RADAR (Radio Detection and Ranging)

 Home     การทำงานเรดาร์    เรดาร์ตรวจอากาศ     เรดาร์ทางเรือ     นำวิถีด้วยเรดาร์     ระยะบอดของเรดาร์     About  

เครื่องเรดาร์ตรวจการณ์ประจำเรือ (Marine Radar)

  ในช่วงสงครามเรดาร์ถูกใช้สำหรับ ตรวจหาเครื่องบินหรือเรือรบของข้าศึกที่เข้ามาในพื้นที่ตรวจจับของเรดาร์ ในปัจจุบันเรดาร์ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในตรวจจับเรือต่างๆบนผิวน้ำ การนำทาง เรดาร์รักษาความปลอดภัยของยวดยานทางอากาศและเรือสินค้าต่าง ๆ ใช้ค้นหาาเส้นทางและความเร็วที่เปลี่ยนไปของเรือลำอื่นในพื้นที่เรดาร์

 ระบบเรดาร์เรือทั่วไปจะแบ่งออกเป็นสามประเภทหลัก

  1.เรดาร์แบบ X - BAND มีความถี่ 6,200 - 10,900 MHz มีความยาวคลื่น 2.75 - 4.84 เซนติเมตร เป็นเรดาร์ขนาดเล็ก เหมาะสำหรับเรือขนาดเล็กจนถึงปานกลางทั่วไป เรือประมงทะเล หรือใช้งานเป็นเรดาร์ตัวที่สองสำหรับเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ มีความสามารถในการตรวจจับวัตถุในระยะใกล้ได้เป็นอย่างดี แต่เนื่องจากเป็นเรดาร์ขนาดเล็ก ความยาวคลื่นจึงสั้น เมื่อคลื่นของเรดาร์กระทบเป้ามาก จะมีการสูญเสียพลังงานมาก ทำให้เป้าหรือวัตถุที่ปรากฏบนจอเรดาร์มีรูปร่างผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง เรดาร์ชนิดนี้มีรัศมีทำการประมาณ 100 กม. และช่วงรัศมีหวังผลประมาณ 60 กม.
  2.เรดาร์แบบ C - BAND มีความถี่ 3,900 - 6,200 MHz ความยาวคลื่น 4.84 - 7.69 เซนติเมตร เป็นเรดาร์ขนาดปานกลาง มีราคาค่อนข้างสูงและประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเรดาร์แบบ S-BAND มีรัศมีทำการประมาณ 450 กม.และช่วงรัศมีหวังผลประมาณ 230 กม.
  3.เรดาร์แบบ S - BAND มีความถี่ 1,550 - 3,900 MHz ความยาวคลื่น 7.69 - 19.3 เซนติเมตรเป็นเรดาร์ขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับเรือประมงขนาดใหญ่ เรือเดินทะเลขนาดปานกลางขึ้นไป มีขีดความสามารถตรวจจับวัตถุในระยะไกลได้ดี ภาพวัตถุหรือเป้าที่จับได้นั้นมีรูปร่างผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงไปบ้างเล็กน้อย มีรัศมีทำการประมาณ 550 กม. และช่วงรัศมีหวังผลประมาณ 230 กม.

ที่มาภาพ : The Oceanography Society


หน้าจอแสดงผลเรดาร์

ทีี่มาภาพ: Wikipedia





ที่มาข้อมูล

Marinethai.net
The Oceanography Society (https://tos.org/oceanography/article/high-resolution-rain-maps-from-an-x-band-marine-radar-and-their-use-in)
Wikipedia
Other websites:
กรมอุตุนิยมวิทยา   LESA   กรมอุตุนิยมวิทยาการบิน   GISTDA   Windy   Wikipedia   Flightradar24   Aerospaceweb   กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ