การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

Home

ถิ่นกำเนิดและนิเวศวิทยาของพืชตระกูลส้ม

พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกส้ม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และลักษณะประจำพันธุ์

การปลูกส้ม

สภาพสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตส้ม

โรค แมลงศัตรู และปัญหาอื่นๆที่พบ

การขยายพันธุ

การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

สภาวะการตลาด

           ส้มแต่ละสายพันธุ์มีระยะตั้งแต่ดอกบานจนถึงระยะเก็บเกี่ยวหรือดัชนีอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม        
แตกต่างกันออกไป บางพันธุ์สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็ว เช่น ส้มฟรีมองต์ประมาณ 7.5-8 เดือน ส้มเขียวหวาน 
และส้มโชกุนประมาณ 10-11 เดือน เป็นต้น อย่างไรก็ตามส้มในแต่ละต้นจะสุกแก่ไม่พร้อมกันทั้งต้น โดย 
ผลส้มที่อยู่นอกทรงพุ่มรวมทั้งผลที่อยู่บริเวณไหล่ชายพุ่มนอกสุดจนถึงยอดจะสุกเก็บเกี่ยวได้ก่อน ส่วนผล 
ที่อยู่ภายในพุ่มจะสุกแก่หลังสุด ดังนั้นการเก็บเกี่ยวส้มเพื่อให้ได้คุณภาพที่เหมาะสมจริง ๆ จะต้องเก็บอย่าง 
น้อย 2-3 ครั้งในแต่ละต้น โดยส้มแต่ละรุ่นอาจต้องใช้เวลาทยอยเก็บเกี่ยวประมาณ1  เดือน ถึงเดือนครึ่ง 
หลาย ๆ ประเทศจะมีกฎหมายควบคุมคุณภาพส้มที่ชาวสวนจะทำการเก็บเกี่ยวอย่างเข้มงวดทั้งนี้เพื่อป้อง  
 กันการทำลายตลาดโดยรวมกันเองทั้งระบบ การควบคุมคุณภาพส้มด้วยกฎหมายดังกล่าวมีวิธีการ คือ จะ 
ต้องส่งตัวอย่างผลส้มไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือสหกรณ์สวนส้มเพื่อทำการตรวจสอบปริมาณน้ำในผล        
และความสุกแก่ตามข้อกำหนดของกฎหมาย
 
          วิธีการเก็บเกี่ยวส้ม โดยทั่วไปการเก็บเกี่ยวส้มจะใช้แรงงานมนุษย์ สำหรับส้มอายุน้อยหรือต้น
เตี้ยจะสะดวกในการเก็บ เกี่ยวโดยสามารถยืนเก็บได้เลย แต่กรณีของส้มต้นสูงหรืออายุมากขึ้นจำเป็นต้อง
ใช้บันไดหรือรถกระเช้า เก็บ การเก็บเกี่ยวส้มเขียวหวานโดยทั่วไปใช้วิธีบิดขั้วแล้วดึงลงตะกร้ากับอีกวิธีที่
พิถีพิถันก็คือการตัดขั้ว  ด้วยกรรไกร ซึ่งจะต้องตัดก้านออกให้หมด เพื่อไม่ให้ก้านที่เหลือไปทิ่มผลอื่นเป็น
แผล ใส่ในถุงผ้าแล้วนำ ไปเทลงในตะกร้า วิธีนี้จะทำให้ผลส้มไม่ซ้ำและสามารถวางตลาดได้ยาวนานกว่า       
 สำหรับส้มโชกุนซึ่งเป็น ส้มที่ได้ราคาดีโดยส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยวโดยการตัดขั้วผลลงตะกร้าหรือใส่ลงในถุง
ผ้าแล้วนำไปเทลงใน ตะกร้าเพื่อนำไปโรงคัดบรรจุหีบห่อ การเก็บเกี่ยวส้มไม่ควรเก็บเกี่ยวผลส้มหลังจาก
ฝนตกหรือหลังการให้  น้ำแบบฉีดพ่นทำให้ผลเปียก เพราะส้มที่ยังเปียกจะมีเซลล์ผิวที่เต่ง จึงเป็นแผลได้
ง่าย นอกจากนั้นต่อม น้ำมันที่เปลือกยังแตกง่ายทำให้เกิดตำหนิที่ผิวได้ และยังง่ายต่อการแพร่ระบาดของ
โรคหลังเก็บเกี่ยวด้วย  ปัญหาการเก็บเกี่ยวส้มในไทยมีทั้งปัญหาการเก็บไม่ได้อายุโดยเฉพาะส้มช่วงนอก
ฤดูแล้วนำไปทำ การบ่มผิวทำให้มีปัญหาเรื่องคุณภาพ(เปรี้ยว) การเก็บเกี่ยวเกินอายุเพื่อดึงราคาส้มให้ได้
ราคาดี ทำให้ส้ม มีปัญหาเรื่องคุณภาพ เช่น ฟ่ามหรือรสชืดลงหรือมีกลิ่นเหมือนเหล้าหมักเพราะน้ำตาลเริ่ม
เปลี่ยนเป็นแอล กอฮอล์ ปัญหาเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคเริ่มระมัดระวังในการซื้อส้มบริโภคมากยิ่งขึ้นและส่งผล
ให้ลดการบริโภค ส้มลง ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาการตลาดส้มโดยรวมได้ 

          การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะทำความสะอาดผลส้ม แล้วคัดขนาดกับบรรจุ
ลงภาชนะกล่องกระดาษหรือตระกร้า พลาสติกส่งไปจำหน่าย หรือเก็บรักษาส้มเพื่อรอการจำหน่ายทำได้
หลายวิธี เช่น การเก็บในห้องเย็น การ เคลือบผิวส้มด้วยน้ำยา 

           วิธีการเคลือบผิวส้ม การเคลือบผิวด้วยแวกซ์นอกจากจะทำให้ผิวเป็นมันวาวไม่เหี่ยวย่นดึงดูดผู้
บริโภคแล้วยังเป็นการ ช่วยลดอัตราการหายใจและอัตราการคายน้ำให้น้อยลงด้วย ตามปกติส้มที่เก็บเกี่ยว
มาจากสวนมีแวกซ์ ธรรมชาติอยู่ที่ผิวแล้ว แต่ในระหว่างการทำความสะอาดผิวส้มแวกซ์นี้มักจะหลุดไป ใน
ต่างประเทศการ เคลือบผิวผลส้มอาจจะผสมสีลงไปด้วยเพื่อให้ส้มมีผิวที่สวยขึ้น แวกซ์ที่เคลือบผิวส้มมีทั้ง
ชนิดที่เป็นแวกซ์ ธรรมชาติเช่น Shellac และ Resins  และชนิดที่เป็นแวกซ์สังเคราะห์ด้วย เช่น 
Polyethylene wax ตาม ปกติการเคลือบแวกซ์ทำได้หลายวิธี เช่น ฉีดพ่นหรือใช้ฟองน้ำลูบผ่านผลส้ม รวม
ทั้งการใช้ฉีดพ่นร่วม กับแปรงเพื่อช่วยทำให้แวกซ์กระจายทั่วผิวส้ม สารเคลือบผิวอาจแบ่งได้เป็น 2 ประ
เภทใหญ่ๆ คือ ประเภท ที่ละลายน้ำและประเภทที่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น แอลกอฮอล์ สารเคลือบ
ผิวหรือแวกซ์ที่ละลาย ใน ตัวทำละลาย มีข้อดีคือแห้งเร็ว ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำให้แห้ง 
แต่มีกลิ่นค่อนข้าง แรง ทำให้ไม่สะดวกต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน และยังมีปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อม
เพราะกำจัดยาก สารเคลือบผิวที่ละลายน้ำจะแห้งช้าต้องใช้ความร้อนและพัดลมช่วยในการทำให้แห้งเพราะ
สารเคลือบผิว จะไหลไปทางด้านล่างของผลทำให้เคลือบผิวได้ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งในปัจจุบันสารเคลือบผิวชนิด
นี้มีความนิยม ใช้น้อยกว่าชนิดที่ละลายในสารอินทรีย์

            การเก็บรักษาผลส้ม  การเก็บรักษาที่ได้ผลดีต้องใช้ระบบการเก็บรักษาที่มีอุณหภูมิต่ำ เพราะจะ
ช่วยรักษาคุณภาพและลด การเน่าเสียตลอดจนการพัฒนาของโรคหลังเก็บเกี่ยวต่างๆ ได้ ส้มในกลุ่ม 
Tangerine ควรเก็บรักษาที่ อุณหภูมิ 5-8 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเก็บรักษาได้นานประมาณ 2-4 สัปดาห์ ขึ้น
อยู่กับคุณภาพเบื้องต้นของผลส้ม นอกจากนั้นได้มีการทดลองการเก็บรักษาผลส้มในสภาพควบคุมบรรยา
กาศ  ซึ่งบรรยากาศควรประกอบด้วย ก๊าซออกซิเจน 5 เปอร์เซ็นต์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  0-5 
เปอร์เซ็นต์ การตอบสนองต่อระบบควบคุม บรรยากาศจะแตกต่างกันไปตามชนิดของส้มและพันธุ์ส้ม ใน
ทางการค้ามีการใช้การควบคุมบรรยากาศมาก อาจจะใช้ในกรณีที่ต้องการควบคุมโรคหลังเก็บเกี่ยวใน
ระหว่างการขนส่งส้มไปจำหน่ายยังตลาดห่างไกลมาก  กว่าที่จะใช้ในการเก็บรักษาตามปกติ ข้อดีของการ
เก็บรักษาแบบควบคุมบรรยากาศคือ จะช่วยชะลอการ เปลี่ยนสีของผลส้มจากเขียวเป็นเหลืองซีดและอา
การอื่นๆ อันเนื่องมาจากกระบวนการเสื่อมสภาพของผลส้ม       

           การบรรจุหีกห่อ  การบรรจุหีบห่อส้มทำได้หลายวิธี เช่น บรรจุลงในกล่องกระดาษ หรือบรรจุใน
ถุงพลาสติก ถุงตาข่าย และตะกร้าพลาสติกซึ่งสามารถใช้ในตลาดใกล้ๆ ภายในท้องถิ่นเพื่อลดค่าใช้จ่าย
เพราะสามารถหมุนเวียน กลับมาใช้ได้อีกและยังช่วยรักษาสภาพแวดล้อมด้วย ในการผลิตส้มขนาดใหญ่ 
การใช้เครื่องบรรจุหีบห่อ อัตโนมัติจะช่วยลดการใช้แรงงานมนุษย์ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าแรงงานได้ การ
ปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวจะมีเรื่องการจัดการโรคหลังการเก็บเกี่ยวซึ่งจะต้องมีการใช้สารเคมีเพื่อ  ควบคุม
โรคดังกล่าวการใช้สารเคมีเพื่อควบคุมโรคส้มหลังการเก็บเกี่ยวจะมีสารเคมีหรือสารป้องกันโรครา เฉพาะ
ตามที่ได้รับการขึ้นทะเบียน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคด้วย  เช่น สารอิมาซาลิล เป็นต้น การ
ปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวถือว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการรักษาคุณภาพส้มและเป็นการสร้างความมั่น
ใจในการซื้อส้มบริโภคของผู้บริโภค แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นจะต้องเชื่อมกับกระบวนการจัดการก่อนการเก็บ
เกี่ยวหรือการจัดการในสวนที่ดีด้วย สวนส้มใหญ่ ๆ ในไทยส่วนใหญ่จะมีโรงคัดบรรจุหีบบห่อของตัวเอง       
 โดยที่รูปแบบจะเต็มรูปแบบหรือเพียงบางส่วนอยู่ที่ความจำเป็นของความต้องการตลาดเปป็นเรื่องสำคัญ        

          การคัดขนาดของส้มมีทั้งหมด 6 เบอร์ คือ 
เบอร์ 3      มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 ซ.ม. เป็นส้มขนาดเล็กที่สุดมีราคาต่ำผู้ซื้อส่วนใหญ่จะ นำไป
                 คั้นน้ำทำน้ำส้ม       
เบอร์ 2      มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 1/2 ซ.ม. มีขนาดใกล้เคียงกับส้มเบอร์ 3 
เบอร์ 1      มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 ซ.ม. เป็นส้มที่มีขนาดกลางผู้บริโภคส่วนใหญ่จะนิยมซื้อไป
                 รับประทานสด 
เบอร์ 0      มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 1/2 ซ.ม. ขนาดใกล้เคียงกับส้มเบอร์ 1 เป็นขนาดที่ผู้บริโภค
                 นิยมเช่นกัน 
เบอร์ 00    มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 ซ.ม. เป็นส้มที่มีขนาดใหญ่มากผู้บริโภคไม่ค่อยนิยม เพราะ
                 มีคุณภาพไม่ค่อยดี        
เบอร์ 000  เบอร์นี้จะไม่มีช่องให้ลงเป็นส้มที่มีขนาดใหญ่มากเป็นพิเศษไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค         
Hosted by www.Geocities.ws

1