ศิลปและแหล่งผลิต

Page : 1  2  3  4  5  6

ถมนคร

            แหล่งผลิตเครื่องถมไทยนั้น ได้กล่าวแล้วว่าประวัติศาสตร์ของถมไทยเหนียวแน่นแน่นอนมาเมื่อ

รัชกาลที่ 2 ที่นครศรีธรรมราช  แถวหลังสโมสรข้าราชการในปัจจุบัน แต่พวกช่างส่วนมากมักอยู่ตามบ้าน

ทำงานมาส่งเป็นชิ้น ๆ ช่างถมฝีมือดีที่สุดใน 3 ชั่วคนมานี้ คือที่ร้านสุพจน์ อยู่หลังสถานีรถไฟปัจจุบัน

ร้านนี้เดิมชื่อร้านทิพยมงคล  ไม่ได้ตั้งอยู่ที่นี้ เจ้าของคนแรกคือ ขุนวิโรจน์รัตนากร คุณสุพจน์ ทิพยมงคล

เจ้าของร้านรุ่นที่สองนั้นเคยได้รับรางวัลในการประกวดเครื่องถม 9 ปีติดต่อกัน ปัจจุบับคุณสุพจน์เสียชีวิต

ไปแล้ว  คุณพอพิศ  ทิพยมงคล  บุตรชายคุณสุพจน์ได้ย้ายร้านมาที่หลังสถานีรถไฟ้และเปลี่ยนชื่อเป็นร้าน

สุพจน์  ร้านนี้เคยทำของตามพระราชประสงค์มาแต่เก่าก่อน  ปัจจุบันไม่ได้ทำแล้ว ยังมีช่างอยู่เพียงไม่กี่

คน  คุณพอพิศเองรับราชการ ไม่ได้ขยายงานด้านนี้เต็มที่  เนื่องจากกิจการเครื่องถมซบเซามากอยู่ระยะ

หนึ่ง

เชี่ยนถมทองและลงยาสีเขียว ตัวเชี่ยนถมทองลาย 12

 นักษัตร กว้าง 20 ซม. ตลับเชี่ยนทรงฟักทองกะไหล่ทอง

ลงยาสีเขียว ม.จ.หญิง วิภาวดีรังสิต ประทานพิพิธ

ภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

เชี่ยนหมากเงิน ถาดกะไหล่ทอง ไม่ใช่ชุดเดียวกัน ถาดเป็นลาย 12

 นักษัตร ฝีมือช่างไทยก่อน พ.ศ. 2430

 ตลับและซองพลูฝีมือช่างจัน ราว พ.ศ. 2430 – 2475

 ส่วนเต้าปูนฝีมือช่างไทยภาคใต้ ก่อน พ.ศ. 2450 กว้าง 20 ซม.

           เครื่องถมนครศรีธรรมราชเวลานี้ได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกระยะหนึ่ง ยังมีช่างฝีมือดีอยู่บ้าง เช่น 

อาจารย์เห้ง ซึ่งได้รับรางวัล และก็มีช่างตามบ้านที่มีฝีมืออยู่บ้างแต่ก็ไม่มากนัก ที่หลังสโมสรข้าราชการ

ซึ่งเป็นแหล่งเก่านั้น  ปัจจุบันก็ยังเป็นแหล่งขายใหญ่ที่สุดของนครศรีธรรมราช  แต่ส่วนมากไม่ได้ผลิต

ที่นั่น ร้านเก่าที่สุดคือ ร้าน มนัศ พิศสุพรรณ  และร้านที่ผลิตและขายที่นั่นแล้วขยายมาตั้งโรงงานผลิตส่ง

ออกในกรุงเทพฯ ก็มี เช่นที่ร้านศรีนคร  ผลิตพวกเครื่องประดับชิ้นเล็ก ๆ เพื่อการส่งออก ทั้งที่เป็นถมดำ

และเป็นเครื่องประดับเงินฝังหินสีหรือพลอยแบบต่าง ๆ 

           ส่วนโรงเรียนศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราชซึ่งตั้งเมื่อรัชกาลที่ 6 นั้น แผนกเครื่องถมซบเซา

ไปมาก เช่นเดียวกับแผนกเครื่องถมที่โรงเรียนเพาะช่าง ซึ่งยุบไปแล้ว  ความซบเซาของเครื่องถมใน

ระยะ 20-30 ปีก่อน ทำให้เด็กรุ่นนั้นบ่ายหน้าหนีสุดจะเรียกความนิยมกลับคืนมาทันในระยะใกล้ ๆ และ

ในปัจจุบันวิถีชีวิตสมัยใหม่ทำให้คนนิยมทำงานช่างน้อยลง ด้วยสาเดตุหลายประการ

พานเงินสลักลาย ฝีมือช่างไทยชั้นสูง ก่อนพ.ศ. 2450 สูง 13 ซม. ปากกว้าง 19.7 ซม.

          ดร. ไสว สุทธิพิทักษ์  ผู้ก่อตั้งสมาคมเครื่องถม และได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องเครื่องถมนคร ตลอดจน

มีบทบาทในวงการศึกษาเรื่องนี้ตลอดมากล่าวว่า การสอนช่างถมที่โรงเรียนศิลปหัตถกรรมหรือที่ไหนก็

ตาม  หากเอาพวกที่จบมัธยมศึกษาแล้วมาเรียน ปวช. ดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้นั้นไม่ได้ผล เพราะจบแล้ว

เกือบไม่ไปทำอาชีพนี้เลย  แต่เมื่อทดลองเอาคนที่สนใจ ไม่ต้องจบมัธยมก็ได้มาฝึก มาเรียน เขาจะยึด

เป็นอาชีพมากกว่า ขณะนี้กำลังทดลองวิธีนี้และได้ผลดีอยู่

          คุณสุชิน เหรียนเก่งสุรกาญจน์  ช่างและเจ้าของร้านสุชินหัตถกิจ อยู่ตรอกสุเหร่า ถนนจักรพงษ์

บางลำพู  กล่าวว่า สมัยนี้เด็กที่เอาฝึกเป็นช่างไม่มีความสนใจรักงานเหมือนรุ่นเก่า กฎหมายแรงงานเด็ก

และกฎหมายคุ้มครองแรงงานทำผิดพลาดเรื่องนี้ เพราะทำให้ระบบการฝึกงานช่างฝีมือใช้ไม่ได้อีกต่อไป

การจ่ายเงินค่าจ้างตามกฎหมายกับเด็กฝึกงาน  ทำให้ไม่สามารถฝึกช่างใหม่ ๆ ที่มีฝีมือขึ้นมาได้ในเชิง

พาณิชย์ เครื่องเงินเครื่องถมจึงซบเซาลงไป  สมัยนี้ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ก็ยังไม่ทันใช้และจะมีแต่การผลิตสิ่ง

ของชิ้นเล็ก ๆ 

Page : 1  2  3  4  5  6

 


< Home

Copyright © 2000  Mr.Kanchana Pumnual. All rights reserved.

Revised : เมษายน 28, 2543 .

Hosted by www.Geocities.ws

1