RADAR (Radio Detection and Ranging)

 Home     การทำงานเรดาร์    เรดาร์ตรวจอากาศ     เรดาร์ทางเรือ     นำวิถีด้วยเรดาร์     ระยะบอดของเรดาร์     About  

การนำวิถีด้วยเรดาร์

 การตรวจจับเป้าหมายของเรดาร์ในระบบจรวด

    ระบบจรวดที่ใช้เรดาร์ในการค้นหาเป้าหมายมีรูปแบบในการโจมตีอยู่ 3 ลักษณะ คือ จากอากาศสู่อากาศ, จากพื้นสู่อากาศ และอากาศสู่พื้น เทคนิคการทำงานของเรดาร์ในระบบอาวุธจะแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ

     1.Missile Homing Technique
     2.Missile Guidance Technique

 ระบบจรวดที่นำวิถีแบบ Missile Homing

ที่มาภาพ : Aerospaceweb

    1.Passive Radiation Homingเป็นจรวดนำวิถีในรูปแบบ Fire-and-Forget โดยลักาณะการทำงานของจรวด นำวิถีแบบนี้คือ เมื่อระบบอาวุธยิงจรวดประเภทนี้ออกไป จรวดจะรับสัญญาณอ้างอิงจากเป้าหมายเพียงอย่าง เดียวในการนำวิถีไปสู่เป้าหมาย โดยที่ระบบอาวุธหรือจรวดดังกล่าวไม่ต้องส่งสัญญาณใดเพื่อนำวิถีจรวดนั้น ไปสู่เป้าหมาย

    2.Semi-Active Homing การทำงานและนำวิถีของจรวดประเภทนี้จะถูกแบ่งเป็น 2 ระบบ คือ เรดาร์ในเครื่องยิงจรวด (Illuminator) ทำหน้าที่ส่งคลื่นเรดาร์ไปยังเป้าหมายให้เป็นสัญญาณอ้างอิงให้กับ จรวดในจรวดจะมีชุดเครื่องรับสัญญาณจากสัญญาณสะท้อนเป้าหมาย ดังนั้นชุดเครื่องส่งสัญญาณเรดาร์เพื่อ ใช้ในการตรวจจับเป้าหมายต้องมีกำลังค่อนข้างสูงและใช้คลื่นเรดาร์แบบ Continuous Wave (CW) หรือ PRI ค่อนข้างต่ำ ในกรณีที่ใช้คลื่นพัลล์ในการตรวจจับเป้าหมายนั้น เทคนิค Pulse Dopple เป็นเทคนิคหลักที่ใช้ใน ระบบจรวดแบบ Semi-Active ซึ่งจะแก้ปัญหาเรื่องระยะบอดของเรดาร์ได้

ที่มาภาพ : Aerospaceweb

    3.Active RADAR Homingในจรวดพิสัยกลางและพิสัยไกล จรวดจะถูกนำไปสู่เป้าหมายโดยใช้ระบบ Inertial Navigation, การอัพเดตข้อมูลจากเครื่องยิงจรวดก่อนเข้าถึงระยะทำการของจรวด เมื่อเข้าทำการ ของจรวด เรดาร์ในจรวดจะส่งสัญญาณเรดาร์และรับสัญญาณสะท้อนจากเรดาร์โดยตรง ซึ่งเรดาร์ในจรวดจะ ส่งสัญญาณโดยใช้เทคนิค Pulse Doppler และใช้คลื่นความถี่ในย่าน I/J Band (8-20 GHz) และเมื่อจรวด อยู่ใกล้เป้าหมาย จรวดแบบนี้จะเปลี่ยนโหมดการทำงานเป็นแบบ Boresight ซึ่งจะทำให้จรวดเข้าสู่เป้าหมาย ได้แม่นยำมากขึ้น

    การนำวิถีแบบ Active RADAR Homing เป็นวิธีการนำวิถีของจรวดที่จะนำโดยใช้ตัวส่งสัญญาณเรดาร์และชุดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นสำหรับการค้นหาและติดตามเป้าอย่างอัตโนมัติ โดยกลุ่มประเทศนาโต้ได้กำหนดรหัสในการยิงจรวดนำวิถีด้วย Active RADAR Homing ว่า “Fox Three” ตัวอย่างของจรวดชนิดนี้ได้แก่ R-77, AIM-120, และ Meteor

 ระบบจรวดที่นำวิถีแบบ Missile Guidance

    1.Command Guidance เป็นวิธีการนำจรวดไปสู่เป้าหมายโดยการตรวจจับทั้งเป้าหมายและตัว จรวดเองในระหว่างการยิง ซี่งระบบควบคุมการยิงจะส่งการคำนวณระยะทางและเส้นทางไปยังจรวด โดยที่ คำสั่งนั้นส่งออกมาในรูปแบบคลื่นเรดาร์ คลื่นวิทยุ หรือแสงเลเซอร์ ซึ่งในระบบจรวดแบบนี้ ส่วนใหญ่จะเป็น จรวดจากพื้นสู่อากาศ

    2.Track Via Missile ระบบเรดาร์ในปัจจุบันมีสามารถในการตรวจจับเป้าหมายได้หลายเป้าหมาย ในเวลาเดียวกัน ซึ่งทำให้ระบบจรวดมีการพัฒนาโดยนำความสามารถทั้ง Homing และ Guidance มา รวมกันไว้ในระบบเดียวกัน

ที่มาภาพ : Aerospaceweb

    นอกจากนี้ระบบเรดาร์ยังสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ เรดาร์ปฐมภูมิ (Primary RADAR) และ เรดาร์ทุติยภูมิ (Secondary RADAR) ซึ่งมีข้องที่แตกต่างกันที่การสะท้อนของสัญญาณ โดยระบบเรดาร์ทุติยภูมินอกเหนือจากการสะท้อนคลื่นแล้วยังมีการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ (เช่น ความสูง ความเร็ว สัญญาณบอกฝ่าย เป็นต้น) ของเป้าหมายรวมเข้ากับสัญญาณที่ส่งไป และส่งกลับมาที่ภาครับของเรดาร์ เพื่อให้สามารถยืนยันความเป็นตัวตนของเป้าหมายที่ถูกตรวจพบ โดยปกติแล้วระบบเรดาร์ทุติยภูมิจะต้องทำงานร่วมกันระหว่างเรดาร์และเป้าหมาย เพื่อใช้ในการพิสูจน์ฝ่าย (Identification Friend or Foe: IFF)





ที่มาข้อมูล

กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทหารอากาศ  
https://nniwat.wordpress.com/2010/07/08/ส่วนประกอบของเรดาร์เบี้อง/
Aerospaceweb(http://www.aerospaceweb.org/question/weapons/q0187.shtml)
Other websites:
กรมอุตุนิยมวิทยา   LESA   กรมอุตุนิยมวิทยาการบิน   GISTDA   Windy   Wikipedia   Flightradar24   Aerospaceweb   กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ