Welcome to Faculty of Design
Lesson  
Lesson Test Webboard Contact Us Link Page Site map

บทที่ 1 ประวัติความเป็นมาของ
การโฆษณาในประเทศไทย

บทที่ 2
สื่อโฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์

บทที่ 3 สื่อโฆษณาประเภท
แพร่ภาพกระจายเสียง

บทที่ 4
สื่อโฆษณาประเภทวิทยุโทรทัศน์

บทที่ 5
สื่อโฆษณาเฉพาะกิจ


Member Logout
ขณะนี้ท่านได้เข้าสู่ระบบ

E-Learning เมื่อท่านใช้ระบบ
เเรียบร้อยแล้วนั้น กรุณา
ออกจากระบบเพื่อ
ความปลอดภัยของข้อมูล

Logout

 

 
บทที่ 5 สื่อโฆษณาเฉพาะกิจ
[ แบบประเมินผลการเรียนรู้บทที่ 5 ]


สื่อโฆษณาเฉพาะกิจ

1. การโฆษณากลางแจ้ง

การโฆษณากลางแจ้ง (Outdoor Advertising)

เป็นลักษณะของการใช้ป้ายโฆษณาในรูปแบบต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่กับที่ตามตัวอาคาร หลังคาตึก มุมถนน ข้างทาง หรือบริเวณที่มีผู้สัญจรผ่านไปมามากๆ ซึ่งเหมาะกับการโฆษณา เพื่อย้ำเตือนความทรงจำมากกว่าที่จะบอกถึงรายละเอียดต่างๆ ในลักษณะที่ใช้เป็นสื่อสนับสนุนเท่านั้น

1. ประเภทของป้ายโฆษณากลางแจ้ง

ประเภทของป้ายโฆษณากลางแจ้ง แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

1.1 ป้ายโปสเตอร์ (Poster Billboard)

เป็นป้ายโฆษณาที่พิมพ์ลงในกระดาษแผ่นใหญ่หลายๆ แผ่นนำไปปิดทับเรียงต่อกันบนโครงของแผ่นป้ายที่ทำไว้โดยเฉพาะ ขนาดของป้ายโปสเตอร์ที่นิยมใช้กันมาก คือ ขนาด 24 แผ่น (Sheets) แผ่นละประมาณ 28 x 41 นิ้ว วางเรียงต่อกันบนโครงของแผ่นป้ายขนาด 12 x 25 ฟุต จะใช้กระดาษ 24 แผ่นพอดี แต่ในปัจจุบันเทคนิคการพิมพ์ได้พัฒนา จนสามารถพิมพ์โปสเตอร์ขนาด 24 แผ่น ให้เหลือเพียง 10 แผ่น เท่านั้น สำหรับโครงขนาด 12 x 25 ฟุต เท่าเดิม

1.2 ป้ายเขียน (Painted Bulletin or Painted Display)

เป็นป้ายโฆษณาที่จัดทำโดยการวาดภาพและระบายสีด้วยมือ โดยแบ่งวาดและระบายสีป้ายทีละส่วน แล้วนำมาติดรวมกันในภายหลัง บนโครงสร้างที่แข็งแรง ป้ายเขียนจะมีขนาดใหญ่กว่าป้ายโปสเตอร์ และมีอายุการใช้งานมากกว่า ขนาดของป้ายเขียน ไม่มีขนาดและวิธีการกำหนดที่แน่นอน ส่วนใหญ่ที่พบเห็น จะมีขนาดตั้งแต่ 14อ 48 ฟุตขึ้นไป ป้ายเขียนขนาดใหญ่นิยมเรียกว่า ป้ายคัดเตอร์ (Cut-out) ปัจจุบันนิยมใช้วิธีการสกรีนลงบนสังกะสีแผ่นเรียบ หรือพิมพ์เป็นสตี๊กเกอร์นำไปปิดบนแผ่นสังกะสี แทนการวาดภาพระบายสีลงบนผืนผ้าใบ ซึ่งจะมีความคงทนมากขึ้น


1.3 ป้ายตกแต่งพิเศษ (Spectacular)

เป็นป้ายที่ใช้เทคนิคต่าง ๆ เข้าช่วยในการออกแบบตกแต่งเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความเด่น สะดุดตา เรียกร้องความสนใจแก่ผู้พบเห็นโดยใช้วิธีการต่อไปนี้

1) สร้างความสนใจด้วยการตกแต่งแสงสีให้เกิดความแปลกตา
2) สร้างความสนใจด้วยการทำเป็นป้าย 3 มิติ
3) สร้างความสนใจด้วยการทำเป็นป้ายแบบ 3 มิติ




1.4 ป้ายโฆษณาเคลื่อนที่ (Moving Billboard)

เป็นป้ายโฆษณาที่ติดตั้งบนรถบรรทุก มีการติดตั้งไฟส่องป้ายเพื่อให้มองเห็นได้ในเวลากลางคืนด้วย สามารถเลือกเส้นทางและบริเวณที่จอดเพื่อโฆษณาได้ รถส่งสินค้าขนาดใหญ่ของบริษัทต่างๆ สามารถใช้ด้านข้างและด้านท้ายของรถ จัดทำเป็นป้ายโฆษณาเคลื่อนที่ได้เป็นอย่างดี




2. การเลือกทำเลที่ตั้งเพื่อติดตั้งป้ายโฆษณา

ควรศึกษาถึงทำเลที่ตั้งป้ายโฆษณากลางแจ้งให้ดี เพราะหากบริเวณที่ติดตั้งมีผู้คนสัญจรผ่านไปมาน้อย หรือเป็นคนละกลุ่มกับกลุ่มเป้าหมายของเรา จะทำให้เกิดการสูญเปล่า

ข้อควรพิจารณาในการเลือกทำเลที่ติดตั้งป้ายโฆษณากลางแจ้งเพื่อให้เกิดความสนใจกับผู้พบเห็นที่ผ่านไปมา มีดังนี้

1) ระยะทางจากจุดที่ติดตั้งป้ายโฆษณากับผู้ขับขี่ยวดยานหรือผู้สัญจรไปมา จะต้องเห็นป้ายโฆษณาได้อย่างชัดเจนในระยะไกล

2) ความรวดเร็วของการเดินทางบนเส้นทางนั้น หากมีสภาพการจราจรที่คล่องตัวสามารถขับขี่ยวดยานด้วยความเร็วสูงมาก ขนาดของป้ายจะต้องใหญ่ มีรายละเอียดชัดเจนพอที่จะอ่านได้ในระยะเวลาสั้น ๆ

3) ลักษณะสถานที่ติดตั้ง ถ้าหากป้ายโฆษณาติดตั้งในลักษณะขนานไปกับถนน จะดีกว่าการติดตั้งในแนวขวางถนน เพราะสามารถมองเห็นได้ทั้ง 2 ด้านของการจราจร แต่สถานที่ติดตั้งที่ดีที่สุดควรจะเป็นบริเวณมุมตามทางแยกต่างๆ ซึ่งจะถูกพบเห็นได้จากหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะบริเวณทางแยกที่ต้องหยุดรอสัญญาณไฟจราจร

4) สภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณที่ติดตั้ง พิจารณาดูว่าสถานที่นั้นจะให้ค่านิยมแก่ป้ายได้ดีเพียงใด เช่น ป้ายโฆษณาอุปกรณ์การกีฬาที่ติดตั้งในสนามกีฬา ยังมีผลต่อการแพร่ภาพออกอากาศอีกด้วยในกรณีที่มีการถ่ายทอดกีฬานั้นๆ เป็นประจำ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาว่า สถานที่นั้นมีสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ มาบดบังป้ายหรือไม่

5) พิจารณาค่าใช้จ่ายของสถานีติดตั้งป้ายแต่ละแห่ง ซึ่งมักจะมีราคาแตกต่างกันไป สถานที่บางแห่งอยู่ในทำเลที่ดี ผู้คนสัญจรผ่านไปมามาก ราคาก็มักจะแพง แต่อาจไม่คุ้มกับการลงทุน หากว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ไม่ค่อยใช้เส้นทางนั้น

ข้อดี-ข้อเสียของการโฆษณากลางแจ้ง

ข้อดีของการโฆษณากลางแจ้ง มีดังนี้

1) สามารถครอบคลุมตลาดได้อย่างกว้างขวาง รวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีการติดตั้งกระจายไว้หลายๆ แห่ง
2) สามารถเลือกติดตั้งเฉพาะบริเวณพื้นที่ที่ต้องการเข้าถึง
3) มีความถี่ในการถูกพบเห็นสูง เพราะผู้คนในท้องถิ่นนั้นมักเดินทางไปมาในเส้นทางเดิมเป็นประจำ
4) สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ และทุกระดับการศึกษา
5) เป็นสื่อที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลา ป้ายโฆษณามีโอกาสถูกพบเห็นได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีความคงทนถาวรอยู่ได้นาน โดยไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ
6) มีขนาดใหญ่ สีสัน และเทคนิคต่างๆ ทำให้เป็นที่สะดุดตา สะดุดใจได้ง่าย
7) ใช้เป็นสื่อเสริมสนับสนุนสื่ออื่นๆ ได้ดีในลักษณะการย้ำเตือนความจำหรือเสนอข่าวสารแบบสั้นๆ
8) สามารถจัดทำป้ายให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น
9) ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับจำนวนผู้พบเห็น

ข้อเสียของการโฆษณากลางแจ้ง มีดังนี้

1) ป้ายโฆษณาจะถูกมองดูในระยะเวลาที่สั้นมาก จึงไม่สามารถเสนอข่าวสารอย่างละเอียดได้
2) ผู้คนที่สัญจรผ่านไปมามักไม่อยู่ในอารมณ์ที่จะสนใจป้ายโฆษณา เพราะอยู่ในภาวะที่ต้องรีบเร่งเดินทาง หรือต้องระมัดระวังการใช้ยวดยานบนท้องถนน
3) ไม่สามารถนำมาใช้กับการโฆษณาที่ต้องการเจาะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง
4) การจัดทำป้ายค่อนข้างยุ่งยาก เพราะมีขนาดใหญ่ ต้องเสียค่าจัดทำแพง และยิ่งมีการใช้เทคนิคต่างๆ ด้วย ก็ยิ่งยุ่งยากและแพงมากขึ้น ป้ายมีขนาดใหญ่มากๆ จะหาทำเลดีๆ เพื่อติดตั้งได้ลำบาก และค่าเช่าสถานที่ติดตั้งค่อนข้างสูง
5) ป้ายโฆษณามีส่วนทำลายความสวยงามของธรรมชาติหรือทัศนียภาพของตัวเมือง


Back to Top

1 | 2 | 3 | 4 I Next >>

 

©2003 E-Learning, All Rights Reserved.
Contact us : [email protected], [email protected]

 

Home
Hosted by www.Geocities.ws

1