RADAR (Radio Detection and Ranging)

 Home     การทำงานเรดาร์    เรดาร์ตรวจอากาศ     เรดาร์ทางเรือ     นำวิถีด้วยเรดาร์     ระยะบอดของเรดาร์     About  

เรดาร์ตรวจอากาศ

   เรดาร์ตรวจอากาศเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจับตำแหน่งและทิศทางการเคลื่อนที่ของเมฆและพายุ โดยการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกไปกระทบแล้วสะท้อนกลับมา แล้วคำนวณเปรียบเทียบระยะวลาที่คลื่นเดินทางออกไปแล้วสะท้อนกลับมา ทำให้ทราบว่าเมฆหรือพายุอยู่ห่างออกไปเท่าไร นอกจากนั้นแล้วยังใช้ปรากฏการณ์ด็อปเปลอร์คำนวณว่า เมฆหรือพายุกำลังเคลื่อนที่เข้าใกล้หรือออกห่างด้วยความเร็วเท่าไร เสาอากาศของเรดาร์ตรวจอากาศหมุนรอบตัวเพื่อตรวจสภาพอากาศที่อยู่รอบๆ ซึ่งมีรัศมีทำการได้ไกลหลายร้อยกิโลเมตร สีเขียว สีเหลือ และสีแดง คือเมฆที่มีความหนาแน่นจากน้อยไปมากตามลำดับ

เรดาร์ตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาสทิงพระ จังหวัดสงขลา วันที่ 11 มกราคม 2564
(https://weather.tmd.go.th/)

ตามปกติเรดาร์ตรวจอากาศจะถูกติดตั้งอยู่ภายในโดมทรงกลมบนยอดอาคารอุตุนิยมวิทยา เพื่อป้องกัน ลม แสงแดด ความชื้นและฝน (คลื่นวิทยุสามารถเดินทางผ่านผนังโดมได้)

เรดาร์ตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาสทิงพระ จังหวัดสงขลา C-BAND

ที่มาภาพ : Longdomap(https://map.longdo.com/node/819724)

เรดาร์ตรวจอากาศที่กรมอุตุนิยมวิทยาที่ใช้งานมี 3 ชนิด

    1.เรดาร์ตรวจอากาศแบบ X –BAND มีความถี่ 6,200 - 10,900 MHz ความยาว คลื่น 2.75 - 4.84 cm เป็นเรดาร์ขนาดเล็กเหมาะในการตรวจ ฝนกำลังอ่อน–กำลังปานกลาง และ สามารถตรวจฝนกำลังแรงได้ ้ มีรัศมีทำการประมาณ 100 กม. รัศมีหวังผล 60 กม.
    2.เรดาร์ตรวจอากาศแบบ C –BAND มีความถี่ 3,900 - 6,200 MHz ความยาวคลื่น 4.84 - 7.69 cm เป็นเรดาร์ขนาดปานกลาง เหมาะในการตรวจ ฝนกำลังปานกลาง – กำลังแรง และ สามารถตรวจฝนกำลังอ่อนได้ มีรัศมีทำการประมาณ 480 กม. รัศมีหวังผล 240 กม.
    3.เรดาร์ตรวจอากาศแบบ S –BAND มีความถี่ 1,550-3,900 MHz ความยาวคลื่น 7.69–19.3 cm เป็นเรดาร์ขนาดใหญ่ เหมาะในการตรวจ ฝนกำลังแรง-กำลังแรงมาก และ สามารถตรวจ ฝนกำลังอ่อน–ฝนกำลังปานกลางได้ มีรัศมีทำการประมาณ 550 กม. รัศมีหวังผล เกินกว่า 300 กม.



ที่มาข้อมูล

กรมอุตุนิยมวิทยา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร(http://www.mut.ac.th/research-detail-39)
องค์ความรู้เรื่องเรดาร์ตรวจอากาศศูนย์อุตุนิยมวอทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง(http://www.ubonmet.tmd.go.th/files/KM-base/KM-2560-3.pdf)
Other websites:
กรมอุตุนิยมวิทยา   LESA   กรมอุตุนิยมวิทยาการบิน   GISTDA   Windy   Wikipedia   Flightradar24   Aerospaceweb   กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ