Jiaogulan From ChiangMai Thailand - help Adaptogens - Antioxidants - Jiaogulan4u - lowers total cholesterol levels and help reduce high blood pressure เจียวกู้หลาน
เกร็ดความรู้เรื่อง สารพิษที่อยูู่รอบกาย 
เจียวกู้หลานแบบชาจีน I เจียวกู้หลานแบถุงชง I เจียวกู้หลานเม็ด I ติดต่อเรา
เจียวกู้หลาน สมุนไพรจากเชียงใหม่เพื่อคุณ  ENGLISH CLICK HERE คลิกที่นี่
Jiaogulan Info
เจียวกู้หลานคืออะไร
ลดน้ำตาลในเลือด
เจียวกู้หลานต้านอักเสบ
ป้องกันตับจากการเกิดพิษ
ต้านอนุมูลอิสระ
ระงับความเจ็บปวด
หัวใจและหลอดเลือด
ลดไขมันในเลือด
ต่อต้านเซลล์มะเร็ง
พิษของเจียวกู้หลาน
เจียวกู้หลานที่ดี
เจียวกู้หลานที่จำหน่าย
สั่งซื้อเจียวกู้หลาน
การส่งเจียวกู้หลาน
ติดต่อผู้จำหน่าย
เปรียบเทียบผลิตภัณท์
อ้างอิงเอกสาร

สิ่งดีๆ เพื่อคุณ
โรคที่น่ากลัว 

การลดความอ้วน

วิตตามินที่เราทาน
น้ำสะอาด
น้ามันปลาที่เราทาน
ร่างกายมนุษย์
สารพิษที่อยูรอบกาย โฆษณาที่เราดูทุก ๆ วัน
ความรู้ทัว ๆ ไป

หน้ารวมเพื่อคุณ

 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง

เจียวกู้หลานสมุนไพร
( GYNOSTEMMA PENTAPHYLLUM )

  เจียวกู้หลาน Jiaogulan (Gynostemma pentaphylum) ได้รับการ ยกย่าอง ให้เป็นสุดยอดสมุนไพรแห่งชาติปี พ.ศ. 2548 

อากาศพิษ
นอกจากปัจจัยสี่ ซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตแล้ว เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเราก็ต้องการอากาศดีๆ เพื่อใช้ในการหายใจเช่นกัน แต่ในยุคปัจจุบันแล้ว อากาศที่เราหายใจมีสารปนเปื้อนอยู่มากมายทั้งฝุ่นละออง เชื้อโรคและก๊าซพิษ ซึ่งก๊าซพิษเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงนั่นเอง ก๊าซเหล่านี้ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ตะกั่ว เป็นต้น นอกจากนี้การเผาไหม้เลื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ยังทำให้เกิดสารประกอบอินทรีย์ชนิดระเหยได้ที่เป็นพิษต่อร่างกายเราเช่นกัน

มลพิษในอากาศส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้นบรรยากาศที่ใกล้พื้นโลกมากที่สุด นั่นคือชั้นโทรโปสเฟียร์ ซึ่งกินพื้นที่จากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 16 กิโลเมตร ในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ จะทำให้อากาศเกิดการแบ่งชั้นตามอุณหภูมิโดยอากาศที่เย็นกว่าจะถูกกักไว้ชั้นล่าง โดยอยู่ใกล้กับผิวโลก ในขณะที่อากาศที่ร้อยกว่าอยู่ข้างบน ในสภาพดังกล่าวนั้นมลพิษจะถูกกักเก็บไว้ที่อากาศชั้นล่างและจะไม่มีการผสมกันของอากาศตามธรรมชาติ

Smog (มาจากภาษาอังกฤษคำว่า smoke + fog) ถือเป็นกลุ่มหมอกควันที่เป็นมลภาวะทางอากาศอย่างหนึ่ง ซึ่งมลพิษถูกกักเก็บไว้ในอากาศเนื่องจากปรากฎการณ์เปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งมลพิษเหล่านี้เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ถ่านหิน น้ำมัน นอกจากนี้ยังเกิดได้จากการทำปฎิกิริยาของแสงกับออกไซด์ของไนโตรเจนและสารประกอบอินทรีย์ชนิดระเหยได้ 

ที่จริงแล้ว smog ประกอบด้วยโอโซน ซึ่งโอโซนในบรรยากาศชั้นล่าง (โทรโปสเฟียร์) ถือว่าเป็นอันตรายต่อร่างกาย ทำให้เกิดความระคายเคืองที่ปอด ตลอดจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทั้งพืชและสัตว์ 
หมายเหตุ โอโซน ประกอบด้วยโมเลกุลของออกซิเจน 3 อะตอม (ซึ่งมากกว่าออกซิเจนทั่วไปที่มีแค่ 2 อะตอม) 
ปริมาณโอโซน เป็นตัวบ่งชี้ถึงความรุนแรงของมลภาวะได้ เนื่องจากปริมาณโอโซนในชั้นโทรโปสเฟียร์ที่มีมากขึ้น หมายถึงปริมาณมลพิษอื่นๆในอากาศที่มากขึ้นด้วย เช่น ปริมาณของคาร์บอนมอนนอกไซด์ 

เมื่อความชื้นในอากาศรวมกับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือออกไซด์ของไนโตรเจน จะเกิดเป็นกลุ่มหมอกควันที่มีสภาพเป็นกรด ซึ่งเป็นอันตรายต่อปอด และยังสามารถกัดกร่อนโลหะ ตลอดจนหินอ่อนได้อีกด้วย ในผู้ป่วยหอบหืดและโรคหัวใจจะมีอาการแย่ขึ้นเมื่อสูดเอากลุ่มควันพวกนี้เข้าไป จะทำให้ปวดศีรษะ มึนงง หายใจลำบาก

นอกจากอากาศเป็นพิษอย่างที่เราเข้าใจกันแล้ว ปัญหาใหญ่ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลกที่เราต้องรวมมือร่วมใจกันแก้ไขก็คือ การที่ชั้นบรรยากาศถูกทำลาย จากที่กล่าวแล้วถึงในชั้นบรรยากาศที่ใกล้พื้นโลกมากที่สุด หรือโทรโปสเฟียร์ แล้วถัดจากบรรยากาศชั้นนี้ขึ้นไป(จากความสูงเหนือระดับพื้นโลก 16-50 กิโลเมตร นั้นเป็นชั้นบรรยากาศ สเตรโตสเฟียร์ ซึ่งเป็นชั้นที่ประกอบด้วยโอโซนจำนวนมาก(โอโซนในชั้นนี้มีโมเลกุลเหมือนโอโซนในชั้นโทรโปสเฟียร์) แต่โอโซนที่ชั้นบรรยากาศนี้ เปรียบเสมือนด่านปราการที่ปกป้องโลกจากรังสีUV-B จากดวงอาทิตย์ รังสีUV-Bนั้นสามารถทำลายรหัสพันธุกรรมหรือDNA ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็ง ในปัจจุบันนี้ชั้นโอโซนดังกล่าวถูกทำลายไปจำนวนมากเนื่องจากสารเคมีบางอย่าง เช่น สารCFC , ไนตรัสออกไซด์(พบในพวกปุ๋ย), เมทิล โบรไมด์ (พบในยาฆ่าแมลง) 

CFC หรือสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน(เป็นสารหลักที่ทำลายโอโซน) ซึ่งเป็นก๊าซที่เกิดจากตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ กระป๋องสเปรย์ CFCเป็นก๊าซที่ไม่สลายตัวไปง่ายๆ สามารถลอยขึ้นไปถึงชั้นสเตรโตสเฟียร์ และที่นี่เมื่อสาร CFC รวมตัวกับรังสีUV สารCFCจะแตกตัวได้เป็นคลอรีน เมื่อคลอรีนรวมตัวกับโอโซนในชั้นบรรยากาศ จะเกิดเป็นออกซิเจน (O2) ซึ่งไม่สามารถดูดซับรังสีUV-B ได้อย่างโอโซน

หมายเหตุ คลอรีน 1 โมเลกุล สามารถทำลายโอโซนในชั้นสเตรโตสเฟียร์ ได้ถึง 100,000โมเลกุล 
ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) 
ก๊าซที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์เรือนกระจก ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์(เกิดจากการเผาไหม้ถ่านและน้ำมัน) มีเทน ไนโตรเจนออกไซด์และCFC ซึ่งก๊าซเหล่านี้จะยอมให้แสงอาทิตย์ผ่านมายังพื้นโลกได้ แต่จะสะท้อนกลับความร้อนจากผิวโลกไม่ให้สามารถผ่านออกไปได้ ดังนั้นจึงทำให้อุณหภูมิที่ชั้นบรรยากาศและผิวโลกสูงขึ้น
อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ส่งผลให้อากาศแปรปรวน ทำให้เกิดน้ำท่วม พายุกำลังแรง และภาวะแห้งแล้งที่ยาวนานขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกละลาย ประมาณการณ์ว่า ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้น 9- 100 เซนติเมตรภายในปี 2100 และถ้าเป็นไปตามนั้น รัฐฟลอริดาจะอยู่ใต้น้ำในศตวรรษหน้า และโรคมาลาเรียที่เคยแพร่ระบาดเฉพาะในเขตร้อนชื้น จะแพร่ไปยังทุกบริเวณทั่วโลก พืชและสัตว์บางชนิดจะสูญพันธ์ เนื่องจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปทำให้สภาวะแวดล้อมเปลี่ยนไป
อันตรายจากก๊าซพิษต่างๆ

คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นก๊าซที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี หลังจากที่เราสูดดมก๊าซชนิดนี้เข้าไป ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จะเข้าสู่กระแสเลือด และจะขัดขวางการลำเลียงออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย ถ้าร่างกายได้รับเพียงเล็กน้อยจะทำให้มึนงง ปวดศีรษะ เหนื่อยง่าย แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากอาจถึงแก่ชีวิตได้
แหล่งที่มาของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์คือพวกเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอน รวมถึงน้ำมันเบนซินน้ำมัน และไม้ ซึ่งก๊าซชนิดนี้เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือที่เกิดขึ้นจากสารสังเคราะห์ เช่น การสูบบุหรี่เป็นต้น

คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นสาเหตุสำคัญที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์เรือนกระจก แหล่งที่มาของก๊าซส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ อันได้แก่ การเผาไหม้ถ่าน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ถ้าเราสูดดมก๊าซชนิดนี้ในปริมาณมากจะทำให้เราหายใจถี่ขึ้น หมดสติ หรือถึงแก่ชีวิต

คลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ CFC เป็นสารเคมีที่ใช้วงการอุตสาหกรรม อาทิเช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เมื่อก๊าซชนิดนี้ถูกปล่อยขึ้นสู่อากาศจะขึ้นไปสู่ชั้นสเตรโตสเฟียร์ ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่เหนือจากโลกขึ้นไปอีก ซึ่งในชั้นบรรยากาศชั้นนี้ สารCFCจะทำลายโอโซนที่เปรียบเสมือนป้อมปราการที่ปกป้องโลกจากรังสีอันตรายของดวงอาทิตย์(รังสี UV) ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะต้องช่วยกันลด ละ เลิกการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดสารCFC ที่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ

ตะกั่ว เป็นโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อร่างกายโดยเฉพาะในเด็ก เนื่องจากตะกั่วจะทำลายระบบประสาทและระบบย่อยอาหาร ตลอดจนเป็นสาเหตุของมะเร็ง ซึ่งร่างกายของเราได้รับสารตะกั่วผ่านทางการหายใจและทางเดินอาหาร แหล่งที่มาของสารตะกั่วได้แก่ สี โรงงานแบตเตอรี่ โรงงานเซรามิก ท่อประปา

โอโซน เป็นก๊าซที่ประกอบด้วยออกซิเจน 3 อะตอม (ในขณะที่ก๊าซออกซิเจนในอากาศ ปกติ ประกอบด้วยออกซิเจน 2 อะตอม) โอโซนในบรรยากาศชั้นสเตรโตสเฟียร์ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่เหนือจากโลกที่ระดับ 16-50 กิโลเมตรนั้นเป็นม่านกรองรังสีUVที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ในขณะที่โอโซนในชั้นบรรยากาศโทรโปสเฟียร์ซึ่งอยู่ใกล้ผิวโลกมากที่สุดนั้นเป็นต่อทั้งมนุษย์ สัตว์และพืช เนื่องโอโซนจะทำให้ทางเดินหายใจระคายเคือง ไอต่อเนื่อง ทำให้ปวดหน้าอก ไม่สามารถที่จะหายใจลึกๆยาวๆได้ ทำให้ปอดติดเชื้อได้ง่าย

โอโซนในชั้นบรรยากาศที่อยู่ใกล้ผิวโลกนั้นเกิดจากการแตกตัวของสารประกอบอินทรีย์ซึ่งสามารถระเหยได้ รวมถึงเป็นผลพลอยได้จากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างสารเคมีในการเผาไหม้ถ่าน น้ำมันเบนซิน เชื้อเพลิงต่างๆ รวมถึงยานพาหนะและโรงงาน

ไนโตรเจนออกไซด์ เป็นก๊าซพิษที่พบในกลุ่มหมอกsmog และฝนกรด ถ้าได้รับไนโตรเจนออกไซด์ปริมาณมาก จะทำให้หายใจลำบาก ไอและเป็นอันตรายต่อทางเดินหายใจ สำหรับฝนกรดนั้นเป็นอันตรายต่อพืช ผัก ก๊าซชนิดนี้เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง รวมถึงน้ำมันเบนซินและถ่านหิน

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นก๊าซที่ไม่มีกลิ่นในกรณีที่ความเข้มข้นต่ำ ในขณะที่ความเข้มข้นสูงจะมีกลิ่นรุนแรง ก๊าซชนิดนี้เกิดจากกการเผาไหม้ถ่านหิน รวมถึงเป็นของเสียที่เกิดในโรงงานผลิตกระดาษ โรงหลอมโลหะ ก๊าซชนิดนี้พบได้ในกลุ่มหมอกและฝนกรด เนื่องจากซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทำให้เกิดกรดซัลฟิวริกซึ่งเป็นกรดรุนแรง สามารถกัดกร่อนพืชและโลหะ ตลอดจนเป็นอันตรายต่อปอดและทางเดินหายใจ

สารประกอบอินทรีย์ระเหยได้ สารเหล่านี้ประกอบอินทรีย์ ซึ่งมีคาร์บอน ตลอดจนสารอินทรีย์อื่นๆที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้สารประกอบอินทรีย์ระเหยได้หลายชนิดไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เกิดจากขบวนการสังเคราะห์ในห้องทดลอง สารเหล่านี้จะระเหยเป็นไอได้ง่ายแม้ที่อุณหภูมิห้อง

ตัวอย่างของสารประกอบอินทรีย์ระเหยได้ ได้แก่น้ำมันเบนซิน เทอลูอีน ไซลีน เปอร์คลอโรเอทธีลีน(สารละลายที่ใช้ซักแห้ง) สารเหล่านี้เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง น้ำมัน ไม้ ถ่าน ก๊าซธรรมชาติและพบได้ในสารทำลายของสี กาวและของใช้ในบ้านต่างๆ ตลอดจนการเผาไหม้ของยานพาหนะ ซึ่งสารเคมีเหล่านี้เป็นอันตรายต่อชีวิต และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็ง

ขอขอบคุณข้อมูล บริษัท กู๊ดเฮลท์ ประเทศไทย จำกัด

น้ำเสียหมายถึงน้ำที่มีสภาพทางกายภาพ ชีวภาพ ส่วนประกอบทางเคมี ที่ไม่เหมาะสม เป็นมล
พิษทางทัศนียภาพและก่อให้เกิดผลผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม 
การวัดมลพิษของน้ำโดยทั่วไป 
1. ออกซิเจนละลาย 
2. พีเอชของน้ำ 
3. ความโปร่งใสของน้ำ 
4. ความกระด้างของน้ำความเค็มของน้ำ 
5. สารเคมีในน้ำ เช่น ไนไตรท์ ไนเตรท แอมโนเนีย โลหะหนัก ฯลฯ... 
6. อื่นๆ เช่น สี กลิ่น ฯลฯ..... 
การวัดความเป็นพิษของน้ำหรือสภาพน้ำเสียค่าที่เชื่อถือจะได้จากการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ 
สาเหตุส่วนใหญ่และสำคัญมาจากมนุษย์ ที่ใช้แหล่งน้ำทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างขาดการอนุรักษ์ 
รายละเอียด 
น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ามหาศาล 
น้ำมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และพืชถ้าขาดน้ำเมื่อใดก็เป็นการยากที่
มนุษย์สัตว์และพืชจะดำรงชีวิตอยู่ได้นาน ดังนั้นตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงปัจจุบันเราจะพบว่ามนุษย์ทุกหมู่ 
สัตว์และพืชจะดำรงชีวิตอยู่ได้นานดังนั้นตั้งแตทุกเหล่า ทุกเผ่าพันธุ์ เลือกตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้น้ำ 
น้ำธรรมชาติมีอยู่ทั่วไปทั้งบนผิวดิน ใต้ดิน และในบรรยากาศ น้ำบนผิวดินเป็นแหล่งน้ำที่เราจะพบมากที่สุด 
ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ห้วย ลำธาร ทะเลสาบ ทะเล และมหาสมุทร ส่วนน้ำใต้ดินมีแตกต่างกันเป็น 
2 ประเภท คือ น้ำในดิน และน้ำบาดาล 
ถ้าเราขุดบ่อลงไปบริเวณแหล่งน้ำในดิน เราเรียกบ่อน้ำชนิดนี้ว่า บ่อน้ำในดิน และถ้าขุดบ่อลึกลงไปมาก ๆ 
หรือใต้ชั้นหินจนถึงระดับน้ำบาดาล เราเรียกบ่อน้ำชนิดนี้ว่า บ่อน้ำบาดาล 
น้ำธรรมชาติที่มีส่วนเกี่ยวพันกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ สัตว์ และความเจริญของพืชพันธุ์ ได้แก่ 
น้ำบนผิวดิน ในแต่ละวัน คนเราต้องใช้น้ำจำนวนมากทั้งในด้านการอุปโภค บริโภค การประกอบอาชีพ
 เช่น การประมง เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เป็นต้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องช่วยกันรักษาแหล่ง
น้ำธรรมชาติเหล่านี้ให้สะอาดอยู่เสมอ หากปล่อยให้มีสิ่งสกปรก เช่น ขยะ หรือน้ำทิ้ง ลงปะปนอยู่ใน
น้ำธรรมชาติ ก็จะทำให้แหล่งน้ำนั้นกลายเป็นน้ำเสียในภายหลัง เมื่อแหล่งน้ำดีกลายเป็นน้ำเสีย 
ก็จะเป็นอันตรายต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคน พืช และสัตว์ ไม่เฉพาะแต่พื้นที่เดียวเท่านั้น อาจขยาย
บริเวณภยันตรายกว้างไกลออกไปทั้งชุมชนละแวกนั้น ๆ ได้ 
คุณประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของน้ำคือ อาชีพทางน้ำ น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทั้งในด้านการอุปโภคและบริโภค 
สาเหตุที่จะทำให้น้ำในแม่น้ำลำคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติอื่น ๆ กลายเป็นน้ำเสีย กล่าวโดยสรุปได้แก่ 

1. สิ่งปฏิกูลจากบ้านเรือน 
ที่อยู่อาศัยของชนที่อยู่รวมกันเป็นชุมชนเป็นย่านที่อยู่อาศัย และย่านการค้าขาย ในอาณาบริเวณดังกล่าวน
ี้ ย่อมจะมีน้ำทิ้งจากการอุปโภคและบริโภค เช่น น้ำจากการซักล้างและการทำครัว น้ำจากส้วมที่ไม่ได้ผ่านการ
บำบัดให้มีคุณภาพตามมาตรฐานและอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำลำคลอง น้ำทิ้งเช่นนี้จะทำให้เกิดน้ำเน่าน้ำเสียได้ 

2. สิ่งปฏิกูลจากการเกษตรกรรม 
ในการเพาะปลูกปัจจุบันนี้ เกษตรกรใช้สารเคมีมากขึ้น เช่น ปุ๋ย สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งบางชนิดสลายตัวยาก 
สารอาจจะตกค้างอยู่ตามพืชผักผลไม้ ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค และบางส่วนอาจจะกระจายอยู่ตามพื้นดิน 
เมื่อฝนตกน้ำฝนจะชะล้างลิ่งเหล่านี้ลงแม่น้ำลำคลอง เป็นเหตุให้กุ้ง ปลา หอย ปู และสัตว์น้ำอื่น ๆ 
เป็นอันตรายถึงตายได้ ถ้าสัตว์น้ำได้รับสารเคมีบางชนิดในปริมาณไม่มาก ก็อาจสะสมอยู่ในตัวสัตว์ 
เมื่อคนจับสัตว์น้ำเหล่านี้มาทำอาหาร สารเคมีนั้นก็จะเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกายของคนอีกทอดหนึ่ง 
บริเวณเพาะปลูกอาจมีมูลสัตว์ปนอยู่ เมื่อฝนตกหรือเมื่อใช้น้ำรดพืชผักผลไม้ น้ำก็จะชะล้างสิ่งปฏิกูล 
คือมูลสัตว์นี้ลงสู่แม่น้ำลำคลอง ในมูลสัตว์อาจมีเชื้อโรคและพยาธิปนอยู่ เป็นเหตุให้ผู้ใช้แม่น้ำลำคลองได้รับเชื้อโรคจากสิ่งปฏิกูลนั้นได้ 

3. สิ่งปฏิกูลจากการอุตสาหกรรม 
โรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปใช้น้ำในปริมาณมากน้อยแตกต่างกัน น้ำที่ใช้ทำความสะอาดเครื่องมือและ
พื้นที่ในโรงงาน และน้ำทิ้งจากโรงงาน จะเป็นน้ำเสียไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง บางโรงงานอาจมีวัสดุเหลือ
จากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบางประเภทปนไปกับน้ำทิ้งทั้งหมดนี้ เป็นเหตุให้น้ำในแม่น้ำลำคลองเน่า ส่งกลิ่นเหม็น มีสารพิษปะปนอยู่กลายเป็นมลภาวะที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้น 

น้ำมันจากโรงงานอุตสาหกรรมก็มีส่วนทำความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม หากใช้น้ำมันโดยขาดความระมัดระวัง เช่น 
การเทน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วลงน้ำ ตลอดจนการทำความสะอาดโรงงาน น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยลง
แม่น้ำลำคลองเช่นนี้ จะมีคราบน้ำมันลอยเป็นฝา ทำให้ก๊าซออกซิเจนในอากาศไม่สามารถจะละลายลงไปในน้ำ
 มีผลทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำขาดก๊าซออกซิเจน ยิ่งกว่านั้นถ้ามีคราบน้ำมันคลุมผิวพื้นน้ำ แสงแดดส่องลอดลงไปใต้น้ำไม่ได้ ทำให้พืชในน้ำบางชนิดไม่สามารถสร้างอาหารและเจริญเติบโต แล้วยังมีผลเสียต่อเนื่องทำให้สัตว์ในน้ำตายด้วย เพราะพืชเล็ก ๆ ในน้ำ ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์ตายเพราะน้ำเสีย 

สิ่งปฏิกูลจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเหตุให้น้ำเน่าเสีย 
เหมืองแร่เป็นอุตสาหกรรมอีกประเภทหนึ่งที่ทำให้คุณภาพของน้ำเสียไป ถ้าเหมืองแร่นั้นเป็นเหมืองฉีด 
น้ำจากเหมืองฉีดจะพาตะกอนซึ่งเกิดจากดิน หิน ทราย และเศษแร่ไหลปนไปกับน้ำที่ชะแร่ลงสู่แม่น้ำ
หรือทะเล ทำให้ลำน้ำตื้นเขิน ทับถมและทำลายแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ 
จะเห็นว่าถ้าไม่มีการระมัดระวังในการใช้น้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำประปาหรือน้ำในแม่น้ำลำคลอง 
จะก่อให้เกิดน้ำเสียต่อเนื่องกันเป็นประดุจลูกโซ่ 
น้ำเสียและการบำบัดน้ำเสีย 
น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตน้ำถูกนำมาใช้ในการอุปโภคและบริโภค และน้ำเมื่อใช้แล้วก็จะถูกปล่อยทิ้ง 
ออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติอีกครั้งหนึ่งระบบหมุนเวียนดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้น 
เมื่อถูกนำมาใช้ในครัวเรือนการเกษตร และการอุตสาหกรรม ในอัตราสูงและถูกปล่อยทิ้งลงสู่แหล่งน้ำในลักษณะ ของน้ำเสียที่มีปริมาณมากเกินขีดความสามารถที่แหล่งน้ำธรรมชาติจะปรับตัวได้ทัน ทำให้แหล่งน้ำมีคุณภาพเลวลงและในที่สุดก็กลายเป็นน้ำเน่าเสียสิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ในน้ำก็ไม่อาจดำรงชีวิต อยู่ต่อไปได้อีก 
สภาพความเน่าเสียของน้ำในแม่น้ำลำคลองซึ่งมีลักษณะเป็นสีดำคล้ำและส่งกลิ่นเหม็นคงเป็นภาพที่เราเคยเห็นจนชินตา และอาจมีหลายท่านเคยตั้งคำถามว่าน้ำเสียสีดำคล้ำในคลองเหล่านี้มาจากไหนและมีทางจะกลับมาใสเหมือนเดิมได้หรือไม่? 

น้ำเสียมาจากไหน? 
น้ำเสีย หมายถึง น้ำที่มีสารใด ๆ หรือสิ่งปฏิกูลที่ไม่พึงปรารถนาปนอยู่ การปนเปื้อนของสิ่งสกปรกเหล่านี้ จะทำให้ คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไปจนอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ สิ่งปนเปื้อนที่อยู่ในน้ำเสีย ได้แก่ 
น้ำมัน ไขมัน ผงซักฟอก สบู่ ยาฆ่าแมลง สารอินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่าเหม็นและเชื้อโรคต่าง ๆ สำหรับแหล่งที่มาของ 
น้ำเสียพอจะแบ่งได้เป็น 2 แหล่งใหญ่ ๆ ดังนี้ 
1. น้ำเสียจากแหล่งชุมชน มาจากกิจกรรมสำหรับการดำรงชีวิตของคนเรา เช่น อาคารบ้านเรือน หมู่บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม
 โรงแรม ตลาดสด โรงพยาบาล เป็นต้น จากการศึกษาพบว่าความเน่าเสียของคูคลองเกิดจาก
น้ำเสียประเภทนี้ ถึงประมาณ 75% 

2. น้ำเสียจากกิจกรรมอุตสาหกรรม ได้แก่น้ำเสียจากขบวนผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมรวมทั้งน้ำหล่อเย็นที่มี ความร้อนสูง และน้ำเสียจากห้องน้ำห้องส้วมของคนงานด้วยความเน่าเสียของคุคลองเกิดจากน้ำเสียประเภทนี้ประมาณ 25% แม้จะมีปริมาณไม่มากนัก แต่สิ่งสกปรกในน้ำเสียจะเป็นพวกสารเคมีที่เป็นพิษและพวกโลหะหนักต่าง ๆ รวมทั้งพวก สารอินทรีย์ต่าง ๆ ที่มีความเข้มข้นสูงด้วย 

กรรมวิธีในการบำบัดน้ำเสีย 
การบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำที่สะอาดก่อนปล่อยทิ้งเป็นวิธีการหนึ่งในการแก้ไขปัญหาแม่น้ำลำคลองเน่าเสีย โดยอาศัยกรรมวิธีต่าง ๆ เพื่อลดหรือทำลายความสกปรกที่ปนเปื้อนอยู่ในห้องน้ำได้แก่ ไขมัน น้ำมัน สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ สารพิษ รวมทั้งเชื้อโรคต่างๆ ให้หมดไปหรือให้เหลือน้อยที่สุดเมื่อปล่อยทิ้งลงสู่แหล่งน้ำก็จะไม่ทำให้แหล่งน้ำนั้นเน่าเสีย อีกต่อไป 
ขั้นตอนในการบำบัดน้ำเสีย 
เนื่องจากน้ำเสียมีแหล่งที่มาแตกต่างกันจึงทำให้มีปริมาณและความสกปรกของน้ำเสียแตกต่างกันไปด้วยในการ ปรับปรุง คุณภาพของน้ำเสียจำเป็นจะต้องเลือกวิธีการที่เหมาะสมสำหรับกรรมวิธีในการปรับปรุงคุรภาพของ
น้ำเสียนั้นก็มีหลายวิธีด้วยกันโดยพอจะแบ่งขั้นตอนในการบำบัดออกได้ดังนี้ 
การบำบัดน้ำเสียขั้นเตรียมการ (Pretreatment) 
เป็นการกำจัดของแข็งขนาดใหญ่ออกเสียก่อนที่น้ำเสียจะถูกปล่อยเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อป้องกันการอุดตันท่อน้ำเสีย และเพื่อไม่ทำความเสียหายให้แก่เครื่องสูบน้ำ การบำบัดในขั้นนี้ได้แก่ 
การดักด้วยตะแกรง เป็นการกำจัดของแข็งขนาดใหญ่โดยใช้ตะแกรง ตะแกรงที่ใช้โดยทั่วไปมี 2 ประเภทคือ ตะแกรงหยาบและตะแกรงละเอียด 
การบดตัดเป็นการลดขนาดหรือปริมาตรของแข็งให้เล็กลง ถ้าสิ่งสกปรกที่ลอยมากับน้ำเสียเป็นสิ่งที่เน่าเปื่อยได้ต้องใช้เครื่องบดตัดให้ละเอียด ก่อนแยกออกด้วยการตกตะกอน 
การดักกรวดทราย เป็นการกำจัดพวกกรวดทรายทำให้ตกตะกอนในรางดักกรวดทราย โดยการลดความเร็วน้ำลง 
การกำจัดไขมันและน้ำมันเป็นการกำจัดไขมันและน้ำมันซึ่งมักอยู่ในน้ำเสียที่มาจากครัว โรงอาหาร ห้องน้ำ ปั๊มน้ำมัน และโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดโดยการกักน้ำเสียไว้ในบ่อดักไขมันในช่วงเวลาหนึ่งเพื่อ
ให้น้ำมันและไขมันลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำแล้วใช้เครื่องตักหรือกวาดออกจากบ่อ 
   nารบำบัดน้ำเสียขั้นที่สอง (Secondary Treatment) 
เป็นการกำจัดน้ำเสียที่เป็นพวกสารอินทรีย์อยู่ในรูปสารละลายหรืออนุภาคคอลลอยด์ โดยทั่วไปมักจะเรียกการบำบัด ขั้นที่สองนี้ว่า "การบำบัดน้ำเสียด้วยขบวนการทางชีววิทยา" เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลาย หรือทำลายความสกปรกในน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียในปัจจุบันนื้อย่างน้อยจะต้องบำบัดถึงขั้นที่สองนี้ เพื่อให้น้ำเสียที่ผ่าน การบำบัดแล้วมีคุณภาพมาตรฐานน้ำทิ้งที่ทางราชการกำหนดไว้ การบำบัดน้ำเสียด้วยขบวนการทางชีววิทยาแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ขบวนการที่ใช้ออกซิเจน เช่น ระบบบ่อเติมอากาศ ระบบแคติเวตเตดสลัดจ์ ระบบแผ่นหมุนชีวภาพ ฯลฯ และ ขบวนการที่ไม่ใช้ออกซิเจน เช่น ระบบถังกรองไร้อากาศ ระบบถังหมักตะกอน ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของจุลินทรีย์ ที่ทำหน้าที่ย่อยสลาย 
    การบำบัดน้ำเสียขั้นสูง (Advanced Treatment) 
เป็นการบำบัดน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดในขั้นที่สองมาแล้ว เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกบางอย่างที่ยังเหลืออยู่ เช่น โลหะหนัก หรือเชื้อโรคบางชนิดก่อนจะระบายน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะการบำบัดขั้นนี้มักไม่นิยมปฏิบัติกัน เนื่องจากมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง นอกจากผู้บำบัดจะมีวัตถุประสงค์ในการนำน้ำที่บำบัดแล้วกลับคืนมาใช้อีกครั้ง

สั่งซื้อเจียวกู้หลาน

ติดต่อเจียวกู้หลานฟอร์ยู - เชียงใหม่

99 / 62 หมู่ที่12 ตำบลสันนาเม็ง อำเภอ สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50210
โทร 0815959551 โทรสาร 053398767
อีเมล์ 
[email protected]

[email protected] 

คำถาม - โอนเงินแล้ว จะได้รับสินค้าจริงหรือ ? 
คำตอบ  ได้รับสินค้าภายใน 3- 5 วันทำการไปรษณีย์ - เราทำธุรกิจแบบจริงใจ
สงสัยหลายข้อ กรุณาคลิกตรงนี้
สมุนไพรที่ได้รับการรับรองจากสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง

สมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง
 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง

 
  เจียวกู้หลาน 
 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง


  เจียวกู้หลานแบบชง

 เจียวกู้หลานสมุนไพรที่สถาบันวิจัยสมุนไพรให้การรับรอง
เจียวกู้หลานแบบชง


เจียวกู้หลานแบบแคปซูล
Jiaogulan From ChiangMai Thailand - help Adaptogens - Antioxidants - Jiaogulan4u - lowers total cholesterol levels and help reduce high blood pressure
เจียวกู้หลานแบบชาจีน

 

 

 

 

 

Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY GOOGLE Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY ALL THE WEB Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY AOL Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY GIGABLAST Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY MSN Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY YAHOO Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY NETSCAPE
Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY SEARCH Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY DOGPILE Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY ASK Jiaogulan from ChiangMai Thailand  JIAOGULAN BY ALTAVISTA Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY LIVE SEARCH Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY MAMMA
Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY WEBCREWLER Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY CLUSTY Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY ALLTHEWEB Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY LYCOS Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY TEOMA Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY A9
 Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY SEARCH THAI Jiaogulan from ChiangMai Thailand JIAOGULAN BY SANOOK
http://www.jiaogulan4u.com

Hosted by www.Geocities.ws

1