สภาพสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตส้ม       

Home

ถิ่นกำเนิดและนิเวศวิทยาของพืชตระกูลส้ม

พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกส้ม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และลักษณะประจำพันธุ์

การปลูกส้ม

สภาพสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตส้ม

โรค แมลงศัตรู และปัญหาอื่นๆที่พบ

การขยายพันธุ์

การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

สภาวะการตลาด

 

           พืชตระกูลส้มส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน แต่เจริญเติบโตได้ดีในเขตอากาศที่แตกต่างกัน ส้มบางชนิดทนต่อความเย็น 
ได้ดี  ส้มบางชนิดก็ไม่สามารถทนต่อสภาพความเย็นได้ ชนิดของส้มที่สามารถทนต่อสภาพความเย็นได้ดี (ตามลำดับ) ได้แก่ ส้มสาม 
ใบ ส้มจี๊ด แมนดาริน ซาวออเรนซ์ สวีทออเรนซ์ เกรพฟรุ๊ท เลมอน ไลม์ และซิตรอน         
สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของส้ม
ปริมาณน้ำฝนและลม
           ปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอสำหรับการปลูกส้มในเขตอบอุ่นและบริเวณใกล้ชายทะเลควรมีประมาณ  750 มิลลิเมตรต่อปี ในเขต
อบอุ่นค่อนข้างแห้งควรมีประมาณ 1,250 มิลลิเมตรต่อปี  ปริมาณน้ำฝนที่พอเหมาะ 1,000 - 2,000 มิลลิเมตรต่อปี ในแหล่งปลูกส้มที่มี
ลมแรงควรแก้ไขโดยการปลูกไม้กันลม เพื่อลดความรุนแรงของลม ไม้กันลมมีทั้งไม้โตเร็วที่เป็นพืชยืนต้นและไม้ล้มลุก  เช่น หญ้า
บางชนิด ที่ใช้เป็นไม้กันลมในประเทศออสเตรเลีย แต่การใช้หญ้าปลูกกันลมอาจเกิดปัญหาไฟลุกไหม้ได้ในช่วงฤดูแล้ง  ความเร็ว
ลมที่พอเหมาะ 15 - 20 กม./ชั่วโมง ทำให้ลดการระบาดของโรคเชื้อราได้
อุณหภูมิและความชื้น
           อุณหภูมิที่พอเหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นส้มควรเป็นประมาณ 20 องศาเซลเซียส ที่อุณหภูมิ12  - 13 องศาเซลเซียส ส้มมี
การเจริญเติบโตเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย และที่สูง 40 องศาเซลเซียส ส้มจะไม่มีการเจริญเติบโตเลย และในทางตรงกันข้าม ส้มจะ
ทนต่อสภาพอากาศเย็นได้ต่ำสุด -2.2 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่านี้จะเป็นอันตรายต่อต้นส้ม  โดยเฉพาะในสภาพที่อุณหภูมิลด
ต่ำลงอย่างรวดเร็วจะยิ่งเป็นอันตรายต่อต้นส้มมากขึ้นเพราะปรับตัวไม่ทัน ดังนั้นในประเทศแถบกึ่งร้อน เช่น แคลิฟอร์เนีย ฟลอริด้า 
ประเทศญี่ปุ่น และประเทศอิสราเอลบางตอนที่มีอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว จึงต้องเลือกปลูกส้มพันธุ์ที่ทนต่อสภาพอากาศเย็นได้การ
ป้งกันความเย็นในต่างประเทศอาจใช้กังหันลม (wind machine) ระบายอากาศ โดยอาศัยหลักความแตกต่างกันของอุณหภูมิตอนล่าง
กับอุณหภูมิตอนบนซึ่งแตกต่างกันราว  4 - 5  องศาฟาเรนไฮ กังหันลมจะถูกควบคุมโดยสวิทซ์อัตโนมัติ เมื่ออุณหภูมิต่ำถึงจุดที่ตั้งไว้           
กังหันลมจะเดินเครื่องทำงานทันที
           ความต้องการอุณหภูมิของส้มบางชนิดไม่เท่ากัน เช่น สวีทออเรนซ์เจริญเติบโตดีในช่วงอุณหภูมิ 23 - 29 องศาเซลเซียส ส้ม
เปรี้ยว 23 - 26 องศาเซลเซียส เกรพฟรุ๊ท 20 - 30 องศาเซลเซียส  นอกจากนี้อุณหภูมิยังมีผลทำให้ช่วงการสุกแก่ของผลส้มมีไม่เท่า
กันด้วย   เช่น ในเขตอบอุ่นผลส้มจะแก่ช้ากว่าส้มในเขตร้อนถึง 2 - 3 เดือน และอุณหภูมิก็มีผลต่อสีผิวของผลส้มด้วย  เช่น ในเขตอบ
อุ่นผลส้มสามารถสร้างเม็ดสี และปริมาณกรดซิตริกสูงกว่าส้มที่ปลูกในเขตร้อน
           ส้มที่ปลูกในอากาศค่อนข้างชุ่มชื้น สามารถให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี ผิวผลเรียบ  เปลือกและทรงพุ่มต้นแผ่กว้าง แต่มีปัญหา
เรื่องโรคและแมลง ในเขตร้อนชื้นที่ความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศ  80 - 90 ในสภาพอากาศร้อนมากๆ เช่น ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซล
เซียส จะทำให้ใบส้มมีลักษณะตายนึ่ง
น้ำและการให้น้ำในส้ม 
           การให้น้ำที่ถูกต้องเหมาะสมจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของราก ลำต้น และผลผลิตเป็นอย่างมาก  หากให้น้ำไม่ถูกต้องเหมาะสม
จะทำให้ต้นหยุดชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น เกิดความเสียหายได้ จึงควรดูแลเรื่องความชื้นในดินให้พอเหมาะ หากความชื้นมี
น้อยเกินไปก็จะเกิดการเหี่ยวแห้ง แต่ก็ไม่ควรให้มีมากเกิน โดยหากมีน้ำมากเกินพอดีก็จะต้องมีการระบายน้ำออก  ดังนั้นการเลือกใช้
ดินควรเลือกดินที่มีการระบายน้ำดีเพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศ เพราะออกซิเจนมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของราก หากมีน้ำขัง 
ไม่มีอากาศในดินจะมีผลต่อการเจริญ  และ การทำงานของจุลินทรีย์ในดิน และจะทำให้เกิดโรคได้ง่าย
           น้ำในพื้นที่ที่แห้งแล้ง หรือ ทะเลทรายบางพื้นที่จะมีความเค็มสูงมาก ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบที่ให้เหนือดิน  บนผิวดิน 
           -  ต้นที่มีอายุยังน้อยจะต้องการการดูแลเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากการปลูก ในบริเวณที่มีอุณหภูมิ
สูง อากาศร้อน ต้นที่มีอายุยังน้อยจะต้องการน้ำมาก  ควรจะมีการให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือมากกว่านั้น
           -  เมื่อต้นส้มตั้งตัวได้แล้ว ประมาณหลังจากปลูกลงแปลงแล้ว 2 สัปดาห์ ในระยะนี้ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรใช้เรือรดน้ำหรือสปริงเกลอร์            
เพราะจากฝอยน้ำที่พ่นไปทั่วแปลงจะทำให้ทุกพื้นที่ของแปลงปลูกได้รับน้ำด้วย   ทำให้วัชพืชเจริญงอกงามเป็นลูกโซ่ ทำให้ต้องกำจัดวัช
พืชปริมาณมากขึ้นตามมาในช่วงที่เร็วเกินไป  ซึ่งหากทำได้ควรหยอดน้ำต้นต่อต้นโดยตรง
           -  เมื่อต้นส้มมีอายุมากขึ้น ปลูกเข้าปีที่สองแล้วและปีต่อๆไปก็สามารถให้น้ำโดยใช้เรือรดและสปริงเกลอร์ได้  ซึ่งก็ยังคงต้องให้
น้ำในปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการของต้นส้ม และให้อย่างสม่ำเสมอ
           -  ปริมาณน้ำที่จะให้ขึ้นอยู่กับช่วงการเจริญเติบโต และสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั่วๆไป  เช่น
               - ในระยะก่อนออกดอกจะต้องการน้ำน้อย เพื่อให้มีช่วงเก็บสะสมอาหาร
               - ระยะติดผลจนถึงผลแก่ ต้องการน้ำเพิ่มมากขึ้น
               - ระยะผลส้มเข้าสีแล้ว การลดปริมาณน้ำลงจะช่วยให้ผลส้มแก่เร็วขึ้น
               - ระยะก่อนการเก็บเกี่ยวผลประมาณ 2 สัปดาห์ ถ้างดให้น้ำในระยะนี้ก็จะช่วยให้ผลส้มมีรสหวานมากขึ้น
               - อุณหภูมิที่สูงและลมจะทำให้น้ำระเหยในปริมาณมาก ดังนั้นจึงต้องมีการให้น้ำในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ในทางตรงกัน
ข้ามหากในพื้นที่ปลูกมีอุณหภูมิต่ำ และสภาพอากาศครึ้มเย็น ความต้องการน้ำของต้นพืชก็จะลดลง
           -  ควรป้องกันไม่ให้มีวัชพืชในบริเวณพื้นดินรอบต้น
           -  ต้นที่ปลูกในภาชนะจะต้องการน้ำมากกว่าต้นที่ปลูกลงดิน แต่ก็ต้องดูแลเรื่องการระบายน้ำให้ดี เพราะหากมีปริมาณน้ำที่มาก
เกินไปจะเกิดผลเสียกับต้นได้ ดังนั้นจึงควรเลือกดินที่มีการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศได้ดี
           การให้น้ำที่เหมาะสมนั้นขึ้นกับความลึกของหน้าดิน  ช่องว่างในดินและลักษณะเนื้อดินด้วย สภาพของรากส้มทนสภาพแห้งแล้ง
ได้ดีกว่าสภาพน้ำขังแฉะเพราะรากส้มไม่ทนต่อโรครากเน่าโคนเน่า  การให้น้ำมีผลต่อการเจริญของส้มซึ่งถ้าให้มากต้นส้มยิ่งเจริญเติบ
โตมาก  แต่ถ้าให้น้ำน้อยในสภาพที่อากาศแห้งมากทำให้ส้มเกิดการเครียด เนื่องจากใบส้มมีการคายน้ำแต่ไม่ได้น้ำจากส่วนรากมา
ชดเชย  จึงทำให้ใบส้มเกิดอาการเหี่ยว ดังนั้นจึงมีการคำนวณความต้องการน้ำของใบส้ม  เรียกว่า Leaf saturarion deficit (หน่วยเป็น
เปอร์เซ็นต์)
           Leaf saturarion deficit    =  saturated weight - field weight/saturated weight - dry weight x100           
           ค่า saturated weight หาได้จากการเอาใบส้มที่เกิดการเครียดถึงจุดวิกฤติในแปลงส้มมาเข้าห้องความชื้นนาน 24 ชั่วโมง แล้ว
ชั่งน้ำหนัก
           ค่า dry weight หาได้จากการนำใบส้มจำนวนเท่ากันไปอบแห้งที่อุณหภูมิ 68 องศาเซลเซียส  นาน 24 ชั่วโมง
           สภาวะวิกฤติในใบส้มอาจเกิดได้หลายกรณี เช่น
           1. สภาพอากาศร้อน แห้งแล้ง ลมแรง ทำให้ใบส้มเกิดการคายน้ำมากและรากดูดขึ้นไปแทนที่ไม่ทันเพราะรากอยู่ในสภาพจำ
กัดอื่นๆ
           2. ดินมีสภาพความชื้นน้อย
           3. บริเวณรากมีสภาพน้ำขังแฉะ มีปริมาณออกซิเจนอยู่น้อย
           4. อุณหภูมิของรากไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะสม
           5. รากถูกทำลายกระทันหันจากเครื่องมือไถพรวนต่างๆ
           คุณภาพน้ำที่ใช้กับส้ม ควรคำนึงถึงปริมาณสารคลอไรด์ โซเดียม โบรอนถ้ามีปริมาณไม่มากจนเป็นพิษกับรากส้มก็ใช้รดได้ สาร
พวกนี้อาจเกิดขึ้นได้จากสภาพดินหลังจากการให้น้ำและมีน้ำท่วมขังอยู่เป็นเวลานาน ทำให้สารเหล่านี้ตกตะกอนราวมตัวกันจนเกิดเป็น
พิษกับรากส้ม
           อัตราการให้น้ำในส้มวัดได้หลายอย่าง เช่น วัดจากอัตราการไหลของน้ำ (มีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตรต่อนาที)  วัดเป็นปริมาตร 
(ลูกบาศก์เมตร หรือ ลูกบาศก์ฟุต) หรืออาจวัดจากความลึกการซึมซับน้ำบนผิวดิน (มิลลิเมตร) คำนวณโดยประมาณได้จาก
  Average depth (mm) = (Flow in cmh x hours run)/(10 x area in hectares)
 cmh = cubic meters / hour
Mulch (การคลุมดิน,พืชคลุมดิน) 
           การคลุมดินเป็นการใช้เศษซากพืช  หรือ วัสดุอื่นปกคลุมผิวหน้าดิน เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน, ควบคุมอุณหภูมิภายในดิน,  
ป้องกันการอัดแน่น การแข็งตัวของผิวหน้าดิน, ลดการชะล้าง การกัดเซาะ และพังทลายของหน้าดิน,  ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน และ 
ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช
           โดยปกติวัสดุส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นปุ๋ยหมัก ขี้เลื่อย เศษไม้ เปลือกไม้  เศษซากพืช และฟาง ในบางครั้งอาจใช้กระดาษ พลาสติก 
ทราย และ กรวด หินเล็กๆ  วัสดุคลุมดินบางอย่าง เช่น หินที่สามารถสะท้อนความร้อน และ แสงได้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อต้น
           ต้นส้มจะอ่อนแอต่อ bark diseases โดยจะถูกกระตุ้นโดยความชื้นบริเวณผิวหน้าดิน ดังนั้นจึงควรคลุมดินให้ห่างจากลำต้นเล็กน้อย
ปุ๋ยและธาตุอาหารต่างๆ
           
           พืชทุกชนิดจำเป็นต้องอาศัยแร่ธาตุอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของลำต้น กิ่งก้าน ใบ ดอก 
หรือ ผล ส้มก็เช่นกันแร่ธาตุที่จำเป็นโดยทั่วๆไปมีอย่างน้อย  16 ธาตุ แบ่งเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นแร่ธาตุที่พืชต้องการมาก
แต่สามารถดูดหรือรับจากน้ำและอากาศ  ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน กลุ่มที่ 2 เป็นธาตุอาหารหลัก (major  elements or 
macronutrients) ที่พืชต้องการในปริมาณมากเพื่อการเจริญเติบโต  มีอยู่ในดินทั้งในรูปอินทรีย์สารและอนินทรีย์สาร ได้แก่ ไนโตรเจน 
ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และ กำมะถัน สามธาตุแรกมีอยู่ในดินไม่เพียงพอกับความต้องการของพืชจึงต้องมีการ
ให้เพิ่มเติมแก่พืช  โดยการใส่ให้ทางดินหรือฉีดพ่นให้ทางใบในลักษณะของปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์และปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ จึง
เรียกธาตุสามชนิดนี้ว่าธาตุปุ๋ย (fertilizer elements) สำหรับ แคลเซียม  แมกนีเซียม และ กำมะถันแม้เป็นธาตุที่พืชต้องการมากแต่ก็มีอยู่
ปริมาณมากในดินทั่วๆไป  และเพียงพอกับความต้องการของพืช กลุ่มที่ 3 เรียกว่าจุลธาตุ (minor elements  or trace elements or 
micronutrients) เป็นแร่ธาตุที่พืชต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อยแต่ก็ขาดไม่ได้  ได้แก่ ทองแดง เหล็ก สังกะสี แมงกานีส โบรอน โมลิบ
ดินัม และ คลอรีน ซึ่งในเรื่องของธาตุอาหารเหล่านี้ต้องระมัดระวังอย่างใกล้ชิด ให้ได้ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยเกินไป เพราะ
จะก่อให้เกิดอาการผิดปกติขึ้นได้ง่ายๆโดยเฉพาะถ้ามากเกินไปจะแก้ไขลำบากอาจเกิดเป็นพิษขึ้นได้            
           ในดินทั่วๆไปแม้ว่าจะมีแร่ธาตุที่จำเป็นทั้งอยู่ครบ แต่จะมีโอกาสน้อยมากที่ธาตุต่างๆ  เหล่านี้จะมีอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะและเป็น
สัดส่วนที่สมดุลย์กับความต้องการของส้ม การขาดแร่ธาตุ หรือ การได้รับแร่ธาตุมากเกินไปนั้นเราสามารถสังเกตได้จากความผิดปกติของ           
ใบ ในด้านขนาด สี ลักษณะรูปร่าง และ ลักษณะแบบแผนการเจริญพัฒนา แต่ลักษณะอาการที่คล้ายนี้ก็อาจเกิดขึ้นได้กับการใช้ปุ๋ย  หรือ 
ยากำจัดวัชพืชบางอย่างอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสมด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการไม่ประมาทควรส่งตัวอย่างดินและใบส้มไปวิเคราะห์ระดับธาตุอา
หารร่วมกับการสังเกตอาการที่แสดงออกของต้นส้ม  เพื่อที่จะได้พิจารณาแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะเกิดความเสียหายแก่ผลผลิต  เพราะ
ส้มจะแสดงอาการขาดธาตุอาหารก็ต่อเมื่อขาดอย่างหนัก ดังนั้นจะใช้วิธีสังเกตอาการเพียงอย่างเดียวไม่ได้
ไนโตรเจน (Nitrogen)
           ไนโตรเจนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต จำเป็นสำหรับการแบ่งเซลล์ ขยายตัวของส่วนต่างๆ  เช่น ยอด ใบ กิ่ง และยังมีความจำ
เป็นต่อการติดผล นอกจากนี้ amino acid  ยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ ช่วยให้การสังเคราะห์แสงเป็นไปได้ตามธรรมชาติ          
ต้นส้มจะต้องการไนโตรเจนส่วนใหญ่ในระหว่างการออกดอกและการติดผล
           กรณีที่ได้รับไม่เพียงพอ เกิดอาการใบเหลือง ซึ่งใบที่อยู่บริเวณโคนกิ่งจะเหลืองก่อนโดยเริ่มจากเส้นใบแล้วลุกลามออกไปจนทั่ว
ทั้งใบตลอดทั้งต้น โดยเฉพาะถ้าเป็นใบที่อยู่บนกิ่งที่ผลติดอยู่จะยิ่งเห็นได้ชัด ทั้งนี้เพราะช่วงติดผลนั้นส้มต้องการไนโตรเจนปริมาณมาก
ไนโตรเจนจะถูกเคลื่อนย้ายขึ้นมาเพื่อให้การสร้างผลเป็นไปอย่างสมบูรณ์ และถ้าปริมาณไนโตรเจนจากดินไม่เพียงพอ ไนโตรเจนจาก
ใบก็จะถูกดึงมาชดเชยทำให้เกิดภาวะการขาดธาตุอาหารขึ้น ซึ่งถ้าเกิดติดต่อกันเป็นเวลานานกิ่งก้านที่เคยสมบูรณ์ก็จะสั้นลีบเล็กลง  บาง
กิ่งจะแห้งตายไป ใบร่วงมาก ขนาดของผลเล็กลงและเปลือกจะบาง แต่คุณภาพด้านอื่นๆไม่กระทบกระเทือนมากนัก
           แก้ไขได้โดยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ปุ๋ยยูเรีย หรือ ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต  ในอัตราที่เหมาะสมอย่าให้มากหรือน้อยเกินไป 
โดยเฉพาะปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต  ถ้าใส่มากเกินไปติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้ดินเป็นกรดได้ ทางที่ดีควรใช้ในรูปของไนเตรด            
เพราะนอกจากจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาดินเป็นกรดแล้วยังช่วยให้รากดูดธาตุแมกนีเซียมได้ดีขึ้น
           กรณีที่ได้รับมากเกินไป ทำให้การออกดอก ติดผล และ การแก่ของผลจะช้ากว่าปกติ  ต้นและผลไวต่อความเย็น กิ่งก้านอ่อนและ
อวบน้ำอ่อนแอต่อโรคและแมลง ใบจะมีขนาดโตเกินธรรมดา  สีใบเขียวเข้มขึ้น เนื้อใบหยาบ ขนาดของผลโตเกินไป เปลือกหนา เนื้อ
หยาบและฟ่าม รสชาติเปรี้ยวเนื่องจากมีกรดซิตริคสูง ปริมาณน้ำคั้นน้อย
ฟอสฟอรัส (Phosphorus)
           เป็นองค์ประกอบของ nucleic acid ซึ่งเป็นโปรตีนที่สำคัญในพันธุกรรมของพืชและจุลชีวิตของเซลล์  ทั้งยังเป็นส่วนที่สำคัญของ
สารที่ให้พลังงานต่างๆในพืช และน้ำย่อยหลายชนิดช่วยให้การเจริญเติบโตดำเนินไปตามปกติ ไม่หยุดชะงัก นอกจากนี้ช่วยส่งเสริมการ
ติดดอกของส้ม และยังมีอิทธิพลต่อคุณภาพของผลส้มมากกว่าธาตุอื่นๆอีกด้วย
           กรณีที่ได้รับไม่เพียงพอ ทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร ปริมาณผลผลิตลดลง เปลือกหนา เนื้อด้านในของเปลือกหยาบ 
เนื้อฟ่ามแกนกลางเป็นโพรง มีกากามาก น้ำคั้นน้อยและมีรสเปรี้ยว ต้นไม่แข็งแรง เจริญเติบโตได้ไม่ดี และจะแตกยอดน้อย  นอกจาก
นี้ยังทำให้ใบแก่ร่วงหล่นมาก กิ่งแห้งตาย บริเวณริมใบและปลายใบแห้งเกรียม  สีของใบหมองไม่เป็นเงา
           แก้ไขได้โดยการใส่ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต วิธีใส่จะต้องพิถีพิถันว่าปุ๋ยอื่นๆ  โดยอาจจะขุดเป็นร่องตื้นๆ หรือเจาะด้วยสว่านลึกประ
มาณ 1 - 2 ฟุตรอบต้นภายใต้รัศมีร่มใบ  ไม่ควรใช้วิธีหว่าน เพราะฟอสเฟตเคลื่อนที่ได้ช้าและไปได้ไม่ไกล มักจะรวมตัวกับธาตุอื่นถูก
ตรึงอยู่ในดินเสียเป็นส่วนใหญ่  พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เท่าที่ควร กรณีรีบด่วนอาจฉีดพ่นทางใบด้วยปุ๋ยแอมโมเนียมฟอส
เฟต  (12-60-0) หรือปุ๋ยสูตร 15-30-15 อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (ควรผสมสารจับใบพวกสบู่น้ำหรือน้ำยาล้างจานอัตรา  8 กรัมต่อน้ำ 
20 ลิตร)
           กรณีที่ได้รับมากเกินไป จะเกิดอาการเป็นพิษ ต้นส้มไม่สามารถนำธาตุอาหารอื่นๆไปใช้ได้ และจะทำให้วิตามินในน้ำส้มลดลง
โปแตสเซียม (Potassium)
           เป็นธาตุที่มีในดินค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันส้มก็ต้องการในปริมาณมากเช่นเดียวกัน  อีกทั้งรากของส้มสามารถดูดซึมโพแทส
เซียมได้อย่างรวดเร็ว ง่ายดาย หากมีโพแทสเซียมในปริมาณที่พอเหมาะจะช่วยเพิ่มคุณภาพของผลผลิต            
           กรณีที่ได้รับไม้พียงพอ ระยะแรกของการขาดจะไม่มีอาการที่ใบแต่ถ้าสังเกตผลจะเห็นว่าผลมีขนาดเล็กแคระแกร็น ไม่สมบูรณ์ 
เปลือกบาง ผลแตกง่าย และ จะร่วงหล่นก่อนที่ผลจะสุก และเมื่อขาดมากๆเข้าใบจะเริ่มหนา  พื้นที่ระหว่างเส้นใบเหลือง จากนั้นก็จะเกิด
เป็นจุดสีน้ำตาลขึ้น บางกิ่งอาจจะแห้งตายและมียางไหลออกมา  ผลจะร่วงมากผิดปกติ
           แก้ไขได้โดยการใส่ปุ๋ยโปแตสเซียม เช่น โปแตสเซียมซัลเฟต ถ้าไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงโปแตสเซียมคลอไรด์  เพราะส้มไวต่อ
การเป็นพิษของคลอรีน
           กรณีที่ได้รับมากเกินไป จะมีการเจริญเติบโตช้า ผลแก่ช้า สีซีดไม่สวยงาม  ขนาดของผลใหญ่แต่เปลือกหนา มีปริมาณกรดเพิ่ม
มากขึ้น เนื้อหยาบ ฟ่าม คุณภาพต่ำและก่อให้เกิดการขาดธาตุแมกนีเซียม  และแคลเซียมขึ้นได้
แมกนีเซียม (Magnesium)
           เป็นองค์ประกอบที่จำเป็นของคลอโรฟิลล์และทำหน้าที่กระตุ้นการเกิดสารพลังงานต่างๆในพืชที่เกี่ยวพันกับขบวนการสร้างแป้ง           
 น้ำตาล ไขมัน และวิตามินต่างๆ ตลอดจนการแบ่งเซลล์ของพืช และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสีของผล  ทั้งสีเปลือกของผล และสีของ
เนื้อผลข้างใน
           กรณีที่ได้รับไม่เพียงพอ พบมากในส้มที่ปลูกในดินด่างซึ่งจะมีโปแตสเซียมและแคลเซียมมากเกินไป  ทำให้เกิดอาการคลอโรซีส
ในใบแก่ๆ หรือใบล่างของกิ่ง โดยเฉพาะกิ่งที่ติดผลมากๆ  ต้นที่เป็นรุนแรงจะเหลืองทั้งใบและหลุดร่วงไป
           แก้ไขโดย ในกรณีที่ดินมีโปแตสเซียมและแคลเซียมพอเหมาะให้ฉีดพ่นด้วยสารละลายของแมกนีเซียมซัลเฟต (MgSO4) หรือ
แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) หรือ แมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟต  (MgNH4PO4.6H2O) ความเข้มข้น 1 - 2 % 10 - 15 วันต่อครั้ง จน
ส้มมีอาการปกติ แต่ถ้าดินมีโปแตสเซียมมากเกินไป จะต้องลดหรือระงับการให้ โปแตสเซียมชั่วคราวด้วย            
           กรณีที่ได้รับมากเกินไป จะไปชะลอการสุกของผล
Calcium
           ทำหน้าที่ควบคุมให้ของเหลวในเซลล์เลือกดูดกินธาตุอาหารและป้องกันการทำงานมากเกินกว่าที่ควรของสารกระตุ้นการยืดของ
เซลล์  กรณีที่ได้รับไม่เพียงพอ ไม่ค่อยแสดงอาการให้เห็น แต่จะสังเกตได้เมื่อขาดมากๆ  คือ ยอดจะชะงักการเจริญเติบโต หรือตายได้ 
ต้นแคระแกร็น แข็งกระด้าง ขนาดใบเล็กลง ต้นทิ้งใบมาก ดอกร่วงก่อนจะเจริญเต็มที่ ผลผลิตลดลงขณะเดียวกันขนาดของผลก็ลดลงด้วย
           แก้ไขได้โดยใส่ปุ๋ยที่มีธาตุแคลเซียมเป็นองค์ประกอบ เช่น แคลเซียมไนเตรด   หากดินเป็นกรดควรใช้หินปูน หรือ โดโลไมท์
           กรณีที่ได้รับมากเกินไป จะทำให้รากดูดธาตุอาหารอื่นๆได้น้อยลง
กำมะถัน (Sulfur)
           เป็นองค์ประกอบของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ กระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยต่างๆ ทั้งยังเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์คลอ
โรฟิลล์ทางอ้อม
           กรณีที่ได้รับไม่เพียงพอ ทำให้บริเวณยอดอ่อนมีสีเหลืองคล้ายขาดธาตุไนโตรเจน ใบจะเล็กลง ร่วงก่อนแก่ ผลเล็กผิดรูปร่าง เปลือก
หนาและไม่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อแก่  เป็นมากๆคุณภาพจะต่ำ ไม่มีน้ำ
           แก้ไขได้โดยใช้ธาตุอาหารไนโตรเจนบางชนิด เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต หรืออาจจะใช้  Gypsum เพราะเป็นแหล่งของแคลเซียม 
และ กำมะถันที่ดี
           กรณีที่ได้รับมากเกินไป ไม่มีรายงาน
แมงกานีส (Manganese)
           มีส่วนร่วมในขบวนการสังเคราะห์แสง การสร้างคาร์โบไฮเดรทและสังเคราะห์วิตามินโรโบฟลาวิน  และ กรดแอสคอร์บิค
           กรณีที่ได้รับไม่เพียงพอ มักเกิดในสภาพดินด่างที่มี pH มากกว่า 7.0 หรือดินที่มีหินปูนสะสมอยู่มาก  โดยทั่วไปจะเกิดร่วมกับการ
ขาดธาตุเหล็กและสังกะสี และจะแสดงอาการให้เห็น  คือ บริเวณระหว่างเส้นใบของใบอ่อนที่ยอดจะเหลืองเป็นบริเวณกว้างและยาวขณะที่
เส้นใบยังเขียวอยู่ ใบบางผิดปกติ จะเกิดขึ้นมากสังเกตได้ชัดทางด้านที่ได้รับแสงแดดจัด กรณีที่ขาดอย่างรุนแรงใบจะซีดขาวทั้งใบและ
เกิดรอยไหม้ขึ้น ในที่สุดก็จะร่วง เจริญเติบโตช้า กิ่งแห้งตาย ต้นโทรม ผลผลิตลด ขนาดผลเล็ก  แข็ง เนื้อฟ่าม คุณภาพต่ำ
           แก้ไขได้โดย ใส่แมงกานีสซัลเฟตอัตรา 6 - 8 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยทางดิน หรือจะใช้ Sequestrene Manganese Chelate ลง
ไปในดินรอบๆรัศมีร่มใบ อัตราที่จะใส่  0.5 - 1 กิโลกรัมต่อต้น (ขึ้นอยู่กับขนาดและความรุนแรงของต้น)
           กรณีที่ได้รับมากเกินไป ไม่ค่อยพบ
สังกะสี (Zinc)
           เป็นองค์ประกอบสำคัญของฮอร์โมนซึ่งควบคุมการเจริญเติบโต มีความสำคัญต่อกระบวนการสร้างคลอโรฟิลล์และขบวนการสร้าง           
แป้งกรณีที่ได้รับไม่เพียงพอ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ระบบรากถูกรบกวนได้รับความเสียหาย ประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุสัง
กะสีของส้มค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับพืชอื่น หรือ อาจเนื่องมาจากการให้ปุ๋ย เช่น ไนโตรเจน หรือ ฟอสฟอรัสมากเกินไป อาการที่ปรากฏ 
ให้เห็น  คือใบอ่อนและใบใกล้ๆยอดจะลดขนาดลงและแคบเข้าจนเรียวแหลมเหมือนใบพาย สีใบจะซีดเหลืองทั่วทั้งใบขณะที่เส้นใบยัง
เขียวอยู่ ถ้าขาดอย่างรุนแรงกิ่งจะแห้งตายผลผลิตลดลงอย่างมากจนถึงไม่ให้ผลผลิตเลย ขนาดของผลเล็กลง คุณภาพต่ำ มีแต่กาก น้ำน้อย
รสชาติไม่ดี ชาวบ้านจะเรียกส้มที่ขาดธาตุนี้ว่าเป็นโรคใบแก้ว
           แก้ไขได้โดย ใช้ซิงค์ซัลเฟตชนิดที่มีธาตุสังกะสี 22.6% 2.3 กิโลกรัม ผสมปูนขาว 1.2 กิโลกรัม ละลายในน้ำ 400 ลิตร ฉีดพ่นทาง
ใบอัตราต้นละ 20 - 40 ลิตรให้เปียกทั้งต้น ถ้าจะให้ได้ผลดีควรฉีดในระยะที่ส้มกำลังผลิใบใหม่ ฉีดประมาณเดือนละครั้งจนกระทั่งเห็นว่า
อาการดีขึ้น
           กรณีที่ได้รับมากเกินไป จะเกิดใบไหม้ ส้มทิ้งใบ
ทองแดง (Copper)
           เป็นองค์ประกอบของน้ำย่อยที่เกี่ยวกับการเพิ่มออกซิเจนให้กับสารพวกแอลกอฮอล์ในพืช และเกี่ยวพันกับการสังเคราะห์แป้ง - 
น้ำตาล
           กรณีที่ได้รับไม่เพียงพอ เกิดขึ้นได้ง่ายในดินทรายที่มีสภาพเป็นกรด ทำให้ใบขรุขระ กิ่งอ่อนคด ในกรณีที่ขาดอย่างรุนแรงจะ
เห็นบริเวณกิ่งและเปลือกของลำต้นมียางเหนียวๆสีน้ำตาลไหลออกมา ทำให้ต้นดูสกปรก ต้นจะเตี้ยแคระแกร็นไม่สมบูรณ์ ผลผลิตลดลง 
คุณภาพผลต่ำ  บริเวณผลจะมียางเหนียวๆสีน้ำตาลไหลซึมออกมาและจับตัวเป็นเม็ดเล็กๆ เกาะบริเวณผิวของผล บางครั้งผิวอาจจะปริ
แตกและร่วงหล่นไป
           แก้ไขโดยใช้ cupric oxide อัตรา 1.5 - 3.0 กิโลกรัมต่อไร่ ผสมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ใส่รอบๆต้น หรืออาจใช้ copper sulfate ผสม
ปุ๋ยอินทรีย์ก็ได้ ในกรณีรีบด่วนควรใช้ copper  sulfate 100 กรัม ผสมกับปูนขาว 100 กรัม ละลายในน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทางใบ
เหล็ก (Iron)
           เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ซึ่งอยู่ในขบวนการของการสร้างคลอโรฟิลล์ และเป็นส่วนประกอบของโปรตีน
           กรณีที่ได้รับไม่เพียงพอ ในสภาพดินปนทราย ดินที่เป็นกลางและดินที่เป็นด่าง  มักจะมีแร่ธาตุเหล็กที่เป็นประโยชน์ต่อพืชน้อย
มาก ส้มที่ปลูกในสภาพดินดังกล่าวจะมีโอกาสขาดธาตุเหล็กได้ง่ายซึ่งจะแสดงอาการให้เห็น  คือ บริเวณระหว่างเส้นใบของใบอ่อนที่ยอด
จะเหลืองขณะที่เส้นใบยังเขียวอยู่  ใบบางผิดปกติ กรณีที่ขาดอย่างรุนแรงใบจะซีดขาวทั้งใบและเกิดรอยไหม้ขึ้น ในที่สุดก็จะร่วง กิ่งแห้ง
ตาย ต้นโทรม ผลผลิตลด ขนาดผลเล็ก แข็ง เนื้อฟ่าม  คุณภาพต่ำ
           แก้ไขโดย ขั้นแรกควรปรับสภาพดินให้เป็นกรดเล็กน้อยประมาณ pH 5.5 - 6.0  โดยใส่กำมะถันผงเพื่อให้เหล็กอยู่ในรูปที่เป็น
ประโยชน์มากขึ้น ถ้าส้มยังแสดงอาการขาดธาตุอยู่ก็ใช้สารประกอบพวก iron chelates เช่น iron EDTA และ Sequestrene iron chelates 
(Sodium Ferric  Diethyllenetriamine Pentaacetate 10% Fe) อัตรา 450 - 900 กรัมต่อต้น ใส่ไปพร้อมกับปุ๋ยหรืออาจจะละลาย Sequestrene 
iron chelates ในน้ำให้มีความเข้มข้นประมาณ  0.1% ผสมกับปุ๋ยเกล็ดฉีดพ่นบริเวณยอดก็ได้
           กรณีที่ได้รับมากเกินไป ใบจะไหม้
โบรอน (Boron)
           ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยในขบวนการสลายแป้ง - น้ำตาล  และเคลื่อนย้ายแป้ง - น้ำตาล
           กรณีที่ได้รับไม่เพียงพอ เมื่อกระทบแล้งมากๆ ส้มจะแสดงอาการขาดธาตุนี้ได้ง่านโดยครั้งแรกจะปรากฏให้เห็นที่ยอดและใบ
อ่อนก่อน  คือ ยอดหรือตาจะบิดงอ ใบอ่อนจะบางและโปร่งแสง เส้นกลางใบหนากร้านและตกกระ  กิ่งก้านเหี่ยว ถ้าสังเกตตามเปลือก
ของลำต้นจะพบสารเป็นยางเหนียวๆไหลออกมา ผลที่ออกมาจะเล็กและแข็งผิดปกติ เปลือกหนา บางครั้งผลจะแตกเป็นแผล มีสารเป็น
เมือกๆซึมออกมา เนื้อฟ่ามแข็งไม่มีน้ำไม่มีรสชาติ
           แก้ไขโดยใช้โบแรกใส่ลงไปในดินโดยตรง หรือ ฉีดพ่นให้ทางใบก็ได้ อัตราที่ใช้ในประเทศไทยไม่ทราบแน่ชัด  แต่ที่รัฐฟลอ
ริด้าใช้กันในอัตรา 2 - 6 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี โดยผสมน้ำในอัตราส่วน 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
           กรณีที่ได้รับมากเกินไป ปลายใบจะเริ่มเหลืองและขยายมาตามของใบมี necrosis  เป็นจุดๆ เกิดขึ้นด้วย จากนั้นใบก็จะร่วง
โมลิบดินั่ม (Molybdenum)
           มีหน้าที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปไนโตรเจนและการย้ายฟอสเฟต
           กรณีที่ได้รับไม่เพียงพอ ใบส้มจะมีจุดด่างสีเหลืองเป็นดวงๆทั่วไป ลักษณะของดวงนั้นอาจจะเป็นวงกลมหรือเป็นวงรีๆ  ปรากฏอยู่
ตามบริเวณเส้นใย ต่อมาจะกลายเป็นสีน้ำตาล ใต้ใบจะมีสารเป็นยางเหนียวๆ  ออกมาจากบริเวณที่เป็นดวงนั้น ถ้าขาดธาตุนี้มากๆ ใบส้ม
จะร่วงมากผิดปกติจนบางครั้งร่วงจนโกร๋น
           การแก้ไขทำได้โดยการพ่นน้ำยาซึ่งประกอบด้วยแอมโมเนียม หรือ โซเดียมโมลิบเดท ในอัตรา 1 - 6 กรัม ละลายในน้ำ 20 ลิตร 
แล้วฉีดให้ทั่วทั้งต้นส้ม
คลอรีน (Chlorine)
           ยังไม่ทราบถึงบทบาทหน้าที่ที่แน่ชัดเพียงแต่สงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับระบบน้ำย่อยในขบวนการสังเคราะห์แป้ง น้ำตาล และเนื่อง
จากเท่าที่ปรากฏในเอกสารเกี่ยวกับส้มยังไม่พบอาการขาดธาตุคลอรีนในส้ม ทราบเพียงว่าส้มจะไวต่อการเป็นพิษของคลอรีน ซึ่งจะรุน
แรงมากแค่ไหนขึ้นอยู่กบชนิดของพันธุ์   จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยที่มีคลอรีนเป็น องค์ประกอบ
           
           การให้ปุ๋ย
           การให้ปุ๋ยส้มนั้นไม่แนะนำให้ใช้ปุ๋ยสูตรใดตายตัวแต่จะเทียบเป็นสัดส่วนปุ๋ย  เช่น 3-2-1 ก็จะหมายถึงปุ๋ยที่มีสัดส่วนของธาตุไน
โตรเจนอยู่ 3 ส่วน ฟอสฟอรัส  2 ส่วน และโปแตสเซียม 1 ส่วน เป็นต้น และควรจะสามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนได้ตามความเหมาะสม
ของแต่ละช่วงการเจริญเติบโต โดยพิจารณาประกอบกับปริมาณของธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน หรือ ในต้น ดังนั้นการให้ปุ๋ยส้มจึงสามารถ
แบ่งเป็นช่วงระยะเวลาต่างๆ  คือ 
           1. การให้ปุ๋ยแก่ต้นส้มที่ยังไม่ให้ผลผลิต (ระยะตั้งแต่ปลูกไปจนเริ่มให้ผลผลิต)            
           เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่ส้มกำลังมีการเจริญเติบโตและจะเริ่มมีการให้ผลผลิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเริ่มไว้ผลเมื่อจ้นส้มมีอาย
ุประมาณ 1 ปี 6 เดือน (ต้นจากกิ่งติดตาบนต้นตอ)  หรือเมื่อต้นมีทรงพุ่มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตรขึ้นไป การให้ปุ๋ยในช่วง
นี้ควรใช้ปุ๋ยที่มีสัดส่วน 3-1-2 หรือ 4-1-2 เนื่องจากในการให้ปุ๋ยทางดินนั้นธาตุฟอสฟอรัสมักจะถูกตรึงให้อยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไป
ใช้ได้           จึงต้องให้ในสัดส่วนเล็กน้อยเพื่อให้มีปริมาณฟอสฟอรัสพอเพียงกับพืชเท่านั้น การใส่อาจแบ่งใส่ปีละ 6 ครั้ง จะทำให้ส้ม
ได้รับปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอตลอดปี
           2. การให้ปุ๋ยแก่ต้นส้มที่ให้ผลผลิตแล้ว          
               2.1 ระยะเตรียมต้นก่อนการออกดอก
                     เนื่องจากโปแตสเซี่ยมเป็นธาตุที่มีบทบาทช่วยในการสะสมอาหารก่อนการออกดอก  ดังนี้นการให้ปุ๋ยในระยะนี้จึงจะใช้
ปุ๋ยที่มีโปแตสเซียมอยู่ในสัดส่วนที่สูง เช่น 1-1-3 หรือ 1-1-4 โดยจะเริ่มให้เมื่อใบอ่อนที่แตกออกมามีอายุประมาณ 30 วันพร้อมกับให้น้ำ 
จากนั้นเมื่อใบส้นมีอายุประมาณ 60 วันในช่วงอากาศร้อน  แต่อากาศเย็นอาจนานถึง 90 วันจึงเริ่มงดการให้น้ำ โดยระยะเวลาที่มีการ
งดน้ำนี้จะไม่มกำหนดแน่นอนขึ้นอยู่กับอายุของต้นส้ม  ขนาดของทรงพุ่ม ดินและสภาพอากาศเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามอาจสังเกตได้จาก
ลักษณะการเหี่ยวของใบซึ่งจะใช้ระยะเวลาเหี่ยวเร็วขึ้นในแต่ละวัน            
              2.2 ระยะที่ตาเริ่มผลิ (หลังการให้น้ำ)
                    ในช่วงนี้จะมีระยะเวลาอยู่ประมาณไม่เกิน 12 วัน การให้ปุ๋ยในช่วงนี้ควรใช้ปุ๋ยทางใบ แบ่งการให้เป็นระยะๆ ร่วมกับการ
พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยที่ให้ในช่วงนี้ก็จะเป็นปุ๋ยที่มีสัดสวนคล้ายคลึงกับช่วงการเตรียมต้นก่อนการออกดอก  คือ 1-1-3 
หรือ 1-1-4
              2.3 ระยะที่ติดผลอ่อน
                    ระยะนี้จะเป็นระยะที่ผลส้มเริ่มมีการขยายขนาด สัดส่วนของปุ๋ยที่ใช้จึงอยู่ที่ประมาณ 4-1-2 ในกรณีที่พื้นที่ปลูกเป็นดินทราย
ค่อนข้างจัด หรือใช้สัดส่วน 3-1-2  ในกรณีที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ (อินทรีย์วัตถุสูง)
              2.4 ระยะก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณหนึ่งเดือนถึงหนึ่งเดือนครึ่ง
                    การให้ปุ๋ยในระยะนี้อาจทำได้ 2 ลักษณะ คือ แบบแรกจะใช้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนเดียวกันกับช่วงการให้ดอก คือ 1-1-3 หรือ 1-1-4 ซึ่ง
การให้ปุ๋ยสัดส่วนนี้จะทำให้ผลผลิตส้มที่ได้มีรสชาติค่อนข้างหวานสนิท  ส่วนแบบที่สองจะเป็นการให้ปุ๋ยโดยเพิ่มสัดส่วนของไนโตรเจนอีก
เล็กน้อย เช่น  2-1-3, 2-1-4 และ 2-1-5 เพื่อให้ผลผลิตส้มมีรสชาติอมเปรี้ยวเล็กน้อย แต่จะมีข้อด้อยคือ  จะทำให้ส้มมีผิวสีเขียวเพิ่มขึ้น และ
มีเปลือกหนาขึ้นด้วย ดังนั้นในกรณีของส้มที่ปลูกทางภาคใต้ซึ่งผลมักมีผิวสีเขียวอยู่แล้วก็อาจสังเกตได้ไม่ชัดเจน  อย่างไรก็ตามหากพบว่า
ดินมีไนโตรเจนที่สูงอยู่แล้วก็ควรจะลดสัดส่วนของไนโตรเจนลง
           สำหรับปริมาณการให้ปุ๋ยนั้นจากการประเมินตัวเลขโดยคร่าวๆ พบว่าต้นส้มที่ให้ผลผลิตเต็มที่ประมาณ 120 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี 
จะมีความต้องการในการใช้ปุ๋ยประมาณ  5 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี และควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีจากการให้ปุ๋ยในปริมาณสูงทุกๆ 3 เดือนเป็น
การให้ปุ๋ยปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งขึ้น หรืออาจให้ปุ๋ยทุกวันไปพร้อมกับระบบการให้น้ำซึ่งเป็นวิธีการให้ปุ๋ยที่มีความเหมาะสมและต้นส้ม
สามารถจะได้รับธาตุอาหารอย่างต่อเนื่องในปริมาณที่สม่ำเสมอ  จึงทำให้ต้นมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่า
การให้ปุ๋ยร่วมกับการให้น้ำ
           การให้ปุ๋ยไปพร้อมกับการให้น้ำหรือ Fertigation นี้ถือเป็นวิธีการให้ปุ๋ยที่ให้ประสิทธิผลสูง สามารถกำหนดการให้ปุ๋ยได้สะดวกและ
มีความสม่ำเสมอ ทั้งยังช่วยประหยัดแรงงานในการให้ปุ๋ยอีกด้วย  แต่การให้ปุ๋ยพร้อมกับระบบน้ำจะได้ประสิทธิภาพสูงสุดก็ต่อเมื่อระบบ
น้ำที่ติดตั้งมีความเหมาะสมและประสิทธิภาพสูงด้วย  ซึ่งในส่วนส้มระบบน้ำที่เหมาะสมในบ้านเรา คือ มินิสปริงเกลอร์
           ปุ๋ยที่จะนำมาใช้ในการให้น้ำพร้อมระบบน้ำนั้นโดยทั่วไปควรมีคุณสมบัติ คือ            
           1. ไม่กัดกร่อนท่อและอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบให้น้ำ
           2. ไม่ก่อให้เกิดการอุดตันในส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบ
           3. สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในแปลงปลูกพืช
           4. ให้ธาตุอาหารในรูปที่พืชจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย
           5. สามารถละลายน้ำได้ง่ายหรือเมื่อผสมกับน้ำแล้วได้ของเหลวที่กลมกลืนกันจนเป็นเมือกขาว (Emulsification) ดังนั้นปุ๋ยที่นำมา
ใช้จึงควรเป็นปุ๋ยที่เป็นผลึกละลายน้ำไม่ใช่ปุ๋ยเคมีสำเร็จรูปชนิดเม็ด
           6. ไม่ทำปฏิกริยากับสารเคมีในน้ำชลประทานแล้วทำให้เกิดผลเสียต่อระบบ
           7. สามารถกระจายไปในดินพร้อมกับการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
การให้ปุ๋ยธาตุหลักร่วมกับระบบน้ำ
           ปุ๋ยไนโตรเจน การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในระบบน้ำหยดจะต้องระวังเรื่องการใช้สารแอนไฮดรัสแอมโมเนียหรืออะควาแอมโมเนีย
ในระบบเนื่องจากจะมีผลทำให้ค่าพีเอชของน้ำเพิ่นสูงขึ้นจนเป็นด่าง  ดังนั้นหากมีแคลเซียม แมกนีเซียม และฟอสเฟตอยู่ในน้ำ ไอออน
ของธาตุเลห่านี้ก็จะทำปฏิกริยากันได้เกลือแคลเซียมแมกนีเซียมฟอสเฟตซึ่งมีความสามารถในการละลายน้ำได้น้อยและเกิดการตก
ตะกอน ดังนั้นหากในน้ำมีไบคาร์บอเนตไออนมากก็จะยิ่งเกิดการตกตะกอนมากขึ้นด้วย  อย่างไรก็ตามหากน้ำที่ใช้มีแคลเซียมและ
แมกนีเซียมอยู่สูง การใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟตก็อาจพบปัญหาการตกตะกอนได้เช่นกัน  ดังนั้นการใช้ปุ๋ยยูเรียซึ่งสามารถละลาย
น้ำได้ดีและไม่ทำปฏิกริยากับไอออนต่างๆในน้ำจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนกับระบบน้ำ
           ปุ๋ยฟอสเฟต โดยทั่วไปจะไม่นิยมใช้ปุ๋ยฟอสเฟตในระบบน้ำหยด เนื่องจากจะเกิดตะกอนระหว่างฟอสเฟตไอออนกับแคลเซียม
และแมกนีเซียมไอออน แต่กรณีที่จำเป็นจริงๆก็สามารถใช้ได้และต้องใช้ในความเข้มข้นที่ต่ำ นอกจากนี้หากพบว่าในน้ำมีปริมาณแคล
เซียมและแมกนีเซียมสูงก็ควรเติมกรดกำมะถันหรือกรด ออโทฟอสฟอริกเข้าไปในระบบเพื่อลดค่าพีเอชของน้ำลงป้องกันการตกตะกอน
ของแคลเซียมแมกนีเซียมฟอสเฟต
           ปุ๋ยโปแตสเซียม โดยทั่วไปการใช้ปุ๋ยโปแตสเซียมร่วมกับระบบการให้น้ำไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ โปแตสเซียมซัล
เฟต โปแตสเซียมไนเตรท หรือ โมโนโปแตสเซียมฟอสเฟตก็สามารถใช้ในระบบได้ดีทั้งสิ้นโดยไม่ก่อให้เกิดการตกตะกอนอันเนื่องมา
จากการทำปฏิกริยากับไอออนอื่นๆในน้ำ  อย่างไรก็ตามมีข้อควรระวังสำหรับการผสมปุ๋ยบางคู่ที่ไม่เข้ากัน เช่น ปุ๋ยโปแตสเซียมซัลเฟต
กับปุ๋ยแคลเซียมไนเตรท  ซึ่งหากผสมเข้าด้วยกันจะเกิดเป็นแคลเซียมซัลเฟตที่ละลายน้ำได้ยากและไปก่อให้เกิดการอุดตันได้ เป็นต้น
คำแนะนำในการจัดการให้ปุ๋ยพร้อมระบบน้ำ
           1. ให้ป๋ยทุกครั้งที่มีการให้น้ำเพื่อจะได้ไม่ต้องใช้ความเข้นข้นของปุ๋ยสูงซึ่งอาจเป็นอันตรายกับพืชได้
           2. ฤดูฝนให้ความเข้มข้นสูงกว่าฤดูแล้ง เนื่องจากฝนมากมีความถี่ในการให้น้ำห่างโอกาสที่จะให้ปุ๋ยมีน้อยและน้ำฝนจะช่วยเจือ
จางปุ๋ยที่เข้มข้นลง ขณะเดียวกันต้องเผื่อสำหรับการชะล้างไว้ด้วย ส่วนในฤดูแล้งให้ความเข้มข้นต่ำเพราะต้องให้น้ำบ่อยครั้งจึงไม่จำเป็น
ต้องให้ปุ๋ยความเข้มข้นสูง
           3. ช่วงจังหวะของการจ่ายปุ๋ยเข้าในระบบน้ำในการให้น้ำสามารทำได้หลายวิธี
               - ให้น้ำไปก่อนส่วนหนึ่งแล้วค่อยให้ปุ๋ยแล้วจึงให้น้ำตาม ซึ่งเมื่อรวมปริมาณทั้ง 3 ช่วงแล้วพอดีกับความต้องการของพืชและอยู่
ในเขตหากินของรากพืช วิธีนี้สารละลายธาตุจะอยู่บริเวณกลางความลึกของรากหากินของพืช
               - เริ่มให้สารละลายปุ๋ยตั้งแต่เริ่มต้นการให้น้ำและสิ้นสุดการให้น้ำ เมื่อสิ้นสุดการให้น้ำปริมาณที่ให้จะเพียงพอกับความต้องการ
ของพืชและไม่อยู่เลยเขตรากหากินของพืช  วิธีนี้สารละลายธาตุอาหารจะไปอยู่ส่วนล่างของเขตรากหากิน
              - ให้น้ำก่อนจนเกือบจะเต็มเขตรากหากินพืชแล้วจึงให้สารละลายปุ๋ยเป็นการปิดท้าย  วิธีนี้สารละลายธาตุอาหารจะอยู่ส่วนบนสุด
ตั้งแต่ผิวดินลงมาซึ่งเป็นเขตที่มีรากหากินพืชแน่นหนาที่สุด  พืชสามารถเอาไปใช้ได้มากที่สุด
           นอกจากนี้แล้วขอย้ำว่าการให้ปุ๋ยพร้อมน้ำจะเกิดประสิธิภาพสูงสุดเมื่อมีการเลือกระบบให้น้ำที่มี ประสิทธิภาพ เช่น ระบบการให้น้ำ
น้อยหรือไมโคร เช่น มินิสปริงเกลอร์หรือหยด(ประสิทธิภาพของระบบประมาณ 80 - 95%  ส่วนการให้น้ำด้วนระบบน้ำมาก (500ลิตรต่อชั่ว
โมง)  ปุ๋ยจะสูญเสียไปกับน้ำหรือไหลออกนอกเขตรากเนื่องจากปริมาณน้ำไหลเร็วจนดินดูดซับไว้ไม่ทัน อีกประการที่สำคัญคือการเลือก
อุปกรณ์จ่ายปุ๋ยซึ่งมีหลายแบบ บางแบบการจ่ายปุ๋ยเข้าระบบไม่แน่นอนทำให้พืชได้รับปุ๋ยไม่สม่ำเสมอจึงควรเลือกอุปกรณ์การจ่ายปุ๋ยที่มี
ความเหมาะสมด้วย
การกำจัดวัชพืช
           การกำจัดวัชพืช ควรปฏิบัติดังนี้
           - ให้คอยควบคุมวัชพืชอยู่เสมอ โดยส่วนมากจะใช้เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายไหล่  ซึ่งสามารถตัดต้นวัชพืชได้อย่างดีและมีความ
คล่องตัวสูง
           - จากสภาพที่ต้นส้มบางชนิดมีระบบรากอยู่ตื้น จึงไม่นิยมใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชบริเวณใกล้ๆต้น ซึ่งสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืชบาง
ประเภทอาจเป็นอันตรายต่อต้นส้มได้
           - ชนิดของวัชพืชที่ขึ้นรบกวน เช่น หญ้าขน หญ้าคา หญ้าชันอากาศ เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะแย่งน้ำและอาหารแล้ว ในปริมาณที่มาก
ก็จะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อต้นส้มด้วย ทำให้บางสวนนิยมปลูกหญ้าแพรก หรือหญ้าแห้วหมูแทนเพื่อช่วยในการยึดดินได้ดีและง่ายใน
การกำจัดด้วย  โดยกลิ้งทับต้นหญ้าให้หักพับไป ในช่วงที่ต้นใหญ่มากแล้วด้วยลูกกลิ้งขนาดเล็ก ซึ่งจะทำให้ต้นหญ้าตายพร้อมกับแตก
เป็นต้นหญ้าเล็กๆขึ้นแทนที่ในเวลาต่อมา หรือกำจัดโดยใช้เครื่องตัดหญ้าแบบล้อเข็นช่วยก็ได้
การตัดแต่งกิ่ง
           การตัดแต่งกิ่งส้มมีวัตถุประสงค์เพื่อ
           - ให้ทรงต้นเกิดความสมดุลระหว่างรากและต้นส้ม
           - เกิดความสมดุลระหว่างธาตุอาหารในต้นส้ม (C /N ratio)
           - ลดความรุนแรงของโรค ช่วยให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึงทรงพุ่ม
           - สะดวกในการปฏิบัติงานในสวน เช่น พรวนดิน พ่นสารเคมี และเก็บเกี่ยว
           - เป็นการลดอายุการแก่ของต้น (rejuvenile) ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
           แบบของการตัดแต่งกิ่งส้ม
           1. การไว้กิ่งนำ เรียกว่า central leader แบบนี้ทำให้ส้มมีกิ่งที่แข็งแรง มีโครงสร้างลำต้นแข็งแรง ทำให้กิ่งส้มไม่ฉีก หัก หรือเสีย
หายได้ง่ายในระยะติดผลซึ่งเป็นช่วงที่ยาวนานถึง 6 - 7 เดือน ในการปลูกส้มเขียวหวานในแถบจังหวัดยะลา มีการตัดแต่งกิ่งแบบนี้ และ
จะค้ำกิ่งให้กับต้นที่ติดผลไว้เป็นชั้นๆ เพื่อป้องกันการฉีกหักของกิ่งส้ม เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายที่คุ้มทุน ทำให้ไว้จำนวนผลได้มากขึ้น
           2. การตัดแต่งกิ่งแบบทรงแจกัน เรียกว่า open center โดยการตัดกิ่งนำออกและไว้กิ่งข้างขนาดใหญ่ประมาณ 5 - 10 กิ่ง ซึ่งเหมาะ
กับการตัดแต่งกิ่งส้มโอ เนื่องจากส้มโอมักจะมีการขยายพันธุ์ด้วยกิ่งตอน ไม่มีกิ่งนำอยู่แล้ว อีกประการหนึ่ง ลักษณะประจำพันธุ์ของส้มโอ
มีทรงพุ่มหนาทึบเป็นที่อยู่อาศัยของโรค แมลงศัตรู หากมีการตัดแต่งกิ่งแบบทรงแจกันจะทำให้แสงแดดส่องถึงได้ทั่วทรงพุ่ม อย่างไรก็ดี 
การตัดแต่งกิ่งแบบนี้มีข้อเสีย คือ ทำให้โครงสร้างไม่แข็งแรงโดยเฉพาะในช่วงที่ติดผลต้องมีการค้ำกิ่ง
           3. การตัดแต่งกิ่งแบบประยุกต์ เรียกว่า modified leader เป็นการนำเอาวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 รวมกัน ซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับไม้ผลโดย
ทั่วไป เนื่องจากทรงพุ่มไม่ใหญ่มากเกินไป  และมีการติดผลกระจายทั่วต้น
           การตัดแต่งกิ่งต้นส้มระยะก่อนการให้ผลผลิต ควรตัดแต่งให้น้อยที่สุดหรือไม่ต้องทำเลย โดยเฉพาะกิ่งส้มที่มาจากต้นตอติดตาโดย
ที่การตัดแต่งกิ่งในช่วงนี้อาจจะทำให้กระทบกระเทือนต่ออายุการให้ผลผลิตซึ่งอาจจะยืดยาวออกไป การตัดแต่งในช่วงต้นส้มเล็กก่อนการ
ให้ผลผลิตที่อาจจะต้องทำบ้างก็คือการตัดแต่งกิ่งที่แตกออกมาในระดับที่ต่ำกว่า  45 - 60 ซม. จากระดับพื้นดิน (ต้องการให้โคนโปร่ง) รวม
ทั้งกิ่งที่ไขว้ซ้อนทับกันหรือกิ่งกระโดงบางกิ่งที่แตกออกมาจากกิ่งหลักเท่านั้นรวมความแล้วก็คือต้องการให้ต้นส้มสร้างทรงพุ่มให้ใหญ่เร็ว
ที่สุด
           การตัดแต่งกิ่งส้มหลังจากส้มให้ผลผลิตแล้ว หลังจากที่เริ่มไว้ผลผลิตส้มแล้วประมาณผีที่ 3 เป็นต้นไป (ถ้าเร็วกว่านั้นอาจไม่เป็นผล
ดีต่อต้นส้มนัก) การตัดแต่งเพื่อให้ส้มสามารถให้ผลผลิตที่ดีในแต่ละฤดูและเพื่อเป็นการควบคุมทรงพุ่มให้แสงส่องกระจายทั่วทั้งทรงพุ่ม
และทำให้การพ่นสารเคมีเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ การตัดแต่งจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับระยะปลูกซึ่งเป็นไปตามคุณสมบัติ
ของส้มแต่ละพันธุ์และเงื่อนไขอื่นๆ  ดังกล่าวแล้วในตอนต้น
           ขั้นตอนข้อพิจารณาในการตัดแต่งกิ่งสามารถดำเนินการได้ดังนี้
           1. ตัดแต่งกิ่งที่แห้งหรือเป็นโรคออก รวมทั้งกิ่งน้ำค้าง (Sucker) เล็กๆทั้งหลายในพุ่มซึ่งกิ่งเหล่านี้จะเป็นที่รวมโรคและแมลง ทำให้
บดบังแสงและการพ่นสารเคมี
           2. ตัดแต่งกิ่งที่แตกบริเวณโคนในระดับต่ำ 45 - 60 ซม. จะช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดี ลดการระบาดของโรค เพิ่มประสิทธิภาพการ
ให้ปุ๋ยเคมี การให้น้ำ การควบคุมวัชพืช  การปลิดผล (เพื่อควบคุมปริมาณผลผลิตให้พอเหมาะ
           3. การตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่ม ส้มในต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลียซึ่งมีการปลูกส้มในเชิง อุตสาหกรรม พื้นที่การปลูกแต่ละ
รายทำเป็นจำนวนมาก ค่าแรงสูง จึงมีการใช้เครื่องจักรในการตัดแต่งเป็นหลัก  การตัดแต่งจะใช้เครื่องตัดทั้งด้านบนและด้านข้าง ช่วง
การตัดแต่งส่วนใหญ่จะดำเนินการในช่วงหลังฤดูการเก็บเกี่ยวแล้วเป็นหลัก กิ่งที่แตกออกมาใหม่คือกิ่งที่จะให้ดอกและผลในฤดูถัดมา 
ระยะปลูกที่กล่าวถึงข้างต้นส่วนใหญ่แล้วจะทำให้รูปทรงต้นส้มที่มองเห็นในสวนจะมีลักษณะเป็นแถวยาว  ทรงพุ่มระหว่างต้นจะชิดกันแต่
ระหว่างแถวจะกว้างเพียงพอที่รถพ่นสารเคมีหรือแทรคเตอร์อื่นๆ  สามารถเข้าไปทำงานได้อย่างสะดวก สวนใหม่ๆบางสวนจะมีการควบคุม
ทรงพุ่มที่ระดับความสูงประมาณ 4 - 4.5 เมตร ซึ่งความสูงระดับนี้สามารถเก็บด้วยรถกระเช้าได้สะดวก ดังนั้นลักษณะทรงต้นของส้มดังกล่าว
จะมีลักษณะเติ้ยและล่ำกล่าวคือส่วนโคนจะใหญ่
           สำหรับประเทศไทยนั้นด้วยสภาพเงื่อนไขของสภาพแวดล้อมและธรรมชาติที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นสวนขนาดเล็กหรือใหญ่ ใน
ปัจจุบันยังสามารถใช้แรงงานในการตัดแต่งกิ่งเพราะเมื่อเทียบกับแรงงานและค่าแรงที่เป็นอยู่ยังสามารถใช้แรงงานในการตัดแต่งกิ่งได้
มีประสิทธิภาพกว่าการใช้เครื่องจักรที่มีราคาแพงและขีดความสามารถในการทำงานจำกัด  รูปแบบการตัดแต่งกิ่งที่มีการดำเนินการใน
ประเทศไทยกรณีของส้มจากกิ่งตอนจะมีทรงพุ่มที่แผ่ออกด้านข้าง ทำให้การควบคุมทรงพุ่มทำได้ไม่ยาก สำหรับส้มที่ปลูกจากต้นตอติดตา
ส่วนใหญ่ลำต้นจะตั้งตรงพุ่มสูง  ดังนั้นหลายสวนจึงใช้วิธีการตัดแต่งโดยเจาะกลางพุ่มเพื่อให้แสงส่องเข้าอย่างทั่วถึง  การตัดแต่งกิ่งส้มใน
บ้านเรานอกจากจะต้องทำในช่วงหลัก คือหลังการเก็บเกี่ยวก่อนการออกดอกในฤดูถัดไปแล้วช่วงอื่นๆก็อาจจะต้องตัดแต่งกิ่งเสริมอีกโดย
เฉพาะในเขตที่มีฝนชุก  ทำให้การแตกยอดหรือมีกิ่งกระโดงค่อนข้างมาก เช่น ในภาคใต้ เป็นต้น 
           4. การพัฒนารูปแบบการตัดแต่งกิ่งเพื่อลดการค้ำกิ่ง การตัดแต่งกิ่งส้มในอิสราเอล ออสเตรเลีย สเปน อเมริกา ในประเทศเหล่านี้
จะไม่พบเห็นการใช้ไม้ค้ำกิ่งส้มเลย ทั้งนี้เนื่องจากการตัดแต่งกิ่งที่เน้นให้ทรงต้นและกิ่งมีความแข็งแรงและมีความสมดุลย์กัลผลผลิต  ขณะ
เดียวกันยังขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ส้มเป็นหลักด้วย สำหรับในบ้านเราเนื่องจากสายพันธุ์ส้มที่ปลูกอยู่ส่วนใหญ่จะมีกิ่งค่อนข้างอ่อนและระบบการ
ปลูกโดยใช้กิ่งตอนจะทำให้ทรงพุ่มไม่แข็งแรงเท่าต้นที่ใช้ต้นตอติดตา อย่างไรก็ตามในขณะนี้มีสวนส้มหลายสวนในประเทศไทยเริ่มพัฒนา
ระบบการควบคุมทรงพุ่มส้มโดยเน้นที่กิ่งหลักๆ ให้แข็งแรงไม่จำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำกิ่ง ซึ่งจะสามารถประหยัดต้นทุนไม้ค้ำและแรงงานค้ำกิ่ง
ลงได้มาก
การใช้สารฮอร์โมน
           มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการเจริญเติบโต ช่วยกระตุ้นการออกดอก เพิ่มการติดผล และชะลอการสุกแก่ของผลให้ได้ตามความต้อง
การของเกษตรกรผู้ปลูก การใช้สารฮอร์โมนในการผลิตพืชโดยเฉพาะไม้ผลยังไม่มีตัวเลขแน่นอนถึงผลตกค้างของสารฮอร์โมนเหล่านี้
           ชนิดของสารเคมีที่ใช้และวัตถุประสงค์ในการใช้
           1. การติดผลหรือป้องกันผลร่วง ใช้ Alar, GA4, GA7 และ Cultar โดยปกติในไม้ผลที่มีการผลิยอดใหม่และในช่วงระยะติดผลจะทำ
ให้เกิดการแย่งอาหารกันทำให้ผลร่วงมาก การฉีดพ่นสารฮอร์โมนเข้าไปเพื่อชะลอการแตกยอด ทำให้จำนวนผลผลิตเพิ่มขึ้น ในส้มบาง
ชนิดที่ปลูกทางภาคใต้ออกรากในเดือนพฤษภาคมพร้อมกับการแตกยอดทำให้มีปริมาณการติดผลน้อย  ประมาณน้อยละ 7 - 11 การใช
้ฮอร์โมนจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับขั้วผล และทำให้ผลมีขนาดเพิ่มขึ้นด้วย ฮอร์โมน 2,4-D ในอัตรา 8 - 10 ppm ช่วยเพิ่มการติดผล
ในส้มหลายชนิด เช่น ส้มพันธุ์นาเวล วาเลนเซีย เลมอน และเกรพฟรุ๊ท
           2. การปลิดผล ในไม้ผลบางชนิด เช่น ส้มออเรนซ์ ท้อ ขนุน ชมพู่ ฝรั่ง ต้องมีการปลิดผลออกบ้างเพื่อให้ผลมีขนาดโตขึ้น ในต่าง
ประเทศที่มีการปลูกในพื้นที่กว้างมากนิยมใช้สารฮอร์โมนพวก DN (Dinitro-O-cresylate)  NAA 15 - 30 ppm ฉีดพ่นให้ผลร่วงบ้าง 
           3. การกระตุ้นการออกดอก มีความจำเป็นใช้ในกรณีไม้ผลนั้นมีนิสัยออกดอกติดผลยากหรือไม้ผลนั้นอยู่ในสภาวะไม่สมดุล เช่น 
เกิดการไม่สมดุลระหว่างแร่ธาตุอาหาร (C /N ratio) หรือเกิดการไม่สมดุลระหว่างออกซินกับ GA ในต้น
             
 
Hosted by www.Geocities.ws

1