Sesungguhnya nasib orang-orang  Melayu Patani tidak harus diletak dalam tangan pemerintah Siam-Thai tetapi langkah memperbaiki nasib kedudukan mereka adalah terletak di dalam tangan mereka sendirii .....แท้จริงชะตากรรมของชาวมลายูปัตตานีไม่ควรถูกวางในมือของรัฐบาลสยาม-ไทย. แต่มาตรการที่ทำให้ชะตากรรมของพวกเขาดีขึ้นและปรับปรุงขึ้น  ถูกวางอยู่ในมือของพวกเขาเอง....In truth the fate of Patani Malay people should not be placed in the hands of the Siam-Thai government. Rather, measures to improve their fate and condition should be placed in their own hands

Sejarah Kerjaan Patani
Pesanan Ibrahim Syukri
Pengenalan
Bab Satu
Bab Dua
Bab Tiga
Bab Empat

History Of Patani
Introduction
Chapter One
Chapter Two
Chapter Three
Chapter Four

ประวัติปัตตานี
ข้อความจากผู้แปล
บทนำ
บทที่หนึ่ง
บทที่สอง
บทที่สาม
บทที่สี่

Others
The Queens Of Patani


 

ปัตตานีที่ถูกลืม


    ปาตานี คือชื่อรัฐๆหนึ่งอยู่บนแผ่นดินด้ามขวานที่เรียกว่าแหลมมลายู แซะห์ อาหะหมัด บินวันมูฮัมหมัดเซ็น อัลฟาตอนี ได้กล่าวไว้ว่า “ปาตานี คือรัฐหนึ่งในหลายๆรัฐของชาวมลายู ได้เป็นสถานที่ก่อกำเนิดบุรุษที่ดี เฉลียวฉลาด รักสงบและเก่งกล้า เป็นรัฐที่มีเอกราช และอยู่ภายใต้ปกครองของบุคคลเหล่านั้นมาแต่อดีต”

    วันหนึ่ง เวลาบ่ายสามโมง (ของวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พศ.2445 ) เต็งกูอับดุลกอเดร์ กามารูดดีน เจ้าเมืองปัตตานี ก็ถูกตามไปพบกับพระยา ศรีสหเทพ ณ สถานที่แห่งหนึ่งในปัตตานี ที่รายล้อมด้วยกำลังทหารและตำรวจประมาณ 100 นาย พระยาศรีสหเทพ ได้ยื่นเอกสารให้เต็งกูอับดุลกอเดร์ลงนาม แต่ท่านไม่ยอม พระยาศรีสหเทพ จึงสั่งตำรวจและทหารจับกุมตัวเต็งกูอับดุลกอเดร์ พาลงเรือและนำไปควบคุมที่เมืองสงขลา ต่อมาก็ถูกส่งเข้าสู่บางกอก
วันนั้นเป็นวันอันสิ้นสุดของอาณาจักรปาตานีดารุสสาลามที่ปกครองโดยชาวมลายูปาตานีที่มีที่มานานกว่า 600 ปี นับจากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลานาน 100 ปี ปัตตานีนั้นเคยเป็นรัฐที่มีเอกราช ก่อนหน้านั้นหรือ ?

    ก่อนที่จะมาเป็นปาตานีนั้น ลังกาสุกะ เป็นชื่อที่ถูกเรียกมาก่อนของดินแดนแห่งนี้ ลังกาสุกะ เคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรมลายูมาก่อน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ โกตามาหาลิไกย


    การไปล่าสัตว์ป่าของพญาตูนักปา เดวาวังสา จนกระทั่งพบกระจงขาววิ่งหนี หายไปในระหว่างหาดทรายริมชายหาด พบผู้เฒ่าที่มีนามว่าโต๊ะตานี เป็นเหตุให้พระองค์ต้องย้ายเมืองหลวงจากโกตามาหาลิไกย มาตั้งที่กรือเซะ แล้วเปลี่ยนเป็นเมืองปาตานี
การเข้ามาของแซะห์ซาอีดในปาตานี เพื่อรักษาอาการป่วยของพญาตูนักปา จนพระองค์เข้ามารับนับถือศาสนาอิสลาม แล้วเปลี่ยนพระนามเป็น สุลต่านอิสมาแอล ชาห์ ซิลลุลลอฮ์ ฟิลอาลาม และการเรียกชื่อเมืองปาตานีเป็น ปาตานีดารุส สาลาม ได้มีการสืบทอดการปกครองอาณาจักรปาตานีดารุส สาลาม จนสิ้นสุดราชวงศ์ศรีมหาวังสา เนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของพระนางกูนิง แทบจะเรียกได้ว่าในระหว่างการปกครองของกษัตริย์ที่เป็นหญิงในปาตานีนั้นได้สร้างความเจริญรุ่งเรือง เทียบเท่ากับเมืองอัมสเตอร์ดัมในสเปนก็ไม่ปาน


    ปาตานีได้เปลี่ยนผู้ปกครองอีกหลายต่อหลายท่าน สมัย สุลต่านอะหมัด เป็นสุลต่าน ถึงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2329 ปาตานีก็ถึงกาลอวสาน โดยการเข้าโจมตีของกองทัพสยามทั้งทางบกและทางเรือ สุลต่านอะหมัด สิ้นชีพในการต่อสู้กับศัตรู บ้านเมืองถูกเผาทำลาย ชาวมลายูปาตานีถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก ทีสามารถหลบหนีได้ก็แยกย้ายกันไปอาศัยเมืองข้างเคียงอื่นๆ ส่วนหนึ่งก็ถูกจับตัวไปเป็นเชลยพร้อม ปืนใหญ่ศรีปาตานีที่ถูกยึดไปบางกอก เป็นการทำสงครามครั้งที่หกและเป็นครั้งแรกที่ปาตานีต้องสูญเสียอำนาจแก่สยาม
เต็งกูลัมมีเด็น ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าเมืองปาตานี แต่ก็ต้องสังเวยชีวิตในการทำสงครามเพื่อกอบกู้เอกราชจากสยามที่เขาลูกช้างในเมืองสงขลา เมื่อปี ค.ศ.1791


    หลังจากนั้นไม่นาน ดาโต๊ะปังกาลันก็ตกชะตากรรมคล้ายกับเต็งกูลัมมีเด็น ศีรษะของท่านได้ถูกตัดนำไปถวายแก่แม่ทัพสยามที่ปากน้ำปาตานี เมื่อ ปี ค.ศ.1810 นายกวงไส ชาวจีนจากจะนะก็ได้มีโอกาสเป็นเจ้าเองปาตานี หลังจากนั้นอีก 5 ปี
กระทั่ง พ.ศ.2359 สยามได้ปฏิรูปหัวเมืองประเทศราชโดย แบ่งแยกปาตานีออกเป็น 7 หัวเมือง เพื่อลดทอนอำนาจของปาตานีลง และให้อยู่ภายใต้การควบคุมของสงขลา แต่งตั้งให้ต่วนสุหลง เป็นเจ้าเมืองปาตานี ต่วนนิ เป็นเจ้าเมืองหนองจิก ต่วนมันโซร์ เป็นเจ้าเมืองรามัน ต่วนยาลอ เป็นเจ้าเมืองยะลา ต่วนนิดะห์ เป็นเจ้าเมืองระแงะ ต่วนนิเด๊ะ เป็นเจ้าเมืองสายบุรี และนายพ่าย (ชาวสยาม)เป็นเจ้าเมืองยะหริ่ง
สงครามระหว่างมลายูกับสยามในปี 2375 นั้นเกิดจากการขึ้นมากอบกู้เอกราชของชาวมลายูเคดะห์ โดยเต็งกูเด็น แม่ทัพของสุลต่านอาหมัด ตายูดดีน แห่งรัฐเคดะห์ จากเหตุการณ์นี้เมืองเล็กเมืองน้อยต่างๆของปาตานีต่างก็ถูกเกณฑ์ไปร่วมกับสยามโดยหัวเมืองสงขลาและนครศรีธรรมราช ต่อสู้กับเคดะห์ แต่การณ์กลับตาลปัดที่บรรดาเจ้าเมืองมายูกลับเข้าร่วมกับกองทัพของเต็งกูเด็น แม่ทัพเคดะห์ เข้ารบพุ่งกับกองทัพสยามต้องล่าถอยไป จวบจนกระทั่งกองทัพจากกรุงเทพฯลงมาร่วมกับนครศรีธรรมราช สงขลา เข้าตีกองทัพเคดะห์และปาตานี แตกล่าถอยไป ต่อมา ต่วนกูสุหลง เจ้าเมืองปัตตานี ต่วนกูโน เจ้าเมือง ยะลา และต่วนกือจิเจ้าเมืองหนองจิก สามพี่น้องถูกจับกุมตัวและถูกประหารชีวิตในเวลาต่อมา


    หลังจากนั้นเจ้าเมืองสงขลาได้แต่งตั้งเจ้าเมืองปกครองหัวเมืองปัตตานีต่างๆเสียใหม่ คือ นายนิยูโซ๊ะ เป็นเจ้าเมืองปัตตานี นายมิ่ง เป็นเจ้าเมืองหนองจิก ต่วนมันโซร์ เป็นเจ้าเมืองรามัน นายยิ้มซ้ายหรือเหมใส เป็นเจ้าเมืองยะลา นายนิดะห์ เป็นเจ้าเมืองสายบุรี นายนิบอซู เป็นเจ้าเมืองระแงะ และ นายพ่าย เป็นเจ้าเมืองยะหริ่ง ภายใต้การควบคุมของเมืองสงขลาเช่นเดิม เจ้าเมืองที่ได้รับการแต่งตั้ง ตกทอดแก่ชาวมลายูบ้างชาวสยามบ้างตามสถานการณ์


ลำดับการแต่งตั้งเจ้าเมืองในหัวเมืองปัตตานีหลังจากการปฏิรูป (1866-1902)


1.เมืองปัตตานี ได้มีการแต่งตั้งเต็งกูมูฮัมหมัด หรือเต็งกูบือซาร์ กำปงเลาท์ เชื้อสายกลันตัน มาเป็นเจ้าเมืองปัตตานี เมื่อสิ้นชีวิตก็แต่งตั้งบุตรชายเต็งกูปูเต๊ะ เป็นเจ้าเมือง เมื่อเต็งกูปูเต๊ะ สิ้นชีวิต ก็แต่งตั้งเต็งกูตีมุน (เต็งกูบือซาร์)เป็นเจ้าเมือง เมื่อสิ้นชีวิตก็แต่งตั้งเต็งกูสุไลมาน หรือ สุลต่านสุไลมาน ซารีฟูดดีน ชาห์ และสุดท้าย เต็งกูอับดุลกอเดร์ กามารูดดีน เป็นเจ้าเมืองปาตานีคนสุดท้าย


2.เมือง รามัน แต่งตั้ง ต่วนมันโซร์ หรือ โต๊ะนิ โต๊ะและห์ เป็นเจ้าเมือง เมื่อสิ้นชีด ก็แต่งตั้งต่วนกูโน หรือ นิอูลู เมื่อสิ้นชีพก็แต่งตั้ง ต่วนญากง หรือเต็งกูอับดุลกานดิส, เมื่อสิ้นชีพ ปลัดเมืองคือ ต่วนลือเบะ ลงราญา ก็รักษาการโดยไม่ทันได้มีการแต่งตั้งเป็นทางการก็ถูกจับกุม ถือเป็นเจ้าเมืองคนสุดท้ายของเมืองรามัน


3.เมืองยะลา ได้แต่งตั้ง ต่วนยาลอเป็นเจ้าเมือง เมื่อสิ้นชีพก็แต่งตั้ง ต่วนบางกอก เมื่อสิ้นชีพ ก็แต่งตั้งนายเหมไส ชาวจีนจากสงขลา ต่อมาก็ปลดแล้วแต่งตั้งนายเมือง ชาวสยามมาเป็นเจ้าเมือง เมื่อปลดนายเมืองก็แต่งตั้งเต็งกูมูฮัมหมัดสาและ(ต่วนบาตูปูเต๊ะ)เป็นเจ้าเมือง เมื่อสิ้นชีพก็แต่งตั้ง ต่วนตีมุนเป็นเจ้าเมือง เมื่อสิ้นชีพก็แต่งตั้ง เต็งกูสุไลมาน หรือต่วนกือจิ เป็นเจ้าเมืองยะลาคนสุดท้าย


4.เมืองสายบุรี แต่งตั้ง นิดะห์ หรือ เต็งกูญาลาลูดดีน เป็นเจ้าเมือง เมื่อสิ้นชีพก็แต่งตั้ง นิคกัลสิห์ หรือเต็งกูอับดุลกอเดร์ เป็นเจ้าเมือง เมื่อสิ้นชีพก็แต่งตั้งเต็งกูอับดุลมุตตอลิบ หรือนิปิ เป็นเจ้าเมืองคนสุดท้าย


5.เมืองระแงะ แต่งตั้งนิคดะห์ เป็นเจ้าเมือง เมื่อสิ้นชีพก็แต่งตั้งนิยูโซ๊ฟ หรือ นิบอซู เป็นเจ้าเมือง เมื่อสิ้นชีพก็แต่งตั้งต่วนนง หรือต่วนอันดัค เป็นเจ้าเมือง เมื่อสิ้นชีพก็แต่งตั้งต่วนตือเงาะห์ หรือต่วนเต๊ะ เป็นเจ้าเมือง เมื่อสิ้นชีพก็แต่งตั้งเต็งกูเงาะห์ ซัมซูดิน เป็นเจ้าเมืองคนสุดท้าย


6.เมืองยะหริ่ง แต่งตั้งนายไผ่ ชาวสยามจากสงขลาเป็นเจ้าเมือง เมื่อสิ้นชีพก็แต่งตั้งนายเหมใส รักษาการ แล้วก็แต่งตั้งนายนิโซ๊ะ จากเจ้าเมืองปัตตานีมาเป็นแทน เมื่อนิโซ๊ะ สิ้นชีพก็แต่งตั้ง ต่วนเดวา กลันตันมาเป็นเจ้าเมืองเมื่อสิ้นชีพก็แต่งตั้งนิตีมุน เป็นเจ้าเมืองแทน เมื่อสิ้นชีพก็แต่งตั้งนิมะ เป็นเจ้าเมือง เมื่อสิ้นชีพก็แต่งตั้งนายนิโว๊ะ เป็นเจ้าเมืองยะหริ่งคนสุดท้าย


7เมืองหนองจิก ได้แต่งตั้งต่วนนิ หรือ ต่วนกือจิ เป็นเจ้าเมือง เมื่อเสียชีวิตก็แต่งตั้งนายมิ่งชาวสยามจากสงขลาเป็นเจ้าเมืองแทน เมื่อปลดนายมิ่ง ก็แต่งตั้งนายเคียง เป็นแทน เมื่อสิ้นชีพก็แต่งตั้งนายวูหยาง ชาวจีนเป็นแทน ต่อมาก็แต่งตั้งนายมิ่งมาเป็นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อสิ้นชีพก็แต่งตังนายทัด เป็นเจ้าเมืองคนสุดท้าย
นอกจากนี้สยามยังได้แยกเมืองสตูลจา

กเคดะห์ ให้เป็นหัวเมืองที่ขึ้นกับสงขลาทำนองเดียวกับในปัตตานี โดยแต่งตั้งเต็งกูรียาอูดดีน เป็นเจ้าเมืองสตูลคนแรก เมื่อสิ้นชีพก็แต่งตั้งเต็งกูบิสนู เมือเต็งกูบิสนูสิ้นชีพก็แต่งตั้งเต็งกูมูฮัมหมัดอากิบ เป็นเจ้าเมือง ต่อมาก็แต่งตั้งเต็งกูอับดุลเราะห์มาน และแต่งตั้งเต็งกูดิน เป็นเจ้าเมืองมลายูสตูลคนสุดท้าย
 

พ.ศ.2440 พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ การแต่งตั้งเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการเมือง ต้องมาจากพระบรมราชโองการที่มาจากส่วนกลางเท่านั้น การสืบทอดเจ้าเมืองตามแบบมลายูเดิมนั้นจะต้องยกเลิกในทุกกรณี การที่จะปลดเจ้าเมืองมลายูไปจากอำนาจที่มีมาแต่อดีตกาลนั้น มีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนไม่น้อย โดยเริ่มจากห้ามมิให้เจ้าเมืองมลายูเข้าเกี่ยวข้องกับการเก็บภาษี การเก็บภาษีเป็นหน้าที่ของข้าราชการที่ถูกส่งมาจากส่วนกลาง ซึ่งมีการ


เรียกเก็บมากกว่าเดิมและมีการเบียดบังเอาเป็นประโยชน์ส่วนตัว ทำให้ราษฎรเดือดร้อนและเข้าใจว่าเจ้าเมืองของตนนั่นเองรวมหัวกับข้าราชการเก็บภาษีเอาไว้ประโยชน์ส่วนตัว เมื่อเต็งกูสุไลมาน สิ้นชีวิต เต็งกูอับดุลกอเดร์ก็เข้ารักษาการเจ้าเมืองปัตตานี
พ.ศ.2444 พระยาศักดิเสนีย์ ถูกส่งตัวไปเป็นผู้สำเร็จราชการมณฑลปัตตานีพร้อมด้วยกำลังทหาร เพื่อปลดเจ้าเมืองมลายูออกจากอำนาจ เริ่มด้วยการจับกุม ต่วนลือเบะ รักษาการเจ้าเมืองรามัน ไปยังจังหวัดสงขลา หลังจากนั้นก็ไม่มีใครทราบชะตากรรม ทำให้ประชาชนรวมตัวกันเรียกร้องให้ปล่อยตัวต่วนลือเบะ


13 สิงหาคม 2444 เต็งกูอับดุลกอเดร์ เจ้าเมืองปัตตานี เต็งกูอับดุลมุตตอเล็บ เจ้าเมืองสายบุรี และเต็งกูเงาะห์ ซัมซูดิน เจ้าเมืองระแงะ ได้ทำหนังสือร้องเรียน และขอความช่วยเหลือจาก สวิทเท่นแฮม ผู้แทนอังกฤษที่สิงคโปร์


23 ตุลาคม 2444 พระยาศรีสหเทพ เดินทางไปปัตตานี พร้อมด้วยเอกสารฉบับหนึ่งให้เต็งกูอับดุลกอเดร์ ลงนาม แต่ในเบื้องต้นท่านไม่ยอมลงนาม จนกระทั่งพระยาศรีสหเทพ ได้หาล่ามมาแปลหนังสือดังกล่าวเป็นภาษามลายู จนเต็งกูอับดุลกอเดร์หลงเชื่อ จึงได้ลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าว จากนั้นพระยาศรีสหเทพ ก็เดินทางไปยังสิงคโปร์ แสดงหนังสือที่เต็งกูอับดุลกอเดร์ลงนามไว้แล้วนั้นให้สวิทเท่นแฮมได้ดูเป็นหลักฐานว่า เจ้าเมืองปัตตานีได้ยินยอมสละอำนาจให้สยามแล้ว ด้วยเหตุดังกล่าวเต็งกูอับดุลกอเดร์ จึงได้ทำหนังสือคัดค้านไปยังกรุงเทพฯแต่ไม่ได้รับความสนใจ


นอกจากนั้น เต็งกูอับดุลกอเดร์ ยังมีหนังสือไปถึงสวิทเท่นแฮม ฉบับวันที่ 13 สิงหาคม 2544 มีใจความดังนี้

 
“ I trust that the trouble and grievances which are being impost on my people will be seen by your excellency to be so harrasing and unendurable that the peace and well being of the state are endangered…and also that it will be seen that my application for the intervention and good offices of Great Britain has good grounds on which it is founded, and on which such application can be made to Great Britain or some other of the Great Power either Europeans or other.“


ดังนั้น เวลาบ่ายสามโมงของวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2445 พระยาศรีสหเทพ จึงได้สั่งทหารจับตัวเต็งกูอับดุลกอเดร์ ลงเรือไปยังจังหวัดสงขลาทันที่โดยมี หะยีอับดุลลาตีฟ โต๊ะอีหม่ามมัสยิดรายาจะบังติกอติดตามไปด้วย หลังจากก็ถูกนำส่งตัวส่งไปยังกรุงเทพฯและถูกจำขังที่พิษณุโลกตามลำดับ


เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2445 เต็งกูเงาะห์ ซัมซูดิน และเต็งกูอับดุลมุตตอลิบก็ถูกจับกุมตัว และถูกปล่อยตัวเป็นอิสระเมื่อ เดือนเมษายน 2446 ส่วนเต็งกูอับดุลกอเดร์ ได้การปล่อยตัวเมื่อ 21 มีนาคม พ.ศ.2447


เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2452 ข้อตกลงสยาม-อังกฤษ (Anglo-Siam treaty) ในการแบ่งเขตแดนระหว่างอังกฤษ-สยาม ก็มีการลงนามกันขึ้น ทำให้สตูลและปัตตานีมาส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม ในขณะที่กลันตัน ตรังกานู เคดะห์ และ เปอร์ลิส ขึ้นกับอาณานิคมอังกฤษ เป็นการแบ่งสรรกันโดยเจ้าของแผ่นดินไม่มีสิทธิได้รับรู้


เมื่อเดือน 31 สิงหาคม 2506 อังกฤษได้ปลดปล่อยรัฐมลายูทั้งปวงได้เป็นอิสระ เขาเหล่านั้นได้พัฒนาบ้านเมืองของตนไปตามกรอบที่อังกฤษได้วางไว้ เจริญล้ำหน้ากว่าในหลายๆประเทศ ในขณะที่ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ก็ยังคงเป็นเมืองที่มีฐานะยากจน,ล้าหลัง ด้อยการศึกษาอยู่อีกต่อไป


อนิจจา ปาตานี ที่เคยเจริญรุ่งเรืองในอดีต ได้กลายเป็นอาณาจักรที่ถูกลืม มาตั้ง 100 ปี แล้ว


Patani Yg Diabai
ปัตตานีที่ถูกลืม


Patani Basin
 


Masji Kersik
 

Photo Album
Sejarawan Patani
Sejawaran Siam
Sejarawan Luar
Peristiwa Kersik
Tragedi Takbai
Tempat Bersejarah

Sri Patani

Masjid Teluk Manok

 

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1