Welcome to Faculty of Design
lesson  
Lesson Test Webboard Contact Us Link Page Site Map

บทที่ 1 ประวัติความเป็นมาของ
การโฆษณาในประเทศไทย

บทที่ 2
สื่อโฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์

บทที่ 3 สื่อโฆษณาประเภท
แพร่ภาพกระจายเสียง

บทที่ 4
สื่อโฆษณาประเภทวิทยุโทรทัศน์

บทที่ 5
สื่อโฆษณาเฉพาะกิจ


Member Logout
ขณะนี้ท่านได้เข้าสู่ระบบ

E-Learning เมื่อท่านใช้ระบบ
เรียบร้อยแล้วนั้น กรุณา
ออกจากระบบเพื่อ
ความปลอดภัยของข้อมูล

logout

 

 
บทที่ 4 สื่อโฆษณาประเภทวิทยุโทรทัศน์
[ แบบประเมินผลการเรียนรู้บทที่ 4 ]

 

สื่อโฆษณาประเภทวิทยุโทรทัศน์

วิทยุกระจายเสียง (Radio) เป็นสื่อที่นิยมแพร่หลายมาเป็นเวลานานแล้ว สามารถเข้าถึงได้ทุกครอบครัว เพราะมีราคาถูกซื้อหาได้ง่าย ผู้ฟังสามารถนำวิทยุติดตามตัวไปฟังได้ทุกหน ทุกแห่งไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม แม้จะทำงานอยู่ก็ยังสามารถรับฟังข่าวสารต่างๆ ได้ วิทยุจึงเป็นสื่อที่มีความใกล้ชิดกับผู้บริโภคมาก

ถึงแม้ว่าความนิยมในการรับฟังวิทยุจะลดลงกว่าในอดีต แต่จำนวนผู้ฟังรายการวิทยุก็ยังคงมีอยู่มาก ซึ่งยังไม่มีหน่วยงานใดทำการสำรวจเพื่อบันทึกเป็นสถิติและข้อมูลอย่างจริงจัง แต่มีการแบ่งช่วงเวลาที่คาดว่า
จะมีโอกาสรับฟังรายการวิทยุ ดังนี้

1) AA ช่วงเวลาระหว่าง 6.00-9.00 น. เรียกว่า Drive Time
เป็นช่วงที่มีจำนวนผู้ฟังมากที่สุดนับตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าตรู่
ไปจนถึงช่วงขับรถเดินทางไปทำงานก็จะเปิดวิทยุรับฟังข่าวสารต่างๆ ไปด้วย อัตราค่าโฆษณาในช่วงเวลาตอนเช้านี้จะแพงที่สุด

2) A ช่วงเวลาระหว่าง 15.00-19.00 น. เรียกว่า Afternoon Drive Time ซึ่งเป็นช่วงขับรถกลับบ้านตอนเย็นหลังเลิกงาน

3) B ช่วงเวลาระหว่าง 9.00-15.00 น. เรียกว่า Run of Station (ROS.) ซึ่งเป็นเวลากลางวัน จะมีกลุ่มแม่บ้านฟังรายการวิทยุ
ในช่วงนี้มากที่สุด รวมไปถึงกลุ่มวัยรุ่น และคนทำงานออฟฟิศ

4) C ช่วงเวลาระหว่าง 19.00 น. ไปจนถึงเวลาปิดสถานี เป็นช่วงเวลาที่ผู้คนจะอยู่บ้าน โดยในช่วงหัวค่ำจะมีผู้ฟังรายการวิทยุน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่จะไปดูรายการโทรทัศน์กันมากกว่า แต่ช่วงดึกไปแล้ว (หลัง 4 ทุ่ม) จะมีผู้ฟังวิทยุมากขึ้น ซึ่งได้แก่ กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มคนทำงานตอนกลางคืน เช่น ยาม คนขับแท็กซี่รอบดึก รวมไปถึงคนนอนดึก เป็นต้น

saturnline


ประเภทของ Spot โฆษณาทางวิทยุ แบ่งเป็น 2 ชนิดเช่นเดียวกับโทรทัศน์ คือ

1) Loose Spot คือ Spot โฆษณาที่คั่นระหว่างช่วงต่อรายการ

2) In program Spot คือ Spot โฆษณาที่เปิดอยู่ในรายการใดรายการหนึ่ง

ข้อดีของการโฆษณาทางวิทยุ มีดังนี้

1) เป็นสื่อที่สามารถส่งข่าวสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย ได้อย่างรวดเร็วและสามารถครอบคลุมผู้ฟังได้ครั้งละจำนวนมาก เพราะเครื่องรับวิทยุมีราคาถูก ส่วนใหญ่จะมีทุกบ้าน

2) สามารถเลือกเข้าถึงผู้ฟังเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะเขตทางภูมิศาสตร์ได้อย่าง เฉพาะเจาะจง

3) เสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างต่ำ ทั้งในแง่การผลิต Spot โฆษณาและการซื้อเวลาทางวิทยุ มีอัตราค่าโฆษณาไม่แพงเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อทางโทรทัศน์ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์

4) สามารถออกโฆษณาซ้ำ ๆ ได้บ่อยครั้ง เพราะอัตราค่าโฆษณาไม่แพง

5) สามารถปรับปรุง เปลี่ยนแปลงรูปแบบและข้อความโฆษณาได้จนถึงช่วงใกล้เวลาออกอากาศ

6) มีจำนวนสถานี จำนวนรายการและช่วงเวลาให้เลือกมากกว่าโทรทัศน์

7) สามารถติดตามผู้ฟังไปได้ทุกหนทุกแห่งไม่ว่าจะเดินทางไปที่ใดหรือจะทำงานอื่นไป ด้วยขณะที่ฟังวิทยุก็ได้ แม้จะอ่านหนังสือไม่ออกก็สามารถรับฟังข่าวสารโฆษณาได้

ข้อเสียของการโฆษณาทางวิทยุ มีดังนี้

1) เป็นสื่อที่ใช้เฉพาะทางเสียงอย่างเดียว ไม่มีภาพ อาจทำให้การสื่อความหมายไม่ชัดและขาดความน่าสนใจ

2) ไม่สามารถเข้าถึงผู้ฟังอย่างจริงจัง เพราะในขณะฟังวิทยุผู้ฟังมักทำกิจกรรมอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กัน ทำให้ความสนใจต่อข่าวสารน้อยลง

3) อายุของข่าวสารสั้นมาก ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ถ้าผู้ฟังพลาดโอกาสที่จะได้ยินแล้วไม่สามารถย้อนกลับมาฟังได้อีก

4) เนื่องจากจำนวนสถานีวิทยุและจำนวนรายการมีมากมาย ทำให้เกิดการแบ่งแยกและกระจัดกระจายของกลุ่มผู้ฟัง และผู้ฟังยังสามารถปิดวิทยุหรือหมุนคลื่นเปลี่ยนสถานีได้ง่ายหากข่าวสารไม่มีความน่าสนใจ ทำให้เกิดการสูญเปล่าได้ง่าย

5) การโฆษณาทางวิทยุมีมากเกินควร จนทำให้ผู้ฟังเกิดความรำคาญและไม่ให้ความสนใจกับการโฆษณาเท่าที่ควร

สื่อวิทยุกระจายเสียง Radio

สื่อโฆษณาวิทยุกระจายเสียง เรียกกันตามภาษาโฆษณาว่า "สปอตวิทยุ" หมายถึง ข้อความซึ่งเขียนเพื่อสนองวัตถุประสงค์ทางด้านทางการโฆษณา และผ่านการบันทึกเสียงเรียบร้อยแล้ว เพื่อนำไปออกอากาศตามสถานีวิทยุต่างๆ ที่กำหนดไว้ในแผนการวางสื่อโฆษณาในลักษณะของแผ่นเสียงหรือเทป แล้วแต่ชนิดของการใช้งานและความต้องการของแต่ละสถานี (ความยาว 30 นาที เป็นความยาวที่ทุกสถานียึดเป็นมาตรฐาน)
ข้อความที่ผู้จัดรายการวิทยุอ่านสดๆ โฆษณาสินค้าสลับเปิดเพลงไม่นับว่าเป็นสปอตวิทยุ ซึ่งถือว่าเป็นเพียง "คำพูดวิทยุ" เท่าวัน

การใช้วิทยุเป็นสื่อในการโฆษณามีข้อพิจารณาเหมือนกับโทรทัศน์เกือบทุกอย่าง เพียงแต่ว่าผู้ฟังรับข่าวสารจากวิทยุโดยการฟังและไม่สามารถมองเห็นผู้พูดได้และสถานีวิทยุมีจำนวนมากกว่าสถานีโทรทัศน์เป็นสิบเท่า ทำให้ผู้ฟังและไม่สามารถมองเห็นผู้พูดได้และสถานีวิทยุมีจำนวนมากกว่าสถานีโทรทัศน์เป็นสิบเท่า ทำให้ผู้ฟังแต่ละรายการของแต่ละสถานีจึงมีน้อยและการวัดผู้ฟังวิทยุทำได้ยาก

DJ


รูปแบบของสปอตวิทยุ

1. แบบใช้เพลงโฆษณา (Jingle approach)
สปอตวิทยุแบบนี้มักจะคล้องจองเป็นคำกลอนและเป็นทำนองที่น่าฟัง ร้องตามง่ายได้เนื้อหา แต่จะมีประสิทธิภาพข้อความสั้น ๆ หรือความคิดที่ไม่ซับซ้อนง่าย ๆ เท่านั้น

2. สปอตวิทยุแบบเล่าเรื่อง (Narrative commercials)
โดยมากจะเป็นการเล่าเรื่องส่วนใหญ่ด้วยบทสนทนาและมักจะเต็มไปด้วยอารมณ์ขัน
เนื่องจากในประเทศของเรา สปอตวิทยุถูกจำกัดไว้เพียง 30 วินาที ดังนั้นนักเขียนบทโฆษณาทางวิทยุต้องรู้จักใช้เวลาให้ดีวางโครงสร้าง
อย่างรอบคอบทำให้จุดขายสำคัญ เด่น และมีวรรคที่สำคัญๆ ที่จับใจคนฟังในที่สุด

3. สปอตวิทยุและประกาศตรงๆ
ในลักษณะประเภทนี้นิยมให้ผู้ประกาศเป็นผู้เสนอสาระเกี่ยวกับสินค้าเป็นจุดสำคัญที่ควรจะขาย และมักจะจบด้วยคำเชิญชวนให้ลอง สปอตประเภทนี้จะใช้เสียงประกอบช่วยสร้างบรรยากาศ หรือไม่ใช้ก็ได้

4. สปอตวิทยุแบบใช้บุคคล
สปอตวิทยุแนวนี้อาศัยความแรงจากบุคคลผู้เสนอสาระ อาจใช้บุคคลมีชื่อเสียงมาเสนอสินค้า โดยผู้เขียนบทโฆษณาจะเขียนบทให้ หรืออาจจะเพียงวางแนวทางการพูดแล้วให้ผู้พูจับสาระของสินค้าเพื่อพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ

การใช้สื่อทางวิทยุและกระจายเสียงมีข้อได้เปรียบ เสียเปรียบดังนี้

ข้อได้เปรียบ

1. สามารถส่งข้อความโฆษณาไปยังเป้าหมายได้เป็นจำนวนมากและอย่างรวดเร็ว
2. สามารถปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงโฆษณาได้จนถึงระยะเวลาใกล้เวลาก่อนออกอากาศเพียงเล็กน้อย
3. งานสร้างโฆษณาผ่านสื่อวิทยุเป็นงานที่ง่ายที่สุดและเสียค่าใช้จ่ายต่ำ
4. สามารถเลือกสื่อวิทยุเพื่อการโฆษณาได้มากกว่าสถานีโทรทัศน์
5. ข่าวสารโฆษณามีความถี่สูง

ข้อเสียเปรียบ

1. ไม่สามารถเข้าถึงผู้ฟังได้อย่างจริงจังเพราะในขณะฟังวิทยุ ผู้ฟังก็ทำอย่างอื่นไปด้วย
2. การไม่สามารถมองเห็นภาพของจริงได้
3. เป้าหมายของสื่อวิทยุมีอยู่อย่างกระจัดกระจายกัน เนื่องจากมีสถานีวิทยุเป็นจำนวนมาก
4. การโฆษณามีมากเกินควร งานเกี่ยวกับการเลือกสถานีวิทยุที่เหมาะสมเป็นงานที่ยาก และข้อมูลเกี่ยวกับรายการต่างๆ ของสถานีวิทยุแต่ละสถานีมักจะไม่สมบูรณ์

Back to Top



©2003 E-Learning, All Rights Reserved
.
Contact us : [email protected], [email protected]

 

Home
Hosted by www.Geocities.ws

1