ลำดับอธิการ ประวัติการเชียร์และแปรอักษร ประวัติคุณพ่อกอลมเบต์ ประวัติภราดา ฟ.ฮีแลร์ ประวัติภราดา มาร์ติน
พัฒนาการอาคาร คุณพ่อกอลมเบต์กับอัสสัมชัญ "บราเดอร์ ฮีแลร์ผู้จากไปอย่างไม่มีวันกลับ" อัสสัมชัญของเรา เพลงโรงเรียน&เพลงเชียร์ ดรุณศึกษา อัสสัมชนิก
 
          การบอกบุญของคุณพ่อทราบไปถึงพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โดยผ่านทางพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
      สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และสมเด็จพระอัครมเหสีมีพระราชศรัทธา บริจาคนำเป็นเงิน 50ชั่ง
      และ 25ชั่ง ตามลำดับ  บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นสูงต่างร่วมบริจาคตามเสด็จพระราชกุศลครั้งนี้เป็นอันมากประชาชน
      ทั่วไปที่เป็นชาวสยาม  ต่างมีจิตศรัทธาร่วมบุญ  และชาวต่างชาติก็ร่วมกันบริจาคในโครงการของคุณพ่อกอลมเบต์จนสามารถรวบรวมปัจจัย
      ได้พอเพียง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จฯเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
          ในวันที่ 15 สิงกาคม ค.ศ. 1887(พ.ศ.2430) ซึ่งตรงกับวันฉลอง แม่พระได้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ คุณพ่อกอลมเบต์
      ถือเป็นวันฤกษ์ดีที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิ-
      ราชสยามกุฎราชกุมาร เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เสด็จมาวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนหลังใหม่
          อาคารเรียนหลังใหม่ได้ทำการก่อสร้างต่อมาจนสำเร็จ เมื่อ ค.ศ.1890(พ.ศ.2433) รับนักเรียนได้เพิ่มขึ้นเป็น400คน ในเวลา 6 ปีต่อมา
      เป็นนักเรียนที่มาจากครอบครัวของคนทุกชนชั้น อาชีพ ทุกเชื้อชาติ ศาสนา  ที่มีอยู่ในดินแดนสยามขณะนั้น และเมื่อต่อมาในภายหลัง  เมื่อมี
      การก่อสร้างอาคารต่างๆเพิ่มขึ้นมาอีก อาคารเรียนที่เป็นตึกสร้างอย่างถาวรหลังแรกนี้ก็ได้รับขนานนามว่า  ตึกเก่า 
          การมีนักเรียนจำนวนมากขึ้นได้กลายเป็นปัญหาสำคัญสำหรับคุณพ่อกอลมเบต์ เพราะโดยสถานะภาพของท่านมีภารกิจทางศาสนาอันเป็น
      กิจกรรมในวัดอัสสัมชัญ  ทั้งในด้านการประกอบศาสนพิธีและอภิบาลจิตวิญญาณของชาวคาทอลิก เมื่อต้องมีภาระบริหารการเรียนการสอน
      ในโรงเรียนซึ่งจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจึงเป็นภาระที่หนักมากสำหรับท่าน  ดังนั้นเมื่อได้กลับไปพักผ่อนในประเทศฝรั่งเศส ค.ศ.1900
      (พ.ศ.2443)  ท่านจึงได้ติดต่อกับคณะภราดาเซนต์คาเบรียล เพื่อขอบุคลากรมาช่วยจัดการเรียนการสอนโรงเรียนอัสสัมชัญที่กรุงเทพฯต่อไป
          หลังจากที่คณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศฝรั่งเศสได้ส่งคณะภราดามาบริหารโรงเรียนอัสสัมชัญ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1901(พ.ศ.2444)
      แล้วกิจการก็เจริญก้าวหน้าเป็นอันมาก จึงขยับขยายสร้างโรงเรียนในเครือข่าย คือโรงเรียนเซนคาเบรียลขึ้นที่สามเสน กรุงเทพฯ
           การที่คณะเซนต์คาเบรียลในฝรั่งเศสอนุญาตให้ภราดา5รูปแรกเดินทางมายังสยามประเทศเพื่อมารับภารกิจของโรงเรียนอัสสัมชัญต่อจาก
      คุณพ่อกอลมเบต์นั้นได้ปรากฏให้เห็นผลที่ตามมาภายหลัง ในความงอกงามของ พืชพันธุ์อัสสัมชัญนั้นเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่าท่านทั้ง5
      มิได้มาตัวเปล่า หากแต่พกพาเอาจิตวิญญาณของความเป็นครูผู้เพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรม ความเสียสละ มาหว่านพืชพันธุ์ในอุดมคติของ
      ท่านบนผืนแผ่นดินใหม่ของท่านนี้
    คณะภราดาทั้ง 5 ได้ออกเดินทางจากฝรั่งเศสโดยทางเรือเมื่อวันที่22 กันยายน ค.ศ.1901(พ.ศ.2444)
มาถึงกรุงเทพฯ วันที่20 ตุลาคมในปีเดียวกัน  ภราดา 5 รูปแรกที่มาในครั้งนั้นเป็นชาวฝรั่งเศสจากแขวง
ภาคกลาง 4 รูป คือ ภราดาอาแบล ภราดากาเบรียล เฟเฟอดี ภราดาฮีแลร์ และภราดามาร์ติน เดอ ตูร์ 
อีกรูปหนึ่งเป็นชาวแคนาดา คือภราดาเอากุสตีผู้ได้รับเลือกให้เดินทางในคณะนี้เนื่องจากเป็นความรู้ภาษา
อังกฤษดี และอีก2-3เดือนหลังจากนั้น คือเดือนมกราคม ค.ศ.1902(พ.ศ.2445) คณะเซนต์คาเบรียลใน
ฝรั่งเศสได้ส่งภราดามาเพิ่มอีก 4รูปรวมเป็น 9 รูป ซึ่งหลังจากนั้นไม่กี่อาทิตย์เมื่อโรงเรียนเปิดคุณพ่อ-
กอลมเบต์เดินทางกลับมาจากฝรั่งเศสแล้วได้มอบโรงเรียนอัสสัมชัญให้คณะภราดาเซนต์คาเบรียลทั้ง 
9รูป ดูแลแทน โดยภราดามาร์ติน เดอ ตูร์ อายุ38ปีในขณะนั้น และอาวุโสที่สุดใน 5ณูปแรกที่เดินทางมาดำรง
ตำแหน่งอธิการของโรงเรียนอัสสัมชัญแทนคุณพ่อกอลมเบต์ ผู้ก่อตั้ง
ภราดามาร์ติน เดอ ตูร์
     
Thanks for coming
©Copyright 2002 Assumption College History All rights reserved.
Hosted by www.Geocities.ws

1