อย่ามองข้ามปัญหาแมลงศัตรูพืชกันต้นสบู่ดำ เกิดขึ้นแล้วยั้งไม่อยู่
จากการที่กระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทำการศึกษา และ ปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำให้ได้ผลผลิต 1,500 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อปี และให้ร่วม กับกรมพัฒนาที่ดินกำหนดพื้นที่ปลูกสบู่ดำ ในปี 2552
สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร ได้จัดตั้งคณะทำงาน ศึกษาเรื่องพันธุ์ สบู่ดำ การคัดเลือกพันธุ์ รวมทั้งโรคและแมลงศัตรูพืชของสบู่ดำ ตลอดจน ผลผลิตเปรียบค่อนข้างมาก ขณะนี้ได้พบการระบาดของไรขาวใน สบู่ดำ ตาม แหล่งปลูกทั้งแปลงเล็กแปลงใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวนมาก คือ จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร เลย และ เพชรบูรณ์ ปรากฏว่ามีไรขาวระบาดทุกแปลง โดยเฉพาะที่อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ มีโครงการปลูกสบู่ดำประมาณ 20,000 กว่าไร่ ซึ่งเป็น แปลงของเอกชน ขณะนี้มีการปลูกกันรวมหลายหมื่นไร่ และมีไรขาวระบาด ทั่วทุกแปลง แม้แต่ตามรั้วบ้านที่จังหวัด ขอนแก่นและกาฬสินธุ์ ก็ระบาด ไปทั่วเช่นกัน ขณะเดดียวกันก็ได้รับรายงาน จากศูนย์วิจัยพืชไร่ เชียงใหม่ว่า สบู่ดำที่ปลูกที่อำเภอพร้าว ได้เกิดหนอนชอนใบระบาด แต่ในจังหวัดเลย ซึ่งเป็นพื้นที่สูงมีอากาศหนาวจะไม่พบการระบาดของไรขาว
นายสุพจน์ บอกว่า ถ้ามีไรขาวเกิดขึ้นในแปลงบอกได้เลยว่า จะระบาดไปทั่ว ทั้งแปลง ซึ่งน่าเป็นห่วงมาก การป้องกันกำจัดมีอยู่ทางเดียวคือ ต้องใช้สารเคมี แต่จะไม่คุ้มกับรายได้ที่คาดหวังไว้ โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย ในชั้นนี้ขอ แนะนำให้ใช้พืชสมุนไพรจำพวก หางไหลแดง ยาฉุน ขมิ้นชัน ซึ่งมีรายงานว่า จะสามารถกำจัดไรขาวได้ ขณะนี้สถาบันวิจัยพืชไร่กำลังทำ การศึกษาทดลอง การใช้พืชสมุนไพรอยู่
ไรขาว เป็นศัตรูสำคัญของสบู่ดำ พบว่ามีการเข้าทำลายแปลงสบู่ดำ 70-80 เปอร์เซ็นต์ พืชที่สำคัญคือ พริก ชา ฝ้าย บวบ พืชผักสวนครัว ไรขาว จะดูดกิน น้ำเลี้ยงตรงใบอ่อน และยอดอ่อน ทำให้ยอดหงิก ทำให้ใบเล็กลงกว่าปกติ ใบแห้งกร้าน ส่วนหยักของใบจะบิดงอและม้วนลงข้างล่าง ไม่ติดดอก และเมล็ด ต้นจะชะงักการเจริญเติบโต นักกีฏวิทยาแนะนำว่าไม่ควรปลูกสบู่ดำ ใกล้กับ แปลงพริกหรือแปลงผักสวนครัว ซึ่งจะพาไรขาวพริก ไประบาดในแปลง สบู่ดำ ถ้าเกษตรกรประสงค์จะปลูกสบู่ดำเพื่อต้องการพลังงานทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง อาจจะต้องเลิกปลูกพืชผักสวนครัว คือปลูกอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้อง พิจารณาให้รอบคอบ
นอกจากไรขาวแล้ว สบู่ดำยัง่มีแปลงศัตรูพืชที่ทำความเสียหายอีกหลายตัวย ได้แก่ เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยหอย เพลี้ยจักจั่น หนอนคืบละหุ่ง หนอนชอนใบ ปลวก ศัตรูพืชเหล่านี้จะระบาดตามสถาวะอากาศ ฤดูฝน ฤดูหนาว กและหน้าแล้ง อาจกล่าวได้ว่ามีศัตรูพืชระบาดทุกฤดู
คุณอลงกรณ์ กรณ์ทอง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชไร่ ชี้แจงเพิ่มเติมว่า การขยายพื้นที่ปลูกสบู่ดำเป็นแปลงใหญ่ อาจทำให้เกิดการระบาด ของแมลง ศัตรูพืช เกษตรกรจะป้องกันกำจัดได้ต้องพ่นด้วยสารเคมี ซึ่งไม่คุ้มค่า กับการ ลงทุนอย่างแน่นอน ขณะนี้สถาบันวิจัยพืชไร่ กำลังศึกษา ทดลอง เกี่ยวกับ เทคโนโลยีการผลิตน้ำมันสบู่ดำในทุกๆ ด้าน นับตั้งแต่ การคัดเลือกพันธุ์ ที่จะให้ผลผลิตและมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง รวมถึงการนำน้ำมันไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากยังไม่มีพันธุ์รั บรองจากทางราชการที่ให้ผลผลิต และเปอร์เซ็นต์ น้ำมันสูง เพราะน้ำมันที่สกัดจากสบู่ดำจะใช้ได้เฉพาะเครื่องดีเซลที่มีรอบต่ำ เท่านั้น เช่น รถไถนา รถไถเดินตาม เครื่องเกี่ยวข้าว นวดข้าว เครื่องสูบน้ำ และเครื่องปั่นไฟ ไม่สามารถใช้ได้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีรอบสูง
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชไร่ กล่าวว่า เกษตรกรไม่ควรใจร้อน ควรพิจารณา ให้รอบคอบก่อนปลูก เนื่องจากยังไม่มีตลาดรองรับที่แน่นอน และยังไม่มีการ กำหนดราคารับซื้อ และกำหนดพื้นที่ปลูกสบู่ดำว่า ควรปลูกในพื้นที่อย่างใด แต่ถ้าเป็นพื้นที่ที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ก็ควรจะปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า และมีตลาดรองรับที่แน่นอน
กรมวิชาการเกษตรจะต้องทำการศึกษาที่ชัดเจนทั้งด้านต้นทุนการผลิตและความ คุ้มค่าต่อการลงทุน และเปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่างสบู่ดำกับพืชเศรษฐกิจ อื่นที่เกษตรกรปลูกอยู่ก่อนแล้ว เพื่อเหป็นการสร้างความมั่นใจให้เกษตรกร ถึงผลตอบแทนที่คิดจะเปลี่ยนแปลงองุ่นดำแทน ในระยะที่กรมกำลังอยู่ใน ระหว่าง ศึกษาทดลอง ขอให้เกษตรกรรอผลการ ศึกษาทดลองอย่าเพิ่งรีบร้อน ปลูก คาดว่าในเดือนมิถุนายน ปี 2549 ที่จะถึงนี้จะได้คำตอบที่แน่นอน คุณอลงกรณ์กล่าว
ที่มา :: เทคโนโลยีชาวบ้าน
วันที่ 01 มกราคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 18 ฉบับที่ 374
|