ศิลปและแหล่งผลิต

Page : 1  2  3  4  5  6

       สิบสองนักษัตรของเชียงใหม่โบราณรุ่น 100 ปี มาแล้วต่างจากภาคอื่น ๆ คือ ปีกุนเป็นรู้ช้างไม่ใช่

หมูอย่างที่อื่น

       สลุงใบหนึ่ง ๆ มักมีลายอย่างผสมผสาน เช่นลายนักษัตรก็มีรูปสัตว์อยู่ในกรอบรูปร่างต่าง ๆ เช่น

กรอบรูปแหลม รูปลิงหลายตัวต่อ ๆ กัน กรอบหนึ่ง ๆ เรียกว่าโขงหนึ่ง ขันใหญ่ ๆ มีครบทั้ง 12 ราศีใน

กรอบ 12 กรอบ  ก็เรียก 12 โขง ขันเล็ก ๆ มีไม่กี่โขง  การล้อมกรอบลายบนพื้นต่าง ๆ นี้ก็คล้ายกับทึ่

ภาคกลางแบ่งลายด้วยกรอบ 4 กรอบ มีพื้นลายเป็นกนกบ้าง ดอกพุตตานบ้าง แต่ขันภาคกลาไม่มีมากกว่า

4 กรอบ นอกจากอยู่ในกรอบรูปร่างต่าง ๆ แล้ว ลายสัตว์ 12 ราศียังอยู่ในแวดล้อมของดอกกระถินบ้าง

ดอกทานตะวันบ้าง ดอกสับปะรดบ้าง

ขันสลักลายพม่าฝีมือดี

        ดอกกระถินมีลักษณะดอกเป็นตะแกรงถี่นูนรูปกลม มีใบยาวขึ้นไปตอนบน 2 ด้าน เหมือนเขาสัตว์

ซึ่งไม่เหมือนใบกระถินจริง ๆ เลย ส่วนดอกทานตะวันและสับปะรดนั้นดัดแปลงมาจากดอกกระถิน ดอก

ทานตะวันมีรูปดอกแบบเดียวกับดอกกระถินแต่แทนที่จะมีใบยาวแหลม 2 ใบ ขึ้นข้างบนก็มีกลีบเล็ก ๆ 

รอบ ๆ เกสรดอก กลีบทานตะวันบนสลุงเชียงใหม่นั้นมักไม่เสมอกันทุกกลีย แต่อาจมีกลีย 3-4 กลีบยื่น

ยาวกว่าส่วนอื่น มักยื่นขึ้นไปตอนบน ส่วนลายสับปะรดนั้นเหมือนดอกกระถินทุกอย่าง นอกจากตัวดอกหรือ

ตัวสับปะรดนั้นเป็นรูปรียาวกว่าดอกกระถินซึ่งกลม  มีใบยาวตอนบนเหมือนกันซึ่งก็ไม่ใช่ใบสับปะรดที่แท้

จริงอีกนั่นแหละ

         ส่วนลายอื่น เช่นลานนกยูง ลายดอกหมาก มีลักษณะเป็นทางยาวตามแนวตั้ง ซ้อน ๆ กัน เช่น เดียว

กับลายประเภทก้านต่อดอกภาคกลาง

         นอกจากลายเชียงใหม่แล้ว ยังมีลายแม่ย่อยที่ทำขันกันมาแต่โบราณ ขันแม่ย่อยดั้งเดิมเป็นขัน

คล้ายบาตรแบบพม่าแต่มีฝา  มีลานประกอบตัวสัตว์ประจำราศีเป็นของแม่ย่อยโดยเฉพาะ ลายแม่ย่อยนี้

มีลักษณะขด ๆ คล้ายกนกแต่ไม่ใช่กนก  มีกิ่งก้านเล็ก ๆ ประกอบตัวขดแต่ก็ไม่เป็นดอกไม้ใบไม้แต่อย่าง

ใด ดูคล้ายลูกน้ำตัวโต ๆ ที่มีขนรุงรังเรียงเบียดกันแน่นไปทั้งตามของและพื้นขัน กรอบลายขันแม่ย่อยที่

แท้เป็นรูปปลิงมีลายริมปากขัน เป็น "ดอกแก้ว" หรือดอกพิกุล

         สลุงที่ใช้กันในภาคเหนือส่วนใหญ่มีขนาดโดยเฉลี่ยใหญ่กว่าขันภาคกลาง ตามบ้านนอกของเชียง

ใหม่สมัยก่อนจะมีคนเอาสลุงใหญ่ ๆ ห่อผ้ามาขายเรียกกันว่า "สลุงหาบ" เพราะเวลาใช้มักใช้เป็นคู่ โดย

หาบไป แต่ละใบกว้างไม่ต่ำกว่า 1 ฟุต

         ยิ่งในสมัยนี้ หลังจากที่มีการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมต่าง ๆ กันมาก มีการทำสลุงใบใหญ่ ๆ 

ส่งไปตามที่ต่าง ๆ เช่น ปี 2533 ชมรมเทิดมรดกเขลางค์นครทำสลุงหนัก 2,533 บาท ไปไว้ที่วัดพระ

ธาตุลำปางหลวง  และเมื่อเดือนเมษายน 2534  ทางจังหวัดเชียงใหม่ และร้านเครื่องเงินในเชียงใหม่

ร่วมกันทำสลุงหนัก 536 บาท ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  เนื่องในวโรกาลทรงเจริญพระชนมายุ

ครบ 3 รอบ  และพระองค์ท่านได้พระราชทานไว้ใช้งานที่ศาลากลางจังหวัดหลังจกานั้น ร้านต่าง ๆ ใน

เชียงใหม่ร่วมกันทำสลุงหนักไม่ต่ำกว่า 500 บาท วางไว้หน้าร้านของตนเสมอ

         สลุงเชียงใหม่นั้น เนื่องจากเป็นสลุงใหญ่เป็นส่วนมาก จึงมีการทำตีนขันเป็นปุ่มกลมบ้างแบบบ้าง

รองไว้ใต้สลุง 3-4 ปุ่มเสมอ  กันก้นครูดพื้น ปุ่มนี้เพิ่งพัฒนาขึ้นในระยะไม่นานมากนัก สลุงใหญ่ปัจจุบัน

มีปุ่มหรือตีนเป็นรูปต่างๆ บางทีก็เป็นรูปช้าง 3-4 ตัว ซึ่งน้ำหนักเฉพาะช้างก็กว่า 100 บาทแล้ว

         สลุงใหญ่รุ่นหลัง ใหญ่กว่าสลุงหาบอีก แต่มักเป็นสลุงเรียบมีลายเฉพาะตามของ ส่วนลายพื้นเมือง

แบบสลุงหาบเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยทำใบใหญ่ ๆ แล้ว

สลุงลายรามเกียรติ์ ขันทรงพมาช่างไทยภาคเหนือ สูง 28 ซม. ปากกว้าง 34 ซม. หลุยส์ ซิลเวอร์ เชียงใหม่

         นอกจากสลุงแล้ว เครื่องใช้พื้นเมืองดั้งเดิมอีกอย่างของเชียงใหม่ก็คือ ขันดอก ตลับเครื่องหมาก

         ปัจจุบัน  กิจการเครื่องเงินเชียงใหม่ไม่ได้หยุดนิ่ง แม้ของใช้ดั้งเดิมพวกขันดอกและตลับต่าง ๆ 

จะไม่ได้ทำกันใหม่มากนัก  แต่ก็ยังคงทำขันกันอยู่มาก และก็พัฒนารูปแบบใหม่  โดยทำเลียนแบบของ

ใช้พื้นเมืองอย่างอื่น เคยทำจากเงินมาก่อน เช่น โตกทั้งแบบขาไม้กลึงและเครื่องหวายสาน น้ำต้นดินเผา

การพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวก็มีส่วนทำให้เกิดเครื่องเงินแบบใหม่ ๆ ที่เป็นของใช้ของที่ระลึกมาก

ขึ้น

          แหล่งเครื่องเงินเชียงใหม่นั้น มีช่างฝีมือดีกระจัดกระจายกันตามหมู่บ้านต่าง ๆ เช่นที่แม่ย่อย 

แม่แก้ดน้อย ที่ฝาง แม่แจ่ม และหมู่บ้านขาวเขาพัฒนาบางแห่ง  แต่การผลิตหลักส่วนใหญ่  ยังคงอยู่ใน

เมืองเชียงใหม่  ที่ถนนวัวลายอันเป็นถิ่นดั้งเดิมของเครื่องเงินตั้งแต่ครั้งโบราณนั้น ยังเป็นแหล่งผลิต

สำคัญแต่กิจการขนาดใหญ่ในลักษณะหัตถอุตสหกรรมและร้านค้าที่รับรองชาวต่างประเทศได้คราวละ

มาก ๆ อยู่ที่กำแพง ผลิตของใช้แบบเดิมก็มี  แต่ผลิตพวกเครื่องประดับและของใช้สมัยใหม่เป็นส่วนมาก

Page : 1  2  3  4  5  6

 


< Home

Copyright © 2000  Mr.Kanchana Pumnual. All rights reserved.

Revised : เมษายน 28, 2543 .

Hosted by www.Geocities.ws

1