HOME
เยี่ยมชมโรงงานกลั่นน้ำมันหอมระเหย...ไม้กฤษณา ที่ อ.บ่อไร่ จ.ตราด

 

ตราด เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกที่เชื่อกันว่ามีไม้กฤษณา หรือไม้หอม ที่มีคุณภาพรองมาจากจังหวัดจันทบุรี ปัจจุบันแม้ว่าไม้กฤษณาและชิ้นไม้ กฤษณาจัดเป็นของป่าหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ. 2530 การนำไม้กฤษณามากลั่นเป็นน้ำมันหอม ระเหยยังไม่ สามารถ นำไม้กฤษณาที่ปลูกภายในประเทศมากลั่นได้ ที่จังหวัดตราด โรงงานที่ตั้งอยู่ 5-6 แห่ง ต้องอาศัยการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงคือ กัมพูชา และที่ อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด มี 4 แห่ง โดยมีโรงงานกลั่นน้ำมันหอม ระเหยแห่งหนึ่งที่ได้ระดับมาตรฐาน คุณภาพน้ำมันหอมระเหยเป็นที่ยอมรับ ของตลาดต่างประเทศในตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญของไม้กฤษณา และน้ำมันหอมระเหยของไทย

สำหรับไม้กฤษณานั้นจะมี 2 แบบ คือ ส่วนที่เป็นแก่นไม้ที่มีสีน้ำตาลหรือดำ ซึ่งจะราคาสูงมากตามลักษณะความหนาและขนาดของชิ้นไม้ ราคาตั้งแต่ กิโลกรัมละ 7,000-200,000 บาท ทีเดียว ส่วนใหญ่ 80% จะเป็นราคา 10,000- 60,000 บาท/กิโลกรัม 20% จะเป็น 100,000-200,000 บาท/กิโลกรัม ซึ่งจุดไฟเผาให้มีกลิ่นหอมใช้ในงานพิธีทางศาสนา หรือ รับแขกสำคัญ อีกอย่างหนึ่งคือชิ้นไม้กฤษณาหรือที่ชาวบ้านเรียก ไม้สับ หรือส่วนที่เป็นสีน้ำตาลดำในเนื้อไม้สีขาว ซึ่งจะนำมาสับเป็นชิ้น ๆ ตากแห้งแล้วนำมาขาย จะใช้ต้ม กลั่น ทำน้ำมันหอมระเหย ราคาจะขึ้น อยู่กับว่ามีสีดำ น้ำตาล ในเนื้อไม้มากน้อยหนาบางแค่ไหน สนนราคา รับซื้อกิโลกรัมละตั้งแต่ 200-500 บาท

 

กระบวนการผลิตพัฒนากรรมวิธีการกลั่นได้น้ำมันหอมระเหยคุณภาพเกรด เอ

นายคมศักดิ์ ศักดิ์เพชรพลอย เจ้าของโรงกลั่นน้ำมันหอมระเหย อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด เล่าว่าได้เริ่มตั้งโรงงานมา เมื่อ 5 ปีมาแล้ว โดยการซื้อ ไม้ กฤษณาจากกัมพูชา ขณะนี้มีหม้อต้มกลั่น 50 หม้อ แรก ๆ กระบวนการผลิต โดยเฉพาะกรรมวิธีการต้ม กลั่น ดูแบบมาจากจังหวัดปราจีนบุรี แต่เห็นว่ายังได้ น้ำมันหอมระเหยที่ยังไม่ได้คุณภาพมาตรฐานและใช้แรงงานมาก และยังไม่ สะดวกนัก จึงได้พัฒนาวิธีการต้ม กลั่น จากของเดิมคิดประยุกต์ให้ดีขึ้น โดยดูจากข้อบกพร่องของเดิม เช่น วิธีการแยกน้ำออกจากน้ำมัน เพื่อให้การ สูญเสียน้อยที่สุด การใช้ระบบควบคุมระดับน้ำอัตโนมัติ เพื่อทดแทน การใช้แรงงานคอยเติมน้ำเย็นไม่ให้แห้ง 1 คน ต่อ 4 หม้อ และทุก 2-3 ชั่วโมง/ครั้ง การใช้หม้อทองเหลืองในการต้ม กลั่น ให้มีฝาปิด สนิทและโบกปูน ซีเมนต์ทับหม้อก่อให้เกิดความร้อนระอุ ทำให้ได้น้ำมันที่มีกลิ่นหอม ละมุน

นายคมศักดิ์อธิบายต่อไปว่า ใช้เวลาร่วม 1 ปี กว่าจะพัฒนาวิธีการต้ม กลั่น ให้ได้น้ำมันหอมระเหยที่บริสุทธิ์ 98% ซึ่งถือว่าเป็นเกรด เอ ในขณะนี้ ที่นี่จะใช้ก๊าซในการต้ม เพราะควบคุมความร้อนให้คงที่ 100 องศาเซลเซียสได้ จากนั้นพัฒนากระบวนการต้ม กลั่นเรื่อย ๆ มา ลงตัวที่ต้องใช้วิธีการต่อท่อ จากถังน้ำเย็นให้น้ำเย็นเข้าไปในหม้อต้ม โดยติดตั้งกับมอเตอร์ที่ทำงาน ด้วยระบบอัตโนมัติ เมื่อน้ำเกิดการควบแน่น ไอน้ำที่ร้อนถูกปล่อยออกมา ก็มีถังน้ำรองรับติดตั้งสปริงเกลอร์ให้ระเหยความร้อนก่อนปล่อยลงถังให้ น้ำเย็น น้ำจะถูกใช้หมุนเวียนระหว่างน้ำเย็นที่ดูดจากถังเข้าไปในหม้อต้มและกลั่นเป็น ไอน้ำร้อนระบายออกมา ทำให้ประหยัดแรงงานได้มากเพราะใช้คนเพียง คนเดียวควบคุมดูแลไม่ให้ก๊าซดับในขณะที่ต้มนาน 10-15 วัน และใช้อีก 1 คน เพื่อบดหรือโม่ชิ้นไม้กฤษณา จากเดิมต้องใช้คนคอยเติมน้ำ 1 คน ต่อ 4 หม้อกลั่น และต้องคอยเติมทุก 2-3 ชั่วโมง ซึ่งจะต้องใช้ถึง 12 คนทีเดียว ต่อการต้ม 50 หม้อ ขณะเดียวกันได้พัฒนากระบวนการต้ม กลั่น ที่ออกมา เป็นน้ำมันแต่มีส่วนผสมของน้ำอยู่ การแยกเอาน้ำออก จากท่อ เครื่องควบแน่น จะต่อท่อลงขวด จากปากขวดมีก๊อกไขปิดเปิดลดการสูญเสีย และแยกน้ำออก สะดวกที่สุด เพราะน้ำมันจะลอยอยู่ข้างบนจะใช้ขวดรองน้ำออกทิ้งก่อน และใช้ขวดใส่น้ำมัน จากนั้นจึงนำไปกรองแยกน้ำมันออกอีก

"ของเดิมใช้ช้อนตักน้ำมันออก น้ำมันจะติดภาชนะต้องใช้มือปาดออก และ ใช้ฟืนต้ม กลั่น ทำให้สกปรกมีสิ่งเจือปนและไม่สามารถควบคุมความร้อนได้ รวมทั้งกระบวนการกลั่นที่ต้องคอยเติมน้ำเย็น ทำให้ยุ่งยากเสียเวลา เสีย แรงงาน เมื่อมีการติดตั้งระบบน้ำหมุนเวียน แบบอัตโนมัติจะช่วยให้งานสะดวก รวดเร็วขึ้นและ ไม่สิ้นเปลืองแรงงาน เพราะใช้เป็นเดือนน้ำยังไม่แห้ง ที่สำคัญน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้สะอาดบริสุทธิ์ ตลาดต่างประเทศ ที่ดูไบยอมรับและจัดอยู่คุณภาพเกรด เอ แม้ว่าจะมีความบริสุทธิ์ 98% แต่ในเมืองไทยมีคุณภาพไม่ถึง 100% มีเพียงแห่งเดียวที่แคว้นอัสสัม อินเดียแห่งเดียวเท่านั้น" นายคมศักดิ์ กล่าว

ขั้นตอนการผลิตน้ำมันหอมระเหยไม้กฤษณา16กิโลกรัม ได้น้ำมัน 4-5โตลา

นายคมศักดิ์กล่าวว่า การผลิตน้ำมันหอมระเหยให้ได้คุณภาพอย่างแรกขึ้นอยู่กับ เนื้อไม้สีดำ สีน้ำตาล มีมากน้อยเพียงใดถ้าหนามากจะได้น้ำมันมาก คือ ไม้ กฤษณา 16 กิโลกรัม จะได้น้ำมัน 4-5 โตลา (โตลาละ 12 กรัม จริงแล้วไม่ถึง 12 กรัม พอดี) ซึ่งกระบวนการผลิตมี 3 ขั้นตอน ดังนี้

กระบวนการกลั่นน้ำมันหอมระเหยคุณภาพสูง

วัตถุดิบ :

  • ไม้สับ (ไม้กฤษณา)
  • เครื่องโม่บดละเอียด
  • แช่น้ำหมักไว้ 10-15 วัน
  • หม้อต้ม กลั่น 10-15 วัน
  • น้ำมัน + น้ำ
  • ผ้าร่มกรองน้ำออก
  • ผ้าร่มกรองน้ำมันให้สะอาด
  • อบให้น้ำมันแห้ง
  • น้ำมันหอมระเหยคุณภาพ

ขั้นที่ 1 กระบวนการเริ่มจากการเตรียมวัตถุดิบ คือนำไม้สับหรือชิ้นไม้กฤษณาที่ตากแห้งแล้ว นำไปโม่หรือบดให้ละเอียด ลักษณะคล้ายขี้เลื่อย จากนั้นนำไปแช่น้ำหมักในถัง 10-15 วัน เพื่อให้ น้ำมันในเนื้อไม้ละลายออกมากับน้ำและนำไปต้ม กลั่น ด้วยหม้อต้มกลั่น ที่ทำด้วยทองเหลือง

ขั้นที่ 2 การต้ม กลั่น
ขั้นตอนนี้พิถีพิถันมากเพราะถ้าทำดีมีคุณภาพ จะได้ราคาสูง นำไม้กฤษณา ไปใส่หม้อต้มกลั่น หม้อละ 16 กิโลกรัม ใส่น้ำสะอาดประมาณ 180 ลิตร ใช้ความร้อนจากเตาแก๊ส 100 องศาเซลเซียส ประมาณ 5-6 ชั่วโมง น้ำมันหอมระเหยจะถูกกลั่นออกปนมากับน้ำซึ่งมีน้ำปนอยู่ ใช้เวลาต้มนาน ประมาณ 10-15 วัน ทั้งวันทั้งคืน น้ำมันจะถูกกลั่นออกมาหมด จากนั้น นำไปแยกน้ำออกให้หมด

ขั้นที่ 3 การแยกน้ำออกจากน้ำมัน ซึ่งต้องพยายามให้มีน้ำมันบริสุทธิ์มากที่สุด และสะอาดไม่มีสิ่งเจือปน ทั้งนี้มีขั้นตอน 4 ขั้นตอนตามลำดับ คือ โดยขั้นแรกแยกน้ำมันใส่ขวด โดยวิธีใช้ก๊อกให้น้ำอยู่ที่ด้านล่างของขวด ส่วนน้ำมันจะลอยอยู่ส่วนบน นำขวดน้ำมันไปตั้งทิ้งไว้ 4-5 วัน จะเหลือน้ำเพียงเล็กน้อย นำน้ำไปทิ้ง จากนั้นนำไปกรองน้ำออกด้วยผ้าร่ม และนำไปกรองด้วยผ้าร่มและ กระชอนให้น้ำมันสะอาดอีกครั้ง ใส่ขวดไว้ และขั้นสุดท้ายการนำ ไปอบโดยการใช้สปอตไลต์ส่อง หรือนำขวดไปวางไว้ที่บริเวณเตา เปิดฝาทิ้งไว้ให้ไอน้ำออก อย่างเร็ว 3-4 ชั่วโมง ถ้าจะให้ดี 8 ชั่วโมง ใช้เครื่องอบให้แห้งเป็นอันเสร็จเรียบร้อย

"กากไม้กฤษณาหรือผงไม้ที่ต้ม กลั่นแล้ว นำไปตากแห้ง แดดจัด ประมาณ 3 วัน ขายได้กิโลกรัมละ 18-20 บาท ไต้หวัน ฮ่องกง จะซื้อไปทำธูป น้ำมันหอม ระเหยนี้บางคนอาจจะมีการปลอมปนน้ำมันละหุ่งลงไป พ่อค้า ก่อนจะรับซื้อ จะเช็ก ทดสอบก่อน จะถูกกดราคา แตกต่างกันมาก เพราะถ้าเกรด เอ จะอยู่ใน ราคาโตลาละ 6,000-8,000 บาท และสามารถกำหนดราคาได้เองด้วย ใน ขณะนี้ที่โรงงานทั่ว ๆ ไป ถ้าไม่มีคุณภาพราคาโตลาละ 2,000-4,000 บาท" นายคมศักดิ์กล่าว

 

ตลาดดูไบรับซื้อถึงโรงงาน...ถ้ามีวัตถุดิบผลิตได้วันละ 20 โตลา

นายคมศักดิ์เล่าถึงตลาดรับซื้อไม้หอมและน้ำมันหอมระเหย ครั้งแรกจะนำ น้ำมันไป ขายที่ตลาดซอยนานาซึ่งเป็นแหล่งรับซื้อใหญ่ที่สุดใช้เวลากว่า 2 ปี กว่าที่ตลาดรับซื้อจะยอมรับและเชื่อถือในคุณภาพทำให้การทำตลาดต่อมาไม่ยากนัก โดยตลาดที่รับซื้อ 4-5 ราย เป็นประเทศในตะวันออกกลาง เช่น อิรัก อิหร่าน ดูไบ ซาอุดีอาระเบีย กลุ่มประเทศอาหรับ ต่อมามีนายหน้านำผู้รับซื้อจากต่างประเทศคือ บริษัท อัสมาน (AJMAL) จากดูไบมารับซื้อที่โรงงานจนทุกวันนี้ทำให้สะดวกขึ้น แม้ว่าจะต้องจ่ายค่านายหน้าก็ตาม

"กำลังการผลิตของโรงงาน 50 หม้อ สามารถต้ม กลั่น ได้น้ำมันหอมระเหย วันละ 20 โตลา หรือเดือนละ 600 โตลา ขายได้โตลาละ 6,000 บาท แต่มีข้อจำกัดอยู่ 2 อย่าง คือ วัตถุดิบไม่พอ และตลาดที่รับซื้อปกติ ตลาด ต่างประเทศจะงดซื้อประมาณ 3 เดือน คือ เดือนตุลาคม-มกราคม ซึ่งเป็น ช่วงถือศีลอด แต่ปีนี้ร่วม ๆ 6 เดือน เพราะมีสงคราม ในอิรักไม่มี พ่อค้ามาซื้อ ส่วนไม้กฤษณานั้นทางกัมพูชาเริ่มลดลงและราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากที่ทำมา 5 ปี เริ่มจากซื้อไม้สับ กิโลกรัมละ 40-120 บาท ปัจจุบัน 400 บาท แต่ราคา น้ำมันหอมก็เพิ่มขึ้นด้วยจากโตลาละ 1,800 บาท ปัจจุบัน 6,000-8,000 บาท นอกจากนั้น เรายังเสียเปรียบที่ซื้อไม้กฤษณาเป็นเงินดอลลาร์ แต่ขายเป็น เงินบาท และพ่อค้ามักจะให้เราใส่น้ำหอมระเหยให้เท่ากับ 12 กรัม ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว 1 โตลา ไม่ถึง 12 กรัม" นายคมศักดิ์กล่าว

 

อนาคต...น่าจะส่งเสริมให้เป็นไม้เศรษฐกิจ เพื่อป้องกันวัตถุดิบขาดแคลน

นายคมศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้หันมาปลูกไม้กฤษณากันมาก โดยที่กฎหมาย ยังคงจำกัดให้เป็นไม้หวงห้ามอยู่ ทั้งที่บรรดาชมรมผู้ปลูกไม้กฤษณาในภาคต่าง ๆ ได้พยายามเร่งให้รัฐบาลตัดสินใจส่งเสริมให้ปลูกไม้กฤษณาเป็นไม้เศรษฐกิจ เพราะไม้กฤษณาแต่ละต้นทำรายได้ให้ในลักษณะแก่นไม้หรือชิ้นไม้ ราคาต้นละ 10,000 บาท ไปถึง 1,000,000 บาท หรือคิดจากน้ำมันหอมระเหยที่ผลิต จำหน่าย ได้ราคาโตลาละ 2,000-8,000 บาท ทั้งหมดนี้แม้จะไม่มีข้อมูล สถิติที่ชัดเจน แต่คาดว่าสามารถทำรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก อย่างแน่นอน

"หากรัฐบาลไม่แก้ไขกฎหมายที่กำหนดให้ไม้กฤษณาเป็นไม้หวงห้าม ในอนาคตจะมีปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ เพราะประเทศเพื่อนบ้าน เหลือน้อย ลงแล้ว อย่างที่โรงงานตอนนี้หยุดผลิต เพราะไม่มีวัตถุดิบด้วย และที่สำคัญ พื้นที่ในจังหวัดตราดหรือจังหวัดอื่น ๆ ขณะนี้ได้ปลูกไม้กฤษณา กันมาก ตั้งแต่รายละ 400-500 ต้น ไปจนถึง 1,000-10,000 ต้น ซึ่งไม้โตแล้ว เกษตรกรจะมีปัญหาเรื่องตลาดรับซื้ออย่างแน่นอน ตราบใดที่เป็นไม้หวงห้าม แต่คาดว่าปัญหานี้รัฐบาลให้ความสนใจที่จะแก้ไขอยู่แล้ว เพราะทางชมรม ผู้ปลูก ไม้กฤษณาจังหวัดต่าง ๆ ได้พยายามเสนอข้อมูลในเชิงเศรษฐกิจ ให้รัฐบาลรับทราบ" นายคมศักดิ์กล่าวในตอนท้าย

 

ที่มา :: เทคโนโลยีชาวบ้าน

วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ปีที่ 16 ฉบับที่ 323

1