การส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์และบรอดแบนด์
(Baseband and Broadband)
             IEEE 802.3 ได้กำหนดมาตรฐานหรือเทคนิคในการส่งข้อมูลบนสาย ซึ่งปกติสัญญาณข้อมูลที่ส่งภายในเครือจะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ การส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์และการส่งข้อมูลแบบบรอดแบนด์


รูปที่ 7. ประเภทของการส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยแบบเบสแบนด์และบรอดแบนด์ตามมาตรฐาน IEEE 802.3

การส่งสัญญาณแบบเบสแบนด์ (Baseband)

             คำว่า Base คือสัญญาณดิจิตอล ซึ่งในที่นี้คือการเข้ารหัสแมนเชสเตอร์ (Manchester Encoding) โดยทาง IEEE ได้มีการแบ่งสัญญาณข้อมูลแบบเบสเบนด์ออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามมาตรฐานดังนี้คือ 10Base5, 10Base2, 10Base-T, 1Base5 และ 100Base-T โดยตัวเลขข้างหน้าคืออัตราความเร็วในการส่งข้อมูลซึ่งมีหน่วยวัดเป็นเมกะบิตต่อวินาที (Mbps) และส่วนที่กำกับท้าย เช่น 5, 2, 1 หรือ T นั้นคือความยาวสูงสุดของสายเคเบิลหรือชนิดของสายเคเบิล


รูปที่ 8.การส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์และบรอดแบนด์

ระบบเครือข่ายแบบเบสแบนด์ (Baseband)

จะเป็นการสื่อสารข้อมูลที่สายสัญญาณหรือตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณสามารถส่งได้เพียงหนึ่งสัญญาณในเวลาขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น นั่นคือ อุปกรณ์ที่ใช้งานสายสัญญาณในขณะนั้นจะครอบครองช่องสัญญาณทั้งหมดโดยอุปกรณ์อื่นจะไม่สามารถร่วมใช้งานได้เลยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ระบบโทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะเป็นการสื่อสารแบบ Baseband รวมทั้งการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่น ๆ(เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ) การสื่อสารผ่าน modems และการสื่อสารผ่านเครือข่ายหลัก ๆ ด้วย ยกเว้นเครือข่ายแบบ B-ISDN ที่เป็นแบบ Broadband

การส่งสัญญาณแบบบรอดแบนด์ (Broadband)

             คำว่า Broad คือสัญญาณแอนะล็อก ซึ่งในที่นี้คือการเข้ารหัส PSK โดยการส่งสัญญาณแบบบรอดแบนด์นี้จะเป็นการส่งข้อมูลแบบหลายช่องทาง ข้อมูลที่ส่งจะส่งในย่านความถี่ที่แตกต่างกันบนสายส่งเส้นเดียว ที่เป็นไปตามหลักการมัลติเพล็กซ์  FDM  นั้นเอง โดยทาง IEEE ได้กำหนดให้ 10Broad36 เป็นการส่งสัญญาณแบบบรอดแบนด์เพียงชนิดเดียว ในทำนองเดียวกัน ตัวเลขข้างหน้านั้นคืออัตราความเร็มในการส่งข้อมูล ในขณะที่ตัวเลขกำกับท้ายก็ตือความยาวสูงสุดของสายเคเบิล อย่างไรก็ตาม ความยาวสูงสุดของสายเคเบิลอาจจะเปลี่ยนแปลงได้โดยกรณีที่ต้องการเชื่อมโยงในระยะทางที่ไกลออกไป ก็จะต้องใช้อุปกรณ์เครื่องทวนสัญญาณช่วย เช่น อุปกรณ์รีพีตเตอร์ หรือบริดจ์ เป็นต้น

ระบบเครือข่ายแบบบรอดแบนด์ (Broadband)

             ระบบเครือข่ายแบบบรอดแบนด์ (Broadband) จะตรงข้ามกับ Baseband นั่นคือ จะเป็นการสื่อสารข้อมูลที่ตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณสามารถมีหลายช่องสัญญาณได้พร้อม ๆ กันโดยใช้วิธีแบ่งช่องความถี่ออกจากกัน ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารกันโดยใช้ช่องความถี่ของตนเองผ่านตัวกลางเดียว ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่าย Cable TV ซึ่งสามารถส่งสัญญาณมาพร้อมกันหลาย ๆ ช่องบนสายสื่อสารเส้นเดียว และผู้รับก็สามารถเลือกช่องความถี่ที่ต้องการชมได้ เป็นต้น

Baseband เป็นการส่งข้อมูลแบบช่องสัญญาณเดียว เป็นสัญญาณ Digital
broadband เป็นการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสามารถมีหลายช่องสัญญาณได้พร้อม ๆ เป็นสัญญาณ Analog


รูปที่ 9. การทำงานแบบเบสแบนด์และบรอดแบนด์


Copyright © Chaiwat Chingkaew and Rawiwan Pantaneeya