๕.ทำแล้วไม่ทำให้ความคิดพยาบาทกำเริบ
๖.ทำแล้วไม่ทำให้ความคิดเบียดเบียนกำเริบ


คุณสมบัติของผู้สามารถมีศิลปะ

๑.ต้องมีศรัทธา มีความเชื่อมั่นในสิ่งที่จะทำว่าเป็นสิ่งดีจริง มีประโยชน์จริง มีใจรักที่จะทำ และมีความตั้งใจมั่นว่าเป็นสิ่งดีจริง มีประโยชน์จริง มีใจรักที่จะทำ และมีความตั้งใจมั่นว่าจะต้องทำให้เสร็จ

๒.ต้องไม่เป็นคนขี้โรค รู้จักระวังรักษาสุขภาพของตัวเอง


๓.ต้องไม่เป็นคนขี้โม้ขี้คุย คนโอ้อวดไม่มีใครอยากสอน ไม่มีใครอยากแนะนำ คนพวกนี้มัวแต่อวด มัวแต่คุย จนไม่มีเวลาฝึกฝีมือตัวเอง

๔.ต้องไม่เป็นคนขี้เกียจ มีความมานะพากเพียร อดทน

๕.ต้องเป็นคนมีปัญญา รู้จักพินิจพิจารณาช่างสังเกต

 

วิธีฝึกตนให้มีศิลปะ

๑.ฝึกตนเองให้เป็นคนช่างสังเกต รู้จักหาจุดเด่นของสิ่งรอบตัว

๒.ตั้งใจทำงานทุกอย่างที่มาถึงตนให้ดีที่สุด อย่าดูถูกงาน อย่าเกี่ยวงาน

๓.ตั้งใจทำงานทุกอย่างด้วยความประณีต ละเอียดลออ

๔.ตั้งใจปรับปรุงงานให้ดีขึ้นเสมอ ไม่ทำอะไรอย่างชุ่ย ๆ ขอไปที

๕.หมั่นใกล้ชิดกับผู้มีศิลปะอย่างแท้จริงในสายงานนั้น ๆ

๖.ฝึกสมาธิอยู่เสมอ เพื่อให้ใจสงบผ่องใส เกิดปัญญาที่จะฝึกและปรับปรุงตนเอง ให้มีคุณสมบัติของผู้มีศิลปะได้


ข้อควรระวัง

อย่าเอาแต่จับผิดผู้อื่น ไม่เช่นนั้นตัวเราจะกลายเป็น "ศิลปินนักติ" คือ
ดีแต่ติผลงานของผู้อื่นเรื่อยไป ติคนอื่นไว้มาก เลยไม่กล้าแสดงฝีมือ เพราะกลัวคนอื่นจะติเอาบ้าง
สุดท้าย เลยกลายเป็นคนไม่มีผลงาน ทำอะไรไม่เป็น


อานิสงส์การมีศิลปะ

๑.ทำคนให้เป็นคน

๒.ทำคนให้ดีกว่าคน

๓.ทำคนให้เด่นกว่าคน

๔.ทำคนให้เลิศกว่าคน

๕.ทำคนให้ประเสริฐกว่าคน

๖.ทำคนให้สูงกว่าคน

๗.ทำคนให้เลี้ยงตัวได้

๘.ทำคนให้ฉลาด

๙.ทำคนให้มั่งคั่งสมบูรณ์

๑๐.ทำคนให้ประเสริฐ

๑๑.ทำคนให้ได้รับความสุขทั้งโลกนี้โลกหน้า

๑๒.ทำโลกให้เจริญทั้งด้านวัตถุและจิตใจ


"ผุ้มีศิลปะแม้เพียงอย่างเดียว ก็สามารถเลี้ยงชีพได้โดยง่าย"

จบมงคลที่ ๘ มีศิลปะ

(พุทธพจน์)

อ่านหน้าต่อไป

หน้าแรก I ประวัติพระพุทธเจ้า I บททำวัตรเช้า-เย็น แปลI จิตสังเขป I ตู่มือมนุษย์I การฝึกใจ l ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ I ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก I

Non Copyright 2002. Buddhamamaka Home Page. All Rights Reserved. Comment or suggestion : [email protected]

 

Hosted by www.Geocities.ws

1