หากพิจารณาแล้ว หน้าที่ของแมคแอดเดรสมีความคล้ายคลึงกับหน้าที่ของ I/O Address เป็นอย่างมาก กล่าวคือ เครื่องพีซีแต่ละเครื่องจะมี I/O Address ซึงเป็นเส้นทางให้ซีพียูเข้าถึงอุปกรณ์ชนิดนั้นได้โดยตรง อุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ซาวด์การ์ด การ์ดเครือข่าย ฮาร์ดดิสก์คอนโทรลเลอร์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ จะต้องมี I/O Address ของตนจะต้องมีหมายเลขไม่ซ้ำกัน ถ้าอุปกรณ์ 2 ชิ้นเกิดมี I/O Address เดียวกันจะไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากเมื่อใดก็ตามที่ซีพียูได้ส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง แต่กลับมี 2 อุปกรณ์ที่ตอบสนองซีพียู ซึ่งเหตุการดังกล่าวทำให้เกิดการขัดแย้ง (Conflict) ของตัวอุปกรณ์ ทำให้เกิดข้อผิดพลาดจากการสื่อสารขึ้น


รูปที่ 3. ภาพแสดงแมคแอดเดรสของการ์ดเครือข่ายที่มีหมายเลขเดียวกันทำให้ไม่สามารถสื่อสารกันได้

             และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการมีหมายเลขแมคแอดเดรสที่ซ้ำกันดังนั้นทาง IEEE จึงมีข้อกำหนดเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการ์ดเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ทั่วไปจะมีชุดตัวเลขของแมคแอดเดรสไม่ซ้ำกัน โดยผู้ผลิตการ์ดเครือข่ายทุกรายจะต้องทำการจองค่าแมคแอดเดรสกับทาง IEEE ก่อนที่จะดำเนินการผลิตการ์ดเครือข่าย ดังตัวอย่าง เช่น บริษัท Linksys ได้มีการจองค่าแมคแอดเดรสกับทาง IEEE และทาง IEEE ก็ได้ให้หมายเลขแมคแอดเดรส
00 E0 98 xx xx xx ไป ดังนั้นบริษัท Linksys ก็จะสามารถผลิตการ์ดเครือข่ายด้วยการบรรจุค่าแมคแอดเดรสที่มีค่าระหว่าง 00 E0 98 00 00 01 ถึง 00 E0 98 FF FF FE ซึ่งจะได้การ์ดเครือข่ายประมาณ 16 ล้านการ์ด ครั้งเมื่อบริษัท Linksys ได้ผลิดการ์ดเครือข่ายจนหมดช่วงตัวเลขดังกล่าวแล้วก็สามารถร้องขอเพื่อจองหมายเลขแมคแอดเดรสที่ยังไม่ได้ถูกใช้จากทาง IEEE ได้ต่อไป


รูปที่ 4. การใช้คำสั่ง ipconfig เพื่อแสดงค่าแมคแอดเดรสของการ์ดเครือข่ายที่ติดตั้งอยู่ภายในเครื่อง



รูปที่ 5. การ์ดเครือข่ายบางรุ่นมีการติดเลเบลบนการ์ด เพื่อแสดงหมายเลขแมคแอดเดรสของการ์ดนั้น

             แมคแอดเดรสจะทำให้แต่ละโหมดบนเครือข่ายสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ กล่าวคือ เมื่อคอมพิวเตอร์ได้ส่งแพ็กเก็ตออกไป แพ็กเก็ตที่ได้ส่งไปนั้นจะเดินทางไปตามสายส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนเครือข่ายก็จะได้ยินหรือได้รับทราบถึงแพ็กเก็ตชุดนั้น โดย แพ็กเก็ตที่ส่งไปจะมีการบรรจุแมคแอดเดรสมาด้วย เพื่อให้รู้ว่าแพ็กเก็ตชุดนี่มาจากแมคแอดเดรสใด (Source Address) และ ส่งไปให้แมคแอดเดรสใด (Destination Address) เมื่อคอมพิวเตอร์ใด ๆ บนเครือข่ายได้รับทราบถึงแพ็กเก็ตที่ส่งมาบนสายก็จะมีการตรวจสอบหมายเลขแมคแอดเดรสของแพ็กเก็ตชุดนั้นหากหมายเลขดังกล่าวไม่ตรงกับหมายเลขแมคแอดเดรสของตน ก็จะถูกละเลยด้วยการปล่อยให้ผ่านจนกระทั่งแพ็กเก็ตชุดนั้นถูกส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางที่มีหมายเลขแมคแอดเดรสตรงกัน จากนั้นเครื่องดังกล่าวก็จะทำการคัดลอกแพ็กเก็ตชุดนั้นไปใช้งานหรือเพื่อประมวลผลต่อไป


รูปที่ 6. คอมพิวเตอร์เครื่อง B ได้มีการส่งแพ็กเก็ตไปยังเครื่อง C

1
2


Copyright © Chaiwat Chingkaew and Rawiwan Pantaneeya