| Home | Webboard | Guestbook | Games | Download | About |    
Wellcome to Headage Thamma<<สวัสดีค่ะเพื่อนๆ โซนนี้เป็นเรื่องราวธรรมะที่อ่านง่ายๆ นำมาคัดให้อ่านกันค่ะ ไม่หนักไปสำหรับเราหรอกค่ะ อ่านวันละนิดจิตแจ่มใส ได้ความรู้ด้วย>>    
  เรียนรู้พุทธศาสนา

 เรียนรู้พระพุทธศาสนา
 หมวดของพระธรรม
 อริยสัจสี่
วิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
"บุญ" และ "กุศล"
บุญกิริยา 10
กุศลกรรมบถ 10
กาลามสูตร 10
ขันธ์ 5

 

 คำสอนและบทสวดมนต์
คาถาชินบัญชร
บทปลงสังขาร (มนุษย์เราเอ๋ย)
 คาถาสืบสร้างทางสวรรค์-นิพพาน
คาถาหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร
คาถาบูชาหลวงปู่ใหญ่ พระครูเทพโลกอุดร
คาถาหลวงปู่ศุข ( วัดมะขามเฒ่า )
คาถาเสริมทรัพย์
คาถาอยู่เย็น (หลวงพ่อโอภาสี )
คาถาบูชาหลวงพ่อทอง (วัดเขาตะเครา)
คำขอขมาพระรัตนตรัย
บทรำลึกพระคุณพ่อ-แม่
รักลูก........ลูกรัก
ทวัตติงสาการปาฐะ (อาการ32)

วิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
(จากคู่มือการฝึกอบรมพัฒนาจิต ของหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี )
  
1. การเดินจงกรม  ก่อนเดินให้ยกมือไขว้หลังมือขวาจับข้อมือซ้ายวางไว้ตรงกระเบนเหน็บ ยืนตัวตรง เงยหน้า หลับตา ให้สติจับอยู่ที่ปลายผม กำหนดว่า ยืนหนอ ช้าๆ 5 ครั้ง เริ่มจากศรีษะลงมาปลายเท้า และจากปลายเท้าขึ้นไปบนศรีษะ กลับขึ้นกลับลงจนครบ 5 ครั้ง แต่ละครั้งแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก คำว่า ยืน จิตวาดมโนภาพ ร่างกายจากศรีษะลงมาหยุดที่สะดือ คำว่าหนอ จากสะดือลงไปปลายเท้า กำหนดขึ้นคำว่า ยืน , จากปลายเท้ามาหยุดที่สะดือ คำว่า หนอ จากสะดือขึ้นไปปลายผมกำหนด กลับไป,กลับมา จนครบ 5 ครั้ง ขณะนั้น ให้สติอยู่ที่ร่างกาย อย่าให้ออกนอกกาย เสร็จแล้วลืมตาขึ้น ก้มหน้าทอดสายตาไปข้างหน้าประมาณ 4 ศอก สติจับอยู่ที่เท้า การเดิน กำหนดว่า ขวา ย่างหนอ กำหนดในใจ คำว่า ขวา ต้องยกส้นเท้าขวาขึ้นจากพื้นประมาณ 2 นิ้ว เท้ากับใจ นึกต้องให้พร้อมกัน ย่าง ต้องก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าช้าที่สุดเท้ายังไม่เหยียบพื้น คำว่า หนอ เท้าลงถึงพื้นพร้อมกัน เวลายกเท้าซ้ายก็เหมือนกัน กำหนดว่า ซ้าย ย่าง หนอ คงปฏิบัติเช่นเดียวกันกับ ขวา ย่าง หนอ ระยะก้าวในการเดินห่างกันประมาณ 1 คืบ เป็นอย่างมาก เพื่อการทรงตัวขณะก้าวจะได้ดีขึ้น เมื่อเดินสุดสถานที่ใช้แล้ว ให้นำเท้ามาเคียงกัน เงยหน้าหลับตา กำหนด ยืน หนอ ช้าๆ อีก 5ครั้ง เหมือนกับที่ได้อธิบายมาแล้ว ลืมตา ก้มหน้า ท่ากลับ การกลับกำหนดว่า กลับหนอ 4 ครั้ง คำว่ากลับหนอครั้งที่ 1 ยกปลายเท้าขวา ใช้ส้นเท้าขวาหมุนตัวไปทางขวา 90 องศา ครั้งที่ 2 ลากเท้าซ้ายมาติดกับเท้าขวา ครั้งที่ 3 ทำเหมือนครั้งที่ 1 ครั้งที่ 4 ทำเหมือนครั้งที่ 2 ขณะนี้ จะอยู่ในท่ากลับหลัง แล้วต่อไปกำหนด ยืน หนอ ช้าๆอีก 5 ครั้ง ลืมตาก้มหน้าแล้วกำหนดเดินต่อไป กระทำเช่นนี้จนหมดเวลาที่ต้องการ

     2. การนั่ง กระทำต่อจากการเดินจงกรม อย่าให้ขาดตอนลง เมื่อเดินจงกรมถึงที่จะนั่ง ให้กำหนดยืน หนอ อีก 5 ครั้ง ตามที่กระทำมาแล้วเสียก่อน แล้วกำหนด ปล่อยมือลง ข้างตัวว่า ปล่อยมือหนอ ปล่อยมือหนอ ปล่อยมือหนอ ปล่อยมือหนอ ช้าๆ จนกว่าจะลงสุด เวลานั่งค่อยๆ ย่อตัวลงพร้อมกับกำหนด ตามอาการที่ทำไปจริงๆ เช่น ย่อตัวหนอ ย่อตัวหนอ ย่อตัวหนอ ย่อตัวหนอ เท้าพื้นหนอ เท้าพื้นหนอ เท้าพื้นหนอ เท้าพื้นหนอ คุกเข่าหนอ คุกเข่าหนอ คุกเข่าหนอ คุกเข่าหนอ นั่งหนอ นั่งหนอ นั่งหนอ นั่งหนอ เป็นต้น
    วิธีนั่ง ให้นั่งขัดสมาธิ คือขาขวาทับขาซ้ายนั่งตัวตรง หลับตาเอาสติมาจับอยู่ที่สะดือ ที่ท้องพองยุบ เวลาหายใจเข้าท้องพอง กำหนดว่า พองหนอ ใจนึกกับท้องที่พองต้องให้ทันกัน อย่าให้ก่อนหรือหลังกัน หายใจออกท้องยุบ กำหนดว่า ยุบหนอ ใจนึกกับท้องที่ยุบต้องทันกัน อย่าให้ก่อนหรือหลังกัน ข้อสำคัญให้สติจับอยู่ที่ พอง ยุบ เท่านั้น อย่าดูลมที่จมูก อย่าตะเบ็งท้อง ให้มีความรู้สึก ตามความเป็นจริงว่า ท้องพอง ไปข้างหน้า ท้องยุบมาข้างหลัง อย่าให้เห็นเป็นไปว่า ท้องพองขึ้นข้างบน ท้องยุบลงข้างล่าง ให้กำหนดเช่นนี้ตลอดไปจนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนด
    เมื่อมีเวทนา เวทนาเป็นเรื่องสำคัญที่สุด จะต้องบังเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติอย่างแน่นอน จะต้องมีความอดทน เพื่อเป็นการสร้างขันติบารมีไปด้วย ถ้าผู้ปฏิบัติ ขาดความอดทนเสียแล้ว การปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐานนั้นก็ล้มเหลว
    ในขณะที่นั่งหรือเดินจงกรมอยู่นั้น ถ้ามีเวทนาความเจ็บปวด เมื่อย คันๆ เกิดขึ้นให้หยุดเดิน หรือหยุดกำหนดพองยุบ ให้เอาสติไปตั้งไว้ที่เวทนาเกิด และกำหนดไปตามความเป็นจริงว่า ปวดหนอ ปวดหนอ ปวดหนอ ปวดหนอ เจ็บหนอ เจ็บหนอ เจ็บหนอ เจ็บหนอ เมื่อยหนอ เมื่อยหนอ เมื่อยหนอ เมื่อยหนอ คันหนอ คันหนอ คันหนอ คันหนอ เป็นต้น ให้กำหนดไปเรื่อยๆ จนกว่าเวทนาจะหายไปเมื่อเวทนาหายไปแล้ว ก็ให้กำหนดนั่งหรือเดินต่อไป

    จิต เวลานั่งอยู่หรือเดินอยู่ ถ้าจิตคิดถึงบ้าน คิดถึงทรัพย์สิน หรือคิดฟุ้งซ่านต่างๆนานา ก็ให้เอาสติปักลงที่ลิ้นปี่ พร้อมกำหนดว่า คิดหนอ คิดหนอ คิดหนอ คิดหนอ ไปเรื่อยๆๆๆ จนกว่าจิตจะหยุดคิด แม้ดีใจ เสียใจ หรือโกรธ ก็กำหนด เช่นเดียวกันว่า ดีใจหนอ ดีใจหนอ ดีใจหนอ ดีใจหนอ เสียใจหนอ เสียใจหนอ เสียใจหนอ เสียใจหนอ โกรธหนอ โกรธหนอ โกรธหนอ โกรธหนอ เป็นต้น

     เวลานอน เวลานอนค่อยๆเอนตัวนอนพร้อมกับกำหนดตามไปว่า นอนหนอ นอนหนอ นอนหนอ นอนหนอ จนกว่าจะนอนเรียบร้อย ขณะนั้นให้เอาสติจับอยู่กับอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อนอนเรียบร้อยแล้ว ให้เอาสติมาจับที่ท้อง แล้วกำหนดว่า พอง หนอ ยุบ หนอ ต่อไปเรื่อยๆให้คอยสังเกต ให้ดีว่า จะหลับไปตอนพอง หรือตอนยุบ

      อิริยาบถต่างๆ การเดินไปในที่ต่างๆ การเข้าห้องน้ำ การเข้าห้องส้วม การรับประทานอาหาร และการกระทำกิจการงานทั้งปวง ผู้ปฏิบัติต้องมีสติกำหนดอยู่ทุกขณะในอาการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง คือ มีสติสัมปชัญญะ เป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา

      หมายเหต การเดินจงกรมนั้น เราทำการเดินได้ถึง 6 ระยะ
        เดินจงกรม 6 ระยะ
1. ขวา......ย่าง......หนอ          ซ้าย.......ย่าง.....หนอ
2. ยก.......หนอ      เหยียบ........หนอ
3. ยก.......หนอ     ย่าง....หนอ      เหยียบ.....หนอ
4. ยกส้น......หนอ     ยก......หนอ     ย่าง.....หนอ      เหยียบ.....หนอ
5. ยกส้น......หนอ      ยก........หนอ      ย่าง......หนอ       ลง.....หนอ       ถูก......หนอ
6. ยกส้น.......หนอ     ยก........หนอ       ย่าง......หนอ       ลง......หนอ      ถูก......หนอ         กด.......หนอ


| Home |


ThaiHeadage ©2004 all reserve
Web design by chim , Contace Webmaster


Hosted by www.Geocities.ws

1