ศิลปและแหล่งผลิต

Page : 1  2  3  4  5  6

 

           จากประวัติความเป็นมาของเครื่องเงินและเครื่องถมไทย จะเห็นได้ว่าไทยเรามีช่างเงิน

อยู่ 3 ตระกูล

                 1. ช่างถม

                 2. ช่างเชียงใหม่

                 3. ช่างจีน

ช่างถม

         ถมเก่าที่สุดคือถมดำ  และต่อมามีถมตะทองตั้งแต่อยุธยา ถมทองเพิ่งมีมากสมัยรัตนโกสินทร์

เครื่องถมไทยรุ่นอยุธยานั้น ไม่มีหลักฐานการผลิตแน่นอนว่ามีช่างอยู่ที่ไหน  และเครื่องถมอยุธยาเอง

ก็เหนือให้เห็นอยู่น้อย  เท่าที่มีอยู่นั้นเป็นพวกกระโถน คนโท กล่องยาเส้น คันฉ่อง เชี่ยนหมาก ตัวเชี่ยน

ก็มีแบบแปลก ๆ เช่นมีเชิงแบบบากี๋ เครื่องถมรุ่นนี้เป็นถมดำหรือถมตะทอง  ซึ่งเป็นเครื่องใช้ขุนนางสมัย

ก่อน  แต่หากหาดูยากมาก

หม้อน้ำเพิ่งเริ่มทำไม่นานนัก ลายสัตว์ป่า มีสัตว์ 4 คู่ เสือ กวาง ช้าง และนกยูง สูง 29 ซม. ปากกว้าง 21 ซม. ร้านลายไทย เชียงไหม่

          ส่วนเครื่องถมเมืองนครฯ  นั้นไม่เก่าเกินรัตนโกสินทร์ สิ่งที่ทำก็เป็นพวกเครื่องใช้ตามประเพณี

และเครื่องยศ เช่นกระโถน  ทรงปลี ทรงใบบัว  กาน้ำลูกแก้ว  หม้อน้ำ  เชี่ยนหมากทรงมะเขือเทศ

ทรงผอบ ถมทองที่พบในปัจจุบันเป็นถมรัตนโกสินทร์ทั้งสิ้น  หรือแม้แต่ถมตะทอง ที่พบเดี๋ยวนี้บ้างก็เป็น

ถมรัตนโกสินทร์เป็นส่วนมาก สิ่งของเครื่องใช้แบบดั้งเดิมนี้ค่อย ๆ ลดลงจนเกือบจะเลิกผลิตไปเลย ภาย

หลังจากที่เลิกใช้ระบบเครื่องยศแบบเก่าในสมัยรัชกาลที่ 5 

          ลวดลายบนเครื่องถมอยุธยามีลักษณะใกล้เคียงกับสมัยรัตนโกสินทร์ ต่างกันที่มีความห่างของลาย

มากกว่า ลงถมดำมากกว่าลายเงิน การเขียนลายก็มีลักษณะเสรีมาก ส่วนถมรัตนโกสินทร์มีลวดลาย

ละเอียดขึ้น  มีร่องลายถี่ขึ้น  เป็นระเบียบขึ้น ตั้งแต่รัชกาลที่ 2 เป็นต้นมานิยมทำลายกนกเทศและลาย

กินรีเป็นพื้น  ตั้งแต่รัชกาลที่ 3 นิยมทำลายดอกพุดตาน และก็นิยมทำเรื่อยมาจนปัจจุบัน แต่ลายกนก 

ลายกินรี ล้วนแต่มีมาแต่อยุธยาแล้ว

          การเลือกใช้ลายแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับสิ่งของที่จะทำเป็นหลักว่าภาชนะชนิดไหนเหมาะกับลายชนิด

ใด  เช่น พวกพานต่าง ๆ ก็มักเป็นทรงกลีบบัวมีไส้กนก ไส้ก้านต่อดอก  ขันมักมีลายสี่ด้าน เป็นเทพนม

บ้าง  กินรีบ้าง  แบ่งลายด้วยกรอบรูปต่างๆ มีลายพื้นเป็นกนกแบบต่าง ๆ บ้าง ลายอื่นๆ บ้าง  ลายภาพจับ

ในกรอบทั้งสี่ด้านนั้นบางทีก็เป็นลายลักษณะต่าง ๆ กันแม้จะเป็นรูปเดียวกัน ดูแล้วเพลิดเพลินกว่าที่จะ

เหมือนกันทั้งสี่ด้าน  ขันรุ่นเก่ายังมักทำลายที่ก้นอย่างสวยงามพอ ๆ กับตัวขัน แต่มักเป็นคนละลายกับ

ลายที่ตัว  เช่น ลายที่ก้นอาจเป็นรูปสิงห์ในขันใบที่มีลายเป็นกินรีแบบต่าง ๆ สี่แบบ

โอ่งน้ำลายชนบท มีรูปเกวียน นากระท่อม สูง 31 ซม. ปากกว้าง 29 ซม. ร้านลายไทย เชียงไหม่

          นอกจากชนิดของภาชนะเป็นตัวกำหนดลายที่เหมาะสมแล้ว ชนิดของถมก็เป็นส่วนกำหนดลายด้วย

 เช่น ร้านเก่าแก่ที่สุดที่นครศรีธรรมราชกล่าวว่า ลายกนกเหมาะกับภมด้ แต่ลายดอกพุตตานเหมาะกับ

ถมทอง ดอกพุตตานทำบนถมดำไม่สวย เป็นต้น  ถมนคร กับถมกรุงเทพฯ นั้นลวดลายแบบเดียวกันเป็น

ลายภาคกลาง

Page : 1  2  3  4  5  6

 


< Home

Copyright © 2000  Mr.Kanchana Pumnual. All rights reserved.

Revised : เมษายน 28, 2543 .

Hosted by www.Geocities.ws

1