ลำดับอธิการ ประวัติการเชียร์และแปรอักษร ประวัติคุณพ่อกอลมเบต์ ประวัติภราดา ฟ.ฮีแลร์ ประวัติภราดา มาร์ติน
พัฒนาการอาคาร คุณพ่อกอลมเบต์กับอัสสัมชัญ "บราเดอร์ ฮีแลร์ผู้จากไปอย่างไม่มีวันกลับ" อัสสัมชัญของเรา เพลงโรงเรียน&เพลงเชียร์ ดรุณศึกษา อัสสัมชนิก
                        ความแตกต่างระหว่างโรงเรียนเก่ากับโรงเรียนใหม่ของคุณพ่อกอลมเบต์ก็คือ โรงเรียนใหม่แห่งนี้มิได้เป็นโรงเรียนวัดที่มุ่งสอนเฉพาะ
      เด็กคาทอลลิกอีกต่อไป หากแต่เป็นโรงเรียนที่เปิดกว้างสำหรับนักเรียนทุกเชื้อชาติ ศาสนา ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านหลักการที่
      สำคัญยิ่งอันมีผล เปลี่ยนแปลงทางปฏิบัติคือ ทำให้โรงเรียนของคุณพ่อกอลมเบต์มิได้เป็นโรงเรียนที่ให้การศึกษาแก่บุคคลเฉพาะกลุ่ม
      อีกต่อไป
                  เมื่อพิจารณาช่วงเวลาที่โรงเรียนแห่งนี้เปิดสอนคือ พ.ศ.2428 จะเห็นว่าเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่รัฐกำลังจัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับ
      ราษฎร ขึ้นตามวัดโดยมีวัตถุประสงค์ให้ราษฎรทั่วไปได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนตามแบบหลวงที่ได้จัดให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์และบุตร
      หลานข้าราชการมาก่อนแล้ว นโยบายดังกล่าวของรัฐส่งผลให้การจัดการศึกษาของรัฐเปิดกว้างออกสู่คนทุกกลุ่มในสังคม  อนึ่งการจัดการ
      ศึกษาแก่ราษฎรนี้เป็นการใหม่ที่ริเริ่มขึ้นจึงน่าที่จะขาดความพร้อมหลายประการ อาทิ ครูผู้สอน งบประมาณ และสถานที่ โรงเรียนหลวงที่
      เปิดตามวัดต่างๆจึงทยอยเปิดทีละโรง ทั้งนี้ยังไม่คำนึงถึงความยากลำบากในการชักชวนโน้มน้าวให้คนเห็นประโยชน์ส่งบุตรหลานเข้ามา
      เรียน เมื่อโรงเรียนอัสสัมชัญ หรือ อาซมซาน กอเล็ศ เปิดขึ้นจึงเป็นการสอดรับกับนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐพอดี ทั้งยังเป็นการ
      ช่วยขยายการศึกษาออกสู่ราษฎรอย่างสำคัญอีกแรงหนึ่งดังนั้นจึงสามารถอธิบายได้ว่าเหตุใด โรงเรียน อาซมซาน กอเล็ศ จึงได้รับพระ-
      มหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯและพระบรมวงศานุวงศ์ดังนั้น

      พัฒนาการของโรงเรียนในระยะต่อมา
                  โรงเรียนอัสสัมชัญถือกำเนิดขึ้นจากอุดมการณ์และความเสียสละของบาทหลวงเอมิล กอลมเบต์(Pere Emile Colombet)เจ้าอาวาสวัด
      คาทอลิกเล็กๆแห่งหนึ่งแถบบางรักผู้มีศรัทธาอันแรงกล้าในอันที่จะพัฒนาคริสตศาสนิกชนในละแวกวัดของท่านโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน
      คาทอลิกที่ยากจนและกำพร้าให้เจริญด้วยการศึกษาเล่าเรียนเมื่อแรกเริ่มเป็นสมัยที่คนทั่วไปยังมิได้เล็งเห็นผลประโยชน์และความจำเป็นของ
      การศึกษาเล่าเรียน ภารกิจของท่านจึงมิได้ตกหนักที่การอบรมสั่งสอนเด็กๆเพียงประการเดียวหากยังต้องหว่านล้อมพ่อแม่ผู้ปกครองให้เห็น
      ความสำคัญของการศึกษาและส่งลูกเข้ามาเรียนกับท่านด้วย 
                  เป็นที่น่ายินดีที่อุดมการณ์และความเมตตาของบาทหลวงกอลมเบต์มิได้จำกัดอยู่เฉพาะในหมู่คริสตศาสนิกชนหากยังแผ่กว้างออกสู่บุคคล
      ทั่วไปในสังคมโดยไม่เลือกชาติ วรรณะหรือศาสนา ในปี พ.ศ.2428 "โรงเรียนไทย-ฝรั่งเศส" ของท่านจึงได้ปรับเปลียนตัวเองจากโรงเรียน
      ของวัดที่เน้นการสอนศาสนาควบคู่กับวิชาความรู้มาเป็น "โรงเรียน อาซมซาน กอเล็ศ" (Le College de L'Assomption) ที่เปิดรับ
      นักเรียนทั่วไปไม่ว่าจะชาติหรือศาสนาใด 
                  ความพยายามของท่านเริ่มสัมฤทธิผล เมื่อจำนวนนักเรียนของโรงเรียนทวีจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วเห็นได้ชัดเพียงในปีที่สองและยังคงทวี
      ขึ้นเรื่อยๆ จนเมื่อขึ้นปีที่สิบห้าของโรงเรียนภารกิจในการดูแลโรงเรียนซึ่งขณะนั้นมีนักเรียนถึง400คนแล้วก็เป็นอุปสรรคต่องานด้านศาสนกิจ
      อันเป็นงานหลักที่แท้จริงของท่าน
     
Thanks for coming
©Copyright 2002 Assumption College History All rights reserved.
Hosted by www.Geocities.ws

1