RADAR (Radio Detection and Ranging)

 Home     การทำงานเรดาร์    เรดาร์ตรวจอากาศ     เรดาร์ทางเรือ     นำวิถีด้วยเรดาร์     ระยะบอดของเรดาร์     About  

หลักการทำงาน

  เรดาร์ทำงานโดยการที่เครื่องส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาในรูป Pulse มีช่วงสั้นโดยออกจากเครื่องส่งไปยังจานสายอากาศ โดยส่งเป็นช่วงๆส่งและหยุดสลับกันไป(ที่ต้องเป็นเช่นนี้ก็เพื่อว่าให้เครื่องรับมีช่วงเวลาที่จะรับสัญญาณที่สะท้อนกลับมา) ในขณะเดียวกันจานสายอากาศก็จะหมุนโดยรอบ 360 องศา และทำหน้าที่รวมคลื่นให้เป็นลำเหมือนลำแสงจากไฟฉายส่ง ออกไปในทิศทางที่สัมพันธ์กับการหมุนของจานสายอากาศ คลื่นที่ส่งออกไปนี้จะเดินทางด้วยความเร็วเท่าความเร็วของแสง คือประมาณ 300,000,000 เมตร/วินาที เมื่อคลื่นไปกระทบเป้าก็จะสะท้อนกลับมายังจานสายอากาศแล้วส่งต่อไปถึงเครื่องรับ (ในช่วงที่เครื่องส่งหยุดส่งคลื่นโดยมีสวิตช์เปลี่ยนไปมาระหว่างการส่งและการรับ)เป้าที่มีความหนาแน่นมากจะสะท้อนคลื่น กลับมาแรงกว่าเป้าที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า จากนั้นคลื่นสะท้อนจะถูกส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลเพื่อประมวลผล แล้วส่งผลที่ได้ไปแสดงที่จอภาพ

(https://slideplayer.com/slide/4310231/)

  1.Modulator เป็นส่วนที่ทำหน้าที่สร้างคลื่นสัญญาณของเรดาร์ในแบบ Pulse ให้ออกมาตรงตามจังหวะของตัวควบคุมที่เรียกว่า Master timer
  2.Transmitter เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ส่งคลื่นสัญญาณเรดาร์ (Radar pulse) ที่มีการผสมผสานเข้ากับคลื่นจากอุปกรณ์ที่เป็นตัวต้นกำเนิด เช่น Klystron, Magnetron หรือ Solid state เพื่อให้ได้สัญญาณคลื่นเรดาร์ที่มีกำลังสูงแล้วจึงถูกส่งจาก Transmitter ออกไปตรวจจับเป้าหมาย
  3.Waveguide ลักษณะเป็นท่อโลหะ ทำหน้าที่นำคลื่นเรดาร์จาก Transmitter ผ่านไปยังจานสายอากาศ ขนาดของ waveguide ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดจะมีความสัมพันธ์กับค่าความถี่และความยาวคลื่นเรดาร์ โดยขนาดหน้าตัดเป็นครึ่งหนึ่งของความยาวคลื่น โดยในระบบเรดาร์นำ waveguide มาใช้แทนลวดทองแดงเพราะมีประสิทธิภาพสูงกว่าและมีอัตราการสูญเสียพลังงานระหว่างการเดินทางของคลื่นน้อยกว่า
  4.Duplexer หรือ Transmit/Receive Switch ทำหน้าที่เป็นตัวสวิทช์เครื่องรับ-ส่ง เลือกการทำงานสลับกันให้เครื่องเรดาร์ทำงาน
  5.Control Unit เป็นProcessor ทำหน้าที่จัดการควบคุมการทำงานของระบบเครื่องเรดาร์
  6.Antenna เป็นจานสายอากาศ ทำหน้าที่ส่งกระจายคลื่นออกไปตามทิศทางที่กำหนดและรวบรวมสัญญาณคลื่นที่สะท้อนกลับมา โดยจานสายอากาศมีในหลายรูปแบบ เช่น Parabolic, Planar array
  7.Receiver เป็นส่วนที่เป็นภาครับสัญญาณ ทำหน้าที่ขยายสัญญาณเรดาร์ที่สะท้อนกลับมาซึ่งจะมีค่าต่ำมากให้มีค่าพลังงานที่สูงขึ้นเพื่อให้สามารถนำมาประมวลผลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  8.Data Processor เป็นชุดคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลของสัญญาณที่สะท้อนกลับมาจากเป้ารวมทั้งจัดเก็บข้อมูล
  9.Monitor Unit เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แสดงผลการตรวจของเครื่องเรดาร์ อันประกอบด้วย หน่วยประมวลผล (processor) และชุดแสดงภาพ (Display) ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้รับการประมวลแล้วออกมาเป็นผลผลิตชนิดต่างๆ

การทำงานและส่วนประกอบที่สำคัญของ Pulse Radar


รูปแบบการตรวจเรดาร์2แบบ

  1.การตรวจในระนาบตามแนวรัศมีตามมุมยกของจานสายอากาศ เรียกว่าแบบ PPI (Plan Position Indicator)

  2.การตรวจในแนวดิ่งตามมุมก้ม-เงย ของจานสายอากาศ ที่ตำแหน่งทิศองศามุมคงที่ เรียกว่าแบบ RHI (Range Height Indicator)

ที่มา : Delft University of Technology




ที่มาข้อมูล

https://convectiveclouds.blogspot.com/2017/06/weather-radar.html
nniwat.wordpress.com
กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ
Other websites:
กรมอุตุนิยมวิทยา   LESA   กรมอุตุนิยมวิทยาการบิน   GISTDA   Windy   Wikipedia   Flightradar24   Aerospaceweb   กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ