HOME
ไม้กฤษณา

 

 

 

คุณภาพของกฤษณาในประเทศไทย

สมคิด (2534) ได้แบ่ง เป็น 4 เกรด ดังนี้

  • เกรด 1 ชาวบ้านเรียกว่า ไม้ลูกแก่น มีน้ำมันกฤษณาสะสมอยู่เป็น จำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วเนื้อไม้ ทำให้มีสีดำ มีราคาแพงมากประมาณ 15,000-20,000 บาทต่อกิโลกรัม มีน้ำหนักเป็น 1.01 เท่าของน้ำ หนักกว่าน้ำ จึงจมน้ำ
  • เกรด 2 มีกลิ่นหอมและน้ำมันสะสมรองจากเกรด 1 สีจะจางออกทาง น้ำตาล มีราคาประมาณ 8,000-10,000 บาทต่อกิโลกรัม มีน้ำหนัก เบากว่าน้ำ
  • เกรด 3 มีกลิ่นหอมและน้ำมันสะสมรองจากเกรด 2 มีราคาประมาณ 1,000-1,500 บาทต่อกิโลกรัม มีน้ำหนักเป็น 0.62 เท่าของน้ำ เบากว่าน้ำ จึงลอยน้ำ
  • เกรด 4 มีกลิ่นหอมและน้ำมันสะสมอยู่น้อย ใช้กลั่นน้ำมันหอมระเหย มีราคาประมาณ 400-600 บาทต่อกิโลกรัม มีน้ำหนักประมาณ 0.39 เท่าของน้ำ จึงลอยน้ำ ชนิดนี้ ชาวบ้านจะเรียกว่าไม้ปาก ส่วนเนื้อไม้ปกติที่ไม่มีกฤษณาสะสมอยู่ จะมีน้ำหนักเพียง 0.3 เท่าของน้ำ

การขยายพันธุ์


โดยธรรมชาติไม้กฤษณาจะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เมล็ดจะมีอัตราการงอก ประมาณ 70% การเก็บเมล็ดมาเพาะนั้น ควรรีบเพาะเมล็ดที่เก็บมาทันที ก่อนที่แมลงและเชื้อรา ที่ติดมากับเมล็ดจะทำให้เมล็ดไม่งอก กล้าไม้ที่เกิดจากการเพาะเมล็ดจะมีการเติบโตช้า และอาจฟุบตายได้ จากโรคเน่าคอดินที่เกิดจากเชื้อรา Peronophythora sp. โดยเฉพาะเมื่อ เพาะในดินที่ไม่ได้ผ่านการอบฆ่าเชื้อ

การขยายพันธุ์กฤษณาที่นิยมทำ คือ การขุดกล้าไม้จากบริเวณต้นแม่มาปลูก ในเรือนเพาะชำ จนกล้าไม้อายุราว 1 ปี ซึ่งกล้าไม้จะมีความแข็งแรงและ การเจริญเติบโตพอที่จะย้ายไปปลูกในแปลง วิธีอื่นที่ใช้ขยายพันธุ์กฤษณา คือ การตอนกิ่ง และการปักชำ (วนิดา และคณะ, 2535)

นอกจากนั้นยังมีวิธีการขยายพันธุ์กฤษณาให้ได้จำนวนมาก ในเวลาอันรวดเร็ว โดยไม่ต้องนำเมล็ดจากป่าใช้ คือ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกฤษณาในสภาพ ปลอดเชื้อ (สมคิด, 2525)

 

การปลูกไม้กฤษณา

การปลูกไม้กฤษณา ไม้กฤษณาเป็นไม้ในป่าเมืองร้อนที่ปลูกง่าย ปลูกได้ในดิน หลายชนิด ทั้งดินเหนียว ดินร่วน และดินร่วนปนทราย ฯลฯ และปลูกได้ทุกภาค ของประเทศไทย มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว และสม่ำเสมอ จึงมีอายุยืนยาว หลายสิบปี เนื่องมาจากพันธ์กฤษณาได้มาจากการเพาะเมล็ด จึงมีระบบรากแก้ว ลึกลงไปในแนวดิ่ง มีรากแขนงและรากฝอยหาอาหารในระดับผิดดินดี พันธ์ไม้กฤษณาที่ปลูกควรมีความสูง 50 – 80 เซนติเมตรขึ้นไปหรือมีอายุอย่าง น้อย 8 เดือน ถึง 1 ปี

 

การเตรียมดินปลูก

การเตรียมดินปลูกในที่ราบ ที่ราบเชิงเขา และที่ดินดอน ควรมีการไถเตรียมดิน ในช่วงฤดูแล้ว พอต้นฤดูฝนทำการไถพรวนแล้วขุดหลุม หรือไม่ต้องทำการ ไถพรวน แต่จะขุดหลุมระหว่างต้น ระหว่างแถวก็ได้ การขุดหลุม หลังการเตรียม พื้นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ขุดหลุมกว้างยาวและลึกอย่างละ 50 เซนติเมตร และ 75 เซนติเมตร อย่างน้อยที่สุด 50 เซนติเมตร(1 ศอก) และแยกดินเป็นสองส่วน ชั้นบนแยกไว้ด้านหนึ่ง ชั้นล่างแยกไว้ด้านหนึ่งไม่ให้ปะปนกัน เมื่อขุดหลุมเสร็จ แล้วตากดินแต่ละหลุมไว้ 15 – 20 วัน ต่อจากนั้นนำปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก 1 ปี ผสมเศษใบไม้แห้งผสมกับดินชั้นบนและดินชั้นล่างบางส่วน และควรใช้ปุ๋ย ฟอสเฟส 0 – 3 – 0 ผสม 1 ช้อนโต๊ะด้วยเข้ากันให้ดีโดยเอาดินบนลง

 

 

การจัดการ | กฎหมายป่าไม้ | การทำให้เกิดน้ำมัน
1