การขยายพันธุ์

Home

ถิ่นกำเนิดและนิเวศวิทยาของพืชตระกูลส้ม

พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกส้ม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และลักษณะประจำพันธุ์

การปลูกส้ม

สภาพสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตส้ม

โรค แมลงศัตรู และปัญหาอื่นๆที่พบ

การขยายพันธุ์

การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

สภาวะการตลาด

การขยายพันธุ์ส้ม           
          การขยายพันธุ์ส้มมี 2 แบบ คือ การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนอื่นๆ ได้แก่ กิ่ง ยอด ตา โดย
วิธีที่แตกต่างกันออกไป เช่น การปักชำ ตอน ติดตา และต่อกิ่ง ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของส้มว่ามีความยากหรือง่ายในการงอกราก 
ส้มบางชนิด เช่น มะนาว งอกรากได้ง่ายมักใช้วิธีปักชำ หรือตอนกิ่ง เป็นต้น สำหรับวิธีการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดในส้มนั้นยัง
นิยมใช้กันมาตราบจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากพืชตระกูลส้มเกือบทุกชนิด ทุกพันธุ์มีคุณสมบัติให้ต้นกล้าได้มากกว่า 1 ต้นต่อเมล็ด 
(polyembryony) ทำให้สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้โดยมีเปอร์เซ็นต์การกลายพันธุ์น้อย แม้กระนั้นก็ตาม เกษตรกรยังนิยม
ขยายพันธุ์โดยวิธีการตอน ติดตา และต่อกิ่ง เนื่องจากส้มจะให้ผลผลิตเร็วกว่าการเพาะเมล็ด และทรงพุ่มแผ่กว้างทำให้เก็บผล
ผลิตได้สะดวก นอกจากนี้การใช้ต้นตอที่เหมาะสมจะทำให้ทนต่อโรครากเน่าและโคนเน่า แต่มีข้อเสียบ้าง คือ เกิดการแพร่ระ
บาดของโรคไวรัสได้ง่าย จากการใช้เครื่องมือการตอนกิ่งหรือติดตา  ต่อกิ่ง และมีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์ได้เหมือนกัน
 การเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียในการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการขยายพันธุ์โดยวิธีใช้ต้นตอ
          
           ต้นที่ปลูกเมล็ด                                     ต้นที่ปลูกด้วยส่วนขยายพันธุ์โดยใช้ต้นตอ
           1. มีโอกาสกลายพันธุ์                                           1. มีคุณสมบัติตรงตามพันธุ์ทุกประการ
           2. มีหนามมากและหนามใหญ่                              2. มีหนามน้อย และหนามเล็ก
           3. ให้ดอกออกผลช้า (ประมาณ 7 ปี)                      3. ให้ดอกออกผลเร็ว (ประมาณ 3ปี)
           4. มีทรงพุ่มสูงและตรง                                         4. มีทรงพุ่มแผ่ทางด้านข้าง
           5. เสียค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวสูงกว่า               5. เสียค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวต่ำกว่า
           6. มักอ่อนแอต่อโรคทางราก                                6. ทนต่อโรคทางรากได้ดีกว่า ถ้าใช้ต้นตอที่เหมาะสม
           จากคุณสมบัติดังกล่าวนี้ทำให้ผู้ปลูกนิยมใช้ต้นตอส้มในการขยายพันธุ์ส้มกันมากขึ้น ต้นตอที่เหมาะสมในส้มแต่ละ
พันธุ์ยังแตกต่างกัน คุณลักษณะของต้นตอที่ดีมีดังนี้
           1. การให้ต้นกล้าจากนิวเซลลัสเซลล์ในระดับสูง
           2. การประสานตัวของเซลล์รอยต่อกับกิ่งพันธุ์ดีได้ดี
           3. การเจริญเติบโตดีในดินแทบทุกชนิด
           4. การทนต่อโรคไวรัส หรือเชื้อรา หรือไส้เดือนฝอยในระดับสูง
           5. การทนต่อสภาพความแห้งแล้ง หรือที่ที่มีลมแรงได้ดี
           6. การทำให้กิ่งพันธุ์ดีให้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพผลไม่เปลี่ยนจากเดิม
           7. มีอัตราการเจริญเติบโตใกล้เคียงกันกับกิ่งพันธุ์ดี
           คุณสมบัติของต้นตอแต่ละพันธุ์แม้จะมีไม่ครบตามลักษณะดังกล่าว อาจเลือกตามสภาพท้องถิ่นและวัตถุประสงค์ของ
ผู้ปลูกเป็นเกณฑ์ และควรเป็นพันธุ์ที่มีเมล็ดมากพอสมควร
ลักษณะประจำพันธุ์ของพันธุ์ส้มที่นิยมใช้เป็นต้นตอ
           1. ซาวออเรนซ์ นิยมใช้ทำต้นตอในแถบประเทศยุโรปตอนใต้ และมลรัฐฟลอริดา มีการเจริญเติบโตได้ดีในดินหนัก            
และสามารถทนต่อสภาพน้ำท่วมได้ดีกว่าส้มพันธุ์อื่นๆ ในขณะเดียวกันสามารถทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี มีระบบรากลึกและ
แผ่กว้าง กิ่งพันธุ์ดีที่ต่อบนต้นตอซาวออเรนซ์จะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี เปลือกผลบาง เนื้อผลฉ่ำน้ำ แต่มักให้ผลไม่ดก ต้น
ตอซาวออเรนซ์มีความทนทานต่อโรคโคนเน่าและโรคไวรัสบางชนิด แต่อ่อนแอต่อโรคสแค๊ป
           2. สวีทออเรนซ์ เป็นต้นตอที่มีความทนทานต่อโรคไวรัสบางชนิด เช่น ทริสเตซ่า และ เอ็กโซคอทีสได้ดี แต่ไม่ทนต่อ
โรคโคนเน่า ดังนั้นจึงไม่เหมาะจะใช้ทำเป็นต้นตอ ในสภาพดินที่มีกการระบายน้ำไม่ดี ผลผลิตที่ได้จากการใช้ต้นตอสวีทออ
เรนซ์ ให้คุณภาพผลดีมาก พันธุ์ที่ประเทศบราซิลใช้ทำต้นตอ ได้แก่ พันธุ์เบสซี่ และพันธุ์ไซพีรา สวีทออเรนซ์ให้ต้นกล้าที่
เกิดจากเซลล์นิวเซลลัสถึงร้อยละ 70 - 90
           3. แมนดาริน ให้ต้นกว้าที่เกิดจากนิวเซลลัสร้อยละ 80 - 100 และทุกพันธุ์มีความทนทานต่อโรคสแค๊ปและโรคไวรัส
บางชนิด พันธุ์ที่นิยมใช้เป็นต้นตอมีพันธุ์
               3.1 คลีโอพัตรา มีลักษณะทรงพุ่มกลม ผลขนาดเล็ก เจริญเติบโตได้ดีแม้ในสภาพดินเหนียวจัด แต่ไม่ทนต่อโรค
โคนเน่า และมีคุณสมบัติทำให้กิ่งพันธุ์ดีมีขนาดลำต้นเล็กและให้ผลผลิตช้า
               3.2 ซันไก นิยมใช้ทำต้นตอในประเทศจีนและไต้หวัน เจริญเติบโตเร็วกว่าต้นตอพันธุ์อื่นๆ
               3.3 แลงเพอร์ เชื่อว่าเป็นลูกผสมจากเลมอนและแมนดาริน มีลักษณะผลก้ำกึ่งระหว่างเลมอน ไลม์ และแมนดาริน 
ทำให้มีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น ในสหรัฐอเมริกาเรียกแลงเพอร์ไลม์ ในบราซิลเรียกเลมอน อย่างไรก็ตาม ต้นตอแลงเพอร์
นี้มีคุณสมบัติเป็นต้นตอที่ดีมาก เช่น มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ทำให้กิ่งพันธุ์ดีให้ดอกออกผลเร็วขึ้นและให้ผลดก 
แต่อ่อนแอต่อโรคไวรัสบางชนิด
           4. ส้มสามใบ ทนต่อสภาพความเย็นได้ดีมาก จึงเหมาะที่จะเป็นตนตอของพันธุ์ส้มที่ปลูกในเขตอากาศกึ่งร้อนให้ต้น
กล้าที่เกิดจากเซลล์นิวเซลลัสประมาณร้อยละ 70 แต่ต้นกล้าเจริญเติบโตค่อนข้างช้า  นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติทนต่อโรคโคน
เน่าและโรคไวรัสบางชนิด แต่ไม่ทนต่อโรคแคงเกอร์และโรคสแค๊ป ต้นตอส้มสามใบมีอิทธิพลทำให้กิ่งพันธุ์ดีให้ผลขนาด
ค่อนข้างเล็กแต่มีคุณภาพดีเยี่ยม ส้มสามใบไม่นิยมใช้เป็นต้นตอของเลมอนพันธุ์ลิสบอน และถ้าใช้เป็นต้นตอของแมนดาริน
จะทำให้ทรงพุ่มเตี้ยแคระ  มักนิยมใช้ทำต้นตอในเขตหนาวและกึ่งร้อนเท่านั้น
           5. ซิตรอนเป็นลูกผสมระหว่างสวีทออเรนซ์กับส้มสามใบ มีใบเป็นแบบ trifoliate มีนิสัยไม่ผลัดใบ และเมล็ดมีคุณสมบัติ
ให้ต้นกล้าหลายต้นต่อเมล็ดมีความทนต่อโรคโคนเน่าและโรคไวรัสบางชนิด
คุณสมบัติของต้นตอบางชนิดที่ทนโรคและสภาพดินฟ้าอากาศ
ชนิดของต้นตอ
ความทนต่อโรคและสภาพอากาศ
ผลผลิต
คุณภาพผล
โคนเน่า
ทริสเตซ่า
เอ็กโซคอทีส
ไส้เดือนฝอย
ดินฟ้าอากาศ
ซาวออเรนซ์
ดีมาก
เลวมาก
ดีมาก
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ดีมาก
สวีทออเรนซ์
เลว
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
ปานกลาง
ดี
ดีมาก
รัฟเลมอน
เลวมาก
ดี
ดี
เลว
ปานกลาง
ดีมาก
เลว
คลีโอพัตรา
ปานกลาง
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
ดี
ปานกลาง
ดี
แลงเพอร์
ปานกลาง
ดีมาก
เลวมาก
ปานกลาง
ดีมาก
ดีมาก
ปานกลาง
สวีทไลม์
เลว
เลว
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ดี
ดีมาก
ทรอยเออร์
ดี
ดีมาก
เลว
ดี
เลว
ดี
ดี
ซิตรอน
ดีมาก
ดีมาก
เลวมาก
ดีมาก
เลวมาก
ปานกลาง
ดีมาก
ที่มา : Samson, 1980
วิธีการขยายพันธุ์ส้มโดยใช้เมล็ด
           เริ่มจากการเก็บผลจากต้นพันธุ์ที่คัดเลือกไว้ แกะเมล็ดออกจากผลแล้วนำมาล้างน้ำให้สะอาด และฆ่าเอโรคโดยจุ่ม
เมล็ดในน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 50ฐC นาน 10 นาทีก่อนเพาะเมล็ด จากนั้นหว่านเมล็ดลงในกระบะเพาะหรือแปลงเพาะเมล็ด 
การเตรียมแปลงเพาะเมล็ดควรใช้ดินที่สะอาดไม่มีเชื้อโรคทางดิน  ขนาดของแปลงกว้าง 1.8 เมตร เว้นทางเดิน 0.7 เมตร 
ความยาวแปลงขึ้นกับพื้นที่ที่มีอยู่ ระยะห่างระหว่างหลุม 5 ซม. แต่ละแปลงเพาะจะเพาะได้ 6 แถว ระยะห่างระหว่างแถว            
30 ซม. ดังนั้นในพื้นที่ 100 ด 10 เมตร (0.6 ไร่) ทำแปลงเพาะส้มได้ 4 แปลงใหญ่ แต่ละแปลงเพาะเมล็ดได้ 12,000 เมล็ด 
ต้องใช้เมล็ดทั้งหมด 48,000 เมล็ด แต่ละขั้นตอนของการเตรียมจะสูญเสียเมล็ดไปประมาณร้อยละ 10 - 20 เมื่อต้นกล้ามี
ความสูงประมาณ 30 - 45 ซม. จึงย้ายหรือล้อมต้นกล้าลงปลูกในแปลงใหญ่ต่อไป การดูแลรักษาต้นกล้าส้มในระยะอยู่ใน
แปลงเพาะ  สิ่งสำคัญ คือ การกำจัดวัชพืช ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่ค่าจ้างแรงงานไม่สูงการใช้มือถอนเป็นวิธีที่ดีที่สุด ถ้าจำเป็นต้อง
ใช้สารเคมีปราบวัชพืช อาจใช้ซิมาซีนในอัตรา 2 กก./ไร่ และใช้ปุ๋ยสูตร 4-7-5 อัตรา 22 กรัม/ต้น/เดือน ในการเร่งการ
เจริญเติบโตของต้นกล้า
การขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนอื่นๆ
           1. การปักชำและการตอน
               ในจำพวกพืชตระกูลส้ม มะนาวสามารถออกรากได้ง่ายและในส้มชนิดอื่นๆ อาจใช้สารเคมีเร่งราก เช่น IBA NAA 
ในอัตรา 3,000 -8,000 ppm จะช่วยส่งเสริมการงอกรากได้เร็วขึ้น การปีกชำกิ่งส้มหรือมะนาวจะตัดกิ่งที่มีอายุ 6 เดือนถึง 1 ปี 
ความยาวกิ่ง 20 - 30 ซม. ซึ่งขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์และความแก่อ่อนของกิ่ง การเลือกกิ่งหักชำควรเป็นกิ่งที่อยู่ในช่วงก่อน
หรือหลังระยะออกดอก ไม่ควรเป็นกิ่งที่กำลังให้ดอกออกผลเพราะจะทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกรากต่ำ เมื่อเลือกได้กิ่งที่ต้องการ
แล้ว จากนั้นใช้กรรไกรตัดโคนกิ่งให้เฉียงลงแล้วกรีดโคนกิ่ง 2 - 3 รอย ยาว 1.5 - 2 ซม. เพื่อเพิ่มเนื้อที่การงอกราก การตัด
กิ่งชำควรป็นเวลาเช้าซึ่งเป็นช่วงที่กิ่งและใบมีความสดมากที่สุด เมื่อตัดกิ่งแล้วควรใส่ลงในถุงพลาสติกทันทีเพื่อป้องกันการ
คายน้ำของกิ่งชำ
           อาหารในกิ่งชำหมายถึง ความสมดุลของอัตราส่วนระหว่างคาร์โบไฮเดรทกับธาตุไนโตรเจน(C /N ratio) เป็นเรื่องที่
ต้องพิจารณา ในกิ่งอ่อนของส้มจะมีปริมาณไนโตรเจนสูงและมีปริมาณคาร์โบไฮเดรทต่ำ ถ้าเป็นกิ่งแก่จะมีปริมาณแป้งในกิ่ง
สูงและไนโตรเจนต่ำ ดังนั้นในกิ่งแก่จะมีอาหารสะสมอยู่มาก ทำให้มีเปอร์เซ็นต์การงอกรากสูง การควั่นกิ่งชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ก่อนตัดกิ่งปักชำจะทำให้คาร์โบไฮเดรทสะสมที่โคนกิ่งมากขึ้น ทำให้มีโอกาสงอกรากได้ง่ายขึ้น สภาพแวดล้อมในการปักชำกิ่ง
ส้มควรมีอุณหภูมิ 24 - 32 องศาเซลเซียส เพื่อกระตุ้มการเจริญเติบโตของราก ถ้ามีอุณหภูมิเกิน 35ฐC รากกิ่งชำจะเหี่ยวและ
ใบไหม้ ในสภาพอุณหภูมิสูง ควรชำกิ่งในกระบะพ่นหมอก ที่ติดตั้งเวลาฉีดพ่น 5 วินาที/ ความถี่ทุก 5 - 10 นาที
           2. การติดตาต่อกิ่ง
               การขยายพันธุ์โดยการติดตา ต่อกิ่ง ต้องใช้ต้นตอในการติดตา ต่อกิ่ง
               การเตรียมต้นตอส้มมี 2 แบบ ได้แก่ การปลูกต้นตอลงในแปลงปลูกขยายพันธุ์เลยและการปลูกต้นตอลงในถุง
พลาสติกหรือกระถาง การเตรียมต้นตอทั้ง 2 แบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน คือ การเตรียมต้นตอลงในแปลงปลูกขยายพันธุ์
นั้น ต้นตอจะเจริญเติบโตได้เร็วกว่า เสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนน้อยกว่า แต่ต้องเสียค้าจ้างแรงงานในการขุดต้นตอขึ้นหลัง
จากขยายพันธุ์แล้ว ส่วนการเตรียมต้นตอโดยปลูกลงในถุงพลาสติกจะทำให้สะดวกต่อการจำหน่ายหรือย้ายปลูกและปลอดภัย
จากโรคทางราก กินเนื้อที่น้อย แต่ใช้เวลานานถึง 24 เดือนจึงนำส่งจำหน่ายเพื่อขยายพันธุ์ การเตรียมต้นตอแบบปลูกลงใน
ถุงพลาสติกลักษณะของโรงเรือนอาจไม่จำเป็นต้องสร้างแบบถาวร  เพราะต้นกล้าส้มต้องการแสงแดดในการสังเคราะห์แสง
อยู่แล้ว ต้นตอส้มต้องอาศัยร่มเงาบ้างในช่วงต้ออ่อนและช่วงขยายพันธุ์ โดยเฉพาะในช่วงขยายพันธุ์ต้องไม่ชื้นแฉะมาก ร่ม
เงาที่ใช้ควรกรองแสงเพียงร้อยละ 32 ถ้าร่มมากจะทำให้ต้นกล้าอ่อนแอได้ ควรบังร่มเงาเฉพาะระยะกล้าอ่อนและหลังการ
ขยายพันธุ์  นอกนั้นเปิดโล่งได้ ที่ตั้งต้นกล้าควรยกสูงเพื่อป้องกันโรครากเน่าทำลาย ความสูงของที่ตั้งควรทำให้ต่ำกว่าระดับ
เอวเล็กน้อย คือ ประมาณ 50 - 60  ซม. กว้างประมาณ 1 เมตร ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการดูและรักษาและการขยายพันธุ์            
พื้นเรือนควรให้มีการระบายนำดี ไม่ชื้นแฉะมาก หรือแห้งมากในช่วงฤดูแล้ง การให้น้ำอาจใช้มือ หรืออาจลงทุนใช้หัวฉีด
พ่นหมอกทำให้สะดวก ไม่เปลืองแรงงาน            
           วิธีเตรียมต้นกล้าที่จะใช้ทำต้นตอ
           เมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ทำต้นตอควรเป็นเมล็ดที่ให้การรับรองแล้วว่ามีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่จะใช้เป็นต้นตอที่ดีได้            
ถ้าต้องการเก็บไว้ใช้ปลูกในช่วงที่หาเมล็ดได้ยาก ควรล้างทำความสะอาดเมล็ด ทรีตเมล็ดด้วยน้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส จุ่ม
ยากันเชื้อรา แล้วผึ่งเมล็ดให้แห้งในที่ร่ม นำเมล็ดลงบรรจุในถุงพลาสติกใส่ในภาชนะปิดมิดชิด แล้วจึงเก็บในอุณหภูมิ 5 - 
10 องศาเซลเซียส ที่ความชื้นร้อยละ 85 -90 การเพาะเมล็ดต้นตอใช้วัสดุเพาะเป็นทรายผสมพีทหรือขุยมะพร้าว อัตราส่วน 
1:1 แล้วเติมปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร 18:2.6:10 ผสมดินและปุ๋ยให้เข้ากัน  หากเตรียมครั้งละจำนวนมากอาจใช้เครื่องผสมปูน 
เมล็ดส้มจะงอกภายใน 14 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ส้มด้วย เมล็ดส้มเขียวหวานงอกเร็วมากประมาณ 7 วัน เมล็ดส้มชนิดอื่น 
เช่น ส้มโอ ส้มจุก งอกช้าใช้เวลา 14 - 21 วัน เมื่องอกแล้วต้นกล้าจะมีลักษณะแข็งแรงกว่า  เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 2 - 4 ใบ 
เริ่มย้ายปลูกในถุงพลาสติกขนาดเล็ก (4 x 6 นิ้ว) การย้ายปลูกในภาชนะที่มีขนาดใหญ่เกินไปจะทำให้ต้นกล้าเน่าได้ เนื่อง
จากเครื่องปลูกแฉะอยู่ตลอดเวลา
           การดูแลรักษาต้นกล้าภายหลังจากการย้ายปลูก
           ต้นกล้าที่ทำเป็นต้นตอควรตัดกิ่งที่แตกข้างออกให้เหลือเฉพาะกิ่งนำ (leader) จะทำให้ลำต้นของต้นตอมีขนาดใหญ่เร็ว
ขึ้น รดน้ำวันละ 1 - 2 ครั้งขึ้นกับสภาพความชื้นในอากาศ ถ้าอากาศร้อนและแห้งมากควรรดน้ำให้ถี่ขึ้น การรดน้ำแฉะเกินไป
จะทำให้รากเน่าตายและเป็นสาเหตุของโรคทางรากเข้าทำลายได้ง่าย  ควรสังเกตปริมาณน้ำในช่วงที่ให้ด้วย เมื่อน้ำเริ่มไหล
ออกจากก้นกระถางแสดงว่าเพียงพอ ต้นกล้าส้มที่เป็นต้นตอตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงระยะติดตา ต่อกิ่งได้ไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ย ยก
เว้นในกรณีที่พืชมีใบเหลืองจัด ควรให้ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 3 กรัม/น้ำ 10  ลิตร โดยใช้บัวรดน้ำให้ทั่ว หรืออาจใช้ปุ๋ยชนิดอื่นเท่าที่
จำเป็น
           โรคแมลงและการป้องกันกำจัด โรคที่เกิดกับส้มในระยะต้นกล้ามักเป็นพวกเชื้อราในดิน ได้แก่ โรคที่เกิดจากเชื้อไฟ
ทอฟธอรา ไรซอคโทเนีย และพิเทียม หากมีการทำความสะอาดดินผสมที่ใช้ปลูกต้นกล้าด้วยไอน้ำร้อนที่ 65 องศาเซลเซียส 
นาน 30 นาที จะสามารถลดการระบาดของโรคเหล่านี้ได้ สำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำงานปกติประจำวันควรแช่น้ำยาคลอรีน
ที่เข้มข้น 2 ppm หรือโซเดียมไฮโปคลอไรด์ อัตราร้อยละ 0.5 การใช้ยาป้งอกันกำจัดโรคในระยะหว่านเมล็ดต้นตอส้มใช้ส่วน
ผสมของแคปแทน 2 กรัม ไทแรม 1.5 กรัม น้ำ 1 ลิตร ในอัตรา 3 ลิตร/ตารางเมตร แมลงที่ทำลายต้นกล้าส้มมักเป็นพวกหนอน
ชอนใบ  ซึ่งเป็นเฉพาะช่วงที่ส้มแตกใบอ่อน และเพลี้ยอ่อนกับเพลี้ยไฟที่ชอบทำลายใบแก่ส้ม
           การเลือกกิ่งพันธุ์ส้มที่จะทำเป็นกิ่งติดตา ควรเป็นกิ่งจากต้นพันธุ์ที่มีใบรับรองว่าปลอดโรคไวรัส เนื่องจากโรคนี้เป็น
โรคที่ติดต่อไปกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการขยายพันธุ์ได้ ความแก่หรืออายุของกิ่งพันธุ์ดีที่ใช้ติดตามี 2 ชนิด คือ กิ่งแก่ (กิ่ง
เพสลาด)ที่มีลักษณะกลม เนื้อไม้ค่อนข้างแข็ง และกิ่งอ่อน ที่มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม เมื่อดูจากด้านตัดขวาง กิ่งพันธุ์ดีดังกล่าว
จะใช้ได้ทั้งสองชนิด
           การเก็บรักษากิ่งพันธุ์ดี หลังจากตัดกิ่งพันธุ์ดีมาจากต้นแม่แล้ว ควรรีบลิดใบและหนามออกทันที ตัดกิ่งพันธุ์ออกเป็น
ท่อนๆ มีความยาวพอสมควร (ประมาณ 1 - 1? ฟุต) กิ่งพันธุ์ดีที่ตัดออกจากต้นแม่แล้วอยู่ได้ประมาณ 2 - 3 วัน หากจะเก็บไว้นาน
กว่านี้ควรเก็บในถุงพลาสติกมัอฃดปากถุงให้แน่นแล้วเก็บในห้องเย็นที่อุณหภูมิ 2 - 3 องศาเซลเซียส
           วิธีการติดตาส้ม
           โดยทั่วไปใช้วิธีติดตาแบบตัว-ที และตัว-ทีแบบหัวกลับ ซึ่งนิยมใช้วิธีหลังนี้ในฤดูฝน เพื่อป้องกันน้ำซึมเข้าบริเวณรอย
แผล การเฉือนกิ่งพันธุ์ดีมักเฉือนเป็นรูปโล่ห์ ยาวประมาณ 1 นิ้ว และการลอกเนื้อไม้ที่ติดกับชิ้นส่วนตาออกจะช่วยเพิ่มเนื้อที่
การสัมผัสกันของต้นตอและกิ่งพันธุ์ ในบางกรณีที่มีกิ่งพันธุ์ดีขนาดเล็กและอ่อน อาจเฉือนตาขนาดเล็กกว่า 1 นิ้วได้ ซึ่งตาแบบ
นี้เรียก ไมโครบัด (microbuds) และทั้งสองวิธีนี้ใช้ในกรณีที่สามารถลอกเปลือกต้นตอออกได้ง่าย หากเปลือกต้นตอลอกออกได้
ยากจะใช้วิธีการติดตาแบบเฉือนเปลือกหรือที่เรียกว่า การติดตาแบบชิพดัดแปลง (modified chip budding)
           วิธีการต่อกิ่งส้ม
           มักไม่ค่อยนิยมใช้ นอกจากจำเป็นต้องใช้เนื่องจากหากิ่งพันธุ์ดีที่สมบูรณ์ไม่ได้ หากต้องใช้วิธีการต่อกิ่งมักใช้วิธีการ
เสียบข้าง และใช้กิ่งพันธุ์ดีที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากกิ่งพันธุ์ดีขนาดใหญ่จะเฉือนได้ยากเพราะส้มเป็นไม้เนื้อแข็ง และกิ่งพันธุ์
ดีที่มีขนาดเล็กมักเป็นกิ่งอ่อนทำให้เฉือนโคนลำบาก
           3. วิธีการขยายพันธุ์แบบอื่นๆ
               การขยายพันธุ์ส้มยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถกระทำได้ ทั้งนี้เป็นการทำเพื่องานทดลอง  หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อการ
ศึกษาทางสรีรวิทยาของส้มเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งมิใช่ทำเป็นการค้า
               3.1 การต่อราก เป็นการต่อรากเพื่อช่วยให้กิ่งชำส้มที่ออกรากยากไม่เหี่ยวเฉา กระทำได้โดยการนำรากมาต่อเข้า
กับกิ่งพันธุ์ดีที่มีความยาวและขนาดใกล้เคียงกับราก ด้วยวิธีการเสียบยอด หรือเสียบเปลือก แล้วนำไปชำในกระบะพ่นหมอก
               3.2 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มีการทดลองนำส่วนต่างๆของส้มมาเพาะเลี้ยง  ดังนี้คือ 
                     3.2.1 การเพาะเลี้ยงคัพภะ มักใช้ในงานคัดเลือกลูกผสมจากต้นตอที่มีลักษณะให้ต้นกล้าหลายต้นต่อเมล็ด เช่น
 สวีทออเรนซ์ รัฟเลมอน คลีโอพัตราแมนดาริน ทรอยเออร์ซิเตรน และพันธุ์อะลีมาว คัพภะจากเมล็ดเหล่านี้จะให้ต้นกล้าที่
อ่อนแอ หากมีการเลี้ยงในสภาพที่เหมาะสมต้นกล้าจะมีเปอร์เซ็นต์รอดสูงกว่าการเพาะเมล็ดในสภาพธรรมชาติ
                     3.2.2 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนของนิวเซลลัส Rangan, Murashige และ Bitters (1969) และ Bitters, Rangan 
และ Murashige (1969) ได้กล่าวถึงเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากส่วนของนิวเซลลัส โดยการนำเนื้อเยื่อนิวเซลลัสที่มีการ
เปลี่ยนแปลงไปเป็นคัพภะไปเพาะเลี้ยงในอาหารและมีสภาพที่เหมาะสม  จะได้ต้นกล้าท่ตรงต่อพันธุ์เดิมและการขยายพันธุ์
ด้วยวิธีนี้ยังได้ต้นกล้าที่ปลอดโรคด้วย  ซึ่งได้มีการทดลองกับเลมอนพันธุ์เมเออร์ และพันธุ์พอนเดอโรซ่า ออเรนซ์พันธุ์เทม
เปิ้ล แมนดารินพันธุ์คลีเมนไทน์ และส้มโอพันธุ์แซนเลอร์
                     3.2.3 การต่อกิ่งจากตายอดขนาดเล็ก มีประโยชน์ในด้านปลอดโรคไวรัส และยังทำให้ย่นระยะเวลาการตกผล
ของกิ่งพันธุ์ดีด้วยอีกทั้วทำให้กิ่งพันธุ์ดีมีหนามน้อยลง  สำหรับวิธีการทำจะต้องมีการเตรียมต้นตอและเตรียมกิ่งพันธุ์ดีให้อยู่
ในสภาพที่เหมาะในการต่อกิ่งด้วย การเตรียมต้นตอโดยการเพาะเมล็ดต้นตอในหลอดทดลองในสภาวะปลอดเชื้อ เมื่อต้นตอ
มีอายุได้ 14 วัน จึงเริ่มทำการต่อกิ่ง
           การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี กิ่งพันธุ์ดีที่จะใช้ต่อกิ่งควรอยู่ในระยะที่ตายอดเริ่มโผล่  ซึ่งเมื่อดูจากใต้กล้องจุลทัศน์จะพบว่ามี
โปรฟิลหุ้มตายอดอยู่ 2 - 4 ชั้น  ตัดกิ่งพันธุ์ดีในระยะนี้จากแปลงให้มีความยาวประมาณ 4 - 5 ซม. ล้างทำความสะอาด  ลิดใบ
ที่ไม่ต้องการออกบ้าง นำยอดส้มแช่น้ำยาคลอรอกซ์เข้มข้นร้อยละ 15 -  20 นาน 15 นาที แล้วแช่ในน้ำยาคลอรอกซ์เข้มข้น
ร้อยละ 10 นาน 10 นาที ล้างน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้ออีก 3 ครั้งจึงนำมาใช้ต่อกิ่งกับต้นตอที่ได้เตรียมไว้ในหลอดทดลองได้
           วิธีการต่อกิ่ง โดยนำต้นตออายุ 14 วันในหลอดทดลองมาตัดยอด ใบเลี้ยง และรากออกให้เหลือรากยาวพอสมควร เพื่อ
สะดวกในการวางเลี้ยงบนอาหารในหลอดทดลอง ทำแผลที่ต้นตอให้อยู่ใต้รอยตัดต้นตอ 2 - 3 มม. โดยบากเป็นรูปสามเหลี่ยม 
แล้วนำยอดกิ่งพันธุ์ดีที่ตัดตายอดขนาด  0.18 - 0.23 มม. วางลงบนรอยตัดและใช้ปากคีบยาวคีบต้นตอที่ต่อกิ่งแล้วนี้ใส่ลงใน
หลอดทดลองใหม่อีกครั้งหนึ่ง การต่อกิ่งวิธีนี้จะต้องทำในระยะเวลาสั้นและรวดเร็วเพื่อมิให้ต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีแห้ง ซึ่งจะทำให้
มีเปอร์เซ็นต์ติดต่ำ
             
Hosted by www.Geocities.ws

1