Jiaogulan From ChiangMai Thailand - help Adaptogens - Antioxidants - Jiaogulan4u - lowers total cholesterol levels and help reduce high blood pressure เจียวกู้หลาน
เกร็ดความรู้เรื่อง ร่างกายมนุษย์
เจียวกู้หลานแบบชาจีน I เจียวกู้หลานแบถุงชง I เจียวกู้หลานเม็ด I ติดต่อเรา
เจียวกู้หลาน สมุนไพรจากเชียงใหม่เพื่อคุณ  ENGLISH CLICK HERE คลิกที่นี่
Jiaogulan Info
เจียวกู้หลานคืออะไร
ลดน้ำตาลในเลือด
เจียวกู้หลานต้านอักเสบ
ป้องกันตับจากการเกิดพิษ
ต้านอนุมูลอิสระ
ระงับความเจ็บปวด
หัวใจและหลอดเลือด
ลดไขมันในเลือด
ต่อต้านเซลล์มะเร็ง
พิษของเจียวกู้หลาน
เจียวกู้หลานที่ดี
เจียวกู้หลานที่จำหน่าย
สั่งซื้อเจียวกู้หลาน
การส่งเจียวกู้หลาน
ติดต่อผู้จำหน่าย
เปรียบเทียบผลิตภัณท์
อ้างอิงเอกสาร

สิ่งดีๆ เพื่อคุณ
โรคที่น่ากลัว

การลดความอ้วน
วิตตามินที่เราทาน
น้ำสะอาด
น้ามันปลาที่เราทาน
ร่างกายมนุษย์
สารพิษที่อยูรอบกาย โฆษณาที่เราดูทุก ๆ วัน
ความรู้ทัว ๆ ไป

หน้ารวมเพื่อคุณ

 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง

เจียวกู้หลานสมุนไพร
( GYNOSTEMMA PENTAPHYLLUM )

  เจียวกู้หลาน Jiaogulan (Gynostemma pentaphylum) ได้รับการ ยกย่าอง ให้เป็นสุดยอดสมุนไพรแห่งชาติปี พ.ศ. 2548 

ร่างกายมนุษย์
ร่างกายของเราประกอบกันขึ้นมาจากส่วนย่อยที่เล็กที่สุดได้แก่ เซลล์ หน่วยที่เล็กที่สุดนี้ จะรวมตัวกันเป็นเนื้อเยื่อแล้วประกอบกันเป็นอวัยวะหลักต่างๆของร่างกายเพื่อที่จะทำงานได้ซับซ้อนยิ่งขึ้น ระบบต่างๆของเรา สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมหัศจรรย์ มีการตรวจสอบการทำงานและร่วมงานกันของแต่ละอวัยวะได้อย่างลงตัว หากเปรียบร่างกายของเราเป็นเครื่องจักร ก็จัดว่าเป็นเครื่องจักรที่ได้รับการ  ออกแบบมาได้อย่างดีที่สุดในโลก  กายวิภาคของเรา เพื่อความเข้าใจง่ายๆ จะขอกล่าวถึง ระบบต่างๆของร่างกายแยกกัน และจะอธิบายถึงการทำงานโดยรวมของแต่ละระบบ ซึ่งจะทำให้นำข้อมูลเหล่า นี้ไปเชื่อมโยงกับเรื่องของโรคในระบบต่างๆได้อย่างแนบเนียน ง่ายต่อการหาวิธีที่จะต่อสู้กับโรคภัยต่างๆได้
   1.ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินอาหารของเรา มีหน้าที่สำคัญคือ ทำการย่อยสลายอาหารที่เรารับประทานเข้าไปเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานในระดับเซลล์ 
การที่จะให้บรรลุเป้าหมายนี้ ธรรมชาติได้สร้างระบบทางเดินอาหารของเราให้มีการ
ทำงานร่วมกับระบบอื่นๆในร่างกายอย่างสอดคล้องสมดุลกันเป็นที่สุด ระบบต่างๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องได้แก่ ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นต้น 
ระบบทางเดินอาหารประกอบด้วยอะไรบ้าง
ประกอบด้วยสองส่วนหลักๆคือ ระบบที่เป็นทางผ่านของอาหาร และระบบที่ให้น้ำย่อย ส่วนที่เป็นทางผ่านของอาหารนั้น มีการเรียงลำดับดังนี้ ช่องปาก(oral cavity) คอหอย(pharynx) หลอดอาหาร(esophagus) กระเพาะอาหาร(stomach) ลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัม(duodenum) ลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม(jejunum) ลำไส้เล็กส่วนไอเลียม(ileum) ลำไส้ใหญ่ขาขึ้น(ascending colon) ลำไส้ใหญ่แนวขวาง(transverse colon) ลำไส้ใหญ่ขาลง(descending colon) ลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์(sigmoid colon) ไส้ตรง(rectum) และท่อทวารหนัก(anal canal)
ส่วนที่ทำหน้าที่ให้น้ำย่อยออกมาได้แก่ ต่อมน้ำลาย(salivary glands) กระเพาะอาหาร ตับและทางเดินน้ำดี(liver and biliary tree) ลำไส้เล็ก และตับอ่อน(pancrease) 
 เมื่อเรารับประทานอาหาร ท่านทราบไหมว่าทันทีที่เรามองเห็นอาหาร หรือแม้แต่นึกถึงภาพอาหารเราได้เปิดสวิทช์การทำงานของระบบทางเดินอาหารแล้ว โดยผ่านทางระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งอยู่นอกเหนือจากอำนาจทางจิตใจ ท่านอาจหลับตาลงเพื่อไม่ให้มองเห็นอาหารอีกต่อไป แต่ท่านไม่สามารถยับยั้งการหลั่งของน้ำย่อยชนิดต่างๆ รวมถึงห้ามการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารได้

เมื่ออาหารอยู่ในช่องปาก เราจะทำการย่อยอาหารในขั้นตอนแรกโดยการใช้ฟันบดเคี้ยวอาหาร น้ำย่อยจากต่อมน้ำลายจะทำการย่อยอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต หรือแป้ง ให้กลายเป็นน้ำตาลทันที น้ำตาลกลูโคส จะเป็นเชื้อเพลิงหลักในการขับเคลื่อนร่างกาย ระหว่างนี้ น้ำย่อยในกระเพาะอาหารก็ออกมาพร้อมแล้ว ที่จะย่อยสารอาหารชนิดโปรตีน น้ำย่อยจากตับอ่อนก็พร้อมที่จะย่อยอาหารพวกไขมัน และคาร์โบไฮเดรตให้พร้อมต่อการใช้งานมากขึ้นอีก

อาหารจะผ่านการย่อยตามทางที่มันไป ระหว่างนี้ ก็มีการดูดซึมอาหารผ่านทางผนังลำไส้ไปเรื่อยๆ โดยซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง ที่มาหล่อเลี้ยงทางเดินอาหารนำเอาผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปเสริมพลังในส่วนอื่นๆของร่างกาย พลังงานที่เหลือใช้จะถูกนำไปเก็บสะสมไว้ที่ตับ เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อไขมัน เป็นหลัก

กากอาหารที่เหลือจะมีลักษณะเป็นของเหลว ผ่านไปตามลำไส้ใหญ่ส่วนต่างๆซึ่งจะทำหน้าที่ดูดซึมน้ำไว้ในร่างกาย เมื่อกากอาหารผ่านไปยังส่วนปลายของลำไส้ จึงมีลักษณะเป็นกึ่งเหลวกึ่งแข็ง เก็บสะสมไว้บริเวณไส้ตรง เมื่อได้ปริมาณมากพอ จึงจะกระตุ้นให้เกิดอาการต้องการขับถ่าย ขับเอากากเหล่านั้นออกไปจากร่างกาย
  ตับ เป็นอวัยวะขนาดใหญ่ที่ต้องการเลือดมาเลี้ยงปริมาณมาก ตั้งอยู่ในช่องท้องด้านขวา ส่วนบน ถูกป้องกันจากภายนอกด้วยกระดูกซี่โครงบริเวณชายโครงด้านขวาทำหน้าที่กำจัดของเสียที่มาจากทาง
เดินอาหารผ่านทางหลอดเลือดที่มาจากลำไส้ส่วนต่างๆ และยังสร้างน้ำดี(bile) น้ำดีจะถูกสร้างจากตับแล้วผ่านทางท่อน้ำดีที่อยู่ภายในตับ กระทั่งออกมานอกตับ แล้วเก็บกักไว้ใช้ที่ถุงน้ำดี(gallbladder)

    น้ำดี เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการย่อยอาหารพวกไขมัน เมื่อเรารับประทานอาหาร ถุงน้ำดีจะบีบตัวเพื่อปล่อยน้ำดีปริมาณมากลงมาในลำไส้เพื่อทำหน้าที่ในการช่วยย่อยอาหารนั่นเอง
    ตับอ่อนเป็นอวัยวะที่อ่อนนุ่ม ถูกโอบล้อมด้วยลำไส้ส่วนดูโอดินัม ตำแหน่งในช่องท้องจะอยู่เหนือบริเวณสะดือเล็กน้อย ข้างหน้าจะถูกบดบังไว้ด้วยกระเพาะอาหาร มันทำหน้าที่หลักอยู่สองระบบคือในระบบทางเดินอาหารเองมันให้น้ำย่อยอาหารหลายชนิด และในระบบต่อมไร้ท่อนั้น มันทำหน้าที่ให้ฮอร์โมน(hormone)ที่สำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด และมีบทบาทสำคัญในเรื่องโรคเบาหวาน
ระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต
สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้มนุษย์เราขับเคลื่อนชีวิตต่อไปได้ก็คือ พลังงาน อาหารที่เรารับประทานเข้าไปเปรียบเสมือนเชื้อเพลิง ที่รอให้เราทำการเผาผลาญเพื่อให้เกิดพลังงาน
หากท่านเป็นรถยนต์ อาหารของรถยนต์ก็คือ น้ำมัน เมื่อท่านถูกสตาร์ท ท่านก็จะทำการเผาไหม้น้ำมัน โดยเครื่องยนต์ เครื่องยนต์ในร่างกายมนุษย์ก็คือ เซลล์ทุกๆเซลล์การเผาไหม้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีอากาศ มนุษย์เราก็เช่นกัน ต้องการอากาศในการเผาไหม้อาหาร ผลลัพธ์ที่ได้จากการเผาไหม้ ก็คือ พลังงาน และของเสีย ทำให้รถวิ่งได้เพราะมีพลังงาน หากได้เชื้อเพลิงที่ดี ก็จะทำให้รถวิ่งได้เร็ว ไม่สะดุด ไม่ติดขัด เกิดของเสียน้อย โดยรวมก็คือรถจะไม่สึกหรอง่ายๆ อาหารที่ดี ก็จะทำให้ร่างกายเรามีพลานามัยสมบูรณ์ ระบบหายใจจะนำเอาสิ่งที่จำเป็นในการเผาผลาญอาหารซึ่งก็คือ oxygen ไปให้ถึงเซลล์ เพื่อให้เกิดการเผาผลาญอาหารได้อย่างสมบูรณ์ 
  
กลไกในการนำเอาอากาศเข้าไปสู่ร่างกาย ทางผ่านของอากาศเข้าสู่ร่างกาย เริ่มต้นที่โพรงจมูก[nasal cavity] และช่องปาก [oral cavity]ซึ่งจะไปรวมกันบริเวณคอหอย[pharynx]เป็นท่อเดียวกัน จากนั้นจะผ่านลงสู่กล่องเสียง[larynx] หลอดลมใหญ่[trachea]อันมีทางแยกใหญ่ๆสองด้านไปด้านซ้ายและขวา [carina] แต่ละทางจะเล็กลงเรื่อยๆจนกระทั่งเป็นถุงลม [alveolar]ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วไปในปอดทั้งสองข้าง
การนำอากาศเข้า และออกจากร่างกายกระทำโดยกล้ามเนื้อต่างๆที่ใช้ในการหายใจ ได้แก่ กระบังลม[diaphragm] กล้ามเนื้อที่เกาะระหว่างกระดูกซี่โครง[intercostal muscle] และบางครั้งใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องด้วย[abdominal wall] เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้หดตัว จะทำให้ภายในช่องอก ซึ่งขึงไว้ด้วยกระดูกซี่โครง ทำหน้าที่เหมือนกระบอกสูบ ดูดเอาอากาศผ่านท่อทางเดินหายใจลงไปจนถึงถุงลม ซึ่งเป็นที่ที่มีผนังบางมากๆ ทำให้เราสามารถแลกเปลี่ยนอากาศดี อากาศเสียกับกระแสเลือดได้ จะเห็นว่าการหายใจเป็นกลไกที่ทำให้เราแลกเปลี่ยนอากาศกับสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกายถ้าอากาศที่ได้รับ มีคุณภาพดี เราก็จะเผาผลาญอาหารได้ดี ทำให้เกิดของเสียในร่างกายได้น้อย แต่ในความเป็นจริงมลภาวะต่างๆปะปนอยู่ในอากาศมากมาย เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอากาศเหล่านี้ได้ในเร็ววัน หากต้องการอากาศบริสุทธิ์ ก็คงต้องย้ายไปอยู่ในป่าหรือตามชนบทที่ห่างไกลจากมลภาวะ แต่สิ่งที่เราปรับปรุงได้ก็คือการเลือกใช้เชื้อเพลิง หรืออาหารที่เหมาะสม
ซึ่งจะทำให้ร่างกายเราสัมผัสกับของเสียที่เราผลิตออกมาน้อยที่สุด และมีชีวิตอยู่ได้อย่างยืนยาว 
      
    ระบบไหลเวียนโลหิต ก็เหมือนกับปั๊มน้ำ และท่อน้ำ โดยปั๊มดังกล่าว ก็คือหัวใจ ท่อน้ำก็คือหลอดเลือด น้ำหรือเลือดในร่างกายเป็นระบบปิด เมื่อใช้ไปแล้วก็ต้องมีการรีไซเคิล นำเอาน้ำสกปรก มาบำบัดเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ ระบบหลอดเลือดแดง ก็คือท่อน้ำบริสุทธิ์ และระบบหลอดเลือดดำ ก็คือท่อน้ำทิ้ง นั่นเอง ในหนึ่งรอบการปั๊มของหัวใจ จะทำหน้าที่ขับดันน้ำทั้งสองระบบไปพร้อมกัน น้ำบริสุทธิ์ หรือเลือดแดงที่ได้รับอากาศดีมาจากปอด จะถูกหัวใจฉีดออกไปตามหลอดเลือดแดงเพื่อไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆของร่างกาย ส่วนเลือดที่เซลล์ใช้ไปแล้ว จะถูกส่งกลับทางระบบหลอดเลือดดำเพื่อกลับสู่หัวใจอีกครั้ง ให้หัวใจปั๊มเลือดดำนี้ไปที่บ่อบำบัดน้ำเสีย ซึ่งก็คือปอดนั่นเอง
  หลอดเลือดตีบ เกิดได้อย่างไร(ไขมันในหลอดเลือด)
โรคความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด หัวใจวายเฉียบพลัน ไตวาย โรคหลอดเลือดสมองตีบกลายเป็นอัมพาต โรคเหล่านี้ มีส่วนสำคัญมาจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะเหล่านั้นตีบตันนั่นเอง หลอดเลือดที่กล่าวถึงนี้ก็คือ หลอดเลือดแดง คงยังไม่ลืมที่ว่าหลอดเลือดแดงเป็นตัวนำเอาเชื้อเพลิงซึ่งประกอบด้วยอากาศดี และสารอาหารไปป้อนถึงเซลล์

 อาหารที่เรารับประทานในปัจจุบันมีสารอันตรายประกอบอยู่เป็นจำนวนมากทั้งสารที่ใข้ถนอมอาหาร สารที่ใช้กำจัดศัตรูพืช สารที่ใช้ในการเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ที่เรานำมาเป็นอาหาร ตลอดจนสารปรุงแต่งรสให้ถูกปากของผู้บริโภค ล้วนมีผลทำลายผนังหลอดเลือด ดาวร้ายที่สำคัญของเรื่องนี้ก็คือไขมัน โดยเฉพาะไขมันที่อิ่มตัวเขาเหล่านี้จะไปเกาะติดกับผนังของหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดมีการแข็งตัว ไขมันที่พอกหนาขึ้นหนาขึ้น ก็จะทำให้หลอดเลือดตีบส่งผลให้เกิดโรคต่างๆที่กล่าวมา แต่ไม่ใช่ว่าไขมันทั้งหมดจะมีแต่ผลเสียในกลุ่มของกบฏ ก็มีผู้รักชาติอยู่ นั่นก็คือ ไขมันชนิด โอเมก้า3 โอเมก้า 6 และ โอเมก้า9  เราต้องบริโภคอาหารให้เป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียต่างๆที่กล่าวมา เริ่มเสียตั้งแต่วันนี้ท่านยังมีโอกาสก่อนที่จะสายเกินไป
   ระบบไตและทางเดินปัสสาวะ
    ไต เป็นอวัยวะสำคัญของมนุษย์ รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว โดยปกติแล้วเราจะมีไตกันคนละสองข้าง ตำแหน่งของมันจะอยู่ใต้ชายโครง ทางด้านหลังของส่วนท้อง ไตนั้นจัดเป็นอวัยวะที่มีเนื้อเยื่อตัน (solid organ) บริเวณขั้วของไต จะเป็นส่วนที่มีลักษณะเป็นกรวย เรียกกรวยไต(renal pelvis) ทำหน้าที่รองรับน้ำปัสสาวะที่ไตสร้างขึ้น ถัดจากบริเวณกรวยไต เป็นอวัยวะที่เป็นท่อเล็กๆ ทอดยาวลงมาข้างๆกระดูกสันหลัง คือ ท่อไต(ureter) ซึ่งท่อไตจะเป็นทางลำเลียงน้ำปัสสาวะลงมาเก็บไว้ที่ กระเพาะปัสสาวะ(urinary bladder) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณท้องน้อยใต้ต่อ หัวหน่าว เมื่อได้ปริมาณที่เหมาะสม น้ำปัสสาวะจะถูกขับออกผ่านทางท่อปัสสาวะ ซึ่งอยู่บริเวณฐานของกระเพาะปัสสาวะ 
     น้ำปัสสาวะคืออะไร
น้ำปัสสาวะ คือ น้ำส่วนเกินของร่างกาย ซึ่งจะถูกขับออกมาพร้อมกับของเสียต่างๆที่ร่างกายได้จากการเผาผลาญอาหารเพื่อให้เกิดพลังงาน ที่สำคัญคือ แอมโมเนีย ซึ่งเป็นสารประกอบของธาตุไนโตรเจน ได้จากการเผา ผลาญอาหาร ประเภทโปรตีน นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุบางอย่างซึ่งเกินความต้องการของร่างกาย และถูกขับทิ้งออกมา ยาบางชนิดก็จะถูกกำจัดผ่านทางปัสสาวะ
   เราสร้างน้ำปัสสาวะได้อย่างไร
ปัสสาวะของเรา ได้มาจากการที่ร่างกาย นำเลือดไปผ่านหน่วยไต ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกรองเก็บกักสารที่มีประโยชน์และมีขนาดใหญ่กว่ารูที่ใช้กรองได้แก่โปรตีน ที่สำคัญคืออัลบูมิน น้ำที่ได้ในตอนแรก ยังประกอบด้วยสารอาหาร และเกลือแร่ที่จำเป็นบางชนิด ซึ่งจะถูกไตทำการดูดกลับไปเก็บไว้ เมื่อน้ำปัสสาวะผ่านกระบวนการเพิ่มความเข้มข้นเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในร่างกายต่อไป ผลสุดท้ายจะพบว่าปัสสาวะคือน้ำส่วนเกินของร่างกายที่มีของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการละลายอยู่
กลไกการปวดปัสสาวะ น้ำปัสสาวะ ท้ายที่สุดจะถูกนำมาเก็บ ไว้ที่กระเพาะปัสสาวะเพื่อ รอปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งขึ้นกับความจุในกระเพาะปัสสาวะ ของแต่ละคนและ สามารถเปลี่ยนแปลงได้เองโดยเราไม่รู้ตัว เมื่อกระเพาะปัสสาวะตึงตัว จะมีการ ส่งสัญญาณให้สมองรับรู้ว่าขณะนี้ กระเพาะปัสสาวะเต็ม ถึงเวลาปลดปล่อยแล้ว เราจึงปวดอยากปัสสาวะ นอกจากกลไกโดยตรงนี้แล้ว สภาพจิตใจ ก็มีผลต่อการปวดปัสสาวะโดยการ สั่งงานของสมองที่เราไม่สามารถบังคับได้ เช่น ตื่นเต้น ก็อยากปัสสาวะ กลัว ก็มีปัสสาวะราดได้
 
ระบบประสาท
 หลายท่านเคยได้ยิน ได้ฟังคำว่าประสาท ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงความหมายอื่น เราจะกล่าวถึงความหมายทางการแพทย์ ระบบประสาท คือ ระบบหนึ่งของร่างกายที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ระบบประสาทยังมีการตอบรับผลของการสั่งงานนั้น และสามารถโต้ตอบปรับการสั่งงานใหม่ให้สอดคล้องกันได้อย่างสมบูรณ์

ระบบประสาทส่วนกลาง
  ระบบประสาทส่วนกลางประกอบด้วย สมอง และไขสันหลัง
สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญ ถูกปกป้องไว้อย่างแข็งแรงด้วยกระโหลกศีรษะ ไขสันหลังก็เช่นกัน มันจึงถูกปกป้องไว้ด้วยกระดูกสันหลังไปตลอดความยาวของไขสันหลัง สมองและไขสันหลังเป็นอวัยวะชิ้นเดียวกัน เชื่อมต่อกันบริเวณก้านสมอง
เทียบสมองเป็น เมนบอร์ด ของคอมพิวเตอร์ ไขสันหลังก็เป็นที่รวมของสายไฟ ที่เชื่อมกับฮาร์ดแวร์อื่นๆทำให้มันรับคำสั่งจากเมนบอร์ดได้

ระบบประสาทส่วนปลาย
  เปรียบเสมือนสายไฟที่เชื่อมต่อระบบประสาทส่วนกลาง สู่อวัยวะต่างๆ และพร้อมกันก็รับความรู้สึก รับรู้การเปลี่ยนแปลงจากอวัยวะเหล่านั้น
 
ระบบประสาทอัตโนมัติ

คือระบบที่สั่งงานร่างกายโดยอยู่เหนืออำนาจของจิตใจ คือ เราไม่สามารถสั่งงานระบบนี้ได้ แต่ทว่ามันสามารถทำงานด้วยตัวมันเอง เช่น การปรับอัตราการเต้นของหัวใจ การเพิ่มความดันโลหิตเมื่อจำเป็น การย่อยอาหาร การเคลื่อนไหวของลำไส้ การขับเหงื่อ การปรับเปลี่ยนความเข้มข้นของปัสสาวะ และอื่นๆอีกมากมาย

ขอขอบคุณข้อมูล ศูนย์รักษ์สุขภาพ

สั่งซื้อเจียวกู้หลาน

ติดต่อเจียวกู้หลานฟอร์ยู - เชียงใหม่

99 / 62 หมู่ที่12 ตำบลสันนาเม็ง อำเภอ สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50210
โทร 0815959551 โทรสาร 053398767
อีเมล์ 
[email protected]

[email protected] 

คำถาม - โอนเงินแล้ว จะได้รับสินค้าจริงหรือ ? 
คำตอบ  ได้รับสินค้าภายใน 3- 5 วันทำการไปรษณีย์ - เราทำธุรกิจแบบจริงใจ
สงสัยหลายข้อ กรุณาคลิกตรงนี้
สมุนไพรที่ได้รับการรับรองจากสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง

สมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง
 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง

 
  เจียวกู้หลาน 
 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง


  เจียวกู้หลานแบบชง

 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง
เจียวกู้หลานแบบชง


เจียวกู้หลานแบบแคปซูล
Jiaogulan From ChiangMai Thailand - help Adaptogens - Antioxidants - Jiaogulan4u - lowers total cholesterol levels and help reduce high blood pressure
เจียวกู้หลานแบบชาจีน

 

 

 

 

 

Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY GOOGLE Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY ALL THE WEB Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY AOL Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY GIGABLAST Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY MSN Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY YAHOO Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY NETSCAPE
Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY SEARCH Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY DOGPILE Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY ASK Jiaogulan from ChiangMai Thailand  JIAOGULAN BY ALTAVISTA Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY LIVE SEARCH Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY MAMMA
Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY WEBCREWLER Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY CLUSTY Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY ALLTHEWEB Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY LYCOS Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY TEOMA Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY A9
 Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY SEARCH THAI Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY SANOOK
http://www.jiaogulan4u.com

Hosted by www.Geocities.ws

1