ลำดับอธิการ ประวัติการเชียร์และแปรอักษร ประวัติคุณพ่อกอลมเบต์ ประวัติภราดา ฟ.ฮีแลร์ ประวัติภราดา มาร์ติน
พัฒนาการอาคาร คุณพ่อกอลมเบต์กับอัสสัมชัญ "บราเดอร์ ฮีแลร์ผู้จากไปอย่างไม่มีวันกลับ" อัสสัมชัญของเรา เพลงโรงเรียน&เพลงเชียร์ ดรุณศึกษา อัสสัมชนิก

                        เมื่อเริ่มสมัยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯไม่นานก็มีการริเริ่มที่สำคัญหลายประการในเรื่องการศึกษาของประเทศในปี 
      พ.ศ.2414 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นภายในพระบรมมหาราชวังมีพระยาศรีสุนทร-
      โวหาร(น้อยอาจาริยางกูร) เมื่อเป็นหลวงสารประเสริฐเป็นอาจารย์ใหญ่ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะฝึกหัดบุตรหลานของข้าราชการให้รู้หนังสือ
      รู้จักคิดเลข และขนบธรรมเนียมราชการให้ชัดเจนเพื่อเข้ารับราชการต่อไป
                  โรงเรียนหลวงแห่งนี้มีลักษณะของการเป็น "โรงเรียน" แบบใหม่อยู่ชัดเจน อาทิ มีสถานที่สำหรับเล่าเรียนเป็นการเฉพาะ มีครูผู้สอน
      ที่เป็นฆราวาสทำหน้าที่สอนโดยเฉพาะ และวิชาที่สอนมีภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และอื่นๆที่ไม่เคยมีสอนในสถานศึกษาแบบเดิม(คือวัด)
                        อย่างไรก็ตามการศึกษาแผนใหม่นี้จะยังเป็นเรื่องแปลกสำหรับคนไทยในสมัยนั้น ซึ่งคุ้นเคยแต่กับการส่งบุตรหลานไปเล่าเรียนที่วัด
      กับพระสงฆ์ เมื่อตั้งโรงเรียนแล้วจึงโปรดให้มีหมายประกาศชักชวนพระราชวงศ์และข้าราชการให้ส่งบุตรหลานเข้าเรียน โดยชี้แจงให้
      เห็นประโยชน์ของการศึกษาว่า "...การรู้หนังสือนี้ก็เป็นคุณสำคัญข้อใหญ่เป็นเหตุจะให้ได้รู้วิชาและขนบธรรมเนียมต่างๆ จึงทรง
      พระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดโรงสอนไว้ที่ในพระบรมมหาราชวัง..." และ "...ถ้าท่านทั้งปวงได้ทราบหมายประกาศนี้แล้วจงมีใจยินดีหมั่น
      ตักเตือนบุตรหลานของท่านทั้งปวงให้เข้ามาฝึกหัดหนังสือไทยถ้าเล่าเรียนได้ชำนาญในการหนังสือแล้ว ความดีงามความเจริญก็จะมีแก่
      บุตรหลานของท่านทั้งปวงไปสิ้นกาลนาน..."
                        อันที่จริงการตั้ง"โรงเรียน"ในลักษณะอย่างที่เข้าใจกันในปัจจุบัน ได้เกิดมีขึ้นแล้วตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โดยในปี
      พ.ศ.2395 นางแมทตูนซึ่งอยู่ในคณะมิชชันนารีอเมริกันได้ตั้ง"โรงเรียนไปมา"ขึ้นในย่านที่อยู่อาศัยของชาวมอญ ในปีเดียวกันนั้นคณะ
      มิชชันนารียังได้เปิดโรงเรียนประจำสำหรับเด็กชาวจีน ขึ้นที่ข้างวัดอรุณราชวรารามด้วย จนกระทั่งปีพ.ศ.2400 โรงเรียนทั้งสองได้รวมกัน
      เข้าเป็นโรงเรียนเดียวและได้ย้ายมาตั้งที่สำเหร่ โรงเรียนที่สำเหร่นี้เอง ที่ศ.จอห์น เอ เอกิน ชาวอเมริกันได้ย้ายโรงเรียนชาย คริสเตียน
      ไฮสกูล ที่ตนตั้งขึ้นที่ตำบลกุฎีจีนมารวมภายหลังย้ายไปตั้ง ณ ถนนประมวญ สีลม และเปลี่ยนชื่อเป็น กรุงเทพคริสเตียนไฮสกูล 
      (กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยปัจจุบัน)
                        ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ในปีพ.ศ.2417 นางเฮาส์ภรรยา "หมอเฮาส์"มิชชันนารีอเมริกัน ก็ได้เปิดโรงเรียน
      กุลสตรีวังหลังขึ้น (ต่อมาคือ วัฒนาวิทยาลัย) และในปี พ.ศ.2428 โรงเรียนอาซมซานกอเล็ศ (โรงเรียนอัสสัมชัญ ปัจจุบัน) ก็เปิดทำ
      การสอน
                  จะเห็นว่า ในระยะแรกๆ การจัดการศึกษาแบบ"โรงเรียน"ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ผิดแผกแตกต่างไปจากการศึกษาเล่าเรียนแบบดั้งเดิมแบบไทยเกิด
      จากการจัดการของชาวตะวันตกทั้งสิ้น และเกือบทั้งหมดมีแรงผลักดันหรือจุดประสงค์ด้านศาสนาเป็นเครื่องสนับสนุนอยู่ส่วนการศึกษาของ
      ชาวไทยโดยทั่วๆไปแล้วยังคงยึดตามแนวทางเดิม
     
Thanks for coming
©Copyright 2002 Assumption College History All rights reserved.
Hosted by www.Geocities.ws

1