ภาษาไทย / English
หน้าแรก
โครงการ
แผนที่
ร้านอาหาร
มังสวิรัติ
เชียงใหม่
อาหารล้านนา
ภาษาเหนือ
กระดานสนทนา
ดาวน์โหลด
เว็บไซต์น่าสนใจ
ภาษาเหนือ

ภาษาเหนือหรือภาษาล้านนาเป็นภาษาย่อยหรือภาษาถิ่นของภาษาไทย ใช้กันในดินแดนล้านนา 8 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน

ความแตกต่างของภาษาพูด (คำเมือง) ระหว่างภาษากลางและภาษาเหนือคือ การใช้คำศัพท์ พยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์ต่างกัน ตัวอย่างเช่น

คำศัพท์ต่างกัน
(ภาษากลาง - ภาษาเหนือ)

ยี่สิบ - ซาว
ไม่ - บ่
เที่ยว - แอ่ว
ดู - ผ่อ
สวย - งาม
อีก - แหม
นาน - เมิน
สนุก, ดี, เพราะ - ม่วน
อร่อย - ลำ
ข้าวเช้า - เข้างาย
ข้าวเที่ยง - เข้าตอน
ข้าวเย็น - เข้าแลง

พยัญชนะต่างกัน
เชียงใหม่ - เจียงใหม่ (ภาษาเหนือไม่มีเสียง ช ช้าง)
ร้อน - ฮ้อน (ภาษาเหนือไม่มีเสียง ร เรือ)
พี่ - ปี้
ที่ - ตี้

สระต่างกัน
เห็น - หัน
เอว - แอว
ให้ - หื้อ

วรรณยุกต์ต่างกัน
กิน - กิ๋น
จาน - จ๋าน

ประโยคสุภาพ
ครับ - คั่บ
ค่ะ - เจ้า

ตัวอย่างวลีที่ใช้บ่อย
สวัสดีค่ะ - สวั๋สดีเจ้า
สบายดีไหม - สบายดีบ๋อ
เป็นอย่างไรบ้าง - เป๋นจะใดพ่อง
มาจากไหน - ลุ่กไหนมา
กินข้าวแล้วหรือยัง - กิ๋นเข้าแล้วกา
อร่อยไหม - ลำก่อ
ขอบคุณมาก - ยินดีจ้าดนัก
ขอโทษ - ขอสูมาเต้อะ
ไม่เป็นไร - บ่เป๋นหยัง
จะกลับก่อนนะ - จะปิ้กก่อนเน่อ
พี่ชายชื่ออะไรค่ะ - อ้ายจื้ออะหยังเจ้า
คอยเดี๋ยวนะ - ท่ากำเน่อ
ไปทางไหน - ไปตางใด
เท่าไหร่ - เต้าใด
แล้วพบกันใหม่ - แล้วป๋ะกันใหม่

เสียงประกอบภาษาเหนือโดย ประทุมพร แก็ซดิค (คำมา)
ชาวอำเภอหางดง เชียงใหม่


สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือภาษาเหนือมีตัวอักษรของตัวเองเรียกว่า "ตัวเมือง" ซึ่งสามารถเห็นได้จากป้ายชื่อวัด หรือสถานที่อื่น ๆ

ตัวอย่างป้ายที่ใช้ตัวเมือง, อักษรไทยกลาง และอักษรโรมัน (ภาษาอังกฤษ)

คลิกดูภาพใหญ่


เว็บไซต์เรียนตัวเมืองและดาวน์โหลดฟอนต์ตัวเมือง

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เว็บตั๋วเมือง
โลกล้านนา


แนะนำหนังสือเกี่ยวกับตัวเมือง

บุญคิด วัชรศาสตร์. แบบเรียนภาษาเมืองเหนือ 65 ชั่วโมง ฉบับเรียนด้วยตนเอง. เชียงใหม่ : ธาราทองการพิมพ์, 2528.

Hosted by www.Geocities.ws

1