Home คำนำ บทนำ กลไกการฝังเข็ม เข็มและการใช้เข็ม จุดฝังเข็มและเส้นลมปราณ การใช้การฝังเข็มในเวชปฏิบัต แหล่งข้อมูลอ้างอิง เอกสารอ้างอิง WHO Recommendation for Acupuncture การเบิกค่ารักษาพยาบาล ผู้เรียบเรียง

 

เข็มและการใช้เข็ม

                    

โครงสร้างของเข็ม ขนาดของเข็ม
การซ่อมแซมเข็มที่ชำรุด และการเก็บรักษาเข็ม การฝึกหัดฝังเข็ม
การตระเตรียมก่อนการฝังเข็ม ท่าของผู้ป่วยในขณะฝังเข็ม
เทคนิคการฝังเข็ม ทิศทางและความลึกของเข็ม
วิธีการกระตุ้นเข็ม การคาเข็ม
การถอนเข็ม ภาวะแทรกซ้อนจากการฝังเข็ม

                      
                      เข็มที่ใช้ในการฝังเข็มมีหลายชนิด เช่น เข็มกลมเล็ก, เข็มศีรษะ, เข็มหู, เข็มดอกเหมย, เข็มชา และเข็มยาว เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดก็มีวิธีการใช้ที่แตกต่างกันออกไป ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะเข็มกลมเล็ม (fine needle) ซึ่งนิยมใชกันบ่อยและแพร่หลายที่สุด

            1. โครงสร้างของเข็ม

      เข็มประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ คือ ตัวเข็ม (Body) ที่นิยมทำด้วยลวดสเต็นเลส มีส่วนที่แหลมตรงปลายเรียกว่า ปลายเข็ม (Tip) อีกปลายหนึ่งจะพันด้วยลวดทองแดงหรือลวดอลูมิเนียมเป็นเกลียว เรียวว่า ด้ามเข็ม (Handle) ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้นิ้วมือจับถือ ตรงปลายสุดของเข็มจะมีลักษณะม้วนขดเป็นวง เพื่อมิให้แทงถูกนิ้วมือในขณะใช้ เรียกว่า หางเข็ม (Tail) ส่วนของเข็มที่ติดต่อระหว่างด้ามเข็มและตัวเข็มนั้น เรียกว่า โคนเข็ม (Root)

                2.ขนาดของเข็ม

                  ขนาดของเข็มกำหนดจากความยาวหรือจากเส้นผ่าศูนย์กลางของส่วนตัวเข็ม ความยาวของเข็มนิยมวัดเป็นชุ่น (หรือหุน ซึ่งเป็นหน่วยวัดความยาว เท่ากับหนึ่งนิ้วจีน = 25 มม.) ส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวเข็มนิยมบอกเป็นเบอร์ ซึ่งเทียบเป็นหน่วยเมตริกได้ตามตารางข้างล่างนี้

      ขนาดความยาวของตัวเข็ม

    ชุ่น

    0.5

    1

    1.5

    2

    2.5

    3

    3.5

    4

    4.5

    5

    มม.

    15

    25

    40

    50

    65

    75

    90

    100

    115

    125

    เส้นผ่าศูนย์กลางของตัวเข็ม

    เบอร์

    26

    27

    28

    29

    30

    31

    32

    33

    34

    มม.

    0.45

    0.42

    0.38

    0.34

    0.32

    0.30

    0.28

    0.26

    0.23

    การเลือกใช้ขนาดเข็มนั้น พิจารณาว่า ถ้าเป็นผู้ป่วยที่มีรูปร่าง ผอม, เล็ก, หรือเป็นเด็ก จุดแทงเข็มอยู่ตื้น มีอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่บอบบางมาก ต้องการการกระตุ้นไม่แรงนัก ก็ควรใช้เข็มที่มีขนาดเล็ก, สั้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าเป็นผู้ใหณ่ มีรูปร่างอ้วน, จุดแทงเข็มอยู่ลึก, ไม่มีอวัยวะบอบบาง, ต้องการการกระตุ้นแรง ควรใช้เข็มที่มีขนาดใหญ่ ยาวเป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว อาจพิจารณาประกอบจากหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ คือ

    บริเวณศีรษะ, ใบหน้า ใช้เข็ม 0.5 ชุ่น บริเวณลำตัว, แขน, ขา ใช้เข็มขนาด 1.5 ถึง 3.0 ชุ่น บริเวณก้น, สะโพก, สันหลัง, ต้นขา ใช้เข็มขนาด 3.0 ถึง 4.0 ชุ่น ส่วนขนาดเบอร์นั้น โดยทั่วไปนิยมใช้เบอร์ 30 ในบริเวณเบ้าตาให้ใช้เบอร์ 32 และถ้าหากต้องการกระตุ้นแรง ๆ ให้ใช้เบอร์ 26 หรือ 28 อย่างไรก็ตามพึงระลึกไว้ว่า ต้องพิจารณารูปร่างผู้ป่วย, ตำแหน่งที่จะแทง ดังกล่าวไว้ข้างต้นเป็นหลักพิจารณาสำคัญเสมอ

    Go to Top

        3.การซ่อมแซมเข็มที่ชำรุด และการเก็บรักษาเข็ม

            ถ้าปลายเข็มทู่ หรืองอเป็นตะขอ ให้ฝนลับกับหินลับมีด หรือกระดาษทรายละเอียด ถ้าตัวเข็มโค้งงอให้ใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้จับสำลีรูดจากโคนเข็มออกไปทางปลายเข็ม พร้อมกันนั้นก็ดัดตัวเข็มให้ตรง ถ้าเข็มขึ้นสนิมหรืองอมากไม่ควรจะใช้อีกต่อไป เพราะอาจจะทำให้เข็มหักคาเนื้อในระหว่างการแทงเข็มได้

            ภายหลังจากการใช้เข็มทุกครั้ง ควรแช่น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น 70% แอลกอฮอล์ แล้วจึงนำไปทำความสะอาด แล้วนำไปอบไอน้ำเพื่อฆ่าเชื้อโรค

            อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีเข็มที่สามารถใช้ครั้งเดียวทิ้ง (disposible needle) ออกจำหน่าย ทำให้โอกาสติดเชื้อต่าง ๆ จากการใช้เข็มที่ไม่สะอาดลดลง
Go to Top 

การฝึกหัดฝังเข็ม

                    ขั้นแรกให้ใช้กระดาษเนื้อนุ่ม เช่น กระดาษทิชชู ตัดเป็นแผ่นขนาด 8x5 ซม.2 เรียงซ้อนกันหนา 2 ซม. แล้วใช้ด้ายผูกมัดให้มีลักษณะเป็นหมอน หรือใช้ผ้าฝ้ายห่อก้อนสำลีที่อัดแน่นเป็นลูกกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 ซม. แล้วฝึกหัดแทงเข็มลงไปในหมอนกระดาษ หรือก้อนสำลีนี้ ให้ฝึกแทง, ถอนขึ้น, หมุนปั่น, ดึงขึ้นดันลง (ตามวิธีที่จะกล่าวต่อไปในเรื่องเทคนิคการฝังเข็ม) ควรจะเริ่มฝึกด้วยเข็มสั้นก่อน แล้วจึงเปลี่ยนไปฝึกด้วยเข็มยาว ดังรูป

            หลังจากการฝึกขั้นแรกแล้ว ขั้นต่อไป จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องฝึกแทงกับร่างกายของตนเอง เพราะการฝึกแทงกับกระดาษหรือสำลี ย่อมไม่เหมือนการแทงกับผิวหนังหรือเนื้อคนเราจริง ๆ ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้ว่า จะปักเข็มอย่างไรจึงจะทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ และที่สำคัญ คือจะได้รู้ว่า ถ้าหาดแทงถูกจุดแล้ว จะมีความรู้สึกว่า “ได้ลมปราณ” นั้นเป็นอย่างไร (ดูรายละเอียดในเทคนิคการฝังเข็ม) ตำแหน่งที่ควรฝึกแทง คือ จุดบนต้นขาของตัวเอง เพราะเป็นบริเวณ ที่จะสามารถฝึกแทงได้สะดวกและไม่มีอันตรายแต่อย่างไร
Go to Top

การตระเตรียมก่อนการฝังเข็ม

    1. อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝังเข็ม
      1. เข็มแทง
      2. ไม้พันสำลีปราศจากเชื้อ ชุบโพวิดีน
      3. กระปุกใส่ก้อนสำลีปราศจากเชื้อชุป 70 % แอลกอฮอล์ และสำลีแห้ง
      4. แหนบคีบ (Forceps) สำหรับคีบเข็มหรือก้อนสำลี
    2. การเตรียมเข็ม
      2.1
      เมื่อเลือกขนาดและจำนวนเข็มที่ต้องการใช้มาเรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบสภาพเข็มทุกเล่มว่ามีสภาพชำรุดหรือไม่ ดังนี้
        • เข็มที่มีปลายแหลมคม จะสามารถแทงทะลุผ่านผ้าฝ้ายที่ขึงให้ตึงได้โดยง่าย จนแทบจะไม่มีความรู้สึกต้านเลย
        • ใช้สำลีแห้งรูดตัวเข็มจากโคนเข็มออกไปทางปลายเข็มช้า ๆ ถ้าหากปลายเข็มงอเป็นตะขอ จะเกี่ยวขนสำลีติดค้างอยู่ให้เห็น ซึ้งต้องเปลี่ยนใช้เข็มเล่มใหม่
        • ตัวเข็มจะต้องตรง ไม่โค้งงอหรือหยักงอ
        • เข็มจะต้องไม่มีสนิมจับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องตรวจบริเวณโคนเข็มให้ละเอียด เพราะเป็นตำแหน่งที่มักจะมีคราบสนิมเกาะอยู่ และทำให้เข็มหักง่ายที่สุด
      2.2 นำเข็มที่ตรวจสภาพเรียบร้อยแล้ว ไปทำให้ปราศจากเชื้อโดยการอบไอน้ำ (Autoclave) รอให้เข็มเย็นลงจึงนำเอาไปแทงได้
      Go to Top

                3. ท่าของผู้ป่วยในขณะฝังเข็ม
   
                 การเลือกจัดท่าผู้ป่วยนั้น ให้พิจารณาว่า จุดที่จะแทงอยู่ส่วนไหนของร่างกาย และควรเป็นท่าที่ทำให้กล้ามเนื้อของผู้ป่วยผ่อนคลายมากที่สุด แพทย์สามารถฝังเข็มได้ถนัด และในระหว่างที่แทงเข็มอยู่ ผู้ป่วยจะต้องไม่เคลื่อนไหวส่วนที่ถูกแทง เพราะจะทำให้เข็มหักหรืองอได้

 Go to Top

เทคนิคการฝังเข็ม

                    ก่อนการฝังเข็มทุกครั้ง ควรล้างมือให้สะอาด เช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าสะอาด เลือกหาตำแหน่งจุดที่ต้องการจะแทง จากนั้นใช้ไม้พันสำลีชุบโพวิดีน แต้มบริเวณจุด เพื่อทำความสะอาดผิวหนัง พร้อมทั้งเครื่องหมายแสดงตำแหน่งจุดเอาไว้ จึงลงมือแทงเข็มดังนี้

    1. วิธีฝังเข็ม
    2. เนื่องจากในชั้นผิวหนังมีปลายประสาทรับรู้ความเจ็บปวดอยู่มาก การฝังเข็มควรจะฝังให้ผ่านชั้นผิวหนังลงไปด้วยความรวดเร็วเสียก่อน จากนั้นจึงค่อยฝังเข็มให้ลึกลงไปตามทิศทางที่ต้องการ

      วิธีการฝังเข็มที่นิยมมีอยู่ 4 วิธี คือ

      1. วิธีกดผิวหนังปักเข็ม
      2. ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายกดบริเวณผิวหนังบริเวณข้าง ๆ จุดที่จะแทงให้ตึง ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ขวาจับด้ามเข็มบริเวณใกล้ ๆ กับโคนเข็ม แล้วปักเข็มแทงลงไปยังจุดให้รวดเร็ว เพื่อช่วยให้แทงเข็มได้แม่นยำ อาจใช้นิ้วกลาง, นิ้วนาง และนิ้วก้อยข้างขวา วางแตะบนผิวหนังบริเวณใกล้เคียง พยุงให้มือจับเข็มได้มั่นคงมากขึ้น วิธีนี้ใช้สำหรับการปักเข็มที่มีขนาดสั้น

      3. วิธีพยุงปักเข็ม
      4. ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ขวาจับด้ามเข็ม ส่วนนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ข้างซ้ายจับสำลีชุบ 70 % แอลกอฮอล์ มาหุ้มจับที่ปลายเข็มโดยไม่ให้นิ้วมือแตะถูกตัวเข็ม เพื่อป้องกันการติดเชื้อ จ่อปลายเข็มให้ตรงตำแหน่งจุด จากนั้นออกแรงที่ข้อมือขวาปักเข็มลงไป โดยอาศัยนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ซ้ายที่จับก้อนสำลีอยู่นั้นจับพยุงปลายเข็มเอาไว้ ในขณะเดียวกัน นิ้วมือซ้ายทั้งสองกดตึงผิวหนังเอาไว้ด้วย ทำใหเข็มสามารถผ่านผนังไปได้โดยสะดวก วิธีนี้ใช้สำหรับการปักเข็มที่มีขนาดยาว

      5. วิธีบีบผิวหนังปักเข็ม
      6. ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ซ้ายวางบนผิวหนังบริเวณที่จะแทงให้ห่างกันเล็กน้อย แล้วบีบผิวหนังระหว่างนิ้วทั้งสองให้นูนขึ้นมาเล็กน้อย จากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ขวาจับที่โคนเข็ม ปักเข็มลงไป วิธีนี้ใช้สำหรับการปักบริเวณใบหน้า ซึ่งมีผิวหนังบาง ต้องปักตื้น ๆ

      7. วิธีใช้หลอดกลวงเป็นตัวนำเข็ม

              ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ขวาจับที่ด้ามเข็ม  จากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ซ้าย จับที่หลอดกลวง ใส่เข็มเข้าไปในหลอดกลวง ไม่ให้ปลายเข็มเลยปลายหลอด วางปลายหลอดที่จุดฝังเข็ม ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ขวาที่จับที่ด้ามเข็มปักลงไปในชั้นผิวหนัง วิธีนี้สามารถลดการสัมผัสเข็มของผู้ทำการปักเข็ม และการงอของเข็มลดลง
      Go to Top 

    3. ทิศทางและความลึกของเข็ม
    4. ทิศทางของการแทงเข็ม มีอยู่ 3 แบบ คือ

      1. แทงตรง แทงโดยให้เข็มอยู่ในแนวตั้งฉากกับผิวหนัง มักใช้แทงในบริเวณร่างกายที่มีเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และชั้นกล้ามเนื้อหนา และเป็นจุดที่ต้องการแทงลึก เช่น บริเวณบั้นเอว, แขน, ขา, สะโพก
      2. แทงเฉียง แทงโดยให้เข็มทำมุมกับผิวหนังประมาณ 30 – 60 มักใช้แทงในบริเวณร่างกายที่มีเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและกล้ามเนื้อไม่หนามากนัก หรือเป็นบริเวณที่มีอวัยวะภายในสำคัญอยู่ ซึ่งจะแทงลึกไม่ได้ เช่น บริเวณทรวงอก หรือหลัง
      3. แทงราบ แทงโดยให้เข็มทำมุมกับผิวหนังประมาณ 10– 20 ใช้แทงกับบริเวณที่มีผิวหนังบางมาก ๆ เช่น ใบหน้า ตัวเข็มจะอยู่ตื้นเพียงชั้นใต้ผิวหนังเท่านั้น วิธีการนี้ต้องอาศัยการปักเข็มแบบบีบผิวหนังหรือการปักเข็มแบบใช้หลอดกลวง จึงจะสามารถแทงได้สะดวก และไม่รู้สึกเจ็บ

      เกี่ยวกับความลึกของเข็มที่แทง ให้พิจารณาจากหลักเกณฑ์ 4 ข้อ ดังต่อไปนี้ประกอบกันคือ

      ก. ให้แทงลึกตามความลึกที่ได้กำหนดเอาไว้ โดยประมาณของแต่ละจุด ซึ่งจะดูรายละเอียดได้จากบทต่อไป เรื่องจุดฝังเข็ม

      ข. โดยทั่วไปแล้ว ถ้าเป็นบริเวณแขน ขา สะโพก บั้นเอว มักจะแทงลึก ส่วนบริเวณศีรษะ, ใบหน้า, ลำคอ, ทรวงอก, ท้อง และแผ่นหลัง มักจะแทงตื้น

      ค. ถ้าเป็นเด็ก, คนรูปร่างผอม ก็ให้แทงตื้นกว่าผู้ใหญ่ หรือคนรูปร่างอ้วน

      ง. แทงให้ลึกพอที่จะเกิดความรู้สึก “ได้ลมปราณ” (ดูรายละเอียดในหัวข้อถัดไป) หลักเกณฑ์ข้อนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะว่า ผลของการรักษาจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่า แทง “ได้ลมปราณ” หรือไม่ ถ้าแทงลึกไม่พอ ก็จะไม่ถึงตำแหน่งที่จะ “ได้ลมปราณ” อย่างไรก็ตาม ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ข้อ ก. ข. ค. ข้างต้นด้วย เช่น จุดจู๋ซานหลี่ กำหนดให้แทงลึกประมาณ 1-2 ชุ่น หากแทงลึกลงไป 3 ชุ่นแล้ว ไม่เกิดความรู้สึกได้ลมปราณ แสดงว่าอาจแทงไม่ตรงตำแหน่ง ถ้าหากเป็นเด็ก หรือคนรูปร่างผอม แทงลึกเพียงแค่ 0.5-1 ชุ่น ก็เกิดความรู้สึก “ได้ลมปราณ” แล้ว ในกรณีเช่นนี้เราก็ควรจะหยุดแค่นี้ มิใช่ว่าต้องแทงให้ลึกจนถึง 2 ชุ่น เสมอไป

    5. ปรากฎการณ์ “การได้ลมปราณ” (PSC phenomenon – Propagated Sensation along the Channel phenomenon)
    6.                     ทฤษฎีแพทย์จีนเห็นว่า ภายในร่างกายคนเรามี “พลังลมปราณ” วิ่งไหลเวียนไปตามเส้นลมปราณ เมื่อฝังเข็ม “ถูกจุด” ก็จะเกิดปรากฎการณ์ “การได้ลมปราณ” เกิดขึ้น ปรากฎการณ์แสดงให้ทราบ 2 แบบ คือ

      1. ตัวผู้ถูกฝังเอง จะรู้สึกเสียวหรือชา หรือรู้สึกหนัก ๆ หรือรู้สึกเหมือนถูกไฟฟ้าช๊อต หรือรู้สึกร้อน ตรงบริเวณที่ถูกแทง ความรู้สึกต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะเป็นความรู้สึกเฉพาะที่บริเวณนั้น หรือกระจายไปตามแนวเส้นปราณนั้น ๆ ก็ได้
      2. ตัวผู้ฝังเอง จะรู้สึกว่า เหมือนมีแรงบางอย่างอยู่ใต้ผิวหนังดูดเข็มเอาไว้ เมื่อขยับจะรู้สึกหนืด ๆ ในทางตรงกันข้าม ถ้าฝังเข็มไม่ถูกจุด ผู้ฝังจะรูสึกว่า เหมือนฝังเข็มลงไปในที่ว่างเปล่า รู้สึกโล่ง ๆ ไม่มีความรู้สึกว่ามีแรงต้านต่อเข็มเลย

                  โดยทั่วไปแล้ว ถ้าหากแทงเข็ม “ถูกจุด” หรือ “ได้ลมปราณ” ผลการรักษาจะค่อนข้างดี แต่ถ้าแทงไม่ได้ลมปราณ ผลการรักษาก็จะไม่ดี

                  เนื่องจากปรากฎการณนี้ แสดงออกด้วยความรู้สึกของผู้ถูกฝังเข็มและผู้ฝังเข็ม การที่จะเรียนรู้ปรากฎการณ์นี้ดี จึงอยากจะขอย้ำว่า การฝึกหัดฝังเข็มลงในร่างกายของ ตัวเองก่อน ดังที่กล่าวมาแล้วเกี่ยวกับการฝึกหัดฝังเข็ม จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

      ข้อน่าสังเกตมีอยู่ว่า ในการฝังเข็มรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังนั้น การฝังเข็มครั้งแรก ๆ ผู้ป่วยอาจจะไม่รู้สึก “ได้ลมปราณ” ชัดเจนมากนัก แต่เมื่อแทงไปหลาย ๆ ครั้งตามแผนการรักษา ผู้ป่วยจะค่อย ๆ เกิดความรู้สึก “ได้ลมปราณ” ชัดเจนมากขึ้น พร้อม ๆ ไปกับอาการของโรคจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามไปด้วย ปรากฎการณ์เช่นนี้อธิบายได้ว่า การเจ็บป่วยนั้นมีพยาธิสภาพอย่างหนึ่ง คือ มีการคั่งค้างของพลังลมปราณอยู่ ดังนั้นความรู้สึกในตอนแรกความรู้สึก “ได้ลมปราณ” จึงยังไม่ดี เมื่อฝังกระตุ้นให้การไหลเวียนของพลังลมปราณดีขึ้น ความรู้สึกของการได้ลมปราณจึงชัดเจนขึ้นพร้อมไปกับอาการของโรคก็ค่อย ๆ หายไปด้วย
      Go to Top

    7. วิธีการกระตุ้นเข็ม
    8. เมื่อปักเข็มลงไปที่จุดแล้ว มักจะไม่รู้สึก “ได้ลมปราณ” ในทันที จะต้องมีการกระตุ้นเข็มเสียก่อน จึงจะเกิด “ได้ลมปราณ” ขึ้น วิธีกระตุ้นเข็มมีไดหลายวิธีตามแต่ละสำนักวิชาและชนิดของเข็ม ที่นิยมใช้กันทั่วไปมีดังนี้

      1. วิธีการกระตุ้นแบบแทงดึง
      2. เมื่อปักเข็มลงไปลึกลงไปตามที่กำหนดของเข็มแล้ว ให้ดึงเข็มขึ้นมาโดยที่ปลายเข็มยังคงอยู่ใต้ผิวหนังอยู่ แล้วดันเข็มแทงลงไปให้ลึกตามที่กำหนดอีก ดึง-แทง ให้เข็มขึ้นลงสลับติดต่อกันไปเช่นนี้ ถ้าหากดึงเข็มขึ้นมามากแล้วแทงลงไปลึก หรือทำถี่ ๆ เร็ว ๆ แรงกระตุ้นเข็มก็จะมีมาก ในทางตรงกันข้าม ถ้าดึงเข็มลงมาน้อย, ทำช้า ๆ แรงกระตุ้นก็จะน้อย
           
             ให้สังเกตจากรูปว่าใช้เฉพาะนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เท่านั้น จับด้ามเข็มบริเวณใกล้โคนเข็ม ส่วนนิ้วที่เหลือใช้แตะที่ผิวหนัง เพื่อช่งยพยุงให้กระตุ้นเข็มได้ถนัดมากขึ้น

      3. วิธีกระตุ้นแบบปั่นเข็ม
      4.                 เมื่อปักเข็มลงลึกตามต้องการแล้ว ให้ปั่นเข็มหมุนไปทางซ้ายประมาณ 90 แล้วหมุนกลับมาทางขวาตามเดิม ทำสลับเช่นนี้ต่อเนื่องกันไป ถ้าหากมุมที่หมุนมาก และปั่นเร็ว ๆ แรงกระตุ้นก็จะมาก และถ้ามุมหมุนน้อยและปั่นช้า ๆ แรงกระตุ้นก็จะน้อย อย่างไรก็ตาม ไม่ควรจะให้มุมหมุนมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้ามหมุนเป็นวงกลมภายในทิศทางเดียวตลอด เพราะเข็มจะไปทำให้ไยกล้ามเนื้อ (Muscle fiber) หมุนพันตัวเข็ม ผู้ป่วยจะเจ็บปวดมาก ที่สำคัญเราอาศัยความถี่ของการปั่นมาเป็นตัวกระตุ้นมากกว่า

                            ให้สังเกตว่า วิธีปั่นด้ามเข็มที่ถูกต้องนั้น ต้องให้ตัวเข็มอยู่ระหว่าง ด้านในของปลายนิ้วหัวแม่มือ (คือด้านตรงข้ามกับเล็บ – Palmar surface) กับด้านข้างของปลายนิ้วชี้ (radial surface) แล้วใช้นิ้วชี้เป็นตัวปั่นเข็ม ส่วนนิ้วหัวแม่มือนั้นอยู่นิ่ง ๆ ตามรูป

      5. วิธีกระตุ้นเข็มแบบเกา
      6.                 ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือชี้และนิ้วชี้ข้างซ้าย จับตัวเข็มให้คงที่เอาไว้ แล้วใช้ปลายนิ้วหัวแม่มือขวากดบนหางเข็มเบา ๆ ใช้นิ้วชี้ขวาเกาที่ด้ามเข็ม โดยให้ปลายเล็บขูดขึ้นลงตามด้ามเข็มสลับต่อเนื่องกัน

      7. วิธีกระตุ้นแบบดีดเข็ม
      8.                 ใช้นิ้วชี้ขวาดีดที่หางเข็มเบา ๆ ทำให้ตัวเข็มสั่นสะเทือน จะเป็นการกระตุ้นให้ “ได้ลมปราณ” เร็วขึ้นอีกวิธีหนึ่ง

         

                        5. วิธีปั่นแทง

                        ความจริงแล้ว วิธีนี้ก็คือ วิธีผสมของแบบปั่นกับแบบขึ้นลงนั่นเอง กล่าวคือ ในขณะที่ดึงเข็มขึ้นแล้วแทงเข็มลงนั้น ก็ปั่นเข็มไปพร้อมกันไปด้วย ทั้งนี้จะช่วยเพิ่มแรงกระตุ้นให้มากขึ้น วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด

                        ในการเลือกใช้วิธีการกระตุ้นเข็มนั้น ถ้าหากเป็นการแทงตรง สามารถจะใช้วิธีกระตุ้นทั้ง 5 วิธีได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าเป็นการแทงเฉียงหรือแทงราบ มักจะใช้วิธีปั่นเข็มมากกว่า เพราะการถอน-แทงเข็มเข้า ๆ ออก ๆ จะทำให้เจ็บปวดมาก เนื่องจากเข็มอยู่ตื้นใกล้ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด (pain receptor) ที่ผิวหนังนั่นเอง

                        6.การกระตุ้นด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า

                            ปัจจุบันได้มีการประดิษฐ์เครื่องกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้า มาใช้แทนวิธีการกระตุ้นด้วยมือ ทำให้สะดวกแก่การรักษาผู้ป่วยจำนวนมาก ๆ และสามารถมีประสิทธิผลเท่าเทียมกับ การกระตุ้นประสาทผ่านผิวหนัง (TENS)

การกระตุ้นควรปฏิบัติดังนี้

    • ต่อสายไฟจากเครื่องกระตุ้น หนีบกับเข็มที่ผู้ป่วย โดยการเลือกจุดหนีบ ให้พิจาณาจุดที่อยู่ในแนวเส้นปราณเดียวกับ หรืออยู่ตามแนวเส้นประสาท ไม่ควรกระตุ้นข้ามข้าง (โดยถือแนวกระดูกสันหลังเป็นตัวแบ่ง) ก่อนต่อต้องปรับปุ่มทุกปุ่มไปที่ตำแหน่งต่ำสุด และไฟจ่ายเครื่องอยู่ที่ตำแหน่ง “Off” เสมอ
    • เลื่อนสวิทช์ไฟจ่ายไปที่ตำแหน่ง “On”
    • เลือกชนิดคลื่นกระตุ้นที่ต้องการตามตำแหน่งที่ปรากฏบนหน้าปัด สัญญาณไฟปรากฏให้เห็นตามจังหวะการกระตุ้น (ดูชนิดของคลื่นตามรูปข้างล่าง)

โดยความรู้สึกของผู้ป่วย การกระตุ้นในย่านความถี่ I จะเป็นลักษณะ ตุบ ๆ สม่ำเสมอ ส่วนย่านความถี่ที่ II และ III จะรู้สึกเหมือนถูกกดหรือนวด บริเวณจุดเป็น ระยะ ๆ

    • ข้อควรระวังระหว่างที่จะหยุดการกระตุ้น ต้องปรับทุกปุ่มไปที่จุดต่ำสุดก่อน เพื่อป้องกันการรัดวงจร และอาจทำให้กล้ามเนื้อของผู้ป่วยบาดเจ็บได้
      Go to Top
                5.การคาเข็ม

                  โดยทั่วไปแล้ว เมื่อกระตุ้นจน “ได้ลมปราณ” แล้ว ก็สามารถถอนเข็มออกได้ อย่างไรก็ตามในกรณีที่เป็นโรคเรื้อรัง, โรคที่มีอาการเจ็บปวดมาก, มีการเกร็งของกล้ามเนื้อมาก ๆ ควรคาเข็มไว้สัก 10-20 นาที ในระหว่างนั้น ก็ทำการกระตุ้นเข็มเป็นพัก ๆ ไปด้วย ส่วนในเด็กไม่ควรคาเข็ม เพราะเด็กอาจจะดิ้นทำให้เข็มหักคาเนื้อได้ง่าย

                          ในรายที่ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า จะใช้เวลาในการกระตุ้น 15 – 25 นาที จึงถอนเข็ม
      Go to Top

                                6. การถอนเข็ม

                    ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ซ้ายกดผิวหนังรอบ ๆ เข็มให้ตึงพอสมควร ใช้มือขวาจับด้ามเข็ม ค่อย ๆ ถอนเข็มขึ้นมาช้า ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าเข็มไม่ติดแน่น หรือไม่ได้บิดงออยู่ภายในเนื้อ จนกระทั่งปลายเข็มถอนขึ้นมาอยู่ชั้นใต้ผิวหนังแล้วให้ดึงเข็มออกมาเร็ว ๆ ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บ ใช้ก้อนสำลีแห้งกดเอาไว้สักครู่ เพื่อป้องกันเลือดออก จึงเป็นอันเสร็จสิ้นกระบาวนการฝังเข็ม ข้อควรระลึกเสมอคือ ภายหลังการรักษาทุกครั้ง จะต้องตรวจสอบว่า ได้ถอนเข็มออกครบทุกเล่มแล้ว โดยเฉพาะในกรณีที่ฝังหลายจุด หรือมีผู้ป่วยจำนวนมาก มีตัวอย่างที่ผู้รักษาถอนเข็มออกไม่หมดอยู่เสมอ
Go to Top


ภาวะแทรกซ้อนจากการฝังเข็ม

                        หมายถึงภาวะอันไม่พึงประสงค์ หรือกระทั่งเกิดอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตผู้ป่วย    ในระหว่างและ/หรือภายหลังจากการฝังเข็ม โดยทั่วไปแล้วการฝังเข็มมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ถ้าหากผู้ฝังเข็มไม่ระมัดระวังถึงข้อห้ามต่างๆ ฝีมือไม่ชำนาญ ไม่เข้าใจถึงโครงสร้างทางกายวิภาค    ของร่างกายมนุษย์ ก็สามารถจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เสมอ ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยมีดังนี้

    1. เป็นลม
    2. สาเหตุ : ผู้ป่วยตื่นเต้น, กลัวเข็ม, ร่างกายอ่อนเพลีย, ท้องว่างหิวข้าว หรือเกิดจากกระตุ้นเข็มแรงเกินไป

      อาการและอาการแสดง : ในระหว่างการฝังเข็ม ผู้ป่วยรู้สึกวิงเวียนศีรษะ, ตาลาย, ใจสั่น, คลื่นไส้อาเจียน, หน้าซีด, เหงื่อออก, แขนขาเย็น, ชีพจรเต้นเบา ความดันโลหิตต่ำ จนกระทั่งเป็นลมหมดสติไป

      การแก้ไข: 1. ถอนเข็มออกทันทีให้หมดทุกเล่ม

    3. ให้ผู้ป่วยนอนราบกับพื้น, ไม่หนุนหมอน, ยกปลายเท้าสูงขึ้นเล็กน้อย ห่มผ้าคลุมร่างกายให้อบอุ่น
    4. ผู้ที่มีอาการเล็กน้อย ให้ดื่มน้ำอุ่น หรือชงด้วยน้ำตาล โดยทั่วไปแล้วอาการจะดีขึ้น
    5. ถ้าผู้ป่วยมีอาการมาก ให้ใช้นิ้วมือกดหรือใช้เข็มปักไปที่จุด เหินจง, ซู่เหลียว, เน่ยกวาน และจู๋ซานหลี่ ถ้าอาการไม่ดีขึ้น รีบส่งต่อให้แพทย์รักษา

การป้องกัน : 1. สำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งมารับการรักษาเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะคนไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่รู้จัก หรือไม่คุ้นเคยกับการรักษาด้วยการฝังเข็ม ต้องพูดคุย อธิบาย เพื่อคลายความกลัว กังวล ตื่นเต้น เสียก่อน

2. พยายามเลือกท่านอนสำหรับฝังเข็มอยู่เสมอ

3. จำนวนเข็มที่จะฝังงไม่ควรจะมากเกินไป, การแทงเข็มกระตุ้นต้องทำให้นิ่มนวลไม่แรงเกินไป

4. ผู้ป่วยที่อ่อนเพลีย, หิวข้าว ควรจะงดการรักษา

2. เข็มคาติดเนื้อ

สาเหตุ : ผู้ป่วยตื่นเต้นเมื่อถูกฝังแล้วมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือปักเข็มลงในเส้นเอ็น (tendon) หรือหมุถนปั่นเข็มไปในทิศทางเดียว ทำให้ไยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) พันรัดเอาไว้

อาการแสดง : เมื่อดึง แทง ปั่นเข็ม จะรู้สึกฝืดมาก, ขยับถอนเข็มไม่ออก, ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บมากเมื่อขยับเข็ม

การแก้ไข : 1. บอกให้ผู้ป่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แพทย์ไม่จำเป็นต้องแสดงหรือบอกให้รู้ว่าเข็มติดคาเนื้อ เพราะผู้ป่วยจะยิ่งกลัวแล้วเกร็งกล้ามเนื้อมากขึ้น

2. ถ้าเกิดจากการหมุนปั่นไปทางเดียว ก็ให้หมุนเข็มย้อนกลับมาช้า ๆ

3. ปล่อยเข็มคาทิ้งไว้สักพัก หรือนวดคลึงบริเวณกล้ามเนื้อใกล้เคียง เพื่อทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวก็จะสามารถถอนเข็มออกได้

การป้องกัน : หลีกเลี่ยงหรือขจัดสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น

3. เข็มงอ

สาเหตุ : ปักเข็มแรงลึกเกินไปจนกระแทกถูกกระดูก, หรือแทงเข็มเข้าไปในโพรงข้อต่อกระดูก (Joint cavity) ผู้ป่วยขยับตัวเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายที่มีเข็มคาอยู่ หรือเกิดจากเข็มคาติดเนื้อนาน ๆ (ดูภาวะแทรกซ้อน ข้อ 2) โดยที่แพทย์ไม่ทราบ ไยกล้ามเนื้อที่พันรัดเอาไว้จะทำให้เข็มงอได้เช่นกัน

อาการแสดง : เข็มบิดเบนออกไปจากทิศทางเดิมที่คาเข็ม ขยับเข็มไม่ได้ ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดมากเมื่อขยับเข็ม

การแก้ไข : 1. ให้พิจารณาจากลักษณะการบิดเบนของเข็ม, ท่าของผู้ป่วยในขณะนั้น แล้วคาดคะเนดูว่า เข็มงออยู่ทิศทางใด

2. ถ้าพบว่าท่าของผูป่วยผิดไปจากเดิม ให้ผู้ป่วยค่อย ๆ ขยับตัวเปลี่ยนมาอยู่ในท่าเดิม

3. ค่อย ๆ ขยับถอนเข็มออก ย้อนขึ้นมาตามทิศทางการงอของเข็ม ในกรณีที่เข็มงอมาก ๆ อาจลองโยกเข็มในขณะที่ถอนไปด้วย ห้ามดึงเข็มขึ้นมาตรง ๆ

การป้องกัน : ขณะปักเข็มผ่านผิวหนังอย่างรวดเร็วนั้นต้องควบคุมเข็มไม่ให้ลึกเกินไป, หลีกเลี่ยงไม่ปักลงไปบริเวณโพรงข้อต่อกระดูก, กำชับผู้ป่วยไม่ให้ขยับเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายที่เข็มคาเอาไว้, ในรายที่คาเข็มเอาไว้ต้องตรวจสอบว่ามีเข็มคาติดเนื้อหรือไม่เป็นระยะ ๆ ไปด้วยเสมอ

4. เข็มหัก

สาเหตุ : เข็มมีสนิมกัดกร่อน, คุณภาพเข็มไม่ดี, ปัดเข็มจนมิดในเนื้อ, กระตุ้นเข็มแรงเกินไปทำให้กล้ามเนื้อหดเก็งรัดเข็มอย่างรุนแรง หรือผู้ป่วยขยับเปลี่ยนท่ามาก ๆ

อาการแสดง : เข็มหัก, ส่วนที่เหลือคาอยู่ในร่างกายของผู้ป่วย อาจมีปลาโผล่ให้เห็นหรือจมมิดหายเข้าไปในผิวหนังเลย

การแก้ไข : 1. บอกให้ผู้ป่วยอยู่นิ่ง ๆ เพราะการเคลื่อนไหวจะทำให้เข็มเคลื่อนตัวลึกลงไป หรือย้ายตำแหน่งได้

2. ถ้าตัวเข็มยังโผล่อยู่ หรือกดผิวหนังบริเวณรอบ ๆ เข็มแล้วยังเห็นตัวเข็มอยู่ ใช้นิ้วมือ หรือ Forcep ดึงออก

3. ถ้าเข็มจมมิดหายไป ให้ใช้ปากกาขีดเป็นวงบอกตำแหน่งเข็มเอาไว้ พยายามอย่าขยับเคลื่อนไหวร่างกายส่วนนั้น แล้วส่งต่อผู้ป่วยให้แพทย์ทำการรักาาต่อไป

การป้องกัน : 1. ก่อนจะใช้เข็ม ต้องตรวจสอบคุณภาพของเข็มเสมอ

2. เลือกใช้เข็มที่มีขนาดยาวลึกกว่าความลึกของจุดที่จะแทง ประมาณครึ่งนิ้ว ขณะที่คาเข็มนั้นควรจะให้ส่วนของตัวเข็มโผล่พ้นผิวหนังขึ้นมาเล็กน้อย ไม่ให้ปักลึกจนถึงด้ามเข็ม

3. ในกรณีที่เข็มคาติดเนื้อ หรือเข็มงอ ห้ามดึงออกมาแรง ๆ ตรง ๆ ให้จัดการตามวิธีแก้ไขที่กล่าวแล้วเป็นลำดับ

5. เลือดออก

สาเหตุ : ปลายเข็มงอเป็นตะขอเกี่ยวกับเนื้อ หรือแทงถูกเส้นเลือด หรือมีภาวะเลือดออกง่าย

อาการแสดง : ภายหลังถอนเข็ม เห็นเลือดออก หรือผิวหนังบริเวณฝังเข็มเป็นสีแดงคล้ำ, บวม ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บปวดมากร่วมด้วย

การแก้ไข : 1. ใช้สำลีแห้งกดรูเข็มเอาไว้สัก 2-3 นาที โดยทั่วไปแล้วเลือดมักจะหยุดได้เอง เพราะมักเป็นเลือดออกจากหลอดเลือดฝอย

2. ถ้าหากเลือดออกมาจนเห็นรอยฟกช้ำ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบก่อน เพื่อให้หลอดเลือดหดตัวลดภาวะเลือดออก ในวันต่อมาจึงค่อยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเพื่อให้รอยช้ำหายเร็วขึ้น

3. ถ้าผู้ป่วยเจ็บปวดมาก พิจารณาให้ยาแก้ปวดรับประทานด้วยก็ได้

การป้องกัน : ไม่ใช้เข็มที่มีตะขอ หลีกเลี่ยงที่จะแทงบริเวณที่มีเส้นเลือดใหญ่ ห้ามใช้ฝังเข็มรักษาที่มีความผิวปกติเกี่ยวกับโรคเลือดหยุดยาก

6. ลมขังในโพรงเยื่อปอด (Pneumothorax)

สาเหตุ : ปักลึกจนทะลุเยื่อหุ้มปอด ทำให้มีลมเข้าไปค้างอยู่ในโพรงเยื่อหุ้มปอด (ซึ่งตามปกติแล้วช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มปอดนี้จะไม่มีลมค้างอยู่) ทำให้ปอดถูกอัดแฟบลง, การแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดผิดปกติไป เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายมาก

อาการและอาการแสดง : ผู้ป่วยที่ได้รับการฝังเข็มบริเวณทรวงอก, หลัง เหนือกระดูกไหปลาร้า แล้วมีอาการเจ็บหน้าอก, ไอ, อึดอัดหายใจลำบาก, ใจสั่นหวิว ถ้าอาการหนักจะมีหายใจลำบากชัดเจน, ริมฝีปากเขียว กระทั่งหมดสติถึงแก่ชีวิตได้

การแก้ไข : 1. ขณะฝังเข็มบริเวณทรวงอก ถ้าผู้ป่วยรู้สึกเจ็บหน้าอก หรือไอขึ้นมาอย่างฉับพลัน แสดงว่าเข็มอาจจะทะลุเยื่อหุ้มปอด ใหเถอนเข็มออกทันที

2. ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่มาก ให้นั่งพัก ติดตามอาการสักระยะ ถ้าอาการผู้ป่วยดีขึ้นอาจให้ผู้ป่วยกลับได้ แต่ต้องกำชับให้ผู้ป่วยไปหาแพทย์ทันทีเมื่อรู้สึกเจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก โดยทั่วไปแล้วรูรั่วของเยื่อหุ้มปอดจะสามารถปิดหายไปเองได้

3. ถ้าผู้ป่วยมีอาการมาก ต้องรีบส่งแพทย์เพื่อจัดการใส่ท่อระบายลมอย่างรีบด่วน

การป้องกัน : 1. พึงตระหนักเสมอว่า เมื่อใดก็ตามที่ฝังเข็มบริเวณทรวงอก, สีข้าง, ชายโครง, หลัง, ต้นคอ และบริเวณกระดูกไหปลาร้า ต้องคึวบคุมทิศทาง, ความลึก, มุมเข็มให้แม่นยำ แทงเข้าไปช้า ๆ อย่าประมาทเป็นอันขาด

2. ในขณะที่ดันด้ามเข็มเข้าไปนั้น ให้ถามผู้ป่วยตลอดเวลาว่า มีความรู้สึก “ได้ลมปราณ” แล้วหรือยัง ถ้าผู้ป่วยได้ความรู้สึกแล้ว ให้หยุดแล้วถอนเข็มออกมานิดหนึ่ง แต่ถ้าแทงลงไปลึกพอตามที่กำหนดแล้ว ผู้ป่วยไม่รู้สึก “ได้ลมปราณ” ควรจะถอนเข็มออกมายังชั้นใต้ผิวหนัง แล้วค่อย ๆ แทงเข้าไปใหม่

3. โดยทั่วไปแล้ว ลำพังแต่การแทงเข็มลงไปลึกจนทะลุเยื่อหุ้มปอดนั้น ไม่ทำให้เกิดภาวะลมขังในโพรงเยื่อหุ้มปอดได้ เพราะว่ารูเข็มมีขนาดเล็กมาก แต่ว่าเสื่อเราคาเข็มเอาไว้ ในขณะที่ผู้ป่วยหายใจเข้าออก เยื่อหุ้มปอดและเนื้อปอดจะถูกปลายเข็มครูดกรีดทำให้รูทะลุนั้นฉีกกว้างมากขึ้น จนทำให้เกิดภาวะลมขังในโพรงเยื่อหุ้มปอด ดังนั้นถ้าผู้ป่วยรู้สึกเจ็บหน้าอก หรือรู้สึก “ได้ลมปราณ” แล้ว ควรจะถอนเข็มออกมานิดหนึ่งเสมอ เพื่อมิให้เข็มทะลุคาในเยื่อหุ้มปอด

ข้อควรสนใจในการฝังเข็ม

  1. ควรงดฝังเข็มในผู้ป่วยที่ตื่นเต้น หวาดกลัวมาก หรืออยู่ในภาวะอ่อนเพลีย ท้องว่างหิวข้าว ผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ควรกระตุ้นแรงเกินไป พยายามจัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนเสม
  2. หญิงที่กำลังอยู่ในรยะมีประจำเดือน ควรจะงดแทงเข็ม
  3. สำหรับหญิงตั้งครรภ์นั้น ห้ามแทงเข็มบริเวณท้อง, หรือจุดที่มีฤทธิ์กระตุ้นการหดตัวของมดลูกอย่างรุนแรง เช่น จุดเหอกู่, ซานยินเจียว, คุนหลุน, จื้อยิน เป็นต้น ยกเว้นเป็นจุดที่ต้องใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับครรภ์บางจุด
  4. ห้ามแทงกระหม่อมเด็ก โดยทั่วไปแล้วไม่ปักคาเข็มในการรักษาเด็ก เพราะเด็กมักจะดิ้นทำให้เข็มหักงอได้
  5. บริเวณที่มีผิวหนังอักเสบ, เป็นหนอง, มีก้อนเนื้องอก ห้ามฝังโดยเด็ดขาด
  6. ห้ามแทงเส้นเลือด ถ้าจำเป็รต้องแทงบริเวณนั้น ให้ใช้นิ้วมือซ้ายดันเส้นเลือดดำชั้นใต้ผิวหนังให้เฉเคลื่อนหลีกออกไปเสียก่อน
  7. บริเวณที่มีอวัยวะสำคัญเหล่านี้ ให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ

บริเวณเบ้าตา ห้ามกระตุ้นแรง, ห้ามปักคาเข็ม

บริเวณท้ายทอย และแนวกลางสันหลัง ถ้าผู้ป่วยรู้สึกเหมือนไฟฟ้าช๊อตแล้ว ให้ถอนเข็มออกมาเล็กน้อย

บริเวณทรวงอก, ชายโครง, หลัง, แอ่งเหนือกระดูกอก และบริเวณกระดูกไหปลาร้า ห้ามแทงตรง หรือแทงลึก

บริเวณท้อง ห้ามแทงลึก เพราะอาจทะลุกระเพาะอาหารลำไส้ ควรให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะให้หมดก่อนฝังเข็ม เพื่อป้องกันการแทงทะลุกระเพาะปัสสาวะที่ขยายโตจากการคั่งของน้ำปัสสาวะ

 Go to Top
 

Webmaster

Hosted by www.Geocities.ws

1