| Home | Webboard | Guestbook | Games | Download | About |    
Wellcome to Headage Thamma<<สวัสดีค่ะเพื่อนๆ โซนนี้เป็นเรื่องราวธรรมะที่อ่านง่ายๆ นำมาคัดให้อ่านกันค่ะ ไม่หนักไปสำหรับเราหรอกค่ะ อ่านวันละนิดจิตแจ่มใส ได้ความรู้ด้วย>>    
  เรียนรู้พุทธศาสนา

 เรียนรู้พระพุทธศาสนา
 หมวดของพระธรรม
 อริยสัจสี่
วิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
"บุญ" และ "กุศล"
บุญกิริยา 10
กุศลกรรมบถ 10
กาลามสูตร 10
ขันธ์ 5

 

 คำสอนและบทสวดมนต์
คาถาชินบัญชร
บทปลงสังขาร (มนุษย์เราเอ๋ย)
 คาถาสืบสร้างทางสวรรค์-นิพพาน
คาถาหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร
คาถาบูชาหลวงปู่ใหญ่ พระครูเทพโลกอุดร
คาถาหลวงปู่ศุข ( วัดมะขามเฒ่า )
คาถาเสริมทรัพย์
คาถาอยู่เย็น (หลวงพ่อโอภาสี )
คาถาบูชาหลวงพ่อทอง (วัดเขาตะเครา)
คำขอขมาพระรัตนตรัย
บทรำลึกพระคุณพ่อ-แม่
รักลูก........ลูกรัก
ทวัตติงสาการปาฐะ (อาการ32)

อริยสัจ 4
  

อริยสัจ 4  คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ

ข้อที่ 1 ทุกข์
   ทุกข์ หมายถึง สิ่งที่ทนได้ยาก ตรงกันข้ามกับสุขซึ่งแปลว่าสิ่งที่ทนได้ง่าย โดยใจความหมายถึง ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ทุกข์ จำแนกเป็น 3 ประเภท คือ
  1.1 ทุกข์ประจำ ได้แก่ ทุกข์ที่มีแก่ทุกคนตามธรรมชาติ มี 3 ประการ คือ
- ความเกิด ได้แก่ ความทุกข์ของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนกระทั่งคลอดแม้ทารกจะบอกใครไม่ได้ว่าเป็นทุกข์ แต่จากการที่ความเกิดที่มาของความทุกข์ที่ตามมาในภายหลังอีกมากมายจึงถือได้ว่าความเกิดเป็นทุกข์ - ความแก่ ได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดจากร่างกายเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมลง เช่น ผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยวย่น นัยน์ตาฝ้าฟาง หูตึง กำลังลดน้อยถอยลง มีความปวดเมื่อยทั่วร่างกาย ถึงคนจะยังไม่แก่มาก แต่ความไม่อยากแก่นั่นเอง ทำให้คนเป็นทุกข์ เพราะเป็นความอยากที่ทวนกระแสความเป็นไปตามธรรมชาติ
- ความตาย ได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดจากการสิ้นชีวิต เพราะทวนกระแสความต้องการของคน ทุกคนไม่อยากตาย อยากมีอายุยืน เมื่อถึงคราวจะต้องตาย จึงเกิดความทุกข์อย่างแสนสาหัส
   1.2 ทุกข์จร หรือ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว มี 8 ประการ คือ
-ความโศก ได้แก่ ความเศร้าใจ หรือความแห้ใจ
-ความพิไรรำพัน ได้แก่ ความคร่ำครวญ หรือความบ่นเพ้อ
-ความทุกข์ทางกาย ได้แก่ ความเจ็บไข้ หรือความบาดเจ็บ
-ความโทมนัส ได้แก่ ความไม่สบายใจ หรือความน้อยใจ
-ความคับแค้นใจ ได้แก่ ความตรอมใจ หรือความคับอกคับใจ
-ความประสบกับสิ่งที่ไม่รัก ไม่ชอบใจ
-ความพรัดพรากจากสิ่งที่รัก ที่ชอบใจ
-ความปรารถสิ่งใด แล้วไม่ได้สิ่งนั้น
   1.3 ทุกข์โดยรวบยอด ทุกข์ที่กล่าวข้างต้นทั้งหมดสรุปได้เพียงประการเดียว คือ การยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 เป็นทุกข์

ข้อที่ 2 สมุทัย
   ทุกข์สมุทัย (สมุทัยคือเหตุให้เกิด) แปลว่า เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา หรือความทะยานอยาก ซึ่งจำแนกได้ 3 ประการ
   1. กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม กาม หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ ความทะยานอยากในกาม จึงหมายถึง ความดิ้นรนอยากเห็นสิ่งที่สวยงาม อยากฟังเสียงที่ไพเราะ อยากดมกลิ่นที่หอม อยากลิ้มรสที่อร่อย อยากสัมผัสที่น่าใคร่น่าปรารถนา น่าพอใจ
   2. ภวตัณหา ความทะยานอยากในความเป็น คือ ดิ้นรนอยากเป็นบุคคลประเภทที่ตนชอบ เช่น นักร้อง นักแสดง นักการเมือง หรืออยากได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งก่อนใครๆ
   3. วิภวตัณหา ความอยากในความไม่มีหรือไม่เป็น คือ ดิ้นรนอยากไม่เป็นสิ่ที่เขาให้เป็นหรืออยากจะพ้นไปจากตำแหน่างที่เป็นอยู่แล้ว รวมทั้งอยากให้สิ่งนั้นสิ่งนี้หมดไป
      ตัณหาทั้ง 3. ประการนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์ที่เกิดจากตัณหาต้องเป็นทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ ไม่ใช่ทุกข์เพราะคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ของสิ่งที่ไม่มีมีชีวิต ตัณหาเป็ฯปัจจัยให้เกิดความยึดมั่นถือในตัวเอง และสิ่งต่างๆ ของตัวเอง ความยึดมั่นถือมั่นนี้เองเป็นตัวทุกข์

ข้อที่ 3 นิโรธ
   ทุกข์นิโรธ(นิโรธ-ความดับ)แปลว่า ความดับทุกข์ หมายถึง การดับ หรือการละตัณหา 3 ประการดังกล่าวแล้วได้ ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ถ้าดับเหตุได้ ทุกข์ซึ่งเป็นผลก็ดับไปเองเหมือนการดับไฟต้องดับที่เชื้อเพลิง เช่นฟีนหรือน้ำมัน นำเชื้อออกเสีย เมื่อเชื้อหมดไปไฟก็ดับเอง

ข้อที่ 4 มรรค
   ทุกข์นิโรธคามินีปฏิปทา(นิโรธ-ควาามดับ . คามินี-ให้ถึง. ปฏิปทา-ข้อปฏิบัติ)แปลว่า ข้อปฏิบัติให้ถึงความดัมทุกข์ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8. อริยมรรค แปลว่า ทางอันประเสริฐทางนั้นมีทางเดียวแต่มีองค์ประกอบ 8 ประการ ซึ่งดังต่อไปนี้
   1.สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ หมายถึงการรู้การเห็นอริยสัจ 4 อย่างถูกต้อง คือรู้ว่า ทุกข์ได้แก่อะไรบ้าง และเป็นทุกข์อย่างไร รู้ว่าตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ และตัณหานั้นควรละเสียรู้ว่าทุกข์จะดับไปเพราะว่าดับตัณหา และรู้ว่าอริยมรรคเป็นทางให้ดับตัณหาได้
   2.สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ หรืความคิดชอบ คือ มีความคิดออกจากกาม ไม่หลงใหลกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มีความคิดที่ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น และมีความคิดที่จะไม่เบียดเบียนผู้อื่น
   3.สัมมาวาจา การพูดชอบ ได้แก่ การเว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด คือ การพูดยุยงให้เขาแตกกัน การเว้นจากการพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ หรือการพูดไร้สาระ
   4.สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ ได้แก่ การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการลักทรัพย์ การเว้นจากการประพฤติผิดในกาม หรือการเว้นจากการกิจกรรมทางเพศ
   5.สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ การเว้นมิจฉาชีพที่สุจริตไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม
   6.สัมมาวายามะ ความพยายามชอบหรือความเพียรชอบ ได้แก่ ความเพียรระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้น ความเพียรละความชั่วที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป ความเพียรทำความดีให้เกิดขึ้น และความเพียรรักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู๋
   7.สัมมาสติ ความระลึกชอบ ได้แก่ ความมีสติระลึกได้ถึงความเป็นไปของร่างกายระลึกได้ถึงความเป็นไปของเวทนา ว่ามีความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆ ระลึกได้ถึงความเป็นไปของจิตว่าเศร้าหมองเพราะกิเลสชนิดใด หรือผ่องแผ้วเพราะปราศจากกเลสเหล่านั้น ระลึกได้ถึงธรรมต่างๆ ทั้งฝ่ายดีฝ่ายชั่ว และฝ่ายกลางว่า ธรรมชนิดใดผ่านเข้ามาในจิต
   8.สัมมาสมาธิ ความตั้งจิตมั้นชอบ ได้แก่ การทำจิตให้เป็นสมาธิ ผ่านระดับต่ำ ระดับกลาง ถึงระดับสูง ซึ่งมี 4 ระดับ คือ ฌานที่ ฌานที่2 ฌานที่ 3. ฌานที่ 4
      อริยมรรคมีองค์ 8 นี้ สามารถสังเคราะห์ลงเป็นศีล สมาธิ ปัญญาได้ ดังนี้คือ
การพูดชอบ การกระทำชอบ การเลียงชีพชอบ จัดเป็นศีล
ความพยายามชอบความระลึกชอบ ความตั้งจิตมั่นชอบ จัดเป็นสมาธิ
ความเห็นชอบ ความดำริชอบ จัดเป็นปัญญา


| Home |


ThaiHeadage ©2004 all reserve
Web design by chim , Contace Webmaster


Hosted by www.Geocities.ws

1