Welcome to Faculty of Design
lesson  
Lesson Test Webboard Contact Us Links Site Map

บทที่ 1 ประวัติความเป็นมาของ
การโฆษณาในประเทศไทย

บทที่ 2
สื่อโฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์

บทที่ 3 สื่อโฆษณาประเภท
แพร่ภาพกระจายเสียง

บทที่ 4
สื่อโฆษณาประเภทวิทยุโทรทัศน์

บทที่ 5
สื่อโฆษณาเฉพาะกิจ


Member Logout
ขณะนี้ท่านได้เข้าสู่ระบบ

E-Learning เมื่อท่านใช้ระบบ
เรียบร้อยแล้วนั้น กรุณา
ออกจากระบบเพื่อ
ความปลอดภัยของข้อมูล

Logout

 

 
บทที่ 5 สื่อโฆษณาเฉพาะกิจ
[ แบบประเมินผลการเรียนรู้บทที่ 5 ]

 

ความแตกต่างของการโฆษณาแบบดั้งเดิมและการโฆษณาแบบออนไลน์ (Online Ads)

ลักษณะทางกายภาพ

โฆษณาแบบดั้งเดิม

โฆษณาทางอินเตอร์เน็ต

1. พื้นที่ๆ ที่ใช้ในการโฆษณา (Space)


ผู้โฆษณาต้องเสียค่าใช้จ่าย
ในการใช้พื้นที่โฆษณานั้นๆ
ซึ่งมีราคาแพงและมีอยู่อย่างจำกัด
ไม่ว่าจะเป็นสื่อใดๆ ก็ตาม
ซึ่งทำให้ข่าวสารข้อมูลถูกจำกัด
อันเนื่องมาจากการเสียค่าใช้จ่าย
ที่เกิดจากการซื้อพื้นที่เพื่อการโฆษณา

พื้นที่ ที่ใช้นั้นไม่มีข้อจำกัดและราคาถูก
สามารถใช้ข้อความได้เป็นจำนวนมาก
เกี่ยวกับบริษัทและตัวผลิตภัณฑ์

2. เวลาที่ใช้ในการโฆษณา (Time)

เวลาจัดว่าเป็นต้นทุนประเภทหนึ่งที่ราคาแพง
และมีข้อจำกัดดังนั้นผู้โฆษณา
จึงมีเวลาน้อยมากในการส่งข้อมูลข่าวสาร
และตัวผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภค

 

ผู้บริโภคจะเป็นผู้ใช้เวลาของตนเอง
ในการเข้าถึงข้อมูล
และเป็นผู้ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เอง
เพราะต้องสมัครสมาชิก ISP
รายใดรายหนึ่ง และเสียค่าบริการ

 

3. การสร้างสรรค์ผลงาน
(Image creation)

การสร้างสรรค์ผลงานนั้น มักใช้สถิติ ภาพ
เพลงประกอบ การใช้แสง-เงา|
และการกระทำเป็นหลักในการโฆษณา


ข้อมูลข่าวสารเป็นองค์ประกอบรองลงมา
หัวใจสำคัญคือ ข้อมูลข่าวสาร

 

4. สื่อสารทางตรง
(Communication Direction)

มื่อได้เปิดรับการชมโฆษณาแล้ว
หากเกิดความสงสัย ณ ขณะนั้น จะไม่สามารถสอบถามไปได้ทันที


ผู้บริโภคจะเป็นผู้ค้นหา
ข้อมูลข่าวสารนั้นเอง
และสามารถค้นหาคำตอบในสิ่ง
ที่ตนเองสงสัยได้ทันที
หรือสอบถามไปยังบริษัท
โดยผ่านอีเมล์ (e - mail)

5. การโต้ตอบ (Interactive)

หากคุณกำลังชมทีวีอยู่และเห็น
การโฆษณาสินค้าใหม่ ที่คุณสนใจ
เมื่อต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็ต้องไปค้นหาเพิ่มเติม
ที่ร้านค้าหรือบริษัทนั้นๆ


เมื่อได้ชมโฆษณาทางทีวีนั้นเสร็จสิ้นแล้ว
ปรากฎเว็บไซต์ซึ่งเป็นที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต
ของสินค้านั้นๆ ปรากฏบนจอทีวี หากยังต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
ก็สามารถเข้าไปค้นได้
ตามไซต์ดังกล่าวนั้นๆ

6. การเรียกร้องให้กระทำ

การเรียกร้องขึ้นอยู่กับอารมณ์เป็นหลัก การเรียกร้องขึ้นอยู่กับข้อมูลข่าวสารเป็นหลัก

ถ้าข้อมูลเป็นปรากฏบนเว็บไซต์นั้นดี ก็มีโอกาสที่จะเปิดการขายได้ก่อนใคร

ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร (Communication costs)
นับเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งในการเข้าสู่อินเตอร์เน็ต ซึ่งค่าใช้จ่ายที่สำคัญที่สุดก็คือ connection fees ไม่ว่าไซต์นั้นจะใหญ่หรือเล็กก็ตาม
สำหรับค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ดูแลและแก้ไขเปลี่ยนแปลงปรับปรุงนั้น เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ ที่ปรากฏอยู่ตลอดไป
นับแต่วันที่เริ่มต้นจัดทำโฮมเพจ ซึ่งโฮมเพจเองก็จะต้องถูกพัฒนาเสมอ ทั้งนี้และทั้งนั้นต้องมีการจัดสรรงบประมาณไว้ส่วนหนึ่งด้วย ซึ่งในการดำเนินการไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ (Update) หรือการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหน้าตาของโฮมเพจ
ให้ดึงดูดผู้ชมอยู่เสมอก็ตาม

การใช้สื่อโฆษณาเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีข้อได้เปรียบ เสียเปรียบ ดังนี้

ข้อได้เปรียบ

1. เข้าถึงผู้บริโภคได้รวดเร็ว บริการตลอด 24 ชั่วโมง
2. ให้รายละเอียดกับสินค้าและบริการได้มาก
3. อัตราค่าโฆษณาถูก

ข้อเสียเปรียบ
1. กลุ่มผู้บริโภคยังไม่มากนัก
2. จำกัดผู้ดู คือ มีผู้พบเห็นได เฉพาะที่ใช้บริการเท่านั้น

7. สื่อโฆษณาประเภทสนับสนุนเฉพาะกิจ
- สมุดนามานุกรมโฆษณา (Directory)
- นิทรรศการ (Exhibition)
- โฆษณาเบ็ดเตล็ด

สมุดนามานุกรมโฆษณา Directory

สมุดนามานุกรมโฆษณา เป็นสิ่งโฆษณาที่มีประโยชน์มาก สำหรับผู้ผลิตรายย่อยๆ ที่ไม่สามารถจะทำการโฆษณาชนิดที่จะต้องมีการลงทุน
สูง เช่น การโฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์ หรือทำป้ายโฆษณาใหญ่ๆ ได้ นอกจากนั้นยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตที่ผลิตสินค้าที่มีลักษณะพิเศษ
เช่นเครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ เครื่องจักรกลที่ใช้ในโรงงาน หรือเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

สมุดนามานุกรมโฆษณาแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. สมุดนามานุกรมโฆษณาที่ลงโฆษณาทั่วๆ ไป
สมุดนามานุกรมโฆษณาประเภทนี้ ที่รู้จักกันดีก็ได้แก่ สมุดธุรกิจ เยลโล่ เพจเจ็ส เป็นสมุดนามานุกรมโฆษณาที่มีลักษณะคล้ายๆ
กับ
สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ แต่แทนที่จะจัดเรียงรายนามผู้ลงโฆษณาตามลำดับตัวอักษร อย่างสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์
สมุดธุรกิจเยลโล่ เพจเจ็ส จะจัดเรียงลำดับผู้ลงโฆษณาตามหมวดหมู่ของธุรกิจ เช่น กล้วยไม้ ขนมปังเครื่องจักรกล ฯลฯ
โดยที่ในหมวดของกล้วยไม้ก็จะมีรายชื่อพร้อมทั้งที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ของผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับกล้วยไม้ เช่น ผู้ปลูกกล้วยไม้ ผู้ขายส่ง
ผู้ขายปลีก หรือผู้ส่งออก โดยรายชื่อเหล่านี้จะจัดเรียงตามลำดับตัวอักษร ในการลงโฆษณานั้น ผู้ลงโฆษณาสามารถจะเน้น
หรือทำให้โฆษณาของตนเองเด่นขึ้นมาได้ โดยการพิมพ์ชื่อบริษัทเป็นตัวโตหรือตัวหนากว่าธรรมดา และนอกจากจะเน้น
โดยใช้ขนาดของตัวอักษรแล้ว ยังสามารถลงรูปโฆษณาได้ด้วย ซึ่งแน่นอนว่าในการลงโฆษณาพิเศษเหล่านี้ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

2. สมุดนามานุกรมโฆษณาเฉพาะธุรกิจบางประเภท
สมุดนามานุกรมโฆษณาชนิดนี้ จะเป็นสมุดนามานุกรมโฆษณาที่ทำแจกหรือทำขายโดยจะเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นธุรกิจประเภทหนึ่ง
ประเภทใดโดยเฉพาะ เช่น สมุดนามานุกรมโฆษณาสำหรับสถาปนิก ก็จะเป็นสมุดนามานุกรมโฆษณาที่รับลงโฆษณาเฉพาะธุรกิจ
ที่เกี่ยวข้องกับงานของสถาปนิกเท่านั้น เช่น วัสดุก่อสร้าง เครื่องมือเขียนแบบ หรือสมุดนามานุกรมโฆษณาที่ทำขึ้นมาสำหรับนักโฆษณา
ที่เกี่ยวกับงานโฆษณา เช่น รายชื่อของช่างภาพที่ถ่ายภาพโฆษณา รายชื่อผู้ถ่ายทำภาพยนต์ หรือผู้ทำแอนิเมชั่น (Animation
เหล่านี้เป็นต้น
สมุดนามานุกรมโฆษณาประเภทนี้ จะมีรายละเอียดมากกว่าสมุดนามานุกรมโฆษณาประเภททั่วไป เช่น สมุดนามานุกรมโฆษณา
ที่ลงรายชื่อของช่างภาพที่ถ่ายภาพโฆษณา นอกจากจะลงชื่อที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์แล้ว ก็ยังอาจจะลงภาพผลงานที่ได้ทำมาแล้ว
ของช่างภาพคนนั้นให้ดูเป็นตัวอย่างอีกด้วยก็ได้

การใช้สื่อนามานุกรมโฆษณามีข้อได้เปรียบ เสียเปรียบ ดังนี้

ข้อได้เปรียบ
1. เจาะกลุ่มเป้าหมายได้ดี
2. ค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก

ข้อเสียเปรียบ
1. ใช้ได้แต่เฉพาะผู้ที่ต้องการซื้อสินค้าเท่านั้น
2. ให้รายละเอียดของสินค้าได้ไม่มากนัก

นิทรรศการ Exhibition
นิทรรศการเป็นการจัดแสดงสิ่งต่างๆ ให้ผู้ชมได้ชม รวมทั้งอาจจะมีการสาธิตต่าง ๆ ให้ชมด้วยก็ได้ รูปแบบของการโฆษณา
โดยการจัดนิทรรศการนี้ จะเป็นการจัดแสดงสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง โดยจะมีผู้ผลิตจากหลายบริษัท ส่งสินค้าเข้ามาร่วมแสดง ตัวอย่างเช่น นิทรรศการเครื่องเสียง ก็จะมีผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายเครื่องเสียง จากหลายบริษัทนำเครื่องเสียงมาแสดงในงาน ซึ่งในการนำสินค้ามาแสดงนั้น ก็อาจจะเป็นการเปิดตัวของสินค้ารุ่นใหม่ หรืออาจจะเป็นการนำเอาสินค้ารุ่นที่ต้องการส่งเสริมการขายตั้งแสดงก็ได้

การโฆษณาโดยการจัดนิทรรศการ สามารถจะทำได้กับสินค้าทุกชนิด แต่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับสินค้าประเภทที่จะต้อง
มีการทดสอบประสิทธิภาพ ทดลองใช้ หรือพิจารณาดูจากตัวอย่างของจริงเสียก่อน จึงจะตัดสินใจ เช่นการซื้อเครื่องเสียง
เราไม่อาจจะตัดสินใจเลือกซื้อได้ เพียงแต่พิจารณาดูรูปร่างและคุณลักษณะเฉพาะ (specifications) จากแคตาล็อคหรือโฆษณา
ในนิตยสารเท่านั้น เราต้องทดลองฟังจึงจะเลือกซื้อได้ ซึ่งการจัดนิทรรศการเครื่องเสียง ก็จะเป็นวิธีหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ซื้อสามารถตัดสินใจได้ง่ายขื้น และเนื่องจากในนิทรรศการที่จัดขึ้นนั้น จะมีสินค้าประเภทเดียวกัน จากหลายบริษัทมาตั้งแสดง ก็จะเป็นโอกาสอันดีที่ผู้ซื้อสามารถจะเปรียบเทียบคุณภาพและราคาของสินค้าแต่ละชนิดได้อีกด้วย

นอกจากสินค้าประเภทที่จะต้องมีการทดสอบประสิทธิภาพ หรือทดลองใช้ก่อนซื้อแล้ว การจัดนิทรรศการก็ยังเป็นวิธีการที่นิยมใช้
สำหรับสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูง ๆ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะต้องอาศัยการสาธิตวิธีการใช้ให้ดู เพื่อที่ผู้ชื้อจะได้เห็นถึงประสิทธิภาพของเครื่องมือ การจัดนิทรรศการจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ขาย ได้ทำการสาธิตวิธีการใช้และแสดงถึงประสิทธิภาพของเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่นำมาแสดงได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้แล้ว
สินค้าที่มีขนาดใหญ่ๆ เช่น เครื่องเรือน รถยนต์ หรือเครื่องพิมพ์ ก็เหมาะอย่างยิ่งที่จะทำการโฆษณาโดยวิธีการจัดนิทรรศการ

การจัดนิทรรศการทำได้ 2 แบบ คือ

1. การจัดนิทรรศการสำหรับสินค้าเฉพาะอย่าง เช่น นิทรรศการคอมพิวเตอร์ นิทรรศการเครื่องเสียง ฯลฯ
2. การจัดนิทรรศการสำหรับสินค้าที่กำหนดกลุ่มเป้าหมาย เช่น นิทรรศการบ้านก็จะมีผู้ขายบ้านมาแสดง รวมไปถึงผู้ขายเครื่องเรือน
เครื่องไฟฟ้า เป็นต้น

การใช้สื่อนิทรรศการมีข้อได้เปรียบ เสียเปรียบ ดังนี้

ข้อได้เปรียบ
1. กำหนดกลุ่มเป้าหมายได้แน่นอน
2. สามารถให้รายละเอียดของสินค้าได้ดีที่สุด
3. ผู้ซื้อได้เห็นของจริง และสามารถทดสอบประสิทธิภาพของสินค้าได้
4. เหมาะในการสร้างภาพพจน์ของสินค้า
5. สามารถจูงใจลูกค้าได้ง่าย

ข้อเสียเปรียบ
1. จำกัดอยู่ในสถานที่ ถ้าไม่มีผู้ไปชมก็ไม่ได้ผล
2. ค่าใช้จ่ายสูง
3. มีการแข่งขันสูง

โฆษณา ณ จุดซื้อ (จุดขาย) Point of purchase (seal) Advertising
สินค้าอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่เมื่อออกสู่ท้องตลาด ก็มักจะวางขายตามร้านขายของหรือห้างสรรพสินค้า ซึ่งจะเป็นสถานที่ที่ลูกค้าจะมาซื้อ ดังนั้นโอกาสสุดท้ายที่ผู้โฆษณาจะสามารถโน้มน้าวจิตใจ หรือชักจูงให้ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของตนได้ ก็คือ
การโฆษณาภายในหรือซุ้มนั่นเอง ซึ่งเราเรียกการโฆษณาประเภทนี้ว่า โฆษณา ณ จุดซื้อ (จุดขาย)

โฆษณา ณ จุดขาย มีความหมายกว้างครอบคลุมไปถึงวิธีกาอะไรก็ตาม ที่ผู้โฆษณาใช้เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ซื้อสินค้าของตน นอกเหนือไปจากการจัดวางสินค้าบนชั้นวางตามธรรมดาแล้ว ซึ่งการโฆษณา ณ จุดขายนี้ อาจทำได้หลายวิธี เช่น ทำเป็นโปสเตอร์
หรือสติกเกอร์ติดที่กระจกหน้าร้าน ทำเป็นธงราว (F-flags , Bunting) เป็นแผ่นป้ายเล็ก ๆ ติดที่ชั้นวางของ
(Shelf-talker, Shelf-vision) ทำเป็นบัตรตามเคาน์เตอร์ , ป้ายส่งเสริมการขาย (Counter card , Show card)
หรือทำเป็นที่ตั้งแสดงสินค้าเป็นพิเศษ (Gondola) หรือ ป้ายติดรถเข็น ป้ายติดตะกร้า (Mobile billboard)
หรือภาพโฆษณาบนทางเท้า (Floor vision) นอกจากสิ่งโฆษณาเหล่านี้แล้ว โฆษณา ณ จุดขายยังรวมไปถึงการที่พนักงานของบริษัท มาสาธิตประสิทธิภาพของสินค้าให้ชมหรือนำสินค้าให้ลองมาชิมภายในบริเวณร้านอีกด้วย (Demonstrations service)

เนื่องจากโฆษณา ณ จุดขาย จะเป็นการโฆษณาในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น ในช่วงที่มีการลดราคา ช่วงของการแนะนำสินค้าใหม่
หรือโฆษณาแข่งขันกับสินค้ายี่ห้ออื่น สิ่งโฆษณาเหล่านี้จึงมักจะออกแบบมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ใช้ได้ในช่วงระยะสั้นๆ แล้วก็ทิ้งไป
เมื่อหมดช่วงแนะนำ หรือส่งเสริมการขายสินค้าชนิดนั้นๆ แล้ว

การโฆษณา ณ จุดซื้อมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบ ดังนี้

ข้อได้เปรียบ

1. ดึงดูดความสนใจของผู้ซื้อ
2. เหมาะสำหรับใช้กับการแนะนะสินค้าใหม่ หรือสินค้าที่ต้องการส่งเสริมการขาย
3. เตือนความจำลูกค้าเป็นครั้งสุดท้าย ให้ระลึกถึงยี่ห้อของตนก่อนซื้อสินค้า
4. ค่าใช้จ่ายไม่สูง

ข้อเสียเปรียบ
1. หาที่ติดไม่ค่อยจะได้
2. มีการแข่งขันสูง

โฆษณาเบ็ดเตล็ด
ยังมีโฆษณาอีกมากมายหลายชนิดที่ยังไม่ได้กล่าวถึง เนื่องจากไม่สามารถจะจัดเข้าอยู่ในประเภทหนึ่งประเภทใดที่กล่าวมาแล้วได้
สิ่งโฆษณาเหล่านี้ ต่างก็มีรูปแบบต่างๆ กันออกไป ถ้าจะกล่าวถึงทุกชนิดคงทำไม่ได้ เพราะสื่อโฆษณาสามารถทำได้ทุกรูปแบบยิ่ง
ในปัจจุบันวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีสูง ย่อมทำให้สื่อโฆษณาที่มีรูปแบบแปลกใหม่ใช้เทคนิคใหม่ๆ เกิดขึ้น ถ้ามีช่องทางใดหรือวิธีการใดที่สามารถทำการโฆษณาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ผู้โฆษณาย่อมคิดประดิษฐ์ช่องทางโฆษณาขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา
ในหน่วยเรียนนี้จะยกตัวอย่างที่มีลักษณะเด่นๆ ดังนี้

ของแจก
การโฆษณาประเภทนี้ จะใช้วิธีแจกของให้กับผู้ที่เป็นลูกจ้างประจำ หรือตัวแทนจำหน่าย โดยการแจกนั้นจะทำเมื่อไรก็ได้
แต่ส่วนมากจะแจกให้ในช่วงเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ หรือเนื่องในวันสำคัญของบริษัท เป็นต้น ส่วนของที่ใช้แจกนั้น
ก็มักจะเป็นของที่ต้องใช้กันอยู่บ่อย ๆ หรือใช้เป็นประจำ และที่สำคัญคือจะต้องมีชื่อหรือโลโก (logo) ของบริษัทติดอยู่บนของนั้นๆ
ด้วย ของแจกเหล่านี้ก็ได้แก่ ปฏิทิน ปากกา สมุดไดอารี่ ที่เขี่ยบุหรี่ ที่ทับกระดาษ ไปจนถึงวิทยุหรือเครื่องคิดเลข เป็นต้น

ของแถม
ของแถมดูเผินๆ แล้วอาจจะเห็นว่าไม่ได้มีส่วนแต่อย่างใดต่อการโฆษณาสินค้า คือ เป็นของที่ให้มาพร้อมกับสินค้าที่เราซื้อเท่านั้น เช่น ซื้อบะหมี่สำเร็จรูป 10 ห่อ แถมจาน 1 ใบ หรือเติมน้ำมันครบ 300 บาท แถมแก้วน้ำ 1 ใบ เป็นต้น แต่บางครั้งของแถมจะมีชื่อ หรือโลโกของบริษัทติดอยู่บนของแถมนั้นด้วย ของแถมประเภทนี้เราถือว่าเป็นสิ่งโฆษณาชนิดหนึ่ง สื่อโฆษณาที่อยู่ในรูปของแถมนี้ เป็นสิ่งจูงใจที่มีผลต่อการซื้อสินค้ามาก เพราะส่วนใหญ่เราไปซื้อสินค้าชนิดหนึ่งที่เหมือนๆ กันสองยี่ห้อ ทั้งปริมาณ คุณภาพและราคา แต่ยี่ห้อหนึ่งนั้นซื้อแล้วได้ของแถมด้วย เราก็มักจะตัดสินใจเลือกซื้อยี่ห้อที่มีของแถม โดยเมื่อก่อนนี้เราอาจจะไม่เคยซื้อสินค้ายี่ห้อนี้เลยก็ได้ แต่ที่ซื้อก็เพราะมีของแถม ยิ่งไปกว่านั้น บางครั้งผู้ซื้ออาจจะซื้อ เพราะต้องการของแถมแต่เพียงอย่างเดียว โดยที่ยังไม่มีความต้องการ ในสินค้าชนิดนั้นเลยก็เป็นได้

ของตัวอย่าง
การแจกของตัวอย่างเป็นวิธีโฆษณาที่ดีวิธีหนึ่ง เพราะเท่ากับเป็นการบังคับให้ผู้บริโภคได้ทดลองใช้ หรือบริโภคสินค้าชนิดนั้นๆ
ซึ่งผู้ที่ทดลองใช้ของตัวอย่างที่แจกมาให้แล้วนั้น จะสามารถตัดสินใจได้เลยว่าสินค้าชนิดนั้นๆ มีคุณภาพดี สมควรที่จะซื้อมาไว้ใช้หรือไม่

ของตัวอย่างที่ใช้แจกส่วนใหญ่ จะเป็นของอุปโภคหรือบริโภค เช่น สบู่ ยาสีฟัน แชมพู ยาสระผม กาแฟ ฯลฯ โดยที่ของแจกเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับตัวสินค้าจริงๆ เพียงแต่จะมีขนาดเล็กกว่าเท่านั้นเอง

วิธีการแจกของตัวอย่างก็สามารถทำได้หลายวิธี เช่น อาจจะยืนแยกตามที่ชุมชน แจกให้เฉพาะผู้ที่มาซื้อสินค้า หรือนำไปแจกตามบ้าน หรือสำนักงาน นอกจากนี้แล้ว การแจกก็อาจจะแจกให้กับทุกคนไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิง หรืออาจจะแจกแค่เฉพาะผู้ชาย หรือผู้หญิงแต่เพียงอย่างเดียวก็ได้ ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้าที่จะแจก เช่น ถ้าเป็นสินค้าพวกเครื่องสำอาง ก็จะแจกให้แต่เฉพาะผู้หญิง แต่ถ้าเป็นมีดโกนหนวดก็แจกให้เฉพาะผู้ชาย เป็นต้น

ของแลก
เป็นสื่ออย่างหนึ่งของการโฆษณา ของแลก คือ ของที่ผู้บริโภคจะต้องทำตามกติกาที่ผู้ขายกำหนดแล้วจึงแลกของได้
เช่น นมโฟโมส UHT จัดรายการให้ผู้บริโภคสะสมฉลาก 6 กล่องพร้อมเงิน 100 บาท มาแลกซื้อกระเป๋าเป้มูลค่า 400 บาท ได้ เป็นต้น

หุ่นจำลอง
หุ่นจำลอง (Focus display , Mock up) อาจเป็นตัวสินค้า หรือรูปสัญลักษณ์ของสินค้าหรือบริการนั้นๆ ก็ได้
สร้างออกมาให้เป็นรูปแบบ 3 มิติ เพื่อดึงดูดความสนใจกลุ่มผู้บริโภคและใช้ตกแต่งร้านค้าให้สวยงามเป็นที่น่าสนใจ


สื่อบนภาชนะ
สื่อโฆษณานี้มักจะอยู่ในรูปแบบของการแสดงตราสัญลักษณ์ มากกว่าการบอกสรรพคุณสินค้า หรือชักชวนให้ซื้อ
เป็นการย้ำเตือนผู้บริโภคให้คุ้ยเคยกับยี่ห้อของตน อีกทั้งสร้างภาพลักษณะที่ดีให้แก่สินค้า หรือบริการของตนด้วย สื่อโฆษณานี้
จะอยู่ในรูปแบบของการพิมพ์ตราสัญลักษณ์ลงบนภาชนะต่างๆ เช่น จาน แก้ว ช้อน ที่เขี่ยบุหรี่ ที่คนเหล้า ที่รองแก้ว กระดาษทิชชู ถังขยะ ฯลฯ

 

 

Back to Top

1 | 2 | 3 | 4 I



©2003 E-Learning, All Rights Reserved
.
Contact us : [email protected], [email protected]

 

Hosted by www.Geocities.ws

1