ต้ปุ้.    

  หน้าหลัก  
  สินค้า & บริการ  
  บริการหลังการขาย  
  เกี่ยวกับพวกเรา  



  เรื่องดีๆ มีไว้แบ่งปัน  
  ขำขัน & แปลก  
  จิตวิญญาณ  
 
  ห้องเรียน  
  เรียนภาษาอังกฤษ  
  Gravity Probe B  
  รอบเดือนครั้งสุดท้าย  
  สามเหลี่ยมของคุณอาพิทากอรัส  
  การป้องกัน และ ระงับเหตุอัคคีภัย  
 
  เตรียมตัวสอบ CISA  
  How to lose your customer in 10 days ?  
  Success of the Leader  
  Proxy Server คือ ....  
  Management Needs  
  BCP   &   DRP  
  IT Objective  
  Objective  
  Basel II  
  Control  
  Leader  
  Risk  
NPV
 
  Computer NetWorking  
  Linux  



  บทเพลง  
  Link  
  ปิงปอง  


   
  ไทย  
   
 
NPV   ( Net Present Value )


NPV คือ มูลค่าผลตอบแทนปัจจุบันสุทธิ ( อย่าพึ่งตกใจ !!!! อย่าพึ่งงง !!!! ทนอ่านต่อไปเดียวก็รู้เรื่องเองแหละ.... )

สมมุติ น่ะครับ สมมุติ.... สมมุติว่าเราอาศัยอยู่ในเมืองหอมหอม ซึ่งเป็นเมืองเหมือนๆ กับที่เราอาศัยกันอยู่นี้แหละ ต่างกันตรงที่ กฏหมายของเมืองนี้กำหนดไว้ว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารเท่ากับ 2% ต่อปี ไม่ว่าสภาวะเศรษกิจจะดี หรือ เลวร้ายเพียงใด... ยังไง ยังไง ก็จ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก 2 % ต่อปี

นั้นคือ ถ้าวันนี้เรามีเงิน 100 บาท แล้วเราทิ้งไว้เฉยๆ ( ทิ้งไว้ในบัญชีเงินฝากของธนาคารน่ะ.... เอาไปโยนใส่โอ่งหลังบ้าน.... ไม่เข้าเงื่อนไขนี้น่ะ.... ) 1 ปีผ่านไปเงิน 100 บาทของเราจะกลายเป็น 102 บาท....

หรือจะพูดอีกนัยหนึ่งได้ว่า เงิน 100 บาท ของวันนี้ มีค่าเท่ากับ เงิน 102 บาทของปีหน้า....

หรือจะพูดใหม่ได้ว่า เงินในอนาคตอีก 1 ปีข้างหน้า จำนวน 102 บาท มีค่าเท่ากับเงิน 100 บาทของวันนี้....

 ระยะเวลาผ่านไป  
( ปี )
 เงินต้น  
( บาท )
 ดอกเบี้ยที่ได้รับประจำปี  
( บาท )
  รวมดอกเบี้ยที่ได้รับทั้งหมด  
( บาท )
1 ปี   100.0000 บาท   2.0000 บาท 2.0000 บาท
2 ปี 102.0000 บาท 2.0400 บาท 4.0400 บาท
3 ปี 104.0400 บาท 2.0808 บาท 6.1208 บาท
4 ปี 106.1208 บาท 2.1224 บาท 8.2432 บาท
5 ปี 108.2432 บาท 2.1649 บาท 10.4081 บาท
6 ปี 110.4081 บาท 2.2081 บาท 12.6162 บาท
7 ปี 112.6162 บาท 2.2523 บาท 14.8686 บาท
8 ปี 114.8686 บาท 2.2974 บาท 17.1659 บาท
9 ปี 117.1659 บาท 2.3433 บาท 19.5093 บาท
10 ปี 119.5093 บาท 2.3902 บาท 21.8994 บาท
.... .... .... ....
15 ปี 131.9479 บาท 2.6390 บาท 34.5868 บาท
.... .... .... ....
20 ปี 145.6811 บาท 2.9136 บาท 48.5947 บาท
.... .... .... ....
25 ปี 160.8437 บาท 3.2169 บาท 64.0606 บาท
.... .... .... ....
30 ปี 177.5845 บาท 3.5517 บาท 81.1362 บาท
.... .... .... ....
35 ปี 196.0676 บาท 3.9214 บาท 99.9890 บาท
.... .... .... ....
40 ปี 216.4745 บาท 4.3295 บาท 120.8040 บาท
.... .... .... ....
45 ปี 239.0053 บาท 4.7801 บาท 143.7854 บาท
.... .... .... ....
50 ปี 263.8812 บาท 5.2776 บาท 169.1588 บาท
.... .... .... ....
75 ปี 432.9250 บาท 8.6585 บาท 341.5835 บาท
.... .... .... ....
100 ปี 710.2594 บาท 14.2052 บาท 624.4646 บาท
.... .... .... ....
150 ปี 1911.7260 บาท 38.2345 บาท 1849.9600 บาท
.... .... .... ....
200 ปี 5145.578 บาท 102.9116 บาท 5148.4900 บาท


นั้นคือ ถ้าเราฝากเงิน 100 บาททิ้งไว้ใน ธนาคารหอมหอม.... แล้วลืมมันไปซะ.... ปล่อยเวลาผ่านไป 200 ปี.... กลับไปถอนเงินจาก ธนาคารหอมหอม.... จะพบว่า....

เงินต้น 100 บาทของเรา กลายเป็นเงินจำนวน 5248.50 บาท


นั้นคือเราสามารถกล่าวได้ว่า.... สำหรับเมืองหอมหอม....

เงินจำนวน 5248.50 บาทในอีก 200 ปีข้างหน้า มีค่าเท่ากับเงิน 100 บาทของวันนี้



อยากได้สมการสำหรับคำนวนหาค่าเงินในอนาคตเมื่อเราทราบ อัตราดอกเบี้ย , เงินต้น

กำหนดให้ ....
อัตราดอกเบี้ยมีค่าเป็น   ร้อยละ i บาท/ปี
 
เงินต้น m บาท



ปีที่ 1

ฝากเงิน   100   บาท ครบ   1   ปี เราจะ ได้ดอกเบี้ย     i     บาท
 
ฝากเงิน   m   บาท ครบ   1   ปี เราจะ ได้ดอกเบี้ย    
m x i

100
    บาท


นั้นคือ เมื่อครบกำหนดเวลา 1 ปี เราจะมีเงินรวมทั้งสิ้น      
m +   m x i     บาท

100
 
 
=      
100 x m     +   m x i     บาท


100100
 
 
=      
( 100 + i ) x m     บาท

100
 
 
 
เพื่อความสะดวก เราจะกำหนดให้       m1 =      
( 100 + i )   x m     บาท  

100
    ---- สมการที่ 1

ซึ่ง m1 ก็คือ เงินต้น ของปีที่ 2 นั้นเอง



ปีที่ 2

ฝากเงิน   100   บาท ครบ   1   ปี เราจะ ได้ดอกเบี้ย     i     บาท
 
ฝากเงิน   m1   บาท ครบ   1   ปี เราจะ ได้ดอกเบี้ย    
m1 x i

100
    บาท


นั้นคือ เมื่อครบกำหนดเวลา 2 ปี เราจะมีเงินรวมทั้งสิ้น      
m1 +   m1 x i     บาท

100
 
 
=      
( 100 + i )   x   m1       บาท

100
 
 
แทนค่า m1 ด้วย สมการ 1   จะได้....       =      
( 100 + i )   x   ( 100 + i )   x   m       บาท


100100
    ---- สมการที่ 2



นั่งมองสมการที่ 1 และ 2.... ทำให้เข้าใจได้ว่า....
เมื่อครบกำหนดเวลา n ปี เราจะมีเงินรวมทั้งสิ้น       =      
  n  
m x     (   ( 100 + i )   )       บาท     ---- สมการที่ 3

100
 
 



กำหนด ( จะได้ดูเท่ห์ๆ... ) ดังนี้
Future Value   ( FV )     คือ เงินที่เราจะได้ในอนาคต
Present Value   ( PV )     คือ เงินต้น ณ เวลาปัจุบัน


เราจะเขียนสมการที่ 3 ได้ใหม่ดังนี้
FV       =      
  n  
PV x     (   ( 100 + i )   )       บาท     ---- สมการที่ 4

100
 
 



ตัวอย่าง....

        อยากทราบว่าถ้าเรานำเงินไปฝากที่ธนาคารจำนวน 100 บาท นาน 20 ปี โดยธนาคารคิดดอกเบี้ยให้เราทุกปี ด้วยอัตรา ร้อยละ 2 บาท/ปี เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 20 ปี เราจะมีเงินเท่าไร ?

วิธีทำ     จากโจทย์ เราตีความได้ว่า....
FV   =   เท่าไรไม่รู้.... โจทย์ต้องการทราบค่า FV นี้แหละ
PV   =   100 บาท
i   =   ร้อยละ 2 บาท/ปี
n   =   20 ปี


จากสมการที่ 4
FV       =      
  n  
PV x     (   ( 100 + i )   )       บาท

100
 
    ---- สมการที่ 4

แทนค่าตัวแปรต่างๆ เข้าไป....
FV       =      
  20  
100   x     (   ( 100 + 2 )   )       บาท

100
 
 
      =       100   x   1.0220   บาท
 
      =       100   x   1.4859473959783543420355740092833   บาท
 
      =       148.5947   บาท


นั้นคือ ถ้าเรานำเงินไปฝากที่ธนาคารจำนวน 100 บาท นาน 20 ปี โดยธนาคารคิดดอกเบี้ยให้เราทุกปี ด้วยอัตรา ร้อยละ 2 บาท/ปี เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 20 ปี เราไปถอนเงินจากธนาคาร ( ปิดบัญชี ) เราจะมีเงิน 148.5947   บาท



เปลี่ยนชื่อเรียก อัตราดอกเบี้ย


        สมมุติว่า เรา เปลี่ยนจากการฝากเงินธนาคาร.... เป็นการนำเงินไปลงทุนทำกิจการอะไรสักอย่าง.... ซึ่งอาจจะได้กำไร หรือขาดทุน....

เราจะประยุกต์ สมการที่ 4 มาใช้คำนวณ.... โดยเราจะเปลี่ยนการเรียกค่า i จาก อัตราดอกเบี้ย เป็น ....

อัตราส่วนลด หรือ อัตราส่วนผลตอบแทนการลงทุน



แหล่งข้อมูล   :  -   วารสาร eLeader ปีที่ 14 February 2003 ฉบับที่ 168
คอลัมน์ : Consult Research & IT Consult
เรื่อง "การคำนวณค่าการตอบแทนของการลงทุน ( ROI )"
หน้า 68 - 73 ( 6 หน้า )
เขียนโดย วสุวัฒน์ ปันวรนุชกุล
 
 -   วารสาร eLeader Vol.15 No.9 September 2003
คอลัมน์ : Consult Research & SI Outsourcing
เรื่อง "หวังผล ROI บนพื้นฐานธุรกิจแบบ BI"
หน้า 65 - 68 ( 4 หน้า )
เขียนโดย สิทธิชัย สิทธิกุล







  [email protected]  



จำนวนผู้เยี่ยมชม   :   Counter ดูรายละเอียดของผู้เยี่ยมชม
ปรับปรุงครั้งล่าสุด   :   วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ 2547
ถือกำเนิด   :   วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ 2547

Powered By Ton & Poon
Hosted by www.Geocities.ws

1