อีเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร (How Ethernet Works?)
             เป็นเครือข่ายแบบมาตรฐานแบบแรกของโลก ลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นระบบแลน และมีลักษณะเป็นเส้นตรงโดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server อย่างน้อย 1 เครื่อง
             ผู้ออกแบบอีเทอร์เน็ต ได้เผชิญกับควมท้าทายเช่นเดียวกับผู้ออกแบบเครือข่ายทั่วไป โดยจะต้องตัดสินใจว่าจะทำการส่งข้อมูล ผ่านสายนำสัญญาณอย่างไร และใช้ความพิวเตอร์รับส่งข้อมูลบนสายที่ใช้งานร่วมกันได้อย่างไร วิศวกรเครือข่ายจึงได้แก้ไขปัญหาด้วย การนำข้อมูลแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่าแพ็กเก็ตภายในแพ็กเก็ตจะบรรจุด้วยแมคแอดเดรส เพื่อเป็นตัวระบุตำแหน่งที่อยู่ของโหนด ต่าง ๆ บนเครือข่ายโดยจะใช้กระบวนการส่งข้อมูลแบบ CSMA/CD
             หลักการแบ่งข้อมูลออกเป็นแพ็กเก็ต ทำให้ส่งผลดีต่อหลายด้านด้วยกัน เช่น หากส่งข้อมูลที่ถ่ายโอนมีขนาดใหญ่และไม่มีการแบ่งส่วนข้อมมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ และด้วยขนาดของข้อมูลก็จะส่งผลต่อเวลาที่ใช้ถ่ายโอนข้อมูลนานเกินควร รวมถึงการจับจองการใช้งานช่องทางการสื่อสารที่ต้องแชร์ใช้งานร่วมกัน ซึ่งโหนดอื่น ๆ รอการใช้งานอยู่ ดังนั้นการแบ่งข้อมูลออกเป็นแพ็กเก็ตจะทำให้ใช้เวลาในการรับส่งข้อมูลบนสายเคเบิลน้อย กล่าวคือ มีความรวดเร็วและใช้เวลาน้อย จึงทำให้การส่งข้อมูลสำเร็จได้เร็ว และยังเปิดโอกาสให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ บนเครือข่ายสามารถส่งข้อมูลไปยังสายเคเบิลที่ใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             อีเธอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่มีราคาถูกและใช้งานง่าย เมื่อต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายอีเธอร์เน็ตก็ต้องมีการ์ดเชื่อมโยงอีเธอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า NIC - Network Interface Card การ์ดเชื่อมโยงที่มีขายอยู่มักจะมีหัวต่อเชื่อมโยงทั้งที่เป็นแบบโคแอกเชียลและยูทีพี หรืออาจเรียกเป็นมาตราฐานกลาง คือ 10BASE 2 หรือ 10BASE T การใช้งานเครือข่ายจึงทำได้ง่ายเพียงหาสายโอคแอ็กเชียลต่อเชื่อม และโปรแกรมไมโครซอฟต์วินโดวส์ก็ทำให้ใช้ไฟล์ร่วมกันหรือใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกันได้
             การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
             เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP AddressIP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่า ๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย
             อย่างไรก็ตาม โลกแห่งความเป็นจริง สิ่งเลวร้ายต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เช่น ข้อมูลที่ได้เดินทางไปบนสายเคเบิล อาจเสียหายหรือสูญเสียไปในระหว่างการเดินทางได้ ดังนั้นเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นในระหว่างการส่ง แพ็กเก็ตที่เสียหายเท่านั้นที่จะส่งรอบใหม่ดังนั้นการแตกข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ ที่เรียกว่าแพ็กเก็ตนั้น ทำให้ส่งข้อมูลรอบใหม่สามารถกระทำได้ด้วยการส่งเฉพาะแพ็กเก็ตที่เสียหายไปเท่านั้นโดยไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลชุดใหม่ตั้งแต่ต้นทั้งหมด และนี่ก็คือเหตุผลสำคัญของการแตกข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ นั้นเอง
Copyright © Chaiwat Chingkaew and Rawiwan Pantaneeya