โลโก้นะเนี่ย
Special Column
 Home
 X-Files Series
 Photo Gallely
 Lyric
 Joke
 MultiLinks
 Jkong Guest Book
บทความพิเศษ
 มาทำเว็บกันเถอะ
 ชวนกันอ่านหนังสือ
 คุยเฟื่องเรื่องหนัง
 เรื่องราวของประเทศไทย
 ธรรมะเพื่อชีวิต
About Me
JK's Story
JK's Friends
JK's Society
JK's Diary
JK 's Chatroom
ขอบคุณครับ






คัมภีร์พื้นฐานดัชนีจาวาสคริปต์






Java Script คืออะไร

ในการเขียนเว็บไซต์โดยใช้ HTML Code อย่างเดียว สามารถสร้างเว็บเพจอย่างง่าย ๆ ขึ้นมาได้ แต่ HTML Code ก็มีข้อจำกัดของภาษา ทำให้สามารถแสดงผลได้ในรูปแบบที่กำหนดเท่านั้น บางครั้งเราต้องการเพิ่มลูกเล่นแปลก ๆ ใหม่ ๆ เข้าไป อย่างเช่นต้องการให้จอภาพกระเพื่อม ถอดถอนการทำงานของปุ่มบางปุ่มบนแป้นพิมพ์ การทักทายตามช่วงเวลา การตอบโต้บางประการกับผู้เข้าชม ซึ่งการทำงานเหล่านี้ ไม่สามารถกำหนดโดยใช้ HTML Code ได้ จึงจำเป็นต้องใช้การเขียนชุดคำสั่งโดยภาษาคอมพิวเตอร์อื่น ๆ เข้ามาร่วมด้วย ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาภาษาต่าง ๆ เพิ่มเติม ซึ่งแต่ละภาษาก็มีความยากง่ายแตกต่างกันไป แต่ที่นิยมกันมาที่สุดในปัจจุบันก็คือการนำภาษาสคริปต์เข้ามาช่วย ซึ่งจะมีความง่ายกว่าเพราะเป็นภาษาที่ทำงานแบบ interpreter ซึ่งจะทำงานตามคำสั่งทีละบรรทัด ไม่ต้องมีการแปลหรือคอมไฟล์ก่อนรันเหมือนภาษาอื่น ๆ

ก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า JavaScript เป็นเพียงภาษาสคริปต์ไม่ใช่ภาษา Java ซึ่งหากต้องการแอพลิเคชั่นที่มีการทำงานอย่างสลับซับซ้อน จะต้องใช้ภาษาจาวา เขียนแอพเพลทขึ้นมา แต่สำหรับผู้ที่ต้องการลูกเล่นในแบบที่ไม่ยุ่งยากและไม่ต้องเสียเวลาศึกษาภาษาจาวา การใช้จาวาสคริปต์จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเพิ่มลูกเล่นให้กับเว็บเพจของคุณได้อย่างแพรวพราวเช่นกัน

เริ่มต้นเขียน Java Script
การเขียนคำสั่งจาวาสคริปต์จะถูกเขียนไว้ภายในแท็ก <Script>...</Script> ซึ่งการเขียนจาวาสคริปต์นั้นสามารถเขียนไว้ในไฟล์ Html ได้เลย หรือ ไม่ก็สามารถเขียนเก็บไว้ในไฟล์ ส่วนขยาย .js แล้วเขียนชุดคำสั่งระบุถึงตำแหน่งที่เก็บซอร์สโค๊ดของสคริปต์นั้นอีกทีก็ได้
ตัวอย่างการเขียน

<Script>
JavaScipt Code
</Script>

ตัวอย่างการเขียนโดยระบุตำแหน่งซอร์สโค๊ด

<Script Language = "JavaScript" SRC="http://www.jedi.com/obiwan.js">
</Script>

เว็บบราวน์เซอร์เวอร์ชั่นต่ำกว่า IE 3.0 จะไม่สามารถเข้าใจจาวาสคริปต์ได้ เมื่อใช้เว็บบราวน์เซอร์ดังกล่าวเปิดไฟล์ HTML ที่มีการแทรก จาวาสคริปต์ลงไปด้วย เว็บบราวน์เซอร์จะไม่เข้าใจ และมองเห็นเป็นข้อความและจะแสดงคำสั่งจาวาสคริปต์เหล่านั้นออกมาที่หน้าจอทั้งหมด ดังนั้นเพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว เราสามารถแทรกคอมเมนต์ HTML ไปไว้ในคอมเมนต์ของสคริปต์ได้ ตัวอย่างการเขียน

<Script>
<!-- ซ่อนจาวาสคริปต์>
JavaScipt Code
<//สิ้นสุดการซ่อนสคริปต์ -->
</Script>

แต่ในปัจจุบันคนใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะใช้บราวน์เซอร์ IE 4 เป็นอย่างต่ำ ซึ่งจะสามารถรันคำสั่งจาวาสคริปต์ได้ ดังนั้นเราอาจตัดส่วนคอมเมนต์ออกจากสคริปต์ได้
เราสามารถเขียนสคริปต์ไว้ส่วนใหนของไฟล์ HTML ก็ได้ เพียงแต่ต้องเขียนไว้ในแท็ก

<Script>............................</Script>

ยกเว้นการเขียนสคริปต์เป็นฟังค์ชั่น จะต้องเขียนไว้ในแท็ก
<HEAD>...</HEAD>
เพราะฟังค์ชั่นจะต้องถูกอ่านเข้าเก็บในหน่วยความจำก่อนมีการเรียกใช้จากส่วนได้ส่วนหนึ่งของไฟล์ HTML
เริ่มต้นแบบเบสิค ๆ กันก่อนแล้วกันนะครับ ภาษาคอมพิวเตอร์ทุกภาษามักจะเริ่มต้นศึกษาคล้าย ๆ กัน คำสั่งแรก ๆ ของการเรียนรู้ มักจะเป็นคำสั่งแสดงผลบนจอภาพ จาวาก็เช่นกันครับ เริ่มต้นง่าย ๆ กับการพิมพ์ข้อความที่ต้องการออกหน้าจอ ด้วยฟังค์ชั่น document..write('Text') ซึ่ง Text คือข้อความที่ต้องการ ดังตัวอย่าง


<Script>
document.write('ไม่เจอก็ไม่เจ็บ ไม่คิดก็ไม่ทุกข์')
</Script>

ซึ่งจะแสดงผลข้อความดังที่อยู่ในฟังค์ชั่น



นอกจากนี้แล้วเรายังสามารถใช้แท็ก HTML เข้าร่วมกับฟังค์ชั่นคำสั่งจาวาสคริปต์ในการแสดงผลได้ดังตัวอย่าง


<Script>
document.write('<B>ไม่เจอก็ไม่เจ็บ ไม่คิดก็ไม่ทุกข์</B><BR>')
document.write('<I>ไม่เจอก็ไม่เจ็บ ไม่คิดก็ไม่ทุกข์</I><BR>')
document.write('<U>ไม่เจอก็ไม่เจ็บ ไม่คิดก็ไม่ทุกข์</U><BR><BR>')
document.write('<FONT color="limegreen"><B>ไม่เจอก็ไม่เจ็บ ไม่คิดก็ไม่ทุกข์</B></FONT><BR>')
document.write('<FONT color="green"size=2><I>ไม่เจอก็ไม่เจ็บ ไม่คิดก็ไม่ทุกข์</I></FONT><BR>')
document.write('<FONT color="#9999FF"size=3><U>ไม่เจอก็ไม่เจ็บ ไม่คิดก็ไม่ทุกข์</U></FONT><BR>')
document.write('<FONT color="#3300CC"size=4><B><I><U>ไม่เจอก็ไม่เจ็บ ไม่คิดก็ไม่ทุกข์</U></I></B><BR></FONT><BR>')
</Script>

ซึ่งจะแสดงผลหน้าจอดังนี้



อ๊อบเจกต์ และเมธอด

document นั้นเป็นอ๊อปเจ็คมาตรฐานอ๊อบเจกต์หนึ่งในหลาย ๆ อ๊อปเจ็ค(Object)ของจาวาสคริปต์ อ็อบเจ็กต์ คือ กลุ่ม หรือชุดของ เมธอด (Method) และ คุณสมบัติ (Properties) หลายๆตัวที่ประกอบกันขึ้น เพื่อใช้ในการอ้างอิงถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดในเว็บเพจ ในแต่ละอ็อปเจ็คก็จะบรรจุเมธอด(Methods) เอาไว้ให้สำหรับเรียกใช้ แต่ละเมธอดก็บรรจุชุดคำสั่งที่สำเร็จรูปไว้สำหรับเรียกใช้ คนที่เขียนโปรแกรมพวกวิชวลจะเข้าใจความหมายดี ส่วนคนที่ไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร ถ้าต้องการแค่จาวาสคริปต์ไปประดับเว็บไม่ต้องการศึกษาเจาะลึกเกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์ เมธอดตัวหนึ่งที่น่าจะมีประโยชน์และได้เรียกใช้บ่อย ๆ คือเมธอด Alert() ของออบเจกต์ Window การเรียกใช้อ๊อบเจกต์ของจาวาสคริปต์ทำได้โดยระบุชื่ออ๊อบเจกต์คั่นด้วยเครื่องหมายจุด(.)ตามด้วยชื่อเมธอด ตัวอย่างการเขียน document.write() document.wirteln() window.alert() แต่เนื่องด้วยอ๊อบเจคต์ window เป็นอ๊อบเจกต์ใหญ่ที่สุดของ จาวาสคริปต์ เพราะฉนั้นแม้ไม่ระบุออบเจคต์ลงไป จาวาสคริปต์จะถือว่าเมธอดนั้นอยู่ในวินโดวส์อ๊อบเจค จึงสามารถเขียนย่อ ๆ เหลือแค่ alert() ก็ได้

ตัวอย่างการเขียน

<Script>
alert('ช่วยกดปุ่ม OK ที');
document.write(''<Center><FONT color="limegreen" size=6><B><U>โลกนี้มีรักแท้จริงหรือ</U></B></FONT></Center>');
</Script>

ดูการทำงานได้ที่ลิงค์ข้างล่างนี้

แสดงการทำงานของเมธอด Alert

ข้อความที่ป้อนให้กับเมธอด Alert หรือแม้แต่เมธอดอื่น ๆในจาวาสคริปต์เป็นข้อความบรรทัดเดียว หากข้อความยาวเกินกว่า 1 บรรทัด จะต้องใช้ระหัสควบคุม \n แทรกเข้าไป เช่นเดียวกับในภาษา C
ตัวอย่างการเขียน document.write() document.wirteln() window.alert() แต่เนื่องด้วยอ๊อบเจคต์ window เป็นอ๊อบเจกต์ใหญ่ที่สุดของ จาวาสคริปต์ เพราะฉนั้นแม้ไม่ระบุออบเจคต์ลงไป จาวาสคริปต์จะถือว่าเมธอดนั้นอยู่ในวินโดวส์อ๊อบเจค จึงสามารถเขียนย่อ ๆ เหลือแค่ alert() ก็ได้

ตัวอย่างการเขียน

<Script>
alert('ใหน ๆ ก็แวะเข้ามาแล้ว \n ช่วยกดปุ่ม OK ที');
document.write('<Center><FONT color="lime" size=6><B><U>แท้จริงแล้วรักนั้นสร้างสรรค์สุข </U></B></FONT><BR> <FONT color="green" size=6><B><U>หรือสร้างทุกข์ทรมานให้สงสัย</U></B></FONT><FONT color="blue" size=6><B><U>หรือรักนั้นสร้างสุขสันต์ชื่นบานใจ</U></B></FONT><BR><FONT color="red" size=6><B><U>หรือเป็นได้เพียงนิยายหลอกลวงคน</U></B></FONT><BR></Center>');
</Script>

ดูการทำงานได้ที่ลิงค์ข้างล่างนี้

แสดงการทำงานของเมธอด Alert2



แค่นี้ก่อนละกันครับ ว่าง ๆ ก็ลองหัดเขียนโดยใช้เมธอดทั้งสองตัวนี้ก่อนแล้วกัน บทต่อไปเราจะมาเขียน ไดอะล๊อคสำหรับรับข้อมุลกันครับ

ยังไม่เสร็จเรียบร้อยดีครับ ไว้ว่างเมื่อใหร่จะมาอัพเดทให้ได้อ่านกันครับ
จงทำดีต่อกัน และสนุกกันต่อไปเพื่อน

พบกับ
Advance HTML และจาวาสคริปต์ตอน 2
ที่นี่เร็ว ๆ นี้ครับ
ขอพลังจงอยู่กับท่าน
:+: ขอพลังที่สร้างสรรค์จงอยู่กับท่านตลอดไป :+:
ขอพลังจงอยู่กับท่าน


1