| ||
     
   
   
   
. ประวัติของยูโด
. หลักการของยูโด

เครื่องแต่งกาย, สายสี
ศัพท์น่ารู้, การให้คะแนน

วิธีฝึกเบื้องต้น
ท่าทุ่มเบื้องต้น

 
.
Jigoro Kano .
ศาสตราจารย์ยิโกโร คาโน .
ผู้ให้กำเนิดวิชายูโด ณ ญี่ปุ่น
.

ประวัติของยูโด

คำว่า "ซูโม" ก็ดี "ยูยิตสู" ก็ดี และ "ยูโด" ก็ดี หมายถึง
"ศิลปการบริหารร่างกายและจิตใจแบบหนึ่งของอารยชนชาติญี่ปุ่น"
ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้...

คำว่า "ซูโม" (Sumo)

"ซู" แปลว่า "ปะทะหรือประลอง"
"โม" แปลว่า "กำลัง"
"ซูโม" จึงแปลว่า "การประลองกันด้วยกำลัง"

คำว่า "ยูยิตสู" (Jiu - Jisu)

"ยู" แปลว่า "สุภาพ" (Gentle)
"ยิตสู" แปลว่า "ศิลป" (Art)
"ยูยิตสู" จึงแปลว่า "ศิลปแห่งความสุภาพ"

คำว่า "ยูยิตสู" นี้ บางแห่งก็เรียกว่า "ยูยึดซึ" (Jujutsu)
บ้างก็ "ทาอิจิตสู" (Taijitsu) และบ้างก็ "ยาวารา" (Yawara)
แต่สาระสำคัญก็หมายถึง "การบริหารร่างกายและจิตใจเช่นกัน"

คำว่า "ยูโด" (Judo)

"ยู" แปลว่า "สุภาพ" (Gentle)
"โด" แปลว่า "ทางหรือหลักการ" (Principle)
"ยูโด" จึงแปลว่า "ทางหรือหลักการแห่งความสุภาพ"
ซึ่งคล้ายกับคำว่า "ยูยิตสู" นั่นเอง

ศิลปการบริหารร่ายกายและจิตใจแบบนี้
ชนชาติญี่ปุ่นนิยมเรียกว่า "ยูยิตสู" มาแต่โบราณกาล
นับจำนวนหลายพันปีมาแล้ว
แต่คำว่า "ยูโด" นั้น ท่านศาสตราจารย์ "ยิโกโรคาโน"
เป็นผู้บัญญัติคำว่า "ยูโด" นี้ และท่านยังเป็นผู้เชี่ยวชาญและให้คำจำกัดความ
อันเป็นคุณลักษณะของวิชานี้เป็น "ศิลปวัฒนธรรมทางจิตใจและร่างกาย"
"The Art of Spiritual and Physical Culture"

ทั้งนี้ท่านเห็นว่าสวัสดิภาพแห่งสังคมของมนุษย์นั้น
สาระสำคัญขึ้นอยู่กับความสุภาพ เรียบร้อย
และผู้ที่จะสุภาพเรียบร้อยนั้น จำเป็นต้องมีร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์
ดังนั้น ท่านจึงขนานนามวิชานี้ให้ตรงต่อสภาพของสังคม
โดยเปลี่ยนจากคำว่า "ยูยิตสู" มาเป็น "ยูโด" ซึ่งแปลว่า...
"ทางหรือหลักการแห่งความสุภาพ"
ดังกล่าวข้างต้น


* * * * * * * * *
   
คุณประโยชน์ของความรู้นี้
ทั้งหมดทุกประการขออุทิศแด่...
อาจารย์ สุรใจ ลีลายุทธ
ผู้ล่วงลับ / ผู้ก่อตั้งชมรมยูโด
จังหวัดลำปาง
   
   

Copyright
© 2001. SLOT dESIGN
Designed & Developed by
SLOT dESIGN
Hosted by www.Geocities.ws

1