ลำดับอธิการ ประวัติการเชียร์และแปรอักษร ประวัติคุณพ่อกอลมเบต์ ประวัติภราดา ฟ.ฮีแลร์ ประวัติภราดา มาร์ติน
พัฒนาการอาคาร คุณพ่อกอลมเบต์กับอัสสัมชัญ "บราเดอร์ ฮีแลร์ผู้จากไปอย่างไม่มีวันกลับ" อัสสัมชัญของเรา เพลงโรงเรียน&เพลงเชียร์ ดรุณศึกษา อัสสัมชนิก
ฟ.ฮีแลร์ และมรดกวรรณกรรม
	ท่านเจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์นับเป็นบุคคลหนึ่งผู้มีบทบาททางการศึกษาโดยท่านแม้เป็นชาวต่างชาติ ก็มิได้ย่อท้อในอันที่จะเห็น
ความเจริญทางการศึกษาของเยาวชนไทยในสมัยนั้น ได้เพียรเร่งรัดตนเองมุมานะที่จะอ่านออกเขียนได้ในภาษาไทยจนถึงได้แต่งตำรา
ดรุณศึกษาขึ้นใช้แทนตำราไทยของไทยในสมัยนั้นคือ มูลบทบรรพกิจ ทั้งๆที่เวลานั้นท่านเพิ่งอยู่เมืองไทยได้เพียง 8ปีและหนังสือดรุณศึกษา
ก็ได้กลายมาเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของท่านที่ได้สร้างสรรค์ไว้แก่เยาวชนไทยแก่การศึกษาไทยมาตราบจนทุกวันนี้
มูลเหตุแห่งการนิพนธ์หนังสือดรุณศึกษา
	"ฟ.ฮีแลร์ ท่านได้เคยเล่าให้ฟังว่า ใจหนึ่งก็กลัวเด็กไทย ใจหนึ่งก็อยากเรียนภาษาไทยเวลาแรกสอนภาษาอังกฤษหรือภาษา
      ฝรั่งเศสอยู่ห้องหนึ่งนั้น หูมักพยายามเงี่ยฟังว่าห้องถัดไปเขาสอนภาษาไทยว่าอย่างไร" การที่ ฟ.ฮีแลร์มีความสนใจในภาษาไทยสามารถอ่าน
      มหาชาติได้อย่างเข้าใจแสดงถึงความมีอัจฉริยภาพความเป็นนักปราชญ์ความไพเราะของจังหวะจะโคนตลอกจนลีลาของภาษาไทยที่นักเรียน
      ท่องจากมูลบรรพกิจชวนให้ท่านเพิ่มความอุตสาหะที่จะศึกษาเรียนรู้คำศัพท์จนรู้ความหมาย และทำให้ท่านทวีความเพียรที่จะแต่งตำรา
      ภาษาไทยให้เด็กนักเรียนใช้เป็นตำราเรียนภาษาไทยในโรงเรียนอัสสัมชัญ
ผู้มีคุณูปการในการศึกษาภาษาไทยของ ฟ.ฮีแลร์
	ผู้มีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้ในชั้นต้นในการเรียนภาษาไทยของท่าน ฟ.ฮีแลร์ก็คือครูวันซึ่งภายหลังได้เป็นพระยาวารสิริ
      และอีกท่านหนึ่งก็คือท่านมหาทิม และครูฟุ้ง เจริณวิทย์ ฟ.ฮีแลร์ได้ยกย่องผู้มีคุณูปการต่อท่านมากเห็นจะเป็นท่านมหาศุข  ศุภศิริ ด้วยท่านนี้
      เป็นผู้มีอุปนิสัยเยือกเย็นและมีความรู้ลึกซึ้งกว้างขวาง เป็นผู้ที่คอยช่วยขัดเกลาบทร้อยกรองของ ฟ.ฮีแลร์
ดรุณศึกษาเมื่อแรกแต่ง
	สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีพระเมตตาต่อท่าน ฟ.ฮีแลร์เป็นอย่างยิ่งด้วยว่าพระองค์ท่านจะทรง
      ตรวจแก้ไขงานที่ฟ.ฮีแลร์แต่งขณะนั้นคือดรุณศึกษา ด้วยจะใช้เป็นตำราแทนตำรามูลบทบรรพกิจ ครั้นเอาความไปเล่าให้บาทหลวงกอลมเบต์
      ฟัง ท่านก็เห็นด้วย ครั้นสมเด็จฯเสด็จมาที่โรงเรียน ท่านบาทหลวงจึงนำเฝ้าและเล่าเรื่องถวายท่านเลยทีเดียว ท่านว่าอายก็อาย ดีใจก็ดีใจ ที่
      สมเด็จฯ ตรัสเรียกเอาต้นฉบับไปทอดพระเนตร แต่ที่ไหนได้ทรงแก้ไขประทานและตรัวชมเชยมามากเป็นเหตุให้ท่านเกิดกำลังใจ ครั้นตีพิมพ์
      ออกไปใครต่อใครก็ยกย่องสรรเสริญมาท่านเลยแต่งต่อจนครบ 5 เล่ม
	หนังสือดรุณศึกษาเมื่อแรกแต่งมีทั้งหมด 3 เล่ม ได้แก่ ดรุณศึกษาตอน กอ ขอ ดรุณศึกษาตอนกลาง และดรุณศึกษาตอนปลาย 
      กาลต่อมาท่านเห็นว่าดรุณศึกษาตอน กอ ขอ มีขนาดรูปเล่มหนา กว่าจะเรียนจบหนังสืออาจจะชำรุดไปมาก ดังนั้นในการพิมพ์ครั้งที่ 4 จึงได้
      แบ่งเป็น 2 ตอนกล่าวคือ ตอนที่ 1 ยังคงกล่าวถึง ก ข จนจบแม่ ก กา ตอนอากู๋ และใช้ชื่อหนังสือ ดรุณศึกษาตอน กอ ขอ ส่วนที่ 2 เรียกว่า
      ดรุณศึกษาตอนต้น อีกทั้งท่าน ฟ.ฮีแลร์ยังได้ปรับปรุงสำนวนภาษาให้เข้าใจง่าย
     
Thanks for coming
©Copyright 2002 Assumption College History All rights reserved.
Hosted by www.Geocities.ws

1