ลำดับอธิการ ประวัติการเชียร์และแปรอักษร ประวัติคุณพ่อกอลมเบต์ ประวัติภราดา ฟ.ฮีแลร์ ประวัติภราดา มาร์ติน
พัฒนาการอาคาร คุณพ่อกอลมเบต์กับอัสสัมชัญ "บราเดอร์ ฮีแลร์ผู้จากไปอย่างไม่มีวันกลับ" อัสสัมชัญของเรา เพลงโรงเรียน&เพลงเชียร์ ดรุณศึกษา อัสสัมชนิก
รัชกาลที่ 8 และช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
พ.ศ. 2478 - 2489 (ค.ศ. 1935 - 1946)
อาคารสำคัญในช่วงนี้คือ ตึกกอลมเบต์
	เมื่อวิกฤติสำคัญสองอย่างได้คลีคลายลง หนึ่งคือการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง และสองคือสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ก็
      เท่ากับว่าประเทศไทยได้เข้าสู่ยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงการเริ่มต้นใหม่ของหลายสิ่งปรากฎขึ้นในหลากหลายแนวทาง ในยุคนี้การก่อสร้าง
      อาคารมีลักษณะ "สมัยใหม่" มากกว่าการเลียนแบบสิ่งก่อสร้างยุคเก่าของตะวันตก รวมทั้งการจัดจ้างสถาปนิก วิศวกรจากต่างประเทศก็
      แทบจะหมดไปโดยสิ้นเชิงส่วนหนึ่งมาจากการปฏิวัติวิชาชีพจากสถาปนิกไทยเองที่เริ่มเรียนจบมาจากต่างประเทศและเข้ามามีบทบาทแทนที่
      สถาปนิกตะวันตกที่เคยรับจ้างอยู่ตามหน่วยงานราชการต่างๆซึ่งมีมาแต่ครั้งรัชกาลที่ 5 ซึ่งสถาปนิกเหล่านี้ได้รับอิทธิพลงานออกแบบสมัย
      ใหม่แนวศตวรรษที่ 20 เมื่อประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้น และความจำเป็นที่ต้องขยายหน่วยงานราชการ ตลอดจนบ้านพักอาศัย
      ของประชาชนใน กรุงเทพฯที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้งานออกแบบสมัยใหม่มีให้พบเห็นมากขึ้นและเป็นที่ยอมรับอย่างรวดเร็ว
	"ตึกกอลมเบต์" ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสำคัญ รำลึกถึงคุณพ่อกอลมเบต์ผู้ล่วงลับ ก็เป็นอาคารหลังหนึ่งที่สร้างขึ้นใน
      ช่วงนี้ สไตล์งานออกแบบเห็นได้ชัดว่าเป็นลักษณะ Modern ที่มีความเรียบง่ายใช้เส้นสายในงานออกแบบแต่เพียงเล็กน้อย แต่ได้น้ำหนัก
      เหมาะเจาะ ความสมดุลของตัวอาคารไม่เป็นแบบแกนกลาง ทางเข้าหลักก็ไม่ได้อยู่ที่ตรงกลาง แต่อยู่ที่ปีกด้านหนึ่งของอาคาร ซึ่งเน้นทางเข้า
      สำคัญนี้ด้วยmassของทางเข้าและตัวหอสูง(หอนาฬิกา)
	อาคารเปิดโปร่งมากขึ้นด้วยวิธีออกแบบและวัสดุที่ก้าวกน้าขึ้น โดยราวระเบียงไม่มีเสาย่อย และทำราวเป็นเพียงเหล็กเส้นแนว
      ยาวไปตลอดตัวอาคาร
	เมื่อสร้างอาคารใกล้เสร็จ ได้มีการรื้อถอนตึกเตี้ยเก่าออกแล้วสร้าง "ตึกเตี้ย หลังใหม่"และครั้งนี้ใช้บริเวณของดาดฟ้าเป็นทาง
      เดินเชื่อมระหว่างตึกทั้งสอง
	อาคารทั้งสองออกแบบและควบคุมงานโดย บริษัทคริสเตียนี แอนด์ นีลเสน ซึ่งเป็นบริษัทต่างชาติเก่าแก่ที่ยังคงได้รับความ
      ไว้วางใจในการก่อสร้างงานอาคารขนาดใหญ่
	อาณาบริเวณของโรงเรียนที่มีปรากฎในช่วง พ.ศ. 2482 จึงนับได้ว่าสวยงามร่มรื่นอย่างยิ่งด้วยจำนวนอาคารและการจัดวาง
      อาคารที่พอดี มีอาคารเรียนหลักสำคัญสามหลังวางตัวขนานกัน คือ "ตึกเก่า" "เรือนไม้ชั่วคราว" และ"ตึกกอลมเบต์"
	สงครามโลกครั้งที่ 2 และภัยธรรมชาติในปี พ.ศ.2485 - 2486 สร้างความเสียหายให้แก่โรงเรียนซึ่งกำลังอยู่ในสภาพที่ดี
      พร้อมเรือนไม้เสียหายจนต้องรื้อเอาชิ้นส่วนไปปลูกสร้างใหม่ที่ศรีราชาในภายหลัง ส่วนกอลมเบต์เสียหายที่ส่วนของหอนาฬิกา ทางด้านการ
      เรียนการสอนต้องงดลงเนื่องจากเจษฎาจารย์ต่างต้องอพยพไปพักพิงที่อื่นหรือเดินทางกลับประเทศด้วยวิกฤติการณ์สงครามโลก
     
Thanks for coming
©Copyright 2002 Assumption College History All rights reserved.
Hosted by www.Geocities.ws

1