HOME
ไม้สักทอง



 

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tectona grandis L.f.
วงศ์ VERBENACEAE
ชื่อสามัญTeak
ชื่ออื่น ๆ เซบ่ายี้ ปีฮือ ปายี้ เป้อยี

ไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน ลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตก เป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลม ค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น ใบ เดี่ยวใหญ่มาก ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ปลายใบแหลมโคนมน ยาว 25 - 30 เซนติเมตร กว้างเกือบเท่ายาว ใบของต้นอ่อนจะใหญ่กว่า นี้มาก ผิวใบขนสากคายสีเขียวเข้ม ขยี้ใบสดจะมีสีแดงเหมือนเลือด ดอก ขนาดเล็ก สีขาวนวลออกเป็นช่อตาม ปลายกิ่ง ผล แห้งค่อนข้างกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 2 เซนติเมตร เปลือกแข็ง ภายในมี 1 - 3 เมล็ด

 

นิเวศวิทยา

ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและ ภาคตะวันตก มีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ออกดอกและเป็นผล เดือนมิถุนายน - ตุลาคม

ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ปักชำ

 

วิธีเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ

นำเมล็ดแช่น้ำ 2 วัน สลับผึ่งแดด 1 วัน รวม 15 วัน แล้วหว่านในแปลงเพาะ ให้กระจัดกระจายทั่วกัน กลบด้วยวัสดุเพาะชำ สูงประมาณ 3-5 มิลลิเมตร หรืออาจทำร่องแล้วหว่านลงในร่องจะสะดวกในการกลบ และเมล็ดจะงอก อย่างเป็นระเบียบ แปลงเพาะควรอยู่กลางแจ้ง เมล็ดสักจะงอกไม่พร้อมกัน บางเมล็ดงอกภายใน 3 สัปดาห์ บางเมล็ด 2 ปีจึงงอก

 

การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติและถิ่นกำเนิด

ไม้สัก มีถิ่นกำเนิดอยู่ในตอนใต้ของประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว (ส่วนที่ติดภาคเหนือของไทย) และอินโดนีเซีย สำหรับประเทศไทยนั้น ไม้สักจะขึ้นอยู่เป็นส่วนใหญ่ ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ และบางส่วนของภาคกลางและเชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน ตาก สุโขทัยกำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี

ไม้สัก ชอบขึ้นตามพื้นที่ที่เป็นภูเขา หรือตามพื้นราบแต่ดินระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง ซึ่งอาจจะเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินที่มีความลึกมาก ๆ โดยเฉพาะดินที่ เกิดจากหินปูน ซึ่งแตกแยกผุพังจนกลายเป็นดินร่วนลึก ไม้สักจะเจริญเติบโตดีมาก

ไม้สัก มักขึ้นอยู่เป็นกลุ่มไม้สักล้วน ๆ เป็นหย่อม ๆ หรืออาจขึ้นปะปนอยู่กับไม้เบญจพรรณอื่น ๆเช่น ไม้แดง ไม้ประดู่ มะค่าโมง ชิงชัน ตะแบก ฯลฯ โดยมีไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ เป็นไม้ชั้นล่าง

ได้มีการนำไม้สักไปปลูกนอกเขตธรรมชาติอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานานแล้ว เช่น ที่พุแคจ.สระบุรี (2495), ดงบังอี่ จ.มุกดาหาร (2499), ไทยโยค จ.กาญจนบุรี (2497), วังสะพุง จ.เลย(2498), ช่องเม็ก อ.พิบูลย์มังสาหาร จ.อุบลราชธานี (2499), ดงลาน อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น (2500),อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา (2502), ชัยบาดาล ลพบุรี (2507), เขาสอยดาว จ.จันทบุรี (2509) ฯลฯ ซึ่งก็ให้ผลแตกต่างกันไปตามลักษณะพื้นที่ที่นำไปปลูก

 

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

ปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของไม้สัก ซึ่งอาจใช้เป็นแนวทางในการ พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ในการปลูกไม้สัก พอสรุปได้ดังนี้

ไม้สักจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มชื้นมากกว่าที่แห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝน ที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตและมีเนื้อไม้งดงามของไม้สักอยู่ระหว่าง 1,000-2,000 มม. ต่อปีและฝนไม่ทิ้งช่วงนานเกินไปใน ระหว่างฤดูการเจริญเติบโต นอกจากนี้จะต้องมีช่วงฤดูแล้งที่ชัดเจน 3-4 เดือน

 

ดิน | ผลิตกล้า | เหง้าสัก | ปักชำ | เตรียมพื้นที่ปลูก
1