หน้าแรก I ประวัติพระพุทธเจ้า I บททำวัตรเช้า-เย็น แปลI จิตสังเขป I ตู่มือมนุษย์I การฝึกใจ l ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ I ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก I
มงคลชีวิต ๓๘ ประการ

มงคลหมู่ที่ ๑

- ไม่คบคนพาล
- คบบันฑิต
- บูชาบุคคลที่ควรบูชา

มงคลหมู่ที่ ๒

- อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
-
มีบุญวาสนามาก่อน
- ตั้งตนชอบ
มงคลหมู่ที่ ๓
- เป็นพหูสูต
-
มีศิลปะ
- มีวินัย
- มีวาจาสุภาษิต
มงคลหมู่ที่ ๔
- บำรุงบิดามารดา
-
เลี้ยงดูบุตร
- สงเคราะห์ภรรยา (สามี)
- ทำงานไม่คั่งค้าง
มงคลหมู่ที่ ๕
- บำเพ็ญทาน
-
ประพฤติธรรม
- สงเคราะห์ญาติ
- ทำงานไม่มีโทษ
มงคลหมู่ที่ ๖
- งดเว้นจากบาป
-
สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
- ไม่ประมาทในธรรม
มงคลหมู่ที่ ๗
- มีความเคารพ
-
มีความถ่อมตน
- มีความสันโดษ
- มีความกตัญญู
- ฟังธรรมตามกาล
มงคลหมู่ที่ ๘
- มีความอดทน
-
เป็นคนว่าง่าย
- เห็นสมณะ
- สนทนาธรรมตามกาล
มงคลหมู่ที่ ๙
- บำเพ็ญตบะ
-
ประพฤติพรหมจรรย์
- เห็นอริยสัจ
- ทำพระนิพพานให้แจ้ง
มงคลหมู่ที่ ๑๐

- จิตไม่หวั่นในโลกธรรม
-
จิตไม่โศก
- จิตปราศจากธุลี
- จิตเกษม

 

มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล

พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ข้อ ๕-๖
มงคลสูตรในขุททกปาฐะ

[๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล
ครั้นปฐมยามล่วงไปเทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า


[๖] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล

พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า

การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

พาหุสัจจะ ๑ ศิลป ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาสิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

การบำรุงมารดา-บิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑ การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

การงดการเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

ความเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑ ความกตัญญู ๑ การฟังธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้าโศก ๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัย ในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ

จบมงคลสูตร

มงคลชีวิต ๓๘ ประการ

มงคลคืออะไร ?
มีผู้รู้หลายท่านกล่าวว่า มงคล คือทางก้าวหน้า ความสุข ความเจริญ


สำหรับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้ความหมายไว้ว่า
มงคล คือเหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ


คำว่า มงคลชีวิต จึงรวมความได้ว่า คือเหตุแห่งความสุขและความเจริญก้าวหน้าของชีวิต
เป็นสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นข้อควรประพฤติปฏิบัติ ซึ่งมีอยู่ ๓๘ ประการด้วยกัน

มงคล : เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้า

ความเจริญก้าวหน้าแบ่งได้เป็น ๓ ระดับ คือ


๑. ความเจริญก้าวหน้าในโลกนี้ เช่น เมื่อเป็นเด็กก็ประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียน เมื่อเติบโตขึ้นก็สามารถตั้งฐานะได้ มีทรัพย์สมบัติมาก มีชื่อเสียง มีตำแหน่งหน้าที่การงานดี มีครอบครัวดี เป็นต้น


๒. ความเจริญก้าวหน้าในโลกหน้า หมายถึง เป็นผู้สั่งสมบุญกุศลไว้ดี เมื่อละจากโลกนี้ ก็ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์


๓. การบรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงสุด

การปฏิบัติตามหลักมงคลชีวิต จะเป็นเหตุนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าทั้ง ๓ ระดับนี้ เพราะผู้ปฏิบัติตามหลักมงคลชีวิต โดยเนื้อหาก็คือ เป็นการหลีกเลี่ยงเหตุแห่งความเสื่อมทั้งหลาย และทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องสูง ทำให้เกิดสติและปัญญา อันเป็นเครื่องทำลายอุปสรรคของชีวิต ตลอดจนความชั่ว ความบาปต่างๆ จึงส่งผลเป็นความเจริญก้าวหน้าทั้งชาตินี้ ชาติหน้า จนถึงการบรรลุมรรคผลนิพพานในที่สุด

สิ่งที่เป็นมงคล ( มงคล ๓๘ )
มนุษย์เราไม่ว่าหญิงหรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ ยากจนหรือมั่งมี ล้วนแต่ต้องการสิ่งที่ดีงาม เป็นมงคล
แก่ชีวิตของตนทั้งสิ้น แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่ามงคลคืออะไร และอะไรที่เป็นมงคล

นานมาแล้วในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติบังเกิดขึ้น ได้มีการถกเถียงกันในชมพูทวีป
ว่าอะไรเป็นมงคล ต่างคนต่างก็แสดงสิ่งที่เป็นมงคลตามความเห็นของตน แต่ไม่อาจตกลงกันได้ว่า อะไรแน่เป็นมงคล

การถกเถียงกันมิได้เกิดขึ้นในหมู่มนุษย์เท่านั้น หากได้ลุกลามไปถึงพวกเทวดาและพรหม ในสรวงสวรรค์ด้วย ถึงกระนั้นก็ยังหาข้อยุติไม่ได้จวบจนเวลาล่วงไป ๑๒ ปี

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าคือพระพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก

พวกเทวดาในดาวดึงส์เทวโลกจึงได้พากันเข้าไปเฝ้าท้าวสักกะเทวราช ( คือพระอินทร์ ) ผู้เป็นพระราชาในภพดาวดึงส์ทูลถามถึงมงคล ท้าวสักกะตรัสถามว่า ท่านทั้งหลายได้ทูลถามเรื่องนี้กับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหรือยัง เมื่อทรงทราบว่ายัง จึงได้ทรงตำหนิว่าพวกท่านได้ล่วงเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสดงมงคลแล้วกลับมาถามเรา เป็นเหมือนทิ้งไฟเสีย แล้วมาถือเอาไฟที่ก้นหิ้งห้อย

ตรัสแล้วชวนกันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระวิหารเชตวัน ใกล้กรุงสาวัตถีในแคว้นโกศล ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร ท้าวสักกะทรงมอบหมายให้เทวดาองค์หนึ่งเป็นผู้ทูลถามเรื่องนี้

ในเวลานั้นเทพเจ้าในหมื่นจักรวาล เนรมิตกายให้ละเอียดมาแออัดประชุมกัน เพื่อมงคลปัญหาในที่ นั้นด้วย จนพระเชตวันสว่างไสวไปทั่วด้วยรัศมีกายของเทวดาเหล่านั้น

ถึงกระนั้นก็มิอาจบดบังพระรัศมี ซึ่ง เปล่งออกจากพระกายของพระพุทธเจ้าได้

เทวดาองค์ที่ได้รับมอบหมายให้ทูลถามมงคลปัญหากะพระพุทธเจ้า
ได้ทูลถามปัญหากะพระพุทธเจ้าว่า "เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมากหวังอยู่ซึ่งความสวัสดี ได้พา กันคิดสิ่งที่เป็นมงคล (แต่ไม่อาจคิดได้) ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอุดมมงคล"

พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า

๑ อเสวนา จ พาลานํ การไม่คบคนพาล ๑
๒ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา การคบบัณฑิต ๑
๓ ปูชา จ ปูชนียานํ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
๔ ปฏิรูปเทสวาโส จ การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑
๕ ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑
๖ อตฺตสมฺมาปณิธิ จ การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
๗ พาหุสจฺจญฺจ การสดับตรับฟังมาก พาหุสัจจะ ๑
๘. สิปฺปญฺจ การศึกษาศิลปะ ศิลป ๑
๙. วินโย จ สุสิกฺขิโต วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑
๑๐. สุภาสิตา จ ยา วาจา วาจาสุภาษิต ๑


คาถาที่ ๔. มี ๔ มงคลคือ
๑๑. มาตาอุปฏฺฐานํ การบำรุงมารดา
๑๒. ปิตุอุปฏฺฐานํ การบำรุงบิดา
๑๓. ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห การสงเคราะห์บุตรและภรรยา
๑๔. อนากุลา จ กมฺมนฺตา การงานไม่อากูลคั่งค้าง


คาถาที่ ๕. มี ๔ มงคลคือ
๑๕. ทานญฺจ ทาน การให้
๑๖. ธมฺมจริยา การประพฤติธรรม
๑๗. ญาตกานญฺจ สงฺคโห การสงเคราะห์ญาติ
๑๘. อนวขฺขานิ กมฺมานิ การกระทำการงานที่ไม่มีโทษ


คาถาที่ ๖. มี ๓ มงคลคือ
๑๙. อารตี วีรตี ปาปา การงดการเว้นจากบาป
๒๐. มฺชชปานา จ สญฺญโม การสำรวมจากน้ำเมา
๒๑. อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย


คาถาที่ ๗. มี ๕ มงคลคือ
๒๒. คารโว จ ความเคารพ
๒๓. นิวาโต จ การอ่อนน้อมถ่อมตน
๒๔. สนฺตุฏฺฐี จ ความสันโดษ
๒๕. กตญฺญุตา ความกตัญญูรู้คุณ
๒๖. กาเลน ธมฺมสฺสวนํ การฟังธรรมตามกาล


คาถาที่ ๘. มี ๔ มงคลคือ
๒๗. ขนฺตี จ ความอดทน
๒๘. โสวจสฺสตา ความเป็นผู้ว่าง่าย
๒๙. สมณานญฺจ ทสฺสนํ การเห็นสมณะ
๓๐. กาเลน ธมฺมสากจฺฉา การสนทนาธรรมตามกาล


คาถาที่ ๙. มี ๔ มงคลคือ
๓๑. ตโป จ ความเพียรเผากิเลส
๓๒. พฺรหฺมจริยญฺจ การประพฤติพรหมจรรย์
๓๓. อริยสจฺจานทสฺสนํ การเห็นอริยสัจ
๓๔. นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ การทำนิพพานให้แจ้ง


คาถาที่ ๑๐. มี ๔ มงคลคือ
๓๕. ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ จิตของผู้ใดถูกโลกธรรมกระทบแล้วไม่หวั่นไหว

๓๖. อโสกํ ความไม่เศร้าโศก ๑
๓๗. วิรชํ จิตที่ปราศจากธุลี ๑
๓๘. เขมํ เป็นจิตเกษม ๑

มงคลมีอยู่ ๓๘ มงคล ด้วยพระคาถา ๑๐ คาถาใน มงคลสูตร ๑
ตามลำดับดังนี้

วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การบำรุงมารดา
บิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑
นี้เป็นอุดมมงคลการงดการเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑
ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคลความเคารพ ๑
ความประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑ความกตัญญู ๑ การฟังธรรม
โดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคลความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การ
ได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑
นี้เป็นอุดมมงคล จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่
หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้าโศก ๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็น

อุดมมงคล เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัย ในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็นอุดมมงคล ของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ

จบมงคลสูตร

๑.พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ข้อ ๕-๖
คาถาที่ ๑. มี ๓ มงคลคือ ๑. อเสวนา จ พาลานํ การไม่คบคนพาล ๒. ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา การคบบัณฑิต (คือ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย) ๓. ปูชา จ ปูชนียานํ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา คาถาที่ ๒. มี ๓ มงคลคือ ๔. ปฏิรูปเทสวาโส จ การอยู่ในประเทศ(ถิ่น)ที่สมควร ๕. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา การได้กระทำบุญไว้แล้วในปางก่อน ๖. อตฺตสมฺมาปณิธิ จ การตั้งตนไว้ชอบ คาถาที่ ๓. มี ๔ มงคลคือ ๗. พาหุสจฺจญฺจ การสดับตรับฟังมาก ๘. สิปฺปญฺจ การศึกษาศิลปะ ๙. วินโย จ สุสิกฺขิโต วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑๐. สุภาสิตา จ ยา วาจา วาจาสุภาษิต คาถาที่ ๔. มี ๔ มงคลคือ ๑๑. มาตาอุปฏฺฐานํ การบำรุงมารดา ๑๒. ปิตุอุปฏฺฐานํ การบำรุงบิดา ๑๓. ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห การสงเคราะห์บุตรและภรรยา ๑๔. อนากุลา จ กมฺมนฺตา การงานไม่อากูลคั่งค้าง คาถาที่ ๕. มี ๔ มงคลคือ ๑๕. ทานญฺจ ทาน การให้ ๑๖. ธมฺมจริยา การประพฤติธรรม ๑๗. ญาตกานญฺจ สงฺคโห การสงเคราะห์ญาติ ๑๘. อนวขฺขานิ กมฺมานิ การกระทำการงานที่ไม่มีโทษ คาถาที่ ๖. มี ๓ มงคลคือ ๑๙. อารตี วีรตี ปาปา การงดการเว้นจากบาป ๒๐. มฺชชปานา จ สญฺญโม การสำรวมจากน้ำเมา ๒๑. อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย คาถาที่ ๗. มี ๕ มงคลคือ ๒๒. คารโว จ ความเคารพ ๒๓. นิวาโต จ การอ่อนน้อมถ่อมตน ๒๔. สนฺตุฏฺฐี จ ความสันโดษ ๒๕. กตญฺญุตา ความกตัญญูรู้คุณ ๒๖. กาเลน ธมฺมสฺสวนํ การฟังธรรมตามกาล คาถาที่ ๘. มี ๔ มงคลคือ ๒๗. ขนฺตี จ ความอดทน ๒๘. โสวจสฺสตา ความเป็นผู้ว่าง่าย ๒๙. สมณานญฺจ ทสฺสนํ การเห็นสมณะ ๓๐. กาเลน ธมฺมสากจฺฉา การสนทนาธรรมตามกาล คาถาที่ ๙. มี ๔ มงคลคือ ๓๑. ตโป จ ความเพียรเผากิเลส ๓๒. พฺรหฺมจริยญฺจ การประพฤติพรหมจรรย์ ๓๓. อริยสจฺจานทสฺสนํ การเห็นอริยสัจ ๓๔. นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ การทำนิพพานให้แจ้ง คาถาที่ ๑๐. มี ๔ มงคลคือ ๓๕. ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ จิตของผู้ใดถูกโลกธรรมกระทบแล้วไม่หวั่นไหว ๓๖. อโสกํ ความไม่เศร้าโศก ๓๗. วิรชํ จิตที่ปราศจากธุลี คือกิเลส ๓๘. เขมํ จิตที่ถึงความเกษมจากโยคะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงมงคล ๓๘ ด้วยพระคาถา ๑๐ คาถาเหล่านี้แล้ว ได้ทรงแสดงอานิสงส์ของมงคลไว้ในคาถาสุดท้าย ( คือคาถาที่ ๑๑ )
ว่า "เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายกระทำมงคลทั้งหลายดังนี้แล้ว เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน
ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุดของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น"

ก่อนที่จะขยายความมงคลแต่ละข้อ ขอให้เรามาทำความรู้จักกับ "มงคล" ก่อนว่ามีความหมายว่าอย่าง ไร

โดยปกติเมื่อพูดถึงสิ่งที่เป็นมงคล เรารู้ว่าสิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งดี แม้คำว่ามงคลในมงคลสูตร ที่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงไว้นี้ก็มีความหมายในด้านดี

คือมีความหมายว่าเหตุแห่งความสำเร็จ เหตุแห่งความเจริญ เหตุแห่ง (การได้) สมบัติทั้งปวง

คำว่า "อุดม" ได้แก่ วิเศษ ประเสริฐ สูงสุด เพราะฉะนั้นคำว่า อุดมมงคล จึงหมายถึงเหตุแห่งความสำเร็จอันวิเศษ เหตุแห่งความสำเร็จอันสูงสุด เหตุแห่งการได้สมบัติอันพิเศษสูงสุด ผู้ที่ประพฤติตามมงคลทั้ง ๓๘ ข้อ

แม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ยังได้ชื่อว่าได้ประพฤติเหตุแห่งความสำเร็จอันสูงสุด นำประโยชน์และความสุขมาให้ตนเองและผู้อื่น

จะป่วยการกล่าวไปไยถึงผู้ที่ประพฤติมงคลได้มากข้อ หรือได้ครบทั้ง ๓๘ ข้อ ว่าจะได้รับประโยชน์สุขสูงสุดเพียงไหน


คนในโลกนี้มี ๒ ประเภท

คือคนเลวกับคนดี

คนเลวเปรียบได้กับคนพาล

คนดีเปรียบได้กับบัณฑิต


พระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้คบคนเลวหรือคนพาล แต่ให้คบกับคนดีหรือบัณฑิต

มงคลชีวิต ๓๘ ประการ

มงคลหมู่ที่ ๑....ฝึกให้เป็นคนดี

มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา

นิสัยของคนเราจะมาจากสิ่งแวดล้อม คนรอบครัว เราคบกับคนอย่างไร บูชายกย่องใคร เราก็จะค่อยๆ มีนิสัยไปตามเขา

ใครคบคนขี้เหล้าเป็นเพื่อนสนิทไม่ช้าก็จะกลายเป็นไอ้ขี้เมาตามไป เพราะฉะนั้นผู้ที่ต้องการจะเป็นคนดีจึงต้องไม่คบคนพาล เป็นการป้องกันไม่ให้นิสัยไม่ดี ความเห็นผิด ๆ ทั้งหลายจากคนพาลมาติดต่อเราเข้า และป้องกันไม่ให้ถูกคนพาลกลั่นแกล้งทำร้ายเอาด้วย

๑. การไม่คบคนพาล

มงคลข้อที่ ๑ การไม่คบคนพาล เป็นอุดมมงคล

พระพุทธเจ้าตรัสลักษณะของคนพาล คือคนไม่ดี คนโง่ คนชั่ว ไว้ ๓ ประการคือ ทำชั่ว พูดชั่ว คิดชั่ว

ทำชั่ว คือ การกระทำชั่วทางกาย มีการฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ( คือประพฤติผิดประเวณี ) ๑

พูดชั่ว คือ การกระทำชั่วทางวาจา มีการพูดเท็จ ๑ การพูดส่อเสียด ๑ การพูดคำหยาบ ๑ การพูด
เพ้อเจ้อ เหลวไหล ไร้สาระ ๑

คิดชั่ว คือ การกระทำชั่วทางใจ มีการคิดอยากได้ของของผู้อื่นมาเป็นของตน ๑ การคิดพยาบาท
ปองร้ายให้ผู้อื่นพินาศ ๑ คิดวิปริตเป็นมิจฉาทิฏฐิ เช่นเห็นว่าการกระทำบุญ การกระทำบาปไม่มีผล เป็นต้น ๑

รวมความว่าคนพาลคือคนที่ทำชั่วทางกาย ๓ ทางวาจา ๔ ทางใจ ๓ อันได้แก่ ทุจริตกรรม ๑๐ หรืออกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนั่นเอง คนพาลที่มีความประพฤติอย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้คบหาเข้าใกล้

เพราะเมื่อคบหาเข้าใกล้ชิดสนิทสนมด้วย ก็จะทำให้เรามีใจโน้มเอียงคล้อยตาม ยินดีชอบใจในการกระทำของเขา เอาอย่างเขา อันจะเป็นเหตุให้เรากลายเป็นคนพาลไปด้วย

เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรคบคนพาล ไม่ควรฟังคำพูดของคนพาล ไม่ควรอยู่ร่วมกับคนพาล ไม่ควรเจรจาปราศรัยกับคนพาล ไม่ควรชอบใจความประพฤติของคนพาล เพราะคนพาลนำมาแต่ความพินาศเพียงประการเดียว

เหมือนพระเจ้าอชาตศัตรูต้องฆ่าพระราชบิดา และเสื่อมจากมรรคผลก็เพราะคบหาคนพาลคือพระเทวทัต
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิติเตียนการคบคนพาลว่า มีโทษนานาประการดังกล่าวนี้แล้ว บัดนี้เมื่อ จะทรงสรรเสริญการคบบัณฑิต จึงตรัสว่า การคบบัณฑิตเป็นอุดมมงคล

 

คนพาลคือใคร ?
คนพาล คือคนที่มีใจขุ่นมัวเป็นปกติ เป็นผลให้มีความเห็นผิด ยึดถือค่านิยมผิดๆ และมีวินิจฉัยเสีย คือไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควร อะไรไม่ควร เช่น บัณฑิตเห็นว่า "เหล้า" เป็นของไม่ดี ทำให้ขาดสติ นำความเสื่อมมาให้นานัปการ แต่คนพาลกลับเห็นว่า "เหล้า" เป็นของประเสริฐ เป็นเครื่องกระชับมิตร หรือบัณฑิตเห็นว่า "การเล่นไพ่" เป็นอบายมุข เป็นปากทาง หรือเป็นสัญลักษณ์แห่งความฉิบหาย แต่คนพาลกลับเห็นว่า "การเล่นไพ่" เป็นสิ่งดี ทำให้เพลิดเพลิน เป็นการฝึกสมองซ้อมวิชาคำนวณ ดังนี้เป็นต้น

คนพาลเป็นคนเหมือนกับเรา คือมีร่างกายประกอบด้วยเลือดเนื้อเช่นเดียวกับเรา และอาจมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับเราก็ได้ เช่น เป็นญาติพี่น้อง สามีภรรยา ครูอาจารย์ ฯลฯ อาจเป็นผู้มีการศึกษาสูง อาจมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง อาจมีสมัครพรรคพวกมาก ฯลฯ

แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไร มีความ สัมพันธ์กับเราหรือไม่ ขึ้นชื่อว่าพาลแล้ว ถึงแม้จะมีความรู้มีความสามารถก็ไม่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ถูกที่ควร เพราะเขาแสลงต่อความดี เหมือนคนไข้แสลงต่อน้ำเย็น

ลักษณะของคนพาล

เนื่องจากคนพาลมีใจขุ่นมัวอยู่เสมอ ทำให้ไม่สามารถควบคุมใจให้คิดไปในทางที่ถูกต้องได้ คนพาลจึงมีลักษณะวิปริตผิดจากคนทั้งหลาย ๓ ประการ คือ

๑. ชอบคิดชั่วเป็นปกติ ได้แก่ คิดละโมบอยากได้ในทางทุจริต คิดพยาบาทปองร้าย คิดเห็นผิดเป็นชอบ ฯลฯ
๒. ชอบพูดชั่วเป็นปกติ ได้แก่ พูดปด พูดคำหยาบ พูดส่อเสียดยุยง พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ
๓. ชอบทำชั่วเป็นปกติ ได้แก่ เกะกะเกเร กินเหล้าเมายา ชอบล้างผลาญชีวิตคนและสัตว์ ลักทรัพย์ ฉุดคร่าอนาจาร ฯลฯ

โทษของความเป็นคนพาล
๑. มีความเห็นผิด ก่อทุกข์ให้ตนเอง
๒. เสียชื่อเสียง ถูกติฉินนินทา
๓. ไม่มีคนนับถือ ถูกเกลียดชัง
๔. หมดสิริมงคล หมดสง่าราศี
๕. ความชั่วเภทภัยทั้งหลาย จะไหลเข้ามาหาตัว
๖. ทำลายประโยชน์ของตนเองทั้งโลกนี้และโลกหน้า
๗. ทำลายวงศ์ตระกูลของตนเอง
๘. เมื่อละโลกไปแล้วมีอบายภูมิเป็นที่ไป ฯลฯ

วิธีสังเกตคนพาล

คนพาลมักกระทำในสิ่งต่อไปนี้ คือ

๑. คนพาลชอบชักนำในทางที่ผิด
- ชัก คือชักชวน เชิญชวน ชี้ชวน หรือเสนอแนะ
- นำ คือการทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง

เช่น ชักชวนหนีโรงเรียน ชักชวนไปลักขโมย ชักชวนให้เสพยาบ้า เสพ ยาเสพย์ติด ชักนำไปเป็นอันธพาล ฯลฯ
การชักนำนี้อาจทำด้วยความหวังดีก็ได้ แต่ว่ามันผิด เช่น ได้เงินมาก็ชักชวนเพื่อนไปเลี้ยงเหล้า เที่ยวกลางคืน อย่างนี้ก็จัดว่าเป็นพาล

ผู้ที่ยังเยาว์วัย อ่อนความคิด อ่อนสติ มักถูกชักนำได้โดยง่าย ฉะนั้นผู้ใหญ่ในบ้าน จึงควรระมัดระวัง การกระทำและคำพูด ทั้งของตนเองและผู้ที่มาติดต่อคบหา เพราะเด็กมักจะจำและทำตามอย่างด้วยความไม่รู้ แม้ผู้ใหญ่ทำสิ่งไม่ดี เด็กก็มักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีควรกระทำ

๒. คนพาลชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ เกะกะเกเร หน้าที่การงานของตน ไม่พยายามจัดการให้เรียบร้อย แต่ชอบไปก้าวก่ายหน้าที่การงานของผู้อื่น เช่น จับผิดผู้ร่วมงาน เขียนบัตรสนเท่ห์ กลั่นแกล้ง รังแก ทำความรบกวน ให้เดือดร้อน ฯลฯ

๓. คนพาลชอบแต่สิ่งผิดๆ ชอบถือเอาสิ่งที่ชั่วว่าเป็นสิ่งที่ดี เช่น ชอบเล่นไพ่ ชอบสูบบุหรี่ ชอบหนีโรงเรียน ชอบเถียงพ่อแม่ ฯลฯ เห็นคนทำถูกเป็นคนโง่ เห็นคนกลัวผิดเป็นคนขี้ขลาด

๔. คนพาลแม้พูดดีๆ ก็โกรธ เช่น เตือนให้ดูหนังสือตอนใกล้สอบก็โกรธ เตือนให้ตื่นเช้าก็โกรธ แค่มองหน้าบางครั้งก็ยังโกรธ ฯลฯ

๕. คนพาลไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัย เช่น ไม่ชอบข้ามถนนตรงทางม้าลาย ทิ้งขยะบนพื้นถนน ไปโรงเรียนสาย ไปทำงานสาย ฯลฯ

พฤติกรรมที่เรียกว่า "คบ" คืออย่างไร ?

คบ หมายถึงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ

- ร่วม เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน ร่วมก่อการ ร่วมหุ้น ร่วมลงทุน


- รับ เช่น รับเป็นเพื่อน รับเป็นภรรยาหรือสามี รับไว้ทำงาน รับฟัง สิ่งที่คนพาลพูดหรือเขียน


- ให้ เช่น ให้ความไว้วางใจ ให้คำชมเชย ให้ยศ ให้ตำแหน่ง ให้หยิบยืมสิ่งของ ให้การสนับสนุน

การไม่คบคนพาล คือการไม่ยอมมีพฤติกรรมสัมพันธ์ใดๆ ดังกล่าว ข้างต้นกับคนพาล ถ้าเรายังคบคนพาลอยู่ ไม่ว่าจะในระดับไหนก็ตาม รีบถอนตัวเสียโดยด่วน อย่าประมาท รีบตัดไฟเสียแต่ต้นลม มิฉะนั้นจะพลาด ติดเชื้อพาลโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นพาลตามไปด้วย

โบราณท่านให้คติเตือนใจไว้ว่า ห่างสุนัขให้ห่างศอก ห่างวอกให้ห่างวา ห่างพาลา ให้ห่างหมื่นโยชน์แสนโยชน์

โทษของการคบคนพาล

๑. ย่อมถูกชักนำไปในทางที่ผิด
๒. ย่อมเกิดความหายนะ การงานล้มเหลว
๓. ย่อมถูกมองในแง่ร้าย ไม่ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป
๔. ย่อมอึดอัดใจ เพราะคนพาลแม้เราพูดดีๆ ด้วยก็โกรธ
๕. หมู่คณะย่อมแตกความสามัคคี เพราะการยุยงและไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัย
๖. ภัยอันตรายต่างๆ ย่อมไหลเข้ามาหาตัว
๗. เมื่อละโลกแล้ว ย่อมมีอบายภูมิเป็นที่ไป ฯลฯ

ประเภทของคนพาล

คนพาลมี ๒ ประเภท ได้แก่

๑. พาลภายนอก คือคนพาลทั่วไป ซึ่งแม้จะร้ายกาจเพียงใด เราก็ยังมีทางหลีกเลี่ยงได้ แต่มีพาลอีกประเภทหนึ่งที่ร้ายยิ่งกว่า เพราะมักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวและไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ คือพาลภายใน

๒. พาลภายใน คือตัวเราเองขณะที่คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว เช่น หนีงาน บ้าง เที่ยวเกเร ไปยุ่งธุระคนอื่นโดยใช่เหตุบ้าง ชอบไปทำงานสายบ้าง คนอื่นเตือนดีๆ ก็โกรธบ้าง หลีกเลี่ยงวินัยบ้าง พูดไม่ไพเราะบ้าง ครั้งใดที่เราทำ เช่นนี้ ครั้งนั้นเราเองนั่นแหละคือตัวพาล มีเชื้อพาลอยู่ภายใน ต้องรีบแก้ไข

หลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

๑. หมั่นห้ามใจตนเองจากความชั่วแม้เพียงเล็กน้อย ก่อนที่มันจะลุกลามต่อไป เช่น การนอนตื่นสาย ทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง หรือปล่อยให้ที่อยู่อาศัยรกรุงรังไม่หมั่นทำความสะอาด

๒. อย่าตามนึกถึงความชั่ว ความผิดพลาดในอดีต ทั้งของตนเองและผู้อื่น ผ่านไปแล้วก็ให้แล้วกันไป ถือเป็นบทเรียนที่จะไม่ยอมทำซ้ำอีก แล้วตั้งใจทำความดีใหม่ให้เต็มที่

๓. ตั้งใจให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ

๔. หลีกเลี่ยงการอ่าน การฟัง การพูด เรื่องเกี่ยวกับคนพาล จะได้ ไม่สะสมความคิดเกี่ยวกับพาลไว้ในใจ พยายามสะสมแต่ความคิดที่ดีงามโดยการอ่าน การฟัง การพูด แต่สิ่งที่ดีงาม เช่น อ่านหนังสือธรรมะ ฟังเทศน์ สนทนาธรรม พูดถึงคนที่ทำคุณความดี ฯลฯ

๕. ถ้าจำเป็นต้องอยู่ใกล้คนพาลอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ เช่น ทำ งานในที่เดียวกัน เป็นญาติพี่น้องกัน ในกรณีเช่นนี้เราต้องระลึกอยู่เสมอว่า เรากำลังอยู่ใกล้สิ่งที่เป็นอันตราย เหมือนอยู่ใกล้คนเป็นโรคติดต่อ ต้องระวังตัว คือระวังความเป็นพาลของเขาจะมาติดเราเข้า ต้องหมั่นให้ทาน รักษาศีล ทำสมาธิ เพื่อให้ใจผ่องใสอยู่เสมอ

เราต้องระลึกเสมอว่า หน้าที่อันยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดในชีวิต ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่าการปราบพาลภายในตัวเราเอง

อานิสงส์การไม่คบคนพาล

๑. ทำให้ไม่ถูกชักจูงไปในทางที่ผิด
๒. ทำให้สามารถรักษาความดีเดิมไว้ได้
๓. ทำให้สามารถสร้างความดีใหม่เพิ่มขึ้นได้อีก
๔. ทำให้ไม่ถูกคนพาลทำร้าย
๕. ทำให้ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกใส่ความ
๖. ทำให้ไม่ถูกมองในแง่ร้าย ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป
๗. ทำให้มีความเจริญก้าวหน้า สามารถตั้งตัวได้เร็ว
๘. ทำให้มีความสุขทั้งตนเอง ครอบครัว และประเทศชาติ
๙. เป็นการตัดกำลังไม่ให้เชื้อพาลระบาดไป เพราะขาดคนสนับสนุน ฯลฯ

"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ให้ผล คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง บาปให้ผลเมื่อใด คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"

ขุ. ธ. ๒๕/๑๕/๒๔

(พุทธพจน์)

จบมงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล

อ่านหน้าต่อไป

หน้าแรก I ประวัติพระพุทธเจ้า I บททำวัตรเช้า-เย็น แปลI จิตสังเขป I ตู่มือมนุษย์I การฝึกใจ l ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ I ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก I

Non Copyright 2002. Buddhamamaka Home Page. All Rights Reserved. Comment or suggestion : [email protected]

 

Hosted by www.Geocities.ws

1