โลโก้นะเนี่ย
Special Column
หน้าแรก
มุมธรรมะ
มหัศจรรย์แห่งจิต
จากคว๊ากสู่เอกภพ
ปริศนาจักรวาล
อาหารจานเจ
สุขภาพ
โภชนาการ
สมุนไพร
เต๋าแห่งรัก
การบริหารร่างกาย
ศิลปป้องกันตัว
ปรัชญา - ศาสนา
มุมหนังสือ
โหรศาสตร์
หัวเราะต่ออายุ
ภาพยนตร์
เพลง
เกมส์ - กีฬา
ท่องโลกภาษา
เมืองไทยน่ารู้
คันปากอยากวิจารณ์
อัดอั้นตันใจ
สรรหามาฝาก
คาบข่าวมาเล่าต่อ
ชวนกันสรรค์สร้างเว็บ
มันมากับเมล์
Photo Gallely
รวมลิงค์
กระดานสนทนา
สมุดเยี่ยม
About Me
JK's Story
JK's Friends
JK's Society
JK's Diary
JK 's Chatroom
ขอบคุณครับ















ธรรมะเพื่อชีวิต
ธรรมะพื้นฐานที่ชาวพุทธควรรู้ โดย JK! หมัดมั่ว

หัวใจพระพุทธศาสนา พุทธศาสนาสอนอะไรกันแน่? คำถามนี้เป็นคำถามที่ผู้สนใจพุทธศาสนาสอบถามแก่ชาวพุทธ ซึ่งตอบกันได้บ้างไม่ได้บ้าง บางคนก็พูดง่าย ๆ ว่า พุทธศาสนาสอนให้คนทำดี แต่อธิบายไม่ได้ว่าดียังไง แล้วต่างจากที่ทุก ๆ ศาสนาสอนให้คนทำดียังไง ขออนุญาติยกเอาเรื่องพุทธธรรมขึ้นมาเป็นหัวข้อหลักของบทความนี้ ความจริงแล้วธรรมะของพระพุทธองค์ไม่ได้มีอะไรเลย มากไปกว่าเรื่องของทุกข์ พระพุทธองค์ตรัสรู้อริยสัจ ๔ คือความจริง ๔ ประการของผู้เจริญแล้ว อันได้แก่ ทุกข์ ความทุกข์ทั้งหลาย สมุทัย ต้นเหตุแห่งความทุกข์ นิโรธ ความดับทุกข์ มรรค แนวปฏิบัติไปสู่ความดับทุกข์ สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้นคือ แนวทางดับทุกข์โดยใช้มัชฌิมาปฏิปทา หนทางสายกลาง มีอริยอัฏฐังคิกมรรคหรือมรรคมีองค์แปด(แนวทางปฏิบัติไปสู่ทางดับทุกข์) เป็นหลักปฏิบัติ อันประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฏฐิ   ปัญญาชอบ,ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกะปะ  ดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา   เจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ  การงานชอบ,กระทำชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ   เลี้ยงชีพชอบ ๖. สัมมาวายามะ  ความเพียรพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ    ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ   ความตั้งใจมั่นชอบ ซึ่งสรุปออกมาเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาง่าย ๆ ดังนี้ เยธมฺมา โหตุปฺปภวา  ธรรม(สภาวธรรม) ทั้งหลายมีเหตุ เตสํ เหตุ ํ ตถาคโต   เหตุนั้นตถาคต(พระพุทธองค์) ได้ตรัสรู้แล้ว เตสญฺจโย นิโรโธจ   ทรงสอนวิธีที่จะดับเหตุแห่งทุกข์เหล่านั้นด้วย เอวํ วาที มหาสมโณ  มหาสมณะผู้ยิ่งใหญ่(พระพุทธองค์) กล่าวไว้ดังนี้ สพฺพปาปสฺส อกรณํ   ไม่กระทำบาปทั้งปวง กุสลสฺสู ปสมฺปทา    จงถึงพร้อมซึ่งกุศล(ความดีทั้งปวง) สจิตฺตปริโย ทปนํ    จงทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เอตํ พุทฺธานสาสนํ   นั่นคือคำสอนของพุทธะ(ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน)ทั้งหลาย พุทธธรรมเป็นการดับทุกข์ที่ต้นเหตุ เมื่อก่อกรรมดีผลของกรรมที่ก่อย่อมเป็นผลดี เมื่อไม่ทำความชั่วผลของกรรรมที่ก่อก็ไม่เกิด ซึ่งก็คือระงับเหตุแห่งความชั่ว ไม่มีโทษ ไม่มีภัยแก่ตน เมื่อทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ก็ย่อมจะทำให้จิตใจผ่องแผ้ว ไม่มีทุกข์กังวลมายึดเกาะจิตใจ เมื่อจิตบริสุทธิ์ก็ย่อมคิดแต่สิ่งที่ดี เมื่อจิตคิดดีการกระทำก็จะดีตาม ทุกสิ่งก็จะหมุนวนไปตามวงจรของมัน และนี่แหละคือหัวใจของพุทธศาสนา การปฏิบัติตามหัวใจพระพุทธศาสนาก็โดยวิธีการสามประการ คือ ศีล การถือศีล ก็คือการละเว้นความชั่ว(สพฺพปาปสฺส อกรณํ-ไม่กระทำบาปทั้งปวง) ซึ่งต้องใช้ "สติ" ความรู้ตัวคอยเตือนตน การทำความดีจิตใจย่อมปลอดโปร่งแจ่มใส ไม่มีกังวลเรื่องทุกข์ภัยที่จะมาถึงตน เมื่อจิตใจปลอดโปร่ง มีสติเตือนตน จิตก็จะสงบนิ่ง นำมาซึ่ง "สมาธิ" สมาธิ ปฏิบัติสมาธิ เพื่อให้จิตสงบบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว(สจิตฺตปริโย ทปนํ)เพื่อจะพิจารณาสภาวธรรม ก็จะนำมาซึ่ง "ปัญญา" ปัญญา ด้วยปัญญานี้ก็จะนำมาซึ่งการเห็นทุกข์ เข้าใจทุกข์ ดับทุกข์ได้ ด้วยปัญญาที่เห็นธรรมก็จะทำให้ก่อกรรมดีอย่างเดียว(กุสลสฺสู ปสมฺปทา) ละเว้นกรรมชั่ว ตัดเหตุแห่งทุกข์ เรียนรู้และเข้าใจทุกข์ ทุกข์ก็ไม่สามารถมาเกาะเกี่ยวได้ เมื่อรู้เท่าทันทุกข์ ทุกข์ก็ไม่มีโอกาสได้เกิด เมื่อรู้เท่าทันทุกข์ ทุกข์ก็ดับไปโดยปริยาย ซึ่งคือจุดมุ่งหมายของพุทธธรรม ที่มีไว้ดับทุกข์อย่างเดียวเท่านั้น เมื่อปฏิบัติดี ผลดีย่อมเกิดแก่ตน เมื่อปฏิบัติชั่วผลชั่วย่อมเกิดแก่ตน และนี่เองคือความหมายอันแท้จริงของคำว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ตามหลักพระพุทธศาสนา ทั้งหมดนี้คือหลักคำสอนที่แท้จริงของพุทธศาสนา พุทธศาสนาสอนเพียงหลัก ๆ เรื่องเดียวคือเรื่อง "ทุกข์" การเรียนรู้ถึงสภาวะทุกข์ มูลเหตุปัจจัยของทุกข์ การมีอยู่ของความดับทุกข์ และหนทางปฏิบัติสู่ความดับทุกข์ ทุกข์เท่านั้นที่เกิด ทุกข์เท่านั้นที่ดำรงอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป นอกจากทุกข์แล้ว สิ่งอื่นไม่มี เพราะฉะนั้นพุทธธรรมสอนเรื่องทุกข์ หากออกนอกเหนือขอบเขตนี้ ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธองค์ บทความนี้หวังใจเป็นอย่างยิ่งว่าพุทธศาสนิกชนส่วนหนึ่งที่ไม่เคยรับรู้และเข้าใจหัวใจพระพุทธศาสนา จะเข้าใจพุทธธรรมขึ้นมาบ้าง เพื่อการเจริญในธรรมในกาลต่อไป ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ท่าน โอม มณี ปัทเม หุม หมายเหตุ เนื้อหาทั้งหมดเกิดจากการศึกษาปฏิบัติของผู้เขียนเอง หากมีส่วนหนึ่งส่วนใดคลาดเคลื่อนจากพุทธธรรม นั่นเป็นความผิดพลาดในการตีความของผู้เขียนเอง บทความนี้หากเกิดเป็นบุญกุศลใด ๆ ก็ขออุทิศให้ดวงวิญญาณบรรพชนและญาติผู้ล่วงลับทั้งหลาย หากเกิดเป็นบาปเวรใด ๆ ขอให้บาปกรรมนั้นตกอยู่กับข้าพเจ้าเพียงผู้เดียว


1