ศิลปและแหล่งผลิต

Page : 1  2  3  4  5  6

ช่างเชียงใหม่

         เชียงใหม่มีประวัติการทำเงินมาแต่ครั้งพระเจ้าเม็งรายก็จริง แต่หาหลักฐานเครื่องเงินเชียงใหม่

สมัยเก่า ๆ ไม่ได้ เครื่องเงินเก่าเชียงใหม่เท่าที่พอหาดูได้ไม่ค่อยมีอายุเก่ากว่า 100 ปี เท่าไรนัก และแม้

มีประวัติว่าเชียงใหม่มีต้นแบบช่างเงินจากพม่า แต่เชียงใหม่ก็มีลักษณะช่างเงินดั้งเดิมของตนเองทีแตก

ต่างจากของพม่าด้วยเช่นกัน

         สิ่งที่เห็นเป็นศิลปพม่าในเครื่องเงินเชียงใหม่ก็คือ ขันทรงบาตรและลักษณะการตีลายนูนลึก ศิลป

เครื่องเงินเชียงใหม่นอกจากนั้นเป็นแบบของเชียงใหม่เอง  นอกจากแบบเชียงใหม่แล้ว ยังมีแบบพื้น

เมืองของคนไทยกลุ่มเล็ก ๆ หลายกลุ่มที่มีปะปนอยู่ทั่วไปในภาคเหนือ เช่น ชาวเงิ้ยวหรือไทยใหญ่ที่เจ้า

กาวิลนำมาพัฒนาเมืองเชียงใหม่หลังจากที่เชียงใหม่ร้างไประยะหนึ่ง

         เนื่องจากเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของคนกลุ่มต่างๆ ในภาคเหนือตอนบน ติดต่อกับพม่า ลาว จีน

และมีชาวเขาหลายเผ่ากระจัดกระจายเป็นกระจุก ๆ อยู่ในบริเวณนั้น เชียงใหม่จึงมีเครื่องเงินใช้กันหลาก

หลาย อาจพูดได้ว่าในบรรดาสามัญชนทั่วไปแล้ว ชาวเหนือใช้เครื่องเงินกันมากที่สุด ที่จังหวัดแพร่มีขัน

เงินใช้กันแทบทุกบ้าน  ที่ลำปางเคยมีแหล่งผลิตเครื่องเงน พวกเครื่องประดับเงินในประเทศไทย ทั้ง

ประเทศนี้แทบจะมาจากชาวเขา- ชาวเหนือเกือบทั้งหมดทีเดียว

สลุงใหญ่มาก หนักกว่า 8,000 กรัม ตัวเรียบ ที่ของมีลาย

สัตว์น้ำ สูง 33 ซม. ปากกว้าง 60 ซม. ของใหม่ วัวลายศิลป์

 เชียงใหม่

ขันสลักลายพม่าฝีมือดี ลวดลายพม่ากับไทยที่เป็นลาย

เดียวกัน เช่น ชาดกรามเกียรติ์ หรือสิบสองนักษัตร์

 จะต่างกันที่หน้าตา เสื้อผ้า และองค์ประกอบอื่นๆ ของลาย

        เนื้อเงินที่นำมาผลิตเครื่องใช้ต่าง ๆ ของเชียงใหม่เกือบทั้งหมด ก็ได้มาจากพม่า จีน ลาว นั่นเอง

แต่ปัจจุบันเกือบไม่มีแล้ว

        ิส่งที่เป็นสามัญที่ใช้กันในเชียงใหม่และบางอย่างแพร่หลายไปทั่วประเทศก็คือ ขัน หรือสลุง ขันดอก

และตลับเครื่องเชี่ยน

        ขันดอก และเครื่องเชี่ยน เดี๊ยวนี้ไม่ค่อยทำแล้ว แต่ขันหรือสลุงยังทำขายอยู่ทั่วไป

        ลักษณะเด่นของเครื่องเงินภาคเหนืออยู่ที่วิธีการแกะลายสองด้าน เครื่องเงินภาคอื่นมักแกะลายจาก

ด้านนอกด้านเดียว แต่ช่างเชียงใหม่จะตอกลายจากด้านในให้นูน ตามโครงร้างรอบนอกของลายก่อนแล้ว

ตีกลับจากด้านนอกเป็นลายละเอียดอีกที

         ลักษณะลายและรูปทรงเครื่องเงินภาคเหนือ ก็มีแบบเฉพาะของตนเอง บางคนนึกถึงเครื่องเงิน

เชียงใหม่ก็นึกถึงขันทรงบาตรที่มีลายนูนลึก  นั่นเป็นสลุงแบบพม่า  ส่วนสลุงพื้นเมืองเชียงใหม่นั้น ปาก

กว้างกว่า เส้นผ่าศูนย์กลางตอนก้นและตอนปากไม่ต่างกันมากนัก  เกีอบจะตรงเป็นทรงกระบอกเลย

ทีเดียว ซึ่งก็แตกต่างจากขันภาคกลางที่เป็นทร่งปากกว้าง กันแคบ  แบบที่เรียกว่าทรงมะนาวตัด

          ลวดลายก็เช่นเดียวกัน สลุงพม่านิยมทำลายลึกรูปชาดก รูปสิบสองนักษัตร ของเชียงใหม่ ลายไม่

ลึกมากเท่าพม่า แต่ก็ลึกกว่าของภาคกลาง แต่โบราณใช้สลุงเรียบ ระยะต่อมามีลายชาดก ลายสิบสอง

นักษัตร  ลายดอกกระถิน ลายดอกทานตะวัน สายสับปะรด ลายนกยูง ลายดอกหมาก ซึ่งบางคนก็เรียกลาย

แส้บ้าง ลายฝักโพดบ้าง

Page : 1  2  3  4  5  6

 


< Home

Copyright © 2000  Mr.Kanchana Pumnual. All rights reserved.

Revised : เมษายน 28, 2543 .

Hosted by www.Geocities.ws

1