Jiaogulan From ChiangMai Thailand - help Adaptogens - Antioxidants - Jiaogulan4u - lowers total cholesterol levels and help reduce high blood pressure เบาหวาน
เจียวกู้หลานแบบชาจีน I เจียวกู้หลานแบถุงชง I เจียวกู้หลานเม็ด I ติดต่อเรา
เจียวกู้หลาน สมุนไพรจากเชียงใหม่เพื่อคุณ  ENGLISH CLICK HERE คลิกที่นี่
Jiaogulan Info
เจียวกู้หลานคืออะไร
ลดน้ำตาลในเลือด
เจียวกู้หลานต้านอักเสบ
ป้องกันตับจากการเกิดพิษ
ต้านอนุมูลอิสระ
ระงับความเจ็บปวด
หัวใจและหลอดเลือด
ลดไขมันในเลือด
ต่อต้านเซลล์มะเร็ง
พิษของเจียวกู้หลาน
เจียวกู้หลานที่ดี
เจียวกู้หลานที่จำหน่าย
สั่งซื้อเจียวกู้หลาน
การส่งเจียวกู้หลาน
ติดต่อผู้จำหน่าย
เปรียบเทียบผลิตภัณท์
อ้างอิงเอกสาร
โรคที่น่ากลัว
โรคหัวใจ
 
โรคความดัน 
โรคเบาหวาน 
ไตวาย 
ไขมันในเส้นเลือด 
โรคเอดส์


สิ่งดีๆ เพื่อคุณ

การลดความอ้วน
วิตตามินที่เราทาน
น้ำสะอาด
น้ามันปลาที่เราทาน
ร่างกายมนุษย์
สารพิษที่อยูรอบกาย โฆษณาที่เราดูทุก ๆ วัน
ความรู้ทัว ๆ ไป

หน้ารวมเพื่อคุณ

 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง

เจียวกู้หลานสมุนไพร
( GYNOSTEMMA PENTAPHYLLUM )

  เจียวกู้หลาน Jiaogulan (Gynostemma pentaphylum) ได้รับการ ยกย่าอง ให้เป็นสุดยอดสมุนไพรแห่งชาติปี พ.ศ. 2548 

เบาหวาน
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
เบาหวาน พบได้ประมาณ 3.5 เปอร์เซ็นต์ของคนทั่วไป พบได้ทุกเพศและทุกอายุ แต่จะพบมากในคนอายุมากกวส่า 40 ปีขี้นไป และคนที่อยู่ในเมืองมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าชาวชนบท คนอ้วนและหญิงที่มีลูกดก มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น 
สาเหตุ
โรคนี้เกิดจากตับอ่อนสร้าง ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ได้น้อยหรือไม่ได้เลย ฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่คอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่พอ น้ำตาลก็ไม่ถูกนำไปใช้ จึงเกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือกและอวัยวะต่าง ๆ เมื่อน้ำตาลคั่งในเลือดมาก ๆ ก็จะถูกไตกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวานหรือมีมดขึ้นได้ จึงเรียกว่า เบาหวาน ผู้ป่วยมักจะมีอาการ ปัสสาวะบ่อยและมาก เนื่องจากน้ำตาลที่ออกมาทางไต จะดึงเอาน้ำจากเลือดออกมาด้วย จึงทำให้มีปัสสาวะมากกว่าปกติ เมื่อถ่ายปัสสาวะมาก ก็ทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ต้องคอยดื่มน้ำบ่อย ๆ
เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงาน จึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทน ทำให้ร่างกายผ่ายผอม ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ อ่อนเปลี้ย เพลียแรง

นอกจากนี้ การมีน้ำตาลคั่งอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ จึงทำให้อวัยวะต่าง ๆ เกิดความผิดปกติ และนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนมากมาย
โรคนี้มักมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ กล่าวคือมักมีพ่อแม่หรือญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
นอกจากนี้ยัวอาจมีสาเหตุอย่างอื่น เช่น อ้วนเกินไป (หรือกินกวานมาก ๆ จนอ้วน ก็อาจเป็นเบาหวานได้) มีลูกดก หรือเกิดจากการใช้ยา เช่น สเตอรอยด์ (ย12) ยาขับปัสสาวะ (ย21), ยาเม็ดคุมกำเนิด หรืออาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง (48), มะเร็งของตับอ่อน, ตับแข็งระยะสุดท้าย (44), คอพอกเป็นพิษ (121), โรคคุชชิง (125) เป็นต้น 

ประเภทของเบาหวาน
เบาหวานสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ที่มีอาการ ความรุนแรง และการรักษาต่างกัน ได้แก่
1. เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (Insulin-dependent diabetes) เป็นชนิดที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงและอันตรายสูง มักพบในเด็กและคนอายุต่ำกว่า 25 ปี แต่ก็อาจพบในคนสูงอายุได้บ้าน ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้จะสร้างอินซูลินไม่ได้เลยหรือได้น้อยมาก เชื่อว่าร่างกายมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อต้านทำลายตับอ่อนของตัวเอง จนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ดังที่เรียกว่า โรคภูมิแพ้ต่อตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน (autoimmune) ทั้งนี้เป็นผลมาจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ร่วมกับการติดเชื้อหรือการได้รับสารพิษจากภายนอก
ผู้ป่วยจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเข้าทดแทนในร่างกายทุกวัน จึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ มิเช่นนั้น ร่งกายจะเผาผลาญไขมันจนทำให้ผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นุรนแรง จะมีการคั่งของสารคีโตน (Ketones) ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญไขมันสารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้ผู้ป่วยหมดสติถึงตายได้รวดเร็ว เรียกว่า ภาวะคั่งสารคีโตน หรือ คีโตซิส (Ketosis)
2. เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (Non-insulin dependent diabetes) เป็นเบาวหานชนิดที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมักจะมีความุรนแรงน้อย มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็กหรือวัยหนุ่มสาวได้บ้าง ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้ยังสามารถสร้างอินซูลินได้ แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้มีน้ำตาลที่เหลือใช้กลายเป็นเบาหวานได้ ผู้ป่วยชนิดนี้ยังอาจแบ่งเป็นพวกที่อ้วนมาก ๆ กับพวกที่ไม่อ้วน (รูปร่างปกติ หรือผอม) สาเหตุอาจเกิดจากรรมพันธุ์ อ้วนเกินไป มีลูกดก จากการใช้ยา หรือพบร่วมกับโรคอื่น ๆ (ดังได้กล่าวไว้ในหัวข้อสาเหตุของเบาหวานแล้ว) ผู้ป่วยมักไม่เกิดภาวะคีโตซิสเช่นที่เกิดกับชนิดพึ่งอินซูลิน การควบคุมอาหาร หรือการใช้ยาเบาหวานชนิดกิน ก็มักจะได้ผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ หรือบางครั้งถ้าระดับน้ำตาลสูงมาก ๆ ก็อาจต้องใช้อินซูลินฉีดเป็นครั้งคราว แต่ไม่ต้องใช้อินซูลินตลอดไป จึงถือว่าไม่ต้องพึ่งอินซูลิน
อาการ 
ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อย (และออกครั้งละมาก ๆ ) กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อย หิวบ่อย หรือกินข้าวจุ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง บางคนอาจสังเกตุว่าปัสสาวะมีมดขึ้น
ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน อาการต่าง ๆ มักเกิดขึ้นรวดเร็วร่วมกับน้ำหนักตัวลดลงฮวบฮาบ กินเวลาเป็นเพียงสัปดาห์หรือเดือน เด็กบางคนอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอนตอนกลางคืน
ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อาการมักค่อยเป็นค่อยไปเรื้อรัง น้ำหนักตัวอาจลดบ้างเล็กน้อย บางคนอาจมี่น้ำหนักขึ้นหรือรูปร่างอ้วน ผู้หญิงบางคนอาจมาหาหมอด้วยอาการคันตามช่องคลอดหรือตกขาว ในรายที่เป็นไม่มาก อาจไม่มีอาการผิดปกติอย่างชัดเจน  และตรวจพบโดยบังเอิญจากการ ตรวจปัสสาวะหรือตรวจเลือดขณะที่ไปหาหมอด้วยโรคอื่น
บางคนอาจมีอาการคันตามตัว เป็นฝีบ่อย หรือเป็นแผลเรื้อรังรักษาหายยาก
ผู้หญิงบางคนอาจคลอดทารกที่มีตัวโต (น้ำหนักมาก) กว่าธรรมดา หรืออาจเป็นโรคครรภ์เป็นพิษ หรือคลอดทารกที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ในรายที่เป็นมานานโดยไม่ ได้รับการรักษา อาจมาหาหมอด้วยภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ตามัวลงทุกทีหรือต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อย ๆ เป็นต้น
สิ่งตรวจพบ 
ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน มักมีรูปร่างซูบผอม ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ
ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน มักมีรูปร่างอ้วน
อาจพบอาการชาตามมือและเท้า ความดันโลหิตสูง ต้อกระจก หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ 
บางรายอาจตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติตามร่างกาย
การตรวจปัสสาวะ มักจะพบน้ำตาลในปัสสาวะขนาดมากกว่าหนึ่งบวกขึ้นไป
อาการแทรกซ้อน
มักจะเกิดเมื่อเป็นเบาหวานมานาน โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง หรือปล่อยปละละเลย
โรคแทรกซ้อนที่อาจพบได้ เช่น
1. ตา อาจเป็นต้อกระจก (180) ก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตา (retina) เสื่อม หรือเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา (vitreous hemorrhage) ทำให้มีอาการตามัวลงเรื่อย ๆ หรือมองเห็นจุดดำลอยไปลอยมา และอาจทำให้ตาบอดในที่สุด
2. ระบบประสาท ผู้ป่วยอาจเป็นปลายประสาทอักเสบ (87) มีอาการชาหรือปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ซึ่งอาจทำให้มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่าย (อาจลุกลามจนเท้าเน่า) บางคนอาจมีอาการวิงเวียนเนื่องจากมีภาวะความดันตกในท่ายืน (93) บางคนอาจไม่มีความรู้สึกทางเพศ หรือท้องเดินตอนกลางคืนบ่อย หรือกระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน (กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือไม่มีแรงเบ่งปัสสาวะ)
3. ไต มักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย (134) มีอาการ บวม ซีด ความดันโลหิตสุง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วยเบาหวานที่พบได้ค่อนข้างบ่อย
4. ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสู (92), อัมพาต (76), โรคหัวใจขาดเลือด (96)
ถ้าหลอดเลือดที่เท้าตีบแข็ง เลือดไปเลี้ยงเท่าไม่พออาจทำให้เท้าเย็นเป็นตะคริวหรือปวดขณะเดินมาก ๆ หรืออาจทำให้เป็นแผลหายยากหรือเท้าเน่า (ซึ่งอาจเกิดร่วมกับการติดเชื้อ)
5. เป็นโรคติดเชื้อได้ง่ายเรื่องจากภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น วัณโรคปอด (14), กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (141), กรวยไตอักเสบ (137), ช่องคลอดอักเสบ (ตกขาวและคันในช่องคลอด ดูโรคที่ 148), เป็นฝีพุพองบ่อย, เท้าเป็นแผลซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า (อาจต้องตัดนิ้วหรือตัดขา) เป็นต้น
6. ภาวะคีโตซิส (Ketosis) พบเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ที่ขาดการฉีดอินซูลินนาน ๆ ร่างกายจะมีการคั่งของสารคีโตน ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญไขมัน ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน กระหายน้ำอย่างมกา หายใจหอบลึก และลมหายใจมีกลิ่นหอม มีไข้ กระวนกระวาย มีภาวะขาดน้ำรุนแรง (ตาโบ๋ หนังเหี่ยว ความดันต่ำ ชีพจรเบาเร็ว) อาจมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน ผู้ป่วยจะซึมลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งหมดสติ หากรักษาไม่ทันอาจตายได้
การรักษา
1. หากสงสัยหรือตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ ควรแนะนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาล โดยให้ผู้ป่วยอดอาหาร (รวมทั้งเครื่องดื่มทุกชนิด) ตั้งแต่เที่ยงคืน แล้วไปเจาะเลือดที่โรงพยาบาลในตอนเช้า เพื่อตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือดที่เรียกว่า ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (Fasting blood sugar) ซึ่งในคนปกติจะมีค่าไม่เกิน 120 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มล. ถ้าพบว่ามีค่ามากกว่าปกติ ก็วินิจฉัยได้ว่าเป็นเบาหวาน ยิ่งมีค่าสูงมากเท่าไหร่ ก็แสดงว่ามีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น
การรักษามักจะเริ่มด้วยการแนะนำเรื่องการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการปฏิบัติตัวอื่นๆ (รายละเอียดดูในเรื่องข้อแนะนำ)
ถ้าคุมอาหารอย่างเดียวไม่ได้ผล อาจต้องใช้ยารักษาเบาหวาน โดยถือหลักดังนี้ 
1.1 ในรายที่เป็นไม่มาก (เช่น เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน) อาจให้ยาขนิดกิน ที่สะดวก ราคาถูก และนิยมใช้กันมาก คือ ยาเม็ดคลอร์โพรพาไมค์ (Chlorpropamide) ซึ่งมีอยู่หลายยี่ห้อ เช่น ไดอะบีนีส (Diabenese) โดยมากจะมีอยู่ 2 ขนาด คือเม็ดเล็กขนาด 100 มิลลิกรัม และเม็ดใหญ่ขนาด 250 มิลลิกรัม ใช้กิน วันละครั้งเดียวคือก่อนอาหารเช้า โดยเริ่มจากขนาดน้อย ๆ ก่อน คือใช้ขนาดเม็ดเล็ก 1 เม็ด หรือเม็ดใหญ่ครึ่งเม็ดวันละครั้ง แล้วค่อยตรวจน้ำตาลในปัสสาวะทุกวัน ถ้ากินยาไป 10 วัน แล้วยังมีน้ำตาลในปัสสาวะขนาดสองบวก (2+) ถึงสี่บวก (4+) แสดงว่าไม่ได้ผล ให้เพิ่มยาอีกครั้งละ 1 เม็ดเล็กหรือครึ่งเม็ดใหญ่
ถ้ายังไม่ได้ผลก็ให้เพิ่มในขนาดนี้ทุก ๆ10 วัน จนกว่าอาการต่าง ๆ ทุเลาลง (อ่อนเพลียน้อยลง ปัสสาวะห่างขึ้น กระหายน้ำน้อยลง) และน้ำตาลในปัสสาวะมีแค่หนึ่งบวก (1+) หรือไม่มีเลย ก็ให้กินยาในขนาดนี้ไปเรื่อย ๆ ถ้าเพิ่มยาจนใช้ยาเม็ดใหญ่ (ขนาด 250 มิลลิกรัม) กินวันละครั้งถึง 2 เม็ดแล้วยังไม่ได้ผล ก็ไม่ควรเพิ่มมากกว่านี้ ผู้ป่วยที่กินยานี้ไม่ได้ผล หรือเป็นผู้สูงอายุหรือเป็นโรคไตหรือโรคตับอยู่ ควรเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่น เช่น ยาเม็ดไกลเบนคลาไมด์ (Glybenclamide) ซึ่งมีอยู่หลายยี่ห้อ เช่น ดาโอนิล (Daonil), ยูกลูคอน (Euglucon) ซึ่งมีขนาด 5 มิลลิกรัม ควรเริ่มจากครั้งละครึ่งเม็ดแบบเดียวกับคลอร์โพรพาไมด์ ให้ได้สูงสุดวันละ 4 เม็ด
1.2 ในรายที่ใช้ยาชนิดกินไม่ได้ผล (โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน) หรือในกรณีที่มีการติดเชื้อรุนแรง หรือตั้งครรภ์หรือต้องทำการผ่าตัดด้วยโรคอื่น ๆ ก็ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลินซึ่งควรปรับให้ได้ขนาดที่พอเหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยเริ่มจากขนาดทีละน้อยก่อนเช่นเดียวกัน ส่วนมากจะสอนให้ผู้ป่วยหรือญาติฉีดเองที่บ้านผู้ป่วยชนิดพึ่งอินซูลิน อาจต้องฉีดอินซูลินทุกวันไปตลอดชีวิต
ส่วนผู้ป่วยชนิดไม่พึ่งอินซูลิน เมื่อควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีแล้ว อาจหันกลับมาใช้ยาชนิดกินแทนก็ได้
1.3 ในการติดตามผลการรักษา นอกจากการตรวจปัสสาวะแล้วควรนัดให้ผู้ป่วยมาตรวจเลือดเป็นครั้งคราว (อาจตรวจทุก 2-3 เดือน) ถ้าได้ต่ำกว่า 120 ถือว่าคุมได้ดี ระหว่าง 120-180 ถือว่าพอใช้ และถ้าเกิน 180 ถือว่าไม่ดี
2. ถ้าพบผู้ป่วยเบาหวานที่ขาดการรักษานาน ๆ หรือสงสัยมีภาวะแทรกซ้อน ควรส่งโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าสงสัยมีภาวะคีโตซิส ควรให้น้ำเกลือ นอร์มัลซาไลน์ แล้วส่งโรงพยาบาลด่วน
ข้อแนะนำ
1. เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาติดต่อกัน เป็นเวลานานหรือตลอดชีวิต ซึ่งหากได้รับการรักษาอย่างจริงจัง อาจมีชีวิตเหมือนคนปกติได้ แต่ถ้ารักษาไม่จริงจังก็อาจมีอันตรายจากโรคแทรกซ้อนได้มาก จึงควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ มิเช่นนั้นผู้ป่วยมักจะดิ้นรนเปลี่ยนหมอไปเรื่อย ๆ หรือหันไปรักษาทางไสยศาสตร์หรือกินยาหม้อแทน (ในปัจุบันยังไม่มีการพิสูจน์แน่ชัดว่ายาหม้อมีสรรพคุณในการรักษาเบาหวานได้จริง)
2. การควบคุมอาหาร การลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน) และการออกกำลังกาย มีความสำคัญต่อการรักษาเบาหวานเป็นอย่างมาก ในรายที่เป็นไม่มาก ถ้าปฎิบัติในเรื่องเหล่านี้ได้ดี อาจหายจากเบาหวานได้โดยไม่ต้องพึ่งยา
ผู้ป่วยควรลดการกินน้ำตาล และของหวานทุกชนิด (รวมทั้งผลไม้หวานและน้ำผึ้ง) ให้เหลือน้อยที่สุด ควรเลิกกินน้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมหวาน เหล้าเบียร์ ควรลดการกินอาหารพวกแป้ง เช่น ข้าว ข้าวเหนียว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ วุ้นเส้น เผือก มัน เป็นต้น
ควรลดอาการพวกไขมัน เช่น ของทอด ของมัน ขาหมู หมูสามชั้น อาหารหรือขนมที่ใส่กะทิ
ผู้ป่วยควรหันไปกินอาหารพวกโปรตีน (เนื้อแดง ไข่ นม ถั่วต่าง ๆ) ผักและผลไม้ที่ไม่หวานจัดให้มากขึ้น 
ส่วนการออกกำลังกาย จะเลือกแบบใดก็ได้ เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน เล่นโยคะ กายบริหาร เป็นต้น แต่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรหักโหมจนเกินไป
3. ผู้ป่วยควรเลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด มิเช่นนั้น อาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ 
4. ผู้ป่วยควรหมั่นดูแลรักษาเท้าเป็นพิเศษ ระวังอย่าให้เกิดบาดแผลหรือการอักเสบ    ซึ่งอาจลุกลามจนกลายเป็นแผลเน่าจนต้องตัดนิ้วหรือขาทิ้ง เช่น 
  ควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ เช็ดให้แห้ง โดยเฉพาะตรงซอกเท้า อย่าถูแรง ๆ 
เวลาตัดเล็บเท้า ควรตัดออกตรง ๆ อย่าตัดโค้งหรือตัดถูกเนื้อ 
อย่าเดินเท้าเปล่า เวลาออกนอกบ้านหรือเดินบนพื้นที่สกปรก ระวังเหยียบถูกของมีคม หนาม หรือของร้อน (เช่นถ่าน) จนเป็นแผลเน่าได้ 
อย่าสวมรองเท้าคับไป หรือใส่ถุงเท้ารัดแน่นเกินไป 
ถ้าเป็นหูดหรือตาปลาที่เท้า ควรให้แพทย์รักษา อย่าแกะหรือตัดออกกันเอง 
ถ้ามีตุ่มพอง มีบาดแผล หรือการอักเสบที่เท้าควรรีบไปให้แพทย์รักษา อย่าใช้เข็มบ่ง (ตุ่มพอง) เอง หรือใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน หรือไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ชะแผล ควรล้างแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่ และปิดแผลด้วยผ้าก๊อซที่ฆ่าเชื้อโรคแล้ว และติดด้วยพลาสเตอร์อย่านิ่ม (เช่น ไมโครพอร์) อย่าปิดด้วยพลาสเตอร์ธรรมดา 
5. ผู้ป่วยที่กินยาหรือฉีดยารักษาเบาหวานอยู่ บางครั้งอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (118) คือมีอาการใจหวิว ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย เหงื่อออก ตัวเย็นเหมือนเวลาหิวข้าว ถ้าเป็นมาก ๆ อาจเป็นลม หมดสติ หรือชักได้ ควรบอกให้ผู้ป่วยระวังดูอาการดังกล่าว และควรพกน้ำตาลหรือของหวานติดตัวประจำ ถ้าเริ่มรู้สึกมีอาการดังกล่าวให้ผู้ป่วยรีบกินน้ำตาลหรือของหวาน จะช่วยให้หายเป็นปลิดทิ้งทันที (ถ้าตรวจปัสสาวะตอนนั้น จะไม่พบน้ำตาลเลย) ผู้ป่วยควรทบทวนดูว่า กินอาหารน้อยไปหรือออกกำลังมากไปกว่าที่เคยทำอยู่หรือไม่ ควรปรับทั้งสองอย่างให้พอดีกัน จะช่วยป้องกันมิให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ถ้ายังเป็นอยู่บ่อย ๆ ควรไปปรึกษาแพทย์ที่รักษา อาจต้องลดยาเบาหวานลง
6. ผู้ป่วยควรหมั่นตรวจปัสสาวะเอง และตรวจเลือดที่โรงพยาบาลเป็นประจำ เพราะเป็นวิธีที่บอกผลการรักษาได้แน่นอนกว่าการสังเกตจากอาการเพียงอย่างเดียว บางครั้งถึงแม้ว่าจะรู้สึกสบายดี แต่ระดับน้ำตาลในเลือดอาจสูงได้
7. ผู้ป่วยอย่าซื้อยาชุดกินเอง เพราะยาบางอย่างอาจเพิ่มน้ำตาลในเลือดได้ เช่น สเตอรอยด์ (ย12), ยาขับปัสสาวะ (ย21) เป็นต้น และยาบางอย่างอาจเสิรมฤทธิ์ของยารักษาเบาหวาน ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำได้ เช่น แอสไพริน (ย1), เฟนิลบิวตาโซน (ย2.2), ซัลฟา (ย4.7) เป็นต้น
ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ยาเองต้องแน่ใจว่า ยานั้นไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
8. ผู้ป่วยควรมีบัตรประจำตัว (หรือกระดาษแข็งแผ่นเล็ก ๆ) ที่เขียนข้อความว่า "ข้าพเจ้าเป็นโรคเบาหวาน" พร้อมกับบอกชื่อยาที่รักษาพกติดกระเป๋าไว้ หากบังเอิญเป็นลมหมดสติขึ้นมา ทางโรงพยาบาลจะได้ทราบประวัติการเจ็บป่วยและให้การักษาได้ทันท่วงที
9. เราอาจป้องกันโรคนี้ได้โดย การรู้จักกินอาหาร (ลดของหวาน ๆ อาหารพวกแป้งและไขมัน กินอาหารพวกโปรตีน ผัก และผลไม้ให้มาก ๆ) อย่าปล่อยตัวให้อ้วน หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และทำจิตใจให้ร่าเริงเบิกบาน อย่าให้เครียดหรือวิตกกังวล
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นเบาหวาน ควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และควรตรวจเช็คปัสสาวะหรือเลือดเป็นครั้งคราว หากพบเป็นเบาหวานในระยะเริ่มแรก จะได้ให้การรักษาแต่เนิ่น ๆ 
ขอขอบคุณข้อมูล 
www.clinic.worldmedic.com 

สั่งซื้อเจียวกู้หลาน

ติดต่อเจียวกู้หลานฟอร์ยู - เชียงใหม่

99 / 62 หมู่ที่12 ตำบลสันนาเม็ง อำเภอ สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50210
โทร 0815959551 โทรสาร 053398767
อีเมล์ 
[email protected]

[email protected] 

คำถาม - โอนเงินแล้ว จะได้รับสินค้าจริงหรือ ? 
คำตอบ  ได้รับสินค้าภายใน 3- 5 วันทำการไปรษณีย์ - เราทำธุรกิจแบบจริงใจ
สงสัยหลายข้อ กรุณาคลิกตรงนี้
สมุนไพรที่ได้รับการรับรองจากสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง

สมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง
 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง

 
  เจียวกู้หลาน 
 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง


  เจียวกู้หลานแบบชง

 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง
เจียวกู้หลานแบบชง


เจียวกู้หลานแบบแคปซูล
Jiaogulan From ChiangMai Thailand - help Adaptogens - Antioxidants - Jiaogulan4u - lowers total cholesterol levels and help reduce high blood pressure
เจียวกู้หลานแบบชาจีน

 

 

 

 

 

Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY GOOGLE Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY ALL THE WEB Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY AOL Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY GIGABLAST Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY MSN Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY YAHOO Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY NETSCAPE
Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY SEARCH Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY DOGPILE Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY ASK Jiaogulan from ChiangMai Thailand  JIAOGULAN BY ALTAVISTA Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY LIVE SEARCH Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY MAMMA
Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY WEBCREWLER Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY CLUSTY Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY ALLTHEWEB Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY LYCOS Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY TEOMA Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY A9
 Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY SEARCH THAI Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY SANOOK
http://www.jiaogulan4u.com

Hosted by www.Geocities.ws

1