ลำดับอธิการ ประวัติการเชียร์และแปรอักษร ประวัติคุณพ่อกอลมเบต์ ประวัติภราดา ฟ.ฮีแลร์ ประวัติภราดา มาร์ติน
พัฒนาการอาคาร คุณพ่อกอลมเบต์กับอัสสัมชัญ "บราเดอร์ ฮีแลร์ผู้จากไปอย่างไม่มีวันกลับ" อัสสัมชัญของเรา เพลงโรงเรียน&เพลงเชียร์ ดรุณศึกษา อัสสัมชนิก
                         จนกระทั่งปีพ.ศ.2427 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เริ่มจัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้น จึงนับว่าโอกาสทางการศึกษาได้กระจาย
      ออกสู่คนทั่วไปในสังคมเป็นครั้งแรก วัตถุประสงค์ของการนี้ก็เพื่อใหราษฎรได้มีการศึกษาเล่าเรียนตามแบบแผนที่ราชการกำหนดให้
      เป็นมาตรฐานเดียวกัน แทนที่จะขึ้นอยู่กับครู(พระ)ผู้สอนแต่ละรายเช่นเดิม แต่ก็ยังอิงรากฐานการศึกษาเดิมอยู่บ้างโดยการจัดตั้งโรงเรียน
      ขึ้นตามวัด โรงเรียนแรก คือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม
                   ปรากฏว่าได้เกิดเล่าลือไปในหมู่ราษฎรว่า รัฐจัดตั้งโรงเรียนขึ้น เพื่อเกณฑ์เด็กไปเป็นทหาร ทำให้คนไม่อยากส่งบุตรหลานเข้าเรียนถึงกับ
      ต้องออกหมายประกาศชี้แจง
                   "...ทรงพระราชดำริเห็นว่าการวิชาหนังสือเป็นต้นทางของวิชาความรู้ทั้งปวง สมควรที่จะทำนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไป เพราะคน
      ในพื้นบ้านเมืองสยามเรานี้ ที่จนโตใหญ่ไม่รู้หนังสือไทยก็มีโดยมากที่รู้พออ่านเขียนได้แต่ ไม่ถูกถ้วนนั้นก็มีโดยมาก เพราะโรงเรียนที่สอน
      วิชาตามแบบหลวง นั้นยังมีน้อยไม่พอกับผู้ที่จะเล่าเรียน มีพระราชประสงค์จะให้พระบรมวงศานุวงศ์และบุตรหลานข้าราชการและราษฎร
      ทั้งปวงได้เล่าเรียนศึกษาหนังสือไทยให้รู้โดยละเอียดตามแบบที่ถูกต้อง จึงทรงเสียสละพระราชทรัพย์ออกตั้งโรงเรียน และจ้างครูสอน
      บำรุงการเล่าเรียน..."
                        "...อนึ่งเด็กทั้งปวงนี้ก็ล้วนแต่เป็นบุตรหลานไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั้งสิ้นด้วยกัน ถ้าจะเก็บเอามาเป็นทหารเสียตรงๆนั้นจะไม่ได้หรือจะต้อง
      ตั้งโรงเรียนเกลี้ยกล่อมให้ลำบากและเปลืองพระราชทรัพย์ด้วยเหตุใด..."
                        หลังจากหมายประกาศนี้ออกไปในปี พ.ศ.2428แล้ว ราษฎรก็จึงเข้าใจและพากันส่งบุตรหลานเข้าเรียน การจัดตั้งโรงเรียนหลวงตาม
      วัดก็แพร่หลายออกไปเป็นลำดับ
                  การจัดให้มีโรงเรียนแบบใหม่ขึ้นในบ้านเมืองโดยที่คนทั่วไปยังไม่เข้าใจถึงระบบระเบียบและวิธีการศึกษานั้นก็เป็นภารกิจที่ยุ่งยาก
      และสิ้นเปลืองมากอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยากยิ่งกว่านั้นก็คือการโน้มน้าวให้คนเห็นประโยชน์และความสำคัญของการศึกษาเล่าเรียน รวมทั้งให้
      มาเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนดังจะเห็นได้จากหมายประกาศที่ได้ยกมาข้างต้นนั่นคือสภาพการณ์การศึกษาของไทยในช่วงครึ่งแรก
      แห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ และในสภาพการณ์เช่นนี้เองที่โรงเรียนอัสสัมชัญได้ถือกำเนิดขึ้น
                  ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของโรงเรียนอัสสัมชัญอีกครั้งหนึ่ง เมื่อคุณพ่อกอลมเบต์ริเริ่มที่จะให้การศึกษาแก่เด็กคาทอลิกในชุมชนละแวก
      วัดสวนท่านด้วยการสอนวิชาความรู้และศาสนาควบคู่กันไป ในระยะแรกท่านสอนเป็นภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศส จนเป็นที่มาของชื่อ
      โรงเรียนดังได้กล่าวแล้ว โรงเรียนแห่งนี้เริ่มต้นในปี พ.ศ.2420 หลังจากนั้นอีก8ปี ก็พัฒนามาเป็น "โรงเรียน อาซมซาน กอเล็ศ"
     
Thanks for coming
©Copyright 2002 Assumption College History All rights reserved.
Hosted by www.Geocities.ws

1