ต้ปุ้.    

  หน้าหลัก  
  สินค้า & บริการ  
  บริการหลังการขาย  
  เกี่ยวกับพวกเรา  



  เรื่องดีๆ มีไว้แบ่งปัน  
  ขำขัน & แปลก  
  จิตวิญญาณ  
 
  ห้องเรียน  
  เรียนภาษาอังกฤษ  
  Gravity Probe B  
  รอบเดือนครั้งสุดท้าย  
  สามเหลี่ยมของคุณอาพิทากอรัส  
  การป้องกัน และ ระงับเหตุอัคคีภัย  
 
  เตรียมตัวสอบ CISA  
  How to lose your customer in 10 days ?  
  Success of the Leader  
  Proxy Server คือ ....  
  Management Needs  
  BCP   &   DRP  
  IT Objective  
  Objective  
  Basel II  
  Control  
  Leader  
Risk
  NPV  
 
  Computer NetWorking  
  Linux  



  บทเพลง  
  Link  
  ปิงปอง  


   
  ไทย  
   
 
Risk

        Risk หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า ความเสี่ยง คือ....

"โอกาศ หรือ ความน่าจะเป็น ที่จะเกิด ความผิดพลาด ขึ้นในระบบของเรา....”

หรือ

“โอกาศ หรือ ความน่าจะเป็น ที่จะเกิด สิ่งที่เราไม่ต้องการให้เกิดขึ้น....”

หรือ

“โอกาศ หรือ ความน่าจะเป็น ที่จะ ทำให้เราไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ที่เราตั้งไว้”

หรือ

“ The potential that a given threat will exploit vulnerabilities of an asset or group of assets to cause loss or damage to the assets.

The impact or relative severity of the risk is proportional to the business value of the loss/damage and to the estimated frequency of the threat. ”


โอกาสที่จะเกิด....

        โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์.... หรือ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์.... เป็นภาษาทางคณิตศาสตร์.... ที่พยายามจะอธิบายให้เราเห็นว่าเหตุการณ์นั้นๆ มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด.... ที่จะเกิดขึ้น....

        โอกาสที่วันนี้ ฝนจะตกในกรุงเทพ มีค่าเป็น 1 ( หรือ 100 % ) แปลว่า วันนี้ฝนตกแน่นอน....

        โอกาสที่วันนี้ ฝนจะตกในกรุงเทพ มีค่าเป็น 0 ( หรือ 0 % ) แปลว่า วันนี้ฝนไม่ตกแน่นอน....

        โอกาสที่วันนี้ ฝนจะตกในกรุงเทพ มีค่าเป็น 0.5 ( หรือ 50 % ) แปลว่า วันนี้ มีโอกาสที่ฝนจะตก เท่ากับ โอกาสที่ฝนจะไม่ตก....

        โอกาสที่ลูกเต๋าจะหงายแสดงค่า 1 ในการทอดลูกเต๋าสภาพปกติธรรมดา 1 ครั้ง คือ...

จำนวนที่จะเกิดเหตุการณ์ที่เราคาดหวัง   =   1   =   0.1666666666....6       หรือคิดเป็น % ก็จะได้ประมาณ 16%


จำนวนเหตุการณ์เป็นไปได้ทั้งหมด6

        โอกาสที่ลูกเต๋าจะหงายแสดงค่า 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ 4 หรือ 5 หรือ 6 ในการทอดลูกเต๋าสภาพปกติธรรมดา 1 ครั้ง คือ...

จำนวนที่จะเกิดเหตุการณ์ที่เราคาดหวัง   =   6   =   1       หรือคิดเป็น % ก็จะได้ 100%


จำนวนเหตุการณ์เป็นไปได้ทั้งหมด6

        ซึ่งค่าของ โอกาสของ การทอดลูกเต๋าปกติธรรมดาที่มี 6 ด้าน ไม่ได้ถ่วง หรือฝังแม่เหล็กไว้.... ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใดในโลกใบนี้ ( ถึงจะอยู่บนดวงจันทร์ก็เหอะ ) ค่าของ โอกาสที่จะเกิด ก็จะมีค่าเป็นไปตามที่คำนวนไว้ด้านบน....

        ก่อนวันที่ 11 กันยายน พ.ศ 2544 ( ค.ศ 2001 ) ถ้ามีใครถามว่า โอกาสที่จะมี ใครซักคน จี้เครื่องบินโดยสาร แล้วขับเครื่องบินพุ่งเข้าชนตึก.... แล้วทำเป็นแบบสอบถาม.... ถามคนซัก 100 คน.... ผมเชื่อว่า คนส่วนใหญ่ จะตอบว่า มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก....

        แต่ถ้าถามคำถามเดียวกัน.... วันนี้ 30 มีนาคม พ.ศ 2547 ( ค.ศ 2004 ) ผมเชื่อว่า คำตอบของคนส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทาง.... โอกาศที่จะเกิดเพิ่มขึ้น .... จากคำตอบเดิม ....

คำถามก็คำถามเดิม.... วันเวลาเปลี่ยนไป.... ทำไมคำตอบไม่เหมือนเดิม....

คือ เราพยายามจะอธิบายว่า.... บางเรื่องเราสามารถวัดโอกาส หรือ ความน่าจะเป็น ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้ แต่ในขณะที่บางเรื่องเราไม่สามารถทำเช่นนั้นได้.... ( หรือ ถ้าจะทำจริงๆ ก็อาจจะทำได้ แต่คงจะยุ่งยากซับซ้อนมาก )


คณิตศาสตร์ กะ ความเสี่ยง....

        คณิตศาสตร์ ไม่ได้เป็นเครื่องมื่อที่ ช่วยป้องกันความเสี่ยง แต่ คณิตศาสตร์ สามารถนำมาใช้เป็น เครื่องมือช่วยประเมินระดับความเสี่ยงที่เราต้องเผชิญ

แนวคิดในการใช้คณิตศาสตร์ในการประเมินค่าความเสี่ยงไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ .... ย้อนกลับไปเมื่อ คริสต์ศวรรษที่ 17.... นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส 2 คน คือ Pascal และ Fermat เคยแสดงให้เห็นว่า.... คณิตศาสตร์สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการคำนวณหามูลค่าของความเสี่ยงได้ ทั้งสองได้คิดค้นวิธี การคำนวณหาความน่าจะเป็นของผลลัพธ์จากการพนันทอยลูกเต๋า .... ดังตัวอย่างต่อไปนี้

นาย ก. ทอยลูกเต๋าแข่งกับ นาย ข. โดยตกลงกันว่าผู้ชนะมากที่สุด 5 ครั้ง จะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน.... สมมุติหลังการทอยไปแล้ว 3 ครั้ง ปรากฏว่า นาย ก. ชนะ 2 แพ้ 1....

    เกมส์ที่ 1     เกมส์ที่ 2     เกมส์ที่ 3     เกมส์ที่ 4     เกมส์ที่ 5  
  นาย ก.   ชนะ แพ้ ชนะ    
  นาย ข.   แพ้ ชนะ แพ้    

คำถามที่น่าสนใจตอนนี้ คือ หากรางวัลในการทายถูกว่า นาย ข. จะชนะการแข่งขันเป็นเงิน 100 บาท ควรคิดเงินค่ารับแทงในการทายผลนี้เท่าไหร่ดี ถึงจะเป็นตัวเลขที่ยุติธรรม ?

Pascal และ Fermat ใช้คณิตศาสตร์แสดงให้เห็นว่า ราคารับแทงที่ 25 บาท เป็นตัวเลขที่ยุติธรรมที่สุดสำหรับ ผู้ทาย และ เจ้ามือ....


มาดูกันว่า ทำไม จึงเป็น 25 บาท

เหตุการณ์ที่เหลือที่ เป็นไปได้ทั้งหมดของการพนัน ของนาย ข. คือ....

  เหตุการณ์ที่     เกมส์ที่ 1     เกมส์ที่ 2     เกมส์ที่ 3     เกมส์ที่ 4     เกมส์ที่ 5     ผลสรุปของเกมส์  
  1   แพ้ ชนะ แพ้ ชนะ ชนะ นาย ข. ชนะ
  2   แพ้ ชนะ แพ้ ชนะ แพ้ นาย ข. แพ้
  3   แพ้ ชนะ แพ้ แพ้ ชนะ นาย ข. แพ้
  4   แพ้ ชนะ แพ้ แพ้ แพ้ นาย ข. แพ้

นั้นคือ มีเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ 4 เหตุการณ์.... ดังตารางข้างบน.... ซึ่ง นาย ข.จะชนะการแข่งขันครั้งนี้ ถ้าเหตุการณ์ที่ 1 เกิดขึ้นเท่านั้น....



จำนวนที่จะเกิดเหตุการณ์ที่เราคาดหวัง   =   1   =   0.25       หรือคิดเป็น % ก็จะได้ 25%


จำนวนเหตุการณ์เป็นไปได้ทั้งหมด4


นั้นคือ ณ ตอนนี้ ถ้าผลตอบแทนของการทายผลผู้ชนะการทอยเต๋า ถูกต้อง คือ 100 บาท
ควรตั้งราคารับแทง....
 แทงว่านาย ข. ชนะ ที่ราคา 25 บาท
 แทงว่านาย ก. ชนะ ที่ราคา 75 บาท


แฮะ แฮะ ไม่ได้ชี้แนะ หรือ ส่งเสริมให้เล่นการพนันน่ะ การพนัน เป็น อบายมุข เป็นหนทางแห่งความเสื่อม...


นั้นคือจะเห็นว่า เราสามารถใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการช่วยประเมินความเสี่ยง ได้....


จัดการมันซะ ....อย่าปล่อยให้มันลอยนวล....

        จั่วหัวเรื่องซะน่ากลัวเลย.... ไม่ได้จะไปฆ่าแกงกะใคร.... ที่ให้จัดการ คือ จัดการเจ้าความเสี่ยง หรือที่เรียกว่า "การบริหารความเสี่ยง" หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Risk Management" ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้....

  1)       Risk Identification คือ การค้นหาว่า มีความเสี่ยงอะไรบ้าง ในระบบเรา

2)   Risk Assessment คือ การประเมินว่า ความเสี่ยงนั้น มี โอกาสที่จะเกิดขึ้น มากน้อยแค่ไหน และ มี ระดับความรุนแรง มากน้อยเพียงใด

3)   Risk Control คือ การหาวิธีการควบคุม ( หรือ Control ) มาใช้ เพื่อ กำจัด หรือ ลด ความรุนแรง และ โอกาสที่จะเกิดขึ้น ของความเสี่ยงนั้นๆ

4)   Monitor คือ การติดตาม และ ประเมินผล เจ้า Control ที่เราใส่เข้าไปในระบบเพื่อ ลด/ขจัด ความเสี่ยงว่า ใช้งานได้ผลมากน้อยแค่ไหน ....

5)   กลับไปทำข้อ 1) ใหม่


วัตถุประสงค์ของการทำ Risk Assessment
 
  - เพื่อแยก Major Risk ออกจาก Minor Risk
 
  - จะได้ ทราบลำดับความสำคัญ และ สามารถจัดลำดับความสำคัญว่า Risk ไหนควรแก้ไข ก่อนหรือหลัง ได้อย่างเหมาะสม


กระเจี่ยงความส่าย.... กระจายความเสี่ยง....

        ภารกิจ : หนูต้น ต้องหา ซาลาเปาไส้หมูแดง 12 ลูกไปให้ หนูปุ้น....

สมมุติว่าหนูต้น ซื้อ ซาลาเปาไส้หมูแดง 12 ลูก สำเร็จเรียบร้อย....

( ดูวิธีเลือกซื้อซาลาเปาได้ในเรื่อง "   Management Needs   " )

เหลือแค่เพียงนำ ซาลาเปาไส้หมูแดง ทั้ง 12 ลูกไปส่งให้ถึงมือหนูปุ้น....

เทวดาดลใจ.... หนูต้น เกิดความคิดขึ้นว่า.... นี้ถ้าเรานั่งรถเมล์ ขน ซาลาเปาไส้หมูแดง ทั้ง 12 ลูกนี้ ไปให้ หนูปุ้น.... แล้วบังเอิญ เจ้ารถเมล์คันที่เราขึ้น.... คนขับดันทะลึ่งไปกินยาบ้า.... เห็นท่าว่า ซาลาเปาไส้หมูแดง ทั้ง 12 ลูกนี้ จะส่งไม่ถึงมือหนูปุ้น.... เป็นแน่แท้....

หนูต้นคิดได้ดังนั้น .... จึงแบ่งซาลาเปาทั้ง 12 ลูกใส่ถุงกอบแก๊บ 3 ถุง.... แต่ละถุงใส่ ซาลาเปาไส้หมูแดง 4 ลูก.... แล้วหนูต้นจึงนำ ถุงใส่ซาลาเปาถุงแรก มัดอย่างดี ก่อนที่จะผูกติดกะขานกพิราบ.... แล้วยกมือประนม.... ท่องบ่นพึมพำ

"เจ้าประคุณ.... ขอให้ซาลาเปาไส้หมูแดง ทั้ง 4 ลูกนี้ บินไปถึงมือหนูปุ้น....
ขอให้นกน้อยตัวนี้ แคล้วคลาดรอดพ้นจาก โรคไข้หวัดนก ด้วยเถิด....
"

แล้ว หนูต้นจึงปล่อยนกพิราบให้บินไปยังบ้านหนูปุ้น....

บังเอิญมี ช้างพเนจร เดินผ่านมาใกล้ หนูต้น.... หนูต้นจึงจ้างควาญช้าง ให้นำ ถุงใส่ซาลาเปาถุงที่สอง.... ไปส่งยังบ้านหนูปุ้น....

ส่วน ถุงใส่ซาลาเปาถุงที่สาม.... ถุงสุดท้าย.... หนูต้นนำติดตัวขึ้นรถเมล์.... แล้วจึงเดินออกทางไปหาหนูปุ้น....

สิ่งที่หนูต้นกระทำลงไป เป็น การลดโอกาศที่จะสูญเสีย ซาลาเอาไส้หมูแดง ทั้ง 12 ลูก .... หรือ เรียกว่า เป็น การกระจายความเสี่ยง ....


กระจายความเสี่ยง.... ภาค 2

        มาดูกันว่า.... ผลลัพธ์ของการกระจายความเสี่ยง .... เป็นอย่างไร ....

กรณีที่ 1 : สมมุติว่า หนูต้นตัดสินใจกระโดดขึ้นรถเมล์ นำซาลาเปาไส้หมูแเดงทั้ง 12 ลูกไปให้ หนูปุ้น....

ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้มี 2 แบบ คือ....
  1)   หนูปุ้น ได้รับ ซาลาเปาไส้หมูแดง 12 ลูก
  2)   หนูปุ้น ไม่ได้รับ ซาลาเปาไส้หมูแดง 12 ลูก


กรณีที่ 2 : สมมุติว่า หนูต้นแบ่งซาลาเปาไส้หมูแดง 12 ลูกใส่ถุงก๊อบแก๊บ 3 ใบ.... ถุงแต่ละใบ ใส่ซาลาเปาไส้หมูแดง ถุงละ 4 ลูก .... ถุงใบแรกฝาก นก บินไปส่ง.... ถุงที่ 2 ฝากช้าง เดินไปส่ง.... ถุงที่ 3 ถุงสุดท้าย หนูต้นนำไปส่งเอง....

ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้มี 8 แบบ คือ....
  1)   หนูปุ้น ได้รับ ซาลาเปาไส้หมูแดงครบทั้ง 12 ลูก
( ได้มาจาก นก 4 ลูก และ ได้จาก ช้าง 4 ลูก และ ได้จาก หนูต้น 4 ลูก )
 
 
  2)   หนูปุ้น ได้รับ ซาลาเปาไส้หมูแดง แค่ 8 ลูก
( ได้มาจาก นก 4 ลูก และ ได้จาก ช้าง 4 ลูก .... ส่วน หนูต้น ทำซาลาเปาหายไป 4 ลูก )
 
  3)   หนูปุ้น ได้รับ ซาลาเปาไส้หมูแดง แค่ 8 ลูก
( ได้มาจาก นก 4 ลูก และ ได้จาก หนูต้น 4 ลูก ส่วน .... ช้างทำซาลาเปาหายไป 4 ลูก )
 
  4)   หนูปุ้น ได้รับ ซาลาเปาไส้หมูแดง แค่ 8 ลูก
( ได้มาจาก ช้าง 4 ลูก และ ได้จาก หนูต้น 4 ลูก .... ส่วน นกทำซาลาเปาหายไป 4 ลูก )
 
 
  5)   หนูปุ้น ได้รับ ซาลาเปาไส้หมูแดง แค่ 4 ลูก
( ได้มาจาก นก 4 ลูก และ ส่วน ช้าง ทำซาลาเปาหายไป 4 ลูก และ หนูต้น ก็ทำซาลาเปาหายไป 4 ลูก )
 
  6)   หนูปุ้น ได้รับ ซาลาเปาไส้หมูแดง แค่ 4 ลูก
( ได้มาจาก ช้าง 4 ลูก และ ส่วน นก ทำซาลาเปาหายไป 4 ลูก และ หนูต้น ก็ทำซาลาเปาหายไป 4 ลูก )
 
  7)   หนูปุ้น ได้รับ ซาลาเปาไส้หมูแดง แค่ 4 ลูก
( ได้มาจาก หนูต้น 4 ลูก และ ส่วน ช้าง ทำซาลาเปาหายไป 4 ลูก และ นก ก็ทำซาลาเปาหายไป 4 ลูก )
 
 
  8)   หนูปุ้น ไม่ได้รับ ซาลาเปาไส้หมูแดงซักกะลูก




ยั ง ไ ม่ จ บ น่ ะ


เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
  -   CISA Review Area 1 : Question   4     ( Risk Assessment )
  -   CISA Review Area 1 : Question   6     ( Risk Assessment )
  -   CISA Review Area 1 : Question 54     ( Risk Assessment )
  -   CISA Review Area 1 : Question 55     ( Risk Assessment )
  -   CISA Review Area 1 : Question 59     ( Type Of Risks )
  -   CISA Review Area 1 : Question 35     ( Type Of Risks )
  -   CISA Review Area 1 : Question 46     ( Detection Risk )
 
  -   Basel II    

  [email protected]  



จำนวนผู้เยี่ยมชม   :   Counter ดูรายละเอียดของผู้เยี่ยมชม
ปรับปรุงครั้งล่าสุด   :   วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ 2547
ถือกำเนิด   :   วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ 2547

Powered By Ton & Poon
Hosted by www.Geocities.ws

1