Jiaogulan From ChiangMai Thailand - help Adaptogens - Antioxidants - Jiaogulan4u - lowers total cholesterol levels and help reduce high blood pressure  โรคอ้วน - การลดความอ้วน
เจียวกู้หลานแบบชาจีน I เจียวกู้หลานแบถุงชง I เจียวกู้หลานเม็ด I ติดต่อเรา
เจียวกู้หลาน สมุนไพรจากเชียงใหม่เพื่อคุณ  ENGLISH CLICK HERE คลิกที่นี่
Jiaogulan Info
เจียวกู้หลานคืออะไร
ลดน้ำตาลในเลือด
เจียวกู้หลานต้านอักเสบ
ป้องกันตับจากการเกิดพิษ
ต้านอนุมูลอิสระ
ระงับความเจ็บปวด
หัวใจและหลอดเลือด
ลดไขมันในเลือด
ต่อต้านเซลล์มะเร็ง
พิษของเจียวกู้หลาน
เจียวกู้หลานที่ดี
เจียวกู้หลานที่จำหน่าย
สั่งซื้อเจียวกู้หลาน
การส่งเจียวกู้หลาน
ติดต่อผู้จำหน่าย
เปรียบเทียบผลิตภัณท์
อ้างอิงเอกสาร
โรคที่น่ากลัว

สิ่งดีๆ เพื่อคุณ

การลดความอ้วน
วิตตามินที่เราทาน
น้ำสะอาด
น้ามันปลาที่เราทาน
ร่างกายมนุษย์
สารพิษที่อยูรอบกาย โฆษณาที่เราดูทุก ๆ วัน
ความรู้ทัว ๆ ไป

หน้ารวมเพื่อคุณ

 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง

เจียวกู้หลานสมุนไพร
( GYNOSTEMMA PENTAPHYLLUM )

  เจียวกู้หลาน Jiaogulan (Gynostemma pentaphylum) ได้รับการ ยกย่าอง ให้เป็นสุดยอดสมุนไพรแห่งชาติปี พ.ศ. 2548 

โรคอ้วน  
      โรคอ้วนจัดเป็นปัญหาหลักทางสาธารณสุขที่พบมากขึ้น
โดยเฉพาะในประเทศไทยพบว่าคนที่อยู่ในเมืองที่มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์มีปัญหาเกี่ยวกับ
โรคอ้วน อีกทั้งยังมีปัญหาการเจ็บป่วยต่าง ๆ มากมายสืบนื่องมาจากโรคอ้วน มีคนจำนวนมาก
ที่เข้าใจผิดว่าการมีไขมันส่วนเกินเพียงเล็กน้อยที่หน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา ก็ถือว่า "อ้วน" ซึ่งถือว่า
เป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่งเนื่องจากคำว่า "อ้วน" ในความหมายของคนทั่วไป กับความหมายทาง
วิชาการมีความแตกต่างกันและควรที่จะมีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาว่ามีความคิด
วิตกกังวลว่าตนเอง "อ้วน" ทั้งที่จริง ๆ แล้วน้ำหนักยังอยู่ในเกณฑ์ปกติในทางวิชาการมีเกณฑ์
ที่ใช้ในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอ้วนหรือไม่ ขององค์การอนามัยโลกโดยใช้ดัชนีมวลกายหรือ Body 
Mass Index (BMI) ค่าที่ได้ดังกล่าวได้มาจากการคำนวณ ค่าน้ำหนักตัวปกติซึ่งควรอยู่ในช่วง
18.5-24.9 และจะถือว่าเป็นโรคอ้วนเมื่อมีค่า BMI มากกว่า 30 ขึ้นไป ในบทความนี้จะมีวิธีคำนวณค่า
BMI เพื่อให้ผู้ที่สนใจลองคำนวณหาค่า BMI ของตนเอง และจะได้ประเมินว่าร่างกายของท่านอยู่ใน
เกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ ร่วมกับการพิจารณาประกอบว่าควรจะลดน้ำหนักลงมากน้อยเพียงใดและเมื่อ
ท่าน "อ้วน" มีปัจจัยเสี่ยงของโรคใดบ้าง และท่านควรปฏิบัติตนอย่างไรในการลดน้ำหนัก เพื่อช่วยให้
ท่านสามารถลด น้ำหนักได้ และมีสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ดีสามารถปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ
ในชีวิตประจำวันได้ และมี น้ำหนักเหมาะสมกับส่วนสูงและอายุของตนเองหรือไม่ 

ดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) คือค่าที่ได้จากการนำน้ำหนักตัวและ
ส่วนสูง มาคำนวณ เพื่อประเมินหาส่วนไขมันในร่างกาย ซึ่งค่า ดังกล่าวนิยมใช้ในการคำนวณอย่าง
แพร่หลาย เนื่องจากคำนวณง่าย และสามารถใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้อชาติ
ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (หน่วยกิโลกรัม)
                             ความสูง2 (หน่วยเมตร2)
เมื่อคำนวณแล้วท่านมีค่า BMI มากกว่า 25 ถือว่ามีน้ำหนักตัวมากเกิน (over-weight) และ ถ้ามีค่า BMI มากกว่า 30 ถือว่า "อ้วน" (obesity) นอกจากนี้มีการจำแนกประเภทดัชนีมวลกาย (BMI) ตาม
เกณฑ์ของ International Obesity Task Force (IOTF) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงต่อ การเกิด
การเจ็บป่วยเมื่อมีค่า BMI ในระดับต่าง ๆ ดังตาราง
ประเภท ดัชนีมวลกาย (BMI) ความเสี่ยงต่อการเกิดการเจ็บป่วย(BMI)
น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ น้อยกว่า 18.5 ต่ำ (เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ)
น้ำหนักตัวปกติ 18.5 - 24.9 ปกติ
น้ำหนักตัวเกิน 25-29.9 เพิ่มกว่าปกติ
โรคอ้วนขั้นที่ 1 30-34.9 เพิ่มขึ้นอย่างมาก
โรคอ้วนขั้นที่ 2 35-39.9 ต่ำ (เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ)
โรคอ้วนขั้นที่ 3 40 ขึ้นไป เพิ่มขึ้นถึงขั้นรุนแรง

จากตารางข้างต้นจะพบว่าผู้มีน้ำหนักตัวเกิน (ค่า BMI มากกว่า 25) และผู้ที่เป็นโรคอ้วน (ค่า BMI มากกว่า 30) จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดการเจ็บป่วยอย่างมาก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าการที่มีน้ำหนักตัว
เกินหรือความอ้วนนั้นสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลายชนิด และมีผลต่อระบบการทำงานในร่างกายหลายระบบ
ด้วยกัน ได้แก่
-ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งได้แก่ โรคหลอดเลือดและหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง 
โรคหลอดเลือดโคโรนารี
-โรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี (gallbladder disease)
-โรคเกี่ยวกับตับ เช่น ตับแข็ง (cirrhosis)
-มะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ปากมดลูก เยื่อบุมดลูก ต่อมลูกหมาก มดลูก รังไข่ เต้านม ถุงน้ำดี 
ตับอ่อน
-โรคทางเดินหายใจและปอด หายใจลำบากขณะนอนหลับ นอนกรน (snoring) เพราะทางเดิน
หายใจเริ่มตีบตัน ร่างกายจะขาดออกซิเจน ทำให้ ร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่ ส่งผลให้ง่วงนอนในเวลากลางวัน
บางคนอาจเป็นมากขนาดหลับในขณะขับรถ จนเกิดอุบัติเหตุได้ 
-โรคเกี่ยวกับไต เช่น นิ่ว ไตวายจากความดันโลหิตสูง
-โรคกระดูกและข้อต่อ โรคข้อต่อเสื่อม (os-teoarthritis in joints) โดยเฉพาะบริเวณสะโพก หัวเข่า ข้อศอก
-โรคเก๊าท์ (gout)
-โรคเบาหวาน (diabetes mellitus)
-เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน (stroke)
-ซึมเศร้า (depression)
-เส้นเลือดขอด (varicose vein)
-เหงื่อออกมาก (sweating)
-การเป็นหมัน (infertility)

จากการเสี่ยงต่อสุขภาพของโรคอ้วนที่กล่าวถึงข้างต้นอันมีมากมายหลายประการ จึงมีการศึกษาถึง อันตรายของโรคอ้วนถึงขนาดว่า คนอ้วนมีอัตราการเสียชีวิตแตกต่าง จากคนรูปร่างปกติหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่าอัตราการเสียชีวิต ของคนที่อ้วนมากมีสูงขึ้นถึง 2-12 เท่า ขึ้นกับอายุของแต่ละบุคคล 
แต่ถ้ากลุ่มประชากรที่อ้วนหรือน้ำหนักเกินสามารถลด น้ำหนักได้เพียง 5-10 % ของน้ำหนักตัวเริ่มต้น  ก็จะสามารถลดอัตราการพิการ และอัตราการตาย (morbidity and mortality rate) ได้ระดับหนึ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมต้อง มีความพอดี การมากหรือน้อยเกินไปอาจเกิดผลเสียได้มากกว่าผลดี "น้ำหนัก"  ก็เช่นกัน ถ้ามากเกินไป "อ้วน" ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากมาย แต่ถ้าสามารถลดความมากเกินไป
ลงมาให้ใกล้พอดีได้ก็จะเกิดการลดอัตราการเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ แล้วคนที่มี "น้ำหนักเกิน" หรือ "อ้วน" สามารถรู้สาเหตุว่าเพราะอะไรจึงเกิดความมากเกินไปนี้ได้ โดยทั่วไปสาเหตุของ "อ้วน" มีหลายสาเหตุ  บางคนอาจเกิดจากสาเหตุเดียวหรือหลายสาเหตุประกอบกันก็ได้ 

สาเหตุของโรคอ้วน
1. พันธุกรรม ถ้าพ่อแม่เป็นโรคอ้วน ลูกที่เกิดมาก็มีโอกาสเป็นโรคอ้วนสูง
2. รับประทานอาหารมากเกินไป แล้วไม่มีเวลาออกกำลังกาย กล่าวคือ พลังงานที่ได้รับจากการ
รับประทานมากกว่าพลังงานที่ใช้ไปในการออกกำลังกาย เช่น ชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่ สูง เช่น หนังไก่ทอด มันหมู หมูสามชั้น ขาหมู ครีม เค้ก ฯลฯ แล้วไม่ยอมหาเวลาว่างออกกำลังกายเพื่อ ให้มีการใช้พลังงานที่ได้รับเข้ามา
3. พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสมทำให้มีการใช้พลังงานต่ำ และทำให้เสียโอกาสใน การทำกิจกรรม หรือออกกำลังกายที่มีประโยชน์ต่อ สุขภาพ เช่น การจราจรติดขัดในกรุงเทพ ทำให้ คนส่วนใหญ่ต้องนั่งเฉยบนรถยนต์หลายชั่วโมงต่อวัน ลักษณะงานที่ต้องนั่งทำงานตลอดเวลา  พฤติกรรมชอบรับประทานอาหารจุกจิก เป็นต้น
4. โรคบางชนิด เช่น Cushings Syndrome ซึ่งจะทำให้ร่าง กายของผู้ที่ป่วย เป็นโรคนี้อ้วน  โดยสาเหตุของโรคนี้เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย จนทำให้อ้วนบริเวณใบหน้า ลำตัว  ต้นคอด้านหลัง แต่แขนขาจะเล็ก และไม่มีแรง ในกรณีนี้จะต้องรักษาที่ต้นเหตุคือ ฮอร์โมนที่มีความ ผิดปกติจึงจะสามารถหายอ้วนได้
 สำหรับการรักษาโรคอ้วนนี้ วิธีการรักษาที่ดีควรต้องมีการผสมผสานการรักษาหลายวิธีร่วมกัน 
คือ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกายเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ส่วน การรักษาโดยใช้ยานั้นต้องใช้ในกรณีจำเป็นต่อการรักษาโรคอ้วนจริง ๆ และมักต้องอาศัยการรักษา ด้วยยาร่วมกับวิธีอื่น ๆ หรือถึงแม้ไม่ได้รับการรักษาด้วยยา ถ้าต้องการลดน้ำหนักก็ต้องอาศัยทั้ง 3 วิธีข้างต้นร่วมกันในการรักษาและควบคุมน้ำหนัก

การควบคุมอาหาร (diet) ในการลดน้ำหนักคนอ้วน คือ ให้พลังงานจากอาหารน้อยกว่า
พลังงานที่ร่างกายต้องใช้ ร่างกายจึงสลายพลังงานที่เก็บสะสมในร่างกายออกมาใช้แทน น้ำหนักก็ จะลดลง การควบคุมอาหารเพื่อ ให้ประสบความ สำเร็จในการลดน้ำหนัก ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความแน่วแน่ ของตัวท่านเองเพราะ ถ้าท่านยังไม่สามารถตัด ใจในเรื่องอาหารได้ ความสำเร็จในการลดน้ำหนักก็จะลดลง ด้วย ลองตั้งใจเต็ม 100% ในการควบคุมอาหาร แล้วท่านก็จะประสบความสำเร็จ แต่มีข้อแนะนำว่าท่าน
ไม่ควรงดอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งอย่างเด็ดขาด หรือไม่ยอมรับประทานอาหารในมื้อนั้น ๆ เพื่อจะลด น้ำหนักแต่ควรมีการควบคุมปริมาณอาหารที่ได้รับแต่ละมื้อมากกว่า เพราะถ้างดอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง อย่างเด็ดขาดอาจทำให้ท่านขาดสาร อาหารที่จำเป็นต่อร่างกายได้และถ้าท่านไม่ยอมรับประทานอาหาร
ในมื้อใดมื้อหนึ่งอย่างเด็ดขาด ก็อาจทำให้ท่านเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบได้เช่นกัน

การออกกำลังกาย (exercise) เป็นวิธีที่สำคัญในการลดน้ำหนัก กล่าวคือ 
เป็นส่วนของการใช้พลังงานที่ถูกสะสมไว้ในรูปของไขมันซึ่งถ้าสัดส่วนของการใช้พลังงานมากกว่าสัดส่วน
ของพลังงานที่ได้รับเข้าไปก็จะสามารถลดน้ำหนักได้ และวิธีการออก กำลังกายนี้สามารถ ลดน้ำหนัก ได้ ในระยะยาว นอกจากมีผลดีในการลดน้ำหนัก แล้วยังมีข้อ ดีอีกหลายประการ ไม่ว่าจะผลดีต่อระบบหายใจ  ทำให้การทำงานของหัวใจ และปอดดีขึ้น แล้วยังลดปัญหา ด้านภูมิแพ้ โดยจะเพิ่มความต้านทานแก่ร่างกาย ด้วย นอกจากนี้ยังส่งเสริม ให้มีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยทั่วไปมักใช้วิธีออกกำลังกาย
นี้ควบคู่กับการควบคุมอาหาร การออกกำลังกายที่เหมาะสมควรใช้เวลาประมาณ 30-60 นาทีต่อครั้ง  สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่ เหมาะสม ซึ่งข้อนี้ขึ้นอยู่กับคุณเองมากกว่าว่าสามารถ
เรียนรู้และแก้ไขตัวคุณเองมากแค่ไหน มีความตั้งใจแน่วแน่ และจิตใจตั้งมั่น ในการลดน้ำหนักมากน้อยเพียงใด เช่นถ้าคุณชอบทาน ของจุกจิก ชอบทานขนมก่อนนอน ชอบทานอาหารมัน ๆ ก็ควรจะเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมของคุณเอง โดยพยายามทานอาหารเฉพาะมื้อหลัก ๆ (งดเว้นอาหารว่างระหว่างมื้อ) 
และพยายามตัดใจเมื่อเจออาหารที่มีไขมันมาก ๆ

การใช้ยาช่วยลดน้ำหนัก ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนจะใช้ยารักษาโรคอ้วน เพราะ
ยาอาจมีผลข้างเคียงโดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ โรคตับ โรคไต ยาที่ใช้ใน การลดน้ำหนักมีอยู่ หลายประเภทได้แก่ ยาที่ใช้ลดความอยากอาหาร ยาที่ใช้แทนที่อาหาร ยาที่ชลอหรือขัดขวางการย่อยและ ดูดซึมสารอาหาร ยาที่ลด การสร้างไขมันและยา ที่ช่วยเพิ่มการเผาผลาญสารอาหาร แต่ที่จะกล่าวถึงใน บทความนี้ คือยา ที่ชลอหรือขัดขวางการย่อยและการดูดซึมซึ่งยาดังกล่าวนี้ชื่อ "Orlistat"

Orlistat 
เป็นยาที่ยับยั้งเอนไซม์ไลเปสของกระเพาะอาหารและตับอ่อน โดยการออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 
ไลเปสจะมีผลทำให้ลดการดูดซึมไขมัน และเพิ่มการขับถ่ายของไตรกลีเซอไรด์ในอุจจาระ ยาจะทำให้ ไขมันในอาหารที่รับประทาน เข้าไปไม่ถูกย่อยและ ม่สามารถดูดซึม ไปใช้ได้จึงเป็นเหตุให้ร่างกายไม่ได้ รับพลังงานจาก ไขมันเหล่านั้น โดยยา Orlistat นี้เป็นยาตัวแรกของยาลดความอ้วนในกลุ่มยับยั้ง เอนไซม์ไลเปส ซึ่งยาดังกล่าว ปัจจุบันนี้ยังมีการควบคุมการใช้เฉพาะในสถานพยาบาลเท่านั้นยังไม่มี การขายยา ดังกล่าว ในร้านขายยาทั่วไป เพราะยานี้เป็นยาใหม่ และแพทย์กำลังทำการติดตามผลการใช้ยา
เภสัชจลนศาสตร์ : ยาจะออกฤทธิ์ในทางเดินอาหาร ฤทธิ์ของยาจึงไม่เกี่ยวข้องกับการ
ดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกาย ในการวิจัยในมนุษย์โดยทดลองให้ radiolabelled orlistat ในขนาด 360 mg  พบว่า สามารถตรวจสอบปริมาณยาได้เล็กน้อยในเลือดประมาณ 8 ชั่วโมงหลังรับประทานยา ยานี้จะจับ กับโปรตีนในเลือดได้ 99 % และยาจะถูกทำลาย ที่ผนังทางเดินอาหารเป็นส่วนใหญ่ ยาส่วนมาก (ประมาณ 97 %)  ถูกขับออกทางอุจจาระ และ 83 % ของปริมาณนี้ถูกขับออกในรูปเดิม ยาที่ถูกเปลี่ยนรูปถูก
ขับออกทางไตน้อยกว่า 2 % ของขนาดยาที่ให้ เวลาที่ใช้ขับถ่ายยาอย่างสมบูรณ์เกิดขึ้นภายใน 3-5 วัน  การกำจัดยาเหมือนกันทั้งในผู้ที่มีน้ำหนักปกติและในคนอ้วน

ข้อบ่งใช้ : ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีค่าดรรชนีมวลกายเริ่มต้น >= 30
หรือในผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีค่าดรรชนีมวลกาย >= 27 ที่พบปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง
โคเลสเตอรอลในเลือดสูงและเบาหวาน ยานี้ใช้สำหรับรักษาโรคอ้วนซึ่งหมายถึง ทั้งการลดน้ำหนัก การ
ควบคุมน้ำหนัก และการป้องกันการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักเมื่อใช้ร่วมกับอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ
ขนาดยาและวิธีใช้ : รับประทาน 1 แคปซูลที่มีตัวยาขนาด 120 mg พร้อมอาหารมื้อหลัก (ระหว่าง อาหาร หรือภายใน 1 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร) ในกรณีที่อาหารมื้อนั้น ๆ ไม่มีอาหารไขมันหรือไม่ได้ รับประทานอาหารในมื้อนั้นก็ไม่จำเป็นต้องใช้ยา orlistat ในอาหารมื้อนั้น

ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ใน ผู้ป่วยที่มีปัญหาการดูดซึมอาหารผิดปกติเรื้อรัง (chronic malabsorption) และผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยานี้ สำหรับผู้ป่วยที่อ้วนเนื่องจากสาเหตุแฝงอื่น ๆ เช่น hypothyroid ควร ทำการรักษาที่ต้นเหตุก่อนจึงจะพิจารณาใช้ยานี้

อาการไม่พึงประสงค์ : มักเกิดต่อระบบทางเดินอาหารเป็นส่วนใหญ่ เช่น มีหยดน้ำมันกระปริด กระปรอยทางทวารหนัก มีแก๊สในกระเพาะอาหาร  และลำไส้ซึ่ง ออก มากับสิ่งขับถ่าย ปวดอุจจาระฉับพลัน มีไขมันหรือน้ำมัน ในอุจจาระ บางรายอาจ มีอาการถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้นหรือกลั้นอุจจาระไม่ได้ อาการเหล่านี้ เกิดจากการที่ไข มันไม่ย่อย ผ่านไปในทางเดินอาหารมีจำนวนมากเกินไปจึงมีการขับออกมาในรูปดังกล่าว แต่อาการ เหล่านี้มักไม่รุนแรงและไม่นาน มักเกิดขึ้นในช่วงแรกของการรักษา (ประมาณ 3 เดือน)

ปฏิกิริยาระหว่างยา : ยับยั้งการดูดซึมสารอาหารบางชนิดที่ละลายในไขมัน เช่น b-carotene  และ vitamin E acetate

จากข้างต้นจะเห็นว่ายาจะมีความจำเป็นต่อการลดน้ำหนักเฉพาะกรณีเป็นโรคอ้วนมาก ๆ หรือมีโรคร้ายแรงแทรกซ้อน แต่ถ้าเป็นโรคอ้วนทั่วไปไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา เพียงแต่คุณมีความตั้งใจ แน่วแน่ ในการลดน้ำหนัก และชนะใจตนเองในการ ควบคุมน้ำหนักและออกกำลังกาย ความสำเร็จในการลดและควบคุมน้ำหนักก็  จะสามารถเกิดขึ้นจนได้ ซึ่งจะเป็นผลดีทั้งต่อสุขภาพที่ดีขึ้นของตัวคุณเอง และลดปัญหา
สาธารณสุขจากโรคอ้วนให้แก่ส่วนรวม ผู้เขียนขอเป็นกำลัง ใจให้กับทุกคนที่คิดจะลดน้ำหนักเพื่อให้ประสบ ความสำเร็จดังตั้งใจ เพราะหนึ่งในคนที่ประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักโดยตั้งใจให้แน่วแน่ และ
พยายามชนะใจตนเองโดยไม่ต้องอาศัยยาในการรักษาโรคอ้วน ก็คือผู้เขียนเอง 

เอกสารอ้างอิง
1. Oranee Tangphao. Orlistat : A new antiobesity drug.Thai Joumal of Pharmacology. 2000; 22(1); 57-65.

2. James H. Zavoral. Treatment with orlistat reduces cardiovascular risk in obese patients.
Journal of Hypertension 1998; 16(2): 2013-2017.

3. วิมล พันธุ์เวทย์. Orlistat ทางเลือกใหม่ในการลดน้ำหนัก ศรีนครินทร วิโรฒเภสัชสาร 
2542; 4(1): 74-91. 

4. อารีย์ ขจรกิตติยุทธ. การควบคุมน้ำหนัก. ตากสินเวชสาร 2540; (1): 113-127. 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก 
องค์การเภสัชกรรม http://www.gpo.or.th

สมุนไพรที่ได้รับการรับรองจากสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง

สมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง
 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง
ติดต่อเจียวกู้หลานฟอร์ยู - เชียงใหม่
99 / 62 หมู่ที่12 ตำบลสันนาเม็ง อำเภอ สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50210
โทร 0815959551 โทรสาร 053398767
อีเมล์ 
[email protected]

[email protected] 

 
  เจียวกู้หลาน 
 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง


  เจียวกู้หลานแบบชง

 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง
เจียวกู้หลานแบบชง


เจียวกู้หลานแบบแคปซูล
Jiaogulan From ChiangMai Thailand - help Adaptogens - Antioxidants - Jiaogulan4u - lowers total cholesterol levels and help reduce high blood pressure
เจียวกู้หลานแบบชาจีน

 

 

 

 

 
Hosted by www.Geocities.ws

1