ถิ่นกำเนิดและนิเวศวิทยาของพืชตระกูลส้ม

Home

ถิ่นกำเนิดและนิเวศวิทยาของพืชตระกูลส้ม

พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกส้ม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และลักษณะประจำพันธุ

การปลูกส้ม

สภาพสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตส้ม

โรค แมลงศัตรู และปัญหาอื่นๆที่พบ

การขยายพันธุ์

การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

สภาวะการตลาด

                เชื่อกันว่าส้มมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเซียอาคเนย์ไปจนถึงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและประเทศพม่า          
สำหรับในประเทศไทยเชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดของส้มหลายพันธุ์เหมือนกันเพราะพบไม้ป่าหลายชนิดที่มีลักษณะใกล้เคียงและอยู่ใน
ตระกูลเดียวกับส้ม
               จากถิ่นกำเนิดเหล่านี้ ส้มก็แพร่กระจายไปยังบริเวณที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต  ดังปรากฏในประวัติศาสตร์ของจีนระหว่าง
ปี พ.ศ.2197 - 2205 ซึ่งเป็นรัชสมัยของจักรพรรดิ์ชื่อ Ta Yu มีการส่งพวกแมนดารินและส้มห่อผ้าไหมเป็นเครื่องราชบรรณาการ
               ในปี พ.ศ.330 นายพล Alexander นำเอาซิตรอนจากประเทศที่รบชนะ เช่น อิหร่าน ไปปลูกในยุโรป และแพร่กระจายไปแถบ
ประเทศเมดิเตอเรเนียน มีส้มชนิดต่างๆ ได้แก่  ซาวออเรนซ์ เลมอน ไลม์ สวีทออเรนซ์ และแมนดาริน ตามลำดับ การแพร่กระจายพันธุ์
นี้เข้าใจว่าอยู่ในช่วงของสงครามครูเสด โดยแพร่กระจายไปยังประเทศอิตาลี สเปน โปรตุเกส และอัฟริกาตอนเหนือ
               โคลัมบัสได้นำพันธุ์ส้มมาปลูกทางแถบประเทศตะวันตก ในปี ค.ศ.1943 ได้มีการรวบรวมเมล็ดของออเรนซ์ เลมอน และซิตรอน 
จากหมู่เกาะคานารีไปปลูกที่เมืองฮิปานีโอลา ต่อมาได้แพร่กระจายพันธุ์ไปยังแถบทะเลคาริบเบียนและส่วนอื่นๆของทวีปยุโรป
               ในศตวรรษที่ 16 - 17 โคลัมบัสได้นำส้มไปปลูกชายฝั่งอเมริกาใต้ และอัฟริกากับออสเตรเลียเป็นแหล่งสุดท้าย ในสมัยก่อนนัก
เดินทางและมิชชันนารีเป็นผู้ช่วยแพร่กระจายพันธุ์ส้มได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักรู้จักกันดีในรูปของเครื่องดื่มแก้กระหาย ในกองทัพเรือ
อังกฤษดื่มน้ำมะนาวทุกวัน  ส้มพวกแรกที่แพร่เข้าไปในยุโรป คือ ซิตรอน ต่อมามีพวกแมนดาริน ออเรนซ์ แพร่กระจายไปเป็นระยะ
               การแพร่กระจายพันธุ์ส้มเข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1769   ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย เมืองซานดิเอโกทาง
ตอนใต้ โดยพวกมิชชันนารี และได้ปลูกเป็นการค้าขึ้นครั้งแรกในปี   1841 ประมาณ 70 เอเคอร์ ต่อมาในปี 1967 ได้เพิ่มเนื้อที่ปลูกถึง
281,360 เอเคอร์  และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นทุกปี  
พันธุ์ส้มที่ปลูกเป็นการค้าในรัฐแคลิฟอร์เนีย   มี
         1. ส้มหวาน (sweet orange) ได้แก่ พันธุ์วอชิงตันนาเวล (Washington Navel)  และพันธุ์วาเลนเซีย (valencia)
         2. มะนาว (lemons) ได้แก่ พันธุ์ยูริกา (Eureka) และลิสบอน (Lisbon)
         3. เกรพฟรุ๊ท ได้แก่ พันธุ์ม๊าชไม่มีเมล็ด (Marsh seedless)
 
พันธุ์ส้มที่ปลูกเป็นการค้าในรัฐฟลอริดา มี
         1. ส้มหวาน ได้แก่ พันธุ์แฮมลิน พาสันบราวน์ พายแอปเปิ้ล และ พันธุ์วาเลนเซีย
         2. เกรพฟรุ๊ท ได้แก่ พันธุ์ม๊าช หรือทอมสัน ดันแคน
         3. แมนดาริน ได้แก่ พันธุ์เมอก๊อต แดนซี่ โรบินสัน เพช
              สำหรับการแพร่กระจายพันธุ์ส้มเข้ามายังประเทศไทยนั้นยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าได้เริ่มปลูกเป็นการค้ามาตั้งแต่ในสมัยไหน         
 แต่ปัจจุบัน มีการปลูกส้มเขียวหวานกันทั่วไปในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคเหนือของประเทศ และเป็นพันธุ์ที่มีความสำคัญทาง
เศรษฐกิจพืชหนึ่ง
สภาพทางนิเวศวิทยาของส้ม

         1. สภาพบรรยากาศ
              1.1 อุณหภูมิ เป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง แหล่งปลูกส้มใหญ่ๆมักจะอยู่ในเขตกึ่งร้อน  โดยเฉพาะพวกออเรนซ์และเลมอน เนื่องจาก
สภาพอุณหภูมิจะเป็นตัวบังคับการเกิดตาดอกของส้มทั้งสองชนิด  สำหรับพวกแมนดารินและแทนเจอรีนปลูกได้ดีทั้งในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน
มีส้มอีกหลายชนิดที่ปลูกขึ้นได้ดีในเขตอากาศร้อน  เช่น เกรพฟรุ๊ท ไลม์ ส้มโอ ส้มในเขตร้อนจะออกดอกติดผลตลอดปี ผลจะแก่เร็วกว่าในเขต
กึ่งร้อนและมีคุณภาพต่ำ รวมถึงการพัฒนาสีของเปลือกด้วย
                    จากการเปรียบเทียบคุณภาพของผลส้มที่ปลูกที่รัฐแคลิฟอร์เนียและเมืองโคลัมเบีย สรุปได้ว่า ผลส้มที่ปลูกในเขตร้อนจะมีขนาด
ผลใหญ่ และมีเปอร์เซ็นต์น้ำส้มสูงกว่าแต่สีเปลือกของผลส้มที่ปลูกในเขตร้อนจะมีสีเขียวและมี dry extract ratio กับเปอร์เซ็นต์กรดต่ำ และถ้า
เก็บไว้บนต้นโดยที่ยังไม่เก็บเกี่ยวจะทำให้คุณภาพผลผลิตลดลงเร็วในสภาพบรรยากาศในเขตร้อน
                    สภาพภูมิอากาศเป็นแฟคเตอร์ที่สำคัญในการเจริญเติบโตและการพัฒนาของส้มโดยเฉพาะอุณหภูมิในเขตหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำ 
สุด15 องศาเซลเซียส ในฤดูหนาวจะเป็นท้องถิ่นที่ปลูกส้มเป็นการค้าได้ นอกจากนี้คุณภาพของผลส้มก็ยังขึ้นอยู่กับระดับความสูง โดยพบว่าส้ม
ที่ปลูกบนที่สูงจะมีคุณภาพผลดีกว่า อย่างไรก็ตามสภาพอากาศที่สูงมากๆ มักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อุณหภูมิที่เหมาะกับการปลูกส้มเป็นการ
ค้าอยู่ระหว่าง  25 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่สูงมากๆ โดยเฉพาะในเวลากลางคืนจะเป็นอันตรายต่อต้นส้มโดยทำให้
                        - เกิดอัตราการหายใจและการคายน้ำสูง
                        - สีของผลไม่เกิดสีผลยังคงมีสีเขียวอยู่
                     ผลส้มที่ได้รับอุณหภูมิสูงมากๆจะเกิดอาการสุกแดดหรือเกรียมแดด อิทธิพลของอุณหภูมินี้ได้มีการทดลองถึงการออกดอกของส้ม 
พบว่าบริเวณทางตอนใต้ของอิหร่านนั้นส้มจะออกดอกและติดตาผลเฉพาะตรงบริเวณกลางของลำต้นที่มีส่วนของใบส้มปกปิดอยู่เท่านั้น
               1.2 ดัชนีความร้อนสะสม (heat index) โดยทั่วๆไปพืชจะให้ผลผลิตได้ต้องมีพลังงานเพียงพอ  ดัชนีความร้อนสะสมมีอิทธิพลต่ออัตรา
การเจริญเติบโตของต้นพืชในเรือนเพาะชำ  เช่น ในบริเวณที่มีอากาศเย็นต้นกล้าจะใช้เวลาถึง 12 - 15 เดือนกว่าจะใช้ติดตาต่อกิ่งได้ในขณะ
ที่เขตร้อนจะใช้เวลาเพียง 9 เดือนเท่านั้นก็ติดตาได้ สรุปได้ว่าค่าดัชนีความร้อนสะสมมีส่วนสำคัญในการปลูกส้มในเขตร้อนน้อยมาก ยกเว้น
ในที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลมากๆ
               1.3 ปริมาณน้ำฝน การปลูกส้มควรสังเกตการกระจายของน้ำฝนในระหว่างปี เช่น ในเดือนที่ฝนตกชุกควรมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยแล้ว
สูงกว่าปริมาณการระเหยของน้ำ และในเดือนที่แห้งแล้งที่สุดควรเป็นช่วงที่ส้มเกิดตาดอก   ช่วงนี้กินเวลานานประมาณ 3 เดือน ควรให้น้ำ 
ชลประทานช่วย แม้ว่าอุณหภูมิและความชื้นจะมีความสำคัญ แต่ถ้าชื้นมากๆก็อาจเกิดโรคระบาดได้
         2. ดิน
              ส้มสามารถปลูกได้ในดินแทบแกชนิด ตั้งแต่ดินที่เป็นทรายหยาบจนถึงดินเหนียวหนัก   ข้อสำคัญไม่ควรให้มีน้ำขังแฉะ แต่ในบาง
ท้องที่ เช่น แถบชายฝั่งทะเลของประเทศไทยและอินโดนีเซียที่มีสภาพดินค่อนข้างแฉะสามารถปลูกแมนดารินและส้มโอได้ดี เนื่องจากส้มมี
ระบบรากตื้นทำให้ปลูกขึ้นได้ดีในดินที่มีระดับน้ำใต้ดิน
              ดินที่เหมาะในการปลูกส้มควรเป็นแบบ medium-textured เป็นพวก alluvial soil  มีหน้าดินลึกพอสมควรและมีความอุดมสมบูรณ์ของ
ดินดี ไม่มีเกลือหรือแร่ธาตุที่เป็นอัตรายต่อต้นพืช
              ส้มตอบสนองต่อเกลือและคลอรีนในระดับสูง ดังตัวอย่างการปลูกส้มในดินทรายที่ประเทศอิสราเอลในดินทรายที่มีคลอรีนสูง 1,200 
- 1,400 ppm ก็ยังไม่กระทบกระเทือนต่อผลผลลิต แต่ส้มพวกสวีทออเรนซ์มักไวต่อพวกเกลือโซเดียม เช่น โซเดียมคลอไรด์ โซเดียมซัลเฟต          
โซเดียมคาร์บอเนต และโบแรค ในระดับสูงกว่า 550 ppm ความเป็นกรดของดินควรอยู่ในช่วง  5 - 6 ในดินที่มีสภาพเป็นกรดมากกเกินไป
จะทำให้รากไม่เจริญ และทำให้สูยเสียธาตุอาหารที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชในดินที่มีความเป็นกรดสูงกว่า 6 จะทำให้เกิดการยับยั้งการดูดซึม
ธาตุเหล็กและสังกะสีในส้ม  ซึ่งอาจทำให้ต้นส้มแสดงอาการขาดธาตุทั้งสองนี้ได้ ดังนั้น ในดินกรดควรเติมปูนขาวและธาตุแมกนีเซียมด้วย          
ก็จะทำให้พืชได้รับประโยชน์มากขึ้น แต่ไม่ควรเติมปูนขาวลงในดินหนัก
         3. ลม
              ในประเทศไทยไม่ค่อยมีปัญหานัก ส่วนใหญ่ในช่วงเดือนเมษายนมีลมและฝนค่อนข้างแรง  และในต้นฤดูฝนจะมีลมพัดจัดสำหรับ
ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีลม 2 ชนิด คือ เฮอลิเคน เป็นลมใต้ฝุ่นและเป็นลมร้อนและแห้งแล้งจากทะเลทรายทางตอนใต้ของรัฐพัดผ่าน
ไปยังตอนเหนือซึ่งเป็นเขตที่ทำการเกษตร ปีใดที่มีความกดอากาศต่ำมากจะเกิดลมพัดผ่านเร็วและแรงมาก ประกอบกับช่วงนั้นตรงกับระยะ
ที่ส้มติดผลอ่อน  ทำให้ผลส้มร่วงถึงร้อยละ 60 - 100 ดังนั้น จึงเรียกการร่วงของผลส้มในระยะนี้ว่า June drop ซึ่งสามารถป้องกันการร่วงของ
ผลส้มในช่วงนี้ได้บ้างโดยการให้น้ำ
         4. น้ำ
              ส้มต้องการน้ำมากในบางช่วง เช่น ระยะก่อนออกดอกและระยะติดผลอ่อน และต้องการน้ำเพียงเล็กน้อยในบางช่วง  เช่น ในระยะ
ก่อนเก็บเกี่ยวผล ถ้าให้น้ำมากผลจะมีรสชาติไม่ดี คุณภาพต่ำ ในสภาพประเทศไทยไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้ต้องปล่อยไปตามฤดูกาล          
โดยเฉพาะในฤดูฝนบางครั้งอาจเกิดน้ำท่วมเรือกสวนไร่นา สำหรับรากของส้มสามารถทนอยู่ในดินที่มีน้ำแช่ขังตลอดเวลาได้เพียง 36 ชั่วโมง
เท่านั้น คุณภาพของน้ำมีส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของต้นส้มด้วย  ส้มจะตอบสนองต่อสารพวกฟลูออไรด์และคลอไรด์ได้ไว สังเกตได้จาก
ใบ ถ้ามีสารพวกนี้มากส้มจะแสดงอาการใบไหม้ได้
          
Hosted by www.Geocities.ws

1