ลำดับอธิการ ประวัติการเชียร์และแปรอักษร ประวัติคุณพ่อกอลมเบต์ ประวัติภราดา ฟ.ฮีแลร์ ประวัติภราดา มาร์ติน
พัฒนาการอาคาร คุณพ่อกอลมเบต์กับอัสสัมชัญ "บราเดอร์ ฮีแลร์ผู้จากไปอย่างไม่มีวันกลับ" อัสสัมชัญของเรา เพลงโรงเรียน&เพลงเชียร์ ดรุณศึกษา อัสสัมชนิก
25 ปีท้ายในรัชกาลที่ 5
พ.ศ. 2428 - พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1885 - ค.ศ. 1910)
อาคารที่สำคัญช่วงนี้คือ อาคารเรียนหลังแรก
อาคารเรียนหลังแรก
                    25 ปีแรกของการก่อตั้งโรงเรียนนับเป็นรากฐานแห่งความเจริญวัฒนาของโรงเรียนในปัจจุบันอย่างแท้จริง ทั้งใน 25ปีนั้น
      ก็เป็นช่วงเดียวกับที่ประเทศไทยมีการก่อร่างสร้างรากฐานแห่งการพัฒนาของประเทศไปด้วยพร้อมกันเห็นได้จากการวางโครงสร้าง
      สาธารณูปโภค สาธารณูปการทั้งหลายของประเทศที่ดำเนินก้าวหน้ามาจนปัจจุบันล้วนเป็นกิจการที่เริ่มต้นในช่วงนี้ทั้งสิ้น ทั้งนี้โดยริเริ่ม
      จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับที่พระราชทานชีวิตและโอกาสแก่โรงเรียนอัสสัมชัญ
      ในช่วงเริ่มต้นด้วยเช่นกัน	
               อัสสัมชัญวิทยาลัยเริ่มก่อตั้งอย่างเป็นทั้งการจากความมุ่งมั่นศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะให้การศึกษาอบรมเด็กๆด้วยเจตนารมณ์
      ของคุณพ่อกอลมเบต์ ท่านจัดการปรับปรุงสถานที่ ที่มีอยู่โดยใช้ที่ดินถัดเข้ามาด้านหลังของที่ดินโบสถ์อัสสัมชัญ(ถือว่าด้านหน้าคือด้านติด
      แม่น้ำเจ้าพระยา ตามความสำคัญของการคมนาคมสมัยก่อน) ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่สามเณราลัยของมิสซังวัดอัสสัมชัญ (หลังแรก) ขนาดแปลง
      ที่ดิน 8 ไร่ 3 งาน ในพื้นที่มีเรือนไม้ใต้ถุนสูงอยู่หลังหนึ่งซึ่งสามารถกั้นพื้นที่ด้านล่างและชั้นบนเป็นห้องเรียนได้รวม 4ห้อง และใช้บ้านไม้
      อันเป็นที่พำนักของคุณพ่อกังตอง(Pere Ganton)เป็นที่พักมีที่ว่างเป็นลานมุงหลังคาจากเป็นที่เล่นของเด็กๆเปิดรับนักเรียนทั่วไปใน
      กรุงเทพฯ เปิดเรียนครั้งแรกมีนักเรียน 33คน
               จากจำนวนนักเรียนเพียง 33คนในช่วงปีแรก เพิ่มเป็น 130 คนในปีการศึกษาใหม่ทำให้คุณพ่อกอลมเบต์ผู้มองการณ์ไกลทั้ง
      ดีใจและหนักใจ ในประการหลังนั้นด้วยความเป็นห่วงใยในสถานที่เรียน ซึ่งท่านทราบแก่ใจดีว่าการก่อสร้างหมายถึงเงินที่ใช่จะหามาได้
      โดยง่าย ในที่สุดท่านได้ร่างแผนผังวิทยาลัยในอนาคตของท่านนำเสนอต่อสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ พระองค์ท่านเห็นชอบ
      ด้วย ต่อมาคุณพ่อจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ และได้รับพระราชทานเงินบริจาคจากทั้งล้นเกล้าฯ และ
      จากสมเด็จพระอัครมเหสี ตลอดจนบรรดาเจ้านายและข้าราชการชั้นสูง ได้ร่วมบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลในครั้งนั้นด้วย
               อาคารหลังใหม่ซึ่งถือว่าเป็น "ตึกเรียนหลังแรก" และปรากฏสง่างามเป็นที่กล่าวขานไปอีกนับอายุได้ร่วม 80ปี เป็นอาคารจาก
      การออกแบบของสถาปนิกชาวตะวันตกซึ่งมีผลงานโดดเด่นที่สุดคนหนึ่งในรัชกาลที่ 5 คือJoachim หรือ Gioachino Grassi เป็นชาว
      อิตาลีโดยกำเนิด แต่ภายหลังได้โอนสัญชาติเป็นคนในบังคับของฝรั่งเศส ลักษณะเป็นอาคารสามชั้นแบบสมมาตร มีมุขกลางขนาดใหญ่ และ
      มุขกระสันที่ปีกสองข้าง อาคารวางตัวแนวยาวประมาณ 60 เมตร สัดส่วนของสถาปัตยกรรมตลอดจนการตกแต่งเป็นแบบตะวันตกในสไตล์
      คลาสสิคแบบเรียบ ความนิยมการก่อสร้างอาคารสไตล์ตะวันตกโดยช่างตะวันตกเช่นนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการเป็นอาคารแบบสาธารณะที่ต้อง
      มีการใช้ประโยชน์จากคนจำนวนมาก สิ่งนี้เป็นสิ่งใหม่สำหรับประเทศและคนไทยสมัยนั้นจำเป็นต้องใช้วิทยาการใหม่ๆทางการก่อสร้างจาก
      ต่างประเทศเพื่อให้อาคารมีความแข็งแรง
ตึกเก่า
      อาคารสร้างเสร็จและเริ่มใช้งานในปี พ.ศ.2433 ในช่วงนั้นมีนักเรียนประมาณ 400 คน ภายหลังเรียกขานตึกหลังนี้ว่า "ตึกเก่า"
             
     
Thanks for coming
©Copyright 2002 Assumption College History All rights reserved.
Hosted by www.Geocities.ws

1