หน้าแรก I ประวัติพระพุทธเจ้า I บททำวัตรเช้า-เย็น แปลI จิตสังเขป I ตู่มือมนุษย์I การฝึกใจ l ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ I ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก I
มงคลชีวิต ๓๘ ประการ

มงคลหมู่ที่ ๑

- ไม่คบคนพาล
- คบบันฑิต
- บูชาบุคคลที่ควรบูชา

มงคลหมู่ที่ ๒

- อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
-
มีบุญวาสนามาก่อน
- ตั้งตนชอบ
มงคลหมู่ที่ ๓
- เป็นพหูสูต
-
มีศิลปะ
- มีวินัย
- มีวาจาสุภาษิต
มงคลหมู่ที่ ๔
- บำรุงบิดามารดา
-
เลี้ยงดูบุตร
- สงเคราะห์ภรรยา (สามี)
- ทำงานไม่คั่งค้าง
มงคลหมู่ที่ ๕
- บำเพ็ญทาน
-
ประพฤติธรรม
- สงเคราะห์ญาติ
- ทำงานไม่มีโทษ
มงคลหมู่ที่ ๖
- งดเว้นจากบาป
-
สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
- ไม่ประมาทในธรรม
มงคลหมู่ที่ ๗
- มีความเคารพ
-
มีความถ่อมตน
- มีความสันโดษ
- มีความกตัญญู
- ฟังธรรมตามกาล
มงคลหมู่ที่ ๘
- มีความอดทน
-
เป็นคนว่าง่าย
- เห็นสมณะ
- สนทนาธรรมตามกาล
มงคลหมู่ที่ ๙
- บำเพ็ญตบะ
-
ประพฤติพรหมจรรย์
- เห็นอริยสัจ
- ทำพระนิพพานให้แจ้ง
มงคลหมู่ที่ ๑๐

- จิตไม่หวั่นในโลกธรรม
-
จิตไม่โศก
- จิตปราศจากธุลี
- จิตเกษม

 

มงคลคาถาที่ ๓๔ การทำพระนิพพานให้แจ้ง

ระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ข้อ ๕-๖
มงคลสูตรในขุททกปาฐะ

[๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล
ครั้นปฐมยามล่วงไปเทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

[๖] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล
พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่าการไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล พาหุสัจจะ ๑ ศิลป ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาสิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การบำรุงมารดา-บิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคลทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑ การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑ นี้เป็นอุดมมงคลการงดการเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคลความเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑ ความกตัญญู ๑ การฟังธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคลความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคลความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็นอุดมมงคล จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้าโศก ๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็นอุดมมงคล เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัย ในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯจบมงคลสูตร

 

มงคลคาถาที่ ๓๔ การทำพระนิพพานให้แจ้ง

สำหรับมงคลข้อที่ ๓๔ ได้แก่ การกระทำพระนิพพานให้แจ้ง คำว่า
" การทำพระนิพพานให้แจ้ง " นี้ หมายถึง ปัญญารู้แจ้ง ซึ่งนิพพาน อันเป็นตัดออกจากโคตรบุถุชน แล้วก้าวเข้าไปสู่โคตรอริยชน ซึ่งได้แก่ วิปัสสนาญาณ ที่ ๑๓ ซึ่งเรียกกันว่า โคตรภูญาณ ญาณนี่แหละ เป็นการที่ จิตใจของผู้ประพฤติปฏิบัติล่วงพ้น จากความเป็นบุถุชน เข้าสู่แดนอริยชน ในญาณนี้

"มีที่ไหนในโลกนี้บ้าง ที่ทุกข์เข้าไปไม่ถึง .......ไม่มี
เจ้าชายสิทธัตถะทำไมจึงออกบวช.......จะหาที่ที่ทุกข์เข้าไปไม่ถึง
แล้วพบไหม ........พบแล้ว
อยู่ที่ใด ........นิพพาน
มีใครตามพระองค์ไปได้บ้างไหม ........มากมาย
แล้วนิพพานอยู่ที่ไหน .......นั่นซิ จึงต้องมาศึกษากัน "

นิพพานคืออะไร ?
นิพพาน มีคำแปลได้หลายแบบ เช่น
- แปลว่า ความดับ คือ ดับกิเลส ดับทุกข์
- แปลว่า ความพ้น คือ พ้นทุกข์พ้นจากภพสาม

มงคลชีวิต ๓๘ ประการ

นิพพาน โดยความหมาย หมายได้ ๒ นัยยะใหญ่ๆ คือ
๑.หมายถึง สภาพจิตที่หมดกิเลสแล้ว
๒.หมายถึง สถานที่ที่ผู้หมดกิเลสแล้ว ไปเสวยสุขอันเป็นอมตะอยู่ ณ ที่นั้นๆ

นิพพาน เป็นที่ซึ่งความทุกข์ทั้งหลายเข้าไปไม่ถึง อยู่พ้นกฎของไตรลักษณ์ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด
เกิดขึ้นด้วยอำนาจการปฏิบัติธรรม มีพระพุทธพจน์ที่กล่าวถึงนิพพานไว้หลายครั้ง อาทิ "นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ" นิพพานสูญอย่างยิ่ง คือ สูญกิเลส สูญทุกข์
"นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ" นิพพานสุขอย่างยิ่ง

ประเภทของนิพพาน
นิพพานมีอยู่ ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ

๑.สอุปาทิเสสนิพพาน เรียกว่า นิพพาน อยู่ในตัวของเราทุกคนที่ปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ สามารถเข้าถึงนิพพานนี้ได้ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ยังเป็น ๆ อยู่ เป็นนิพพานของพระอริยเจ้าผู้ละกิเลสได้แล้ว แต่ยังมีชีวิตอยู่
ยังเป็นๆ อยู่ เป็นนิพพานของพระอริยเจ้าผู้ละกิเลสได้แล้ว แต่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่สัตว์โลกต่อไป

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเข้านิพพานเป็นนี้ได้ เมื่อวันที่พระองค์ตรัสรู้
นิพพานเป็นนี้ แต่ละคนก็มีเฉพาะของตนเป็นเหมือนหลุมหลบภัยในตัว เรามีทุกข์ โศก โรค ภัยใดๆ พอเอาใจจรดเข้าไปในนิพพาน ความทุกข์ก็จะหลุดไปหมด จะตามไปรังควาน ไปบีบคั้นใจเราไม่ได้

๒.อนุปาทิเสสนิพพาน เรียกว่า นิพพานตาย เป็นเหตุว่างอยู่นอกภพสาม ผู้ที่หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์เมื่อเบญจขันธ์ดับ(ร่างกายแตกทำลายลง) เหลือแต่ธรรมขันธ์
ก็จะถูกอายตนะนิพพานนี้ ดึงดูดให้ไปปรากฏที่นั่น เสวยความสุขอันเป็นอมตะ


เพราะฉะนั้นผู้ที่จะทำพระนิพพานให้แจ้งได้ ก็คือ พระอริยบุคลทุกระดับ ทั้งพระอรหันต์ พระอนาคามี พระสกิทาคามี และพระโสดาบัน รวมทั้งโคตรภูบุคคลที่ปฏิบัติธรรมจนมีกิเลสเบาบางเกือบถึงขั้นพระโสดาบัน
โดยต้องฝึกสมาธิจนเข้าถึงธรรม จากนั้นเอาใจจรดเข้า จนเห็นอริยสัจ และต้องเห็นอริยสัจอย่างชำนาญ พิจารณาอริยสัจซ้ำแล้วก็ซ้ำอีก จึงเห็นนิพพานได้

บางท่านอาจนึกสงสัยว่า ก็เห็นบอกว่าเข้าถึงนิพพานแล้วจะหมดกิเลสความทุกข์ตามไปรังควานไม่ได้ แล้วตอนนี้มาบอกว่าโคตรภูบุคคลซึ่งยังไม่ได้หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ก็เข้านิพพานได้ จะไม่เป็นการขัดกันเองหรือ
คำตอบคือ ไม่ขัดกัน เพราะโคตรภูบุคคลนั้น เมื่อเอาใจจรดเข้าพระนิพพาน ขณะนั้นก็หมดทุกข์ กิเลสทำอะไรไม่ได้แต่ทว่าใจยังจรดอยู่ในนิพพานได้ไม่ตลอดเวลา เมื่อไหร่ใจถอนออกมาก็ยังต้องมีทุกข์อยู่เหมือนตัวของเรา

ถ้าหากเป็นแขกรับเชิญไปเที่ยวพักผ่อนยังปราสาทใหญ่
ระหว่างที่พักอยู่ในนั้นก็มีความสุขสบาย แต่ก็อยู่ได้ชั่วคราวเพราะยังไม่ได้เป็นเจ้าของเอง เมื่อไหร่ครบกำหนดกลับก็ต้องออกจากปราสาท มาสู้เหตุการณ์ภายนอกใหม่

เห็นอริยสัจและทำพระนิพพานให้แจ้งได้ในที่สุด ซึ่งไม่ยากจนเกินไปที่เราจะปฏิบัติได้เพราะถ้ายากเกินไปแล้วคงไม่มีพระอรหันต์หลาย รูปในสมัยพุทธกาลถ้านิพพานนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าไปได้พระองค์เดียว คนอื่นไปไม่ได้เลย เราจะบอกว่ายาก

แต่จริงๆ แล้วมีผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ตั้งใจฝึกสมาธิเข้านิพพานได้เยอะแยะ แสดงว่าไม่ยากจนเกินไป แต่แน่นอนก็คงไม่ง่ายเพราะถ้าง่ายเราก็คงเข้าไปตั้งนานแล้ว

เพราะฉะนั้นตั้งใจฝึกตัวเองกันเข้า วันหนึ่ง เราก็จะเป็นคนหนึ่งที่ทำได้แล้วเข้านิพานได้ ตอนนี้ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้แต่ว่ายังไม่ได้ทำต่างหากอย่าเพิ่งไปกลัว อย่าไปท้อใจเสียก่อนว่าจะทำไม่ได้ ถ้าทำจริงแล้วต้องได้

อานิสงส์การทำพระนิพพานให้แจ้ง
๑.ทำให้จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
๒.ทำให้จิตไม่โศก
๓.ทำให้จิตปราศจากธุลี
๔.ทำให้จิตเกษม


"ไฟใดเสมอด้วยราคะไม่มี โทษใดเสมอด้วยโทสะไม่มี ทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์ไม่มี สุขใดเสมอด้วยความสงบไม่มี ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง"

(พุทธพจน์)

จบมงคลคาถาที่ ๓๔ การทำพระนิพพานให้แจ้ง

อ่านหน้าต่อไป

หน้าแรก I ประวัติพระพุทธเจ้า I บททำวัตรเช้า-เย็น แปลI จิตสังเขป I ตู่มือมนุษย์I การฝึกใจ l ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ I ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก I

Non Copyright 2002. Buddhamamaka Home Page. All Rights Reserved. Comment or suggestion : [email protected]

 

Hosted by www.Geocities.ws

1