Home คำนำ บทนำ กลไกการฝังเข็ม เข็มและการใช้เข็ม จุดฝังเข็มและเส้นลมปราณ การใช้การฝังเข็มในเวชปฏิบัต แหล่งข้อมูลอ้างอิง เอกสารอ้างอิง WHO Recommendation for Acupuncture การเบิกค่ารักษาพยาบาล ผู้เรียบเรียง

 

กลไกการฝังเข็ม

1.การฝังเข็มระงับปวด (Acupuncture Analgesia)

    1. กลไกทางระบบประสาท
    2. สารเอนดอร์ฟินกับการฝังเข็มระงับปวด
    3. สารในสมองส่วนกลาง
    4. ระบบพิทูอิทารี่ไฮโปธาลามัส
    5. สรุป

2.การฝังเข็มระงับปวดกับอาการปวดเรื้อรัง

3.การติดยากับการฝังเข็ม

4.ผลของการฝังเข็มกับระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด การแก้อาเจียน ระบบปัสสาวะ ระบบการหายใจ ระบบขับถ่าย

1.การฝังเข็มระงับปวด

ในระยะหลังประเทศทางตะวันตก ใช้การฝังเข็มระงับปวด(Acupuncture Analgesia) ในการรักษาโรคปวดเรื้อรังเป็นส่วนใหญ่ และไม่ใช้ในหัตถการทางศัลยกรรมนอกจากเป็นการสาธิตเท่านั้น อย่างไรก็ตามมีการใช้การฝังเข็มระงับปวดร่วมกบการให้ไนตรัสออกไวด์หรือเฟนตานิล

มีคำถามว่า “การฝังเข็มสามารถลดอาการปวดฟันได้อย่างไร” เนื่องจากเป็นไปตามทฤษฎีทางสรีรวิทยา นักวิทยาศาสตร์จึงมีความสงสัย โดยอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นว่า เกิดจากภาวะหลอก (Placebo Effect) การคาดหวัง และการสะกดจิต

ในปี ค.ศ.1945 บีเชอร์และคณะ ได้อธิบายการระงับปวด โดยการใช้มอร์ฟีนพบว่าสามารถ ลดอาการปวดได้ 70% ของผู้ป่วย ในขณะที่การให้สารสายละลายน้ำตาล (Placebo) สามารถลดปวดได้ 35 % (โดยผู้ป่วยเข้าใจว่าตนเองได้รับมอร์ฟีน) ในปี ค.ศ. 1970 นักวิจัยได้ตั้งสมมติฐานการฝังเข็มระงับปวดมีกลไกทางจิตใจ อย่างไรก็ตามไม่สามารถอธิบายสมมติฐานนี้ได้ในการใช้การฝังเข็มในสัตว์ ซึ่งมีการใช้ในประเทศจีนกว่า 1000 ปี ในยุโรปกว่า 100 ปี และกำลังเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา ในสัตว์ไม่สามารถอธิบายสมมติฐานนี้ได้ จะมีเพียงสัตว์ 1 – 2 ชนิดเท่านั้นที่อธิบายผลทางจิตใจได้ เรียกภาวะนี้ว่า “Animal hypnosis” ขณะเดียวกันในเด็กอายุน้อย ๆ ก็ตอบสนองต่อการฝังเข็ม การทดสอบทางจิตเวชกับการฝังเข็มไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังกับการฝังเข็ม การสะกดจิตสามารถตัดออกไปได้ จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการสะกดจิตและการฝังเข็ม ต่อการตอบสนองต่อ Naloxone พบว่าการฝังเข็มสามารถถูกยับยั้งจากการใช้ Naloxone ในขณะที่การสะกดจิตไม่ถูกยับยั้ง

หลักฐานงานวิจัยด้านการฝังเข็ม ส่วนใหญ่ได้จากคน ซึ่งมีการเก็บประวัติจากผู้ป่วย มีเพียงบางงานวิจัยที่เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง 20 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปนักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งคำถามสำคัญ 2 ประการ คือ

1.การฝังเข็มระงับปวดมีประโยชน์จริงหรือ

(โดยการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยามากกว่าจิตใจหรือภาวะหลอก)

2.ถ้ามีประโยชน์จริง อะไรคือกลไกที่ทำให้เกิด

สำหรับคำถามแรก จำเป็นต้องใช้วิธีทดลองที่มีกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เพื่อขจัดภาวะหลอก การหายเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะทำในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังหรือการศึกษาทางห้องปฏิบัติการที่กระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดทั้งในคนและในสัตว์ ผลสรุปจากการทดลองพบว่าการฝังเข็มระงับปวดมีประโยชน์กว่าภาวะหลอกมาก

 

 

 

1.1ระบบประสาทกับการฝังเข็มระงับปวด

การฝังเข็มระงับปวดกระตุ้นเส้นประสาทเล็ก ๆ ในกล้ามเนื้อ นำกระแสประสาทไปที่ไขสันหลัง และมีศูนย์ 3 ศูนย์ที่เกี่ยวข้องกับการยับยั้งกระแสประสาทด้านความเจ็บปวด คือ ไขสันหลัง Midbrain และพิทูอิทารี ในรูปที่ 1,2 สรุปสมมติฐานของกลไกการฝังเข็มระงับปวดต่อระบบประสาท

 

รูปที่ 1 ด้านบนแสดงการส่งกระแสประสาทหลังจากการได้รับความเจ็บปวด จากผิวหนังบริเวณที่ถูกกระตุ้นจนกระทั่งถึงสมอง

ด้านล่าง แสดงการฝังเข็มผ่านผิวหนังเข้าไปที่กล้ามเนื้อ ถัดมาเป็นไขสันหลังและส่วนต่าง ๆ ของสมอง

จากรูปที่ 1

เพื่อความเข้าใจในการส่งกระแสประสาท ดูที่ลูกศรซ้ายบน หลังจากที่มีภยันตรายต่อผิวหนังจะกระตุ้น Sensory receptor ของ afferent fiber A delta และ C axon (ไยประสาทแบ่งโดยใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและจุดกำเนิดว่ามาจากผิวหนังและกล้ามเนื้อ

เส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ มีmyelinคลุม A beta(ผิวหนัง),type I(muscle) ส่ง touch และ propioception

เส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็ก มี Myelinคลุม A delta (ผิวหนัง), type II, III (muscle) ส่ง Pain

เส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเลกที่สุด ไม่มี myelin คลุม C (ผิวหนัง), type IV(muscle) ส่ง Pain

II,III,IV และ C สามารถส่งกระแสประสาทความเจ็บปวดได้)

จากรูปที่ 1 เซลล์ ( ส่งกระแสประสาทไปที่ เซลล์ ( ซึ่งอยู่ในไขสันหลังในส่วน Spinothalamic tract (STT) เซลล์ ((STT) ส่งกระแสประสาทไปยังเซลล์ (ในธาลามัส แล้วส่งต่อไปยัง เซลล์ (ในสมอง(ส่วน somatosensory cortex) การส่งกระแสประสาทความเจ็บปวดไปสู่สมองมีทั้งหมด 6 ทาง แต่เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจจึงนำมาอธิบายเพียงทางเดียว คือ Spinothalamic tract (STT) สำหรับเซลล์ที่เหลือ รูปที่ 2 จะแสดงถึงการทำงานจากการฝังเข็มส่งกระแสประสาทสู่ไขสันหลังผ่านเซลล์ (ซึ่งเป็นไยประสาท type II, III โดย type II จะแสดงอาการตื้อหรือที่เรียกว่า De Qui sensation ส่วน type III จะมีอาการหนักและเจ็บร้าว(heaviness+aching) ในบางจุดฝังเข็มไม่มีกล้ามเนื้อ เช่น ปลายนิ้ว,บริเวณเส้นประสาทใหญ่ ไยประสาทอื่นจะมาเกี่ยวข้อง (ถ้า cutaneous nerve ถูกกระตุ้น A delta จะเกี่ยวข้อง) เซลล์ ( ส่งกระแสประสาทไปยัง เซลล์ ( อยู่ในไขสันหลังส่วน Anterolateral Tract ซึ่งส่งกระแสประสาทไปยัง 3 ศูนย์ คือ ไขสันหลัง,Midbrain,พิทูอิทารีไฮโปธาลามัส ในไขสันหลัง เซลล์ ( ส่งกระแสประสาทไปยัง เซลล์ ( ซึ่งเป็นเซลล์ที่หลั่งสารเอนดอร์ฟิน ได้แก่ enkephaline , dynorphin แต่ไม่หลั่ง เบต้า-เอนดอร์ฟิน สารเอนดอร์ฟินในไขสันหลังจะไปยับยั้งการส่งกระแสประสาทความเจ็บปวดจากเซลล์ ( ไปยังเซลล์ ( มีไยประสาทระหว่างเซลล์ ( และเซลล์ (ซึ่งคาดว่าปลายประสาทของเซลล์ ( จะมี receptor ที่เกี่ยวข้องกับสารเอ็นดอร์ฟินอยู่ ในรูปที่ 2ไม่ได้แสดงสารอื่น ๆ ที่อยู่ตรงปลายประสาท เซลล์( ซึ่งได้แก่ Cholecystokinin , Somatostatin , Neurotensin , Dombesin , Calcitonin , gene related peptide , Angiotensin , Supstance P , vasoactive intestinal peptide ซึ่ง Cholecystokinin (CCK) จะมีผลต่อการฝังเข็มระงับปวดโดยออกฤทธิ์คล้าย ๆ กับ Naloxone ไปยับยั้งการฝังเข็มระงับปวดที่ผ่านกลไกสารเอนดอร์ฟิน เซลล์( ส่งกระแสประสาทไปยัง Midbrain โดยผ่าน Anterolateral tract จะไปกระตุ้นเซลล์ใน Periaquiductal gray (PAG) เซลล์ (,( จะหลั่งสาร enkephalin เพื่อยับยั้งการทำงานของเซลล์ ( เซลล์ ( จะส่งกระแสประสาทไปที่เซลล์ 11 ต่อจากนั้นเซลล์ 11 ก็จะส่งกระแสประสาทไปตามไขสันหลังผ่านทาง Dorsolateral Tract (DLT) จะมีการหลั่งสาร Monoamines เช่น Serotonin และ norepinephrine ไปยังไขสันหลัง โดยสารMonoamines จะยับยั้งการทำงานของเซลล์ ( และกระตุ้นการทำงานของเซลล์ ( ทำให้อาการปวดลดลง โดยเชื่อว่าทั้ง Serotonin และ Norepinephrine ออกฤทธิ์เสริมกัน นอกจากนี้ยังมีสารMonoamines อีกหลายตัว เช่น Neurotensin มาเกี่ยวข้อง ในขณะนี้ได้มีผู้วิจัยสารต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ เซลล์ ( ส่งกระแสประสาทไปยัง เซลล์ 12 , 13 ในพิทูอิทารีไฮโปธาลามัส โดยเซลล์ 12 อยู่ใน arcuate nucleus กระตุ้นผ่านเบต้าเอ็นดอร์ฟิน เซลล์ 13 ในไฮโปธาลามัส จะหลั่งสารเบต้าเอนดอร์ฟิน ไปกระตุ้นเซลล์ 14 ในพิทูอิทารี แล้วส่งผลต่อเซลล์ ( ใน Midbrain ความสำคัญของการหลั่งสารเบต้าเอนดอร์ฟินในพิทูอิทารี จะสัมพันธ์กับการหลั่ง ACTH (Adrenocorticotrophic Hormone) ซึ่งจะหลั่งออกมาพร้อมกันในกระแสเลือด มีปริมาณสัมพันธ์กัน ACTH จะเดินทางไปยังต่อมหมวกไต(เป็นแหล่งผลิตคอร์ติซอลในเลือด) จึงเป็นการอธิบายการลดการอักเสบของข้ออักเสบ และการลดการหอบหืด (ระดับคอร์ติซอลในเลือดที่เกิดจากการฝังเข็มมีจำนวนน้อยและสม่ำเสมอ จึงไม่มีผลข้างเคียงเหมือนการรักษาด้วยยาคอร์ติซอล) โดยสรุป การฝังเข็มกระตุ้นไยประสาทในกล้ามเนื้อ ส่งกระแสประสาทไปยังไขสันหลังและกระตุ้นศูนย์ 3 ศูนย์(ไขสันหลัง,Midbrain และระบบพิทูอิทารีไฮโปธาลามัส)ทำให้ระงับปวด ระดับไขสันหลังใช้ enkephaline และ dynorphin สกัดกั้นกระแสประสาทด้วยการกระตุ้นในช่วงความถี่ต่ำ และสารGABA โกยการกระตุ้นช่วงความถี่สูง ระดับMidbrain ใช้ enkephalin ไปกระตุ้นเซลล์บริเวณ Raphe ไปยับยั้ง spinal cord pain โดยใช้สาร Monoamines ด้วยการกระตุ้นช่วงความถี่สูง ส่วนระบบพิทูอิทารีไฮโปธาลามัสนั้น จะมีการหลั่งสารเบต้าเอนดอร์ฟินเข้าสู่กระแสเลือดและน้ำไขสันหลัง ทำให้ระงับปวด ไฮโปธาลามัสเองได้ส่งไยประสาทไปยัง Midbrain ผ่านเบต้าเอนดอร์ฟิน ทำให้อาการปวดลดลง การกระตุ้นศูนย์นี้จะเกิดจากช่วงความถี่ต่ำ

การใช้ในทางปฏิบัติ

* เมื่อฝังเข็มใกล้บริเวณที่ปวดและตึง (trigger point) จะส่งกระแสประสาทไปยัง เซลล์( ในไขสันหลัง และเซลล์ 11,14 ในศูนย์อื่น

* เมื่อฝังเข็มห่างจากบริเวณที่ปวด จะกระตุ้นเพียง เซลล์ 11,14 โดยไม่กระตุ้นเซลล์ ( ดังนั้นจะเห็นว่า เซลล์ 11 ,14 สามารถลดอาการปวดได้ทั่วร่างกาย แต่เซลล์ ( นั้นจะลดอาการปวดได้เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น การฝังเข็มเฉพาะที่ให้ผลตรงบริเวณที่ปวดมากกว่าการฝังเข็มในจุดที่ไกลออกไป จากสมมติฐาน 3 ศูนย์ที่กล่าวมา โดยทั่วไปการฝังเข็มมี 2 ชนิด คือการฝังเข็มใกล้บริเวณที่เป็นและไกลจากบริเวณที่เป็น (local&distance) จะใช้ร่วมกันในผู้ป่วยเพื่อเสริมกัน จุดสำคัญในการปฏิบัติอีกจุดหนึ่ง คือ การกระตุ้นซึ่งมี 2 ประเภท คือ

1.การกระตุ้นในย่านความถี่ต่ำ (2-4 Hz) ความแรงสูง การออกฤทธิ์ผ่านระบบเอนดอร์ฟินและผ่าน 3 ศูนย์

2.การกระตุ้นในย่าความถี่สูง (50 – 200 Hz) ความแรงต่ำ ออกฤทธิ์ผ่านเซลล์ (และ 11 โดยไม่ผ่านระบบเอนดอร์ฟิน

จากการวิจัยพบว่า

ก.การกระตุ้นที่ย่านความถี่ต่ำ สามารถลดอาการปวดช้ากว่า ใช้เวลาในการรักษานานกว่าการกระตุ้นที่ย่านความถี่สูง โดยการกระตุ้นที่ย่าความถี่ต่ำใช้เวลากระตุ้น 30 นาที และจะมีผลสะสม คือ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นเรื่อย ๆ

ข.การกระตุ้นที่ย่านความถี่สูง สามารถลดอาการปวดได้เร็วกว่า ใช้เวลาในการรักษาสั้นกว่า แต่ไม่มีผลสะสมของการกระตุ้น

จึงมีผู้ให้คำอธิบายปรากฎการณ์ว่า ข้อแรกเป็น Acupuncture-like TENS ข้อสองเป็น Conventional TENS เนื่องจากการกระตุ้นที่ย่านความถี่ต่ำ ความแรงสูง ทำให้เกิดการสะสม การมารับการรักษาอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้ป่วยดีขึ้น เป็นจากการคงอยู่ของเอนดอร์ฟิน ส่วน Conventional TENS หากใช้ในผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง พบว่ามีการดื้อต่อการรักษา การไม่ตอบสนองต่อการฝังเข็มระงับปวด เกิดขึ้นได้จากภาวะพันธุกรรมผิดปกติในส่วน Opiate receptors หรือการบกพร่องในโมเลกุลของสารเอนดอร์ฟิน ซึ่งในบางแห่งใช้ยา D-phenylalanine เพื่อช่วยในการกระตุ้นเอนดอร์ฟิน ในทางเวชปฏิบัติต้องอธิบายให้ผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาไม่ดี ไม่ควรหยุดการรักษาเร็วเกินไป เนื่องจากอาจจะมีภาวะสะสมน้อยกว่าผู้อื่น(อีกทางเลือกหนึ่งคือ ให้ผู้ป่วยทำ 5 ครั้ง ถ้าอาการไม่ทุเลาให้หยุดการรักษา หรือถ้ามีการตอบสนองบ้างก็ให้ทำต่อไปอีก และพิจารณาใหม่เมื่อครั้งที่ 10-15)

1.2 เอ็นดอร์ฟินกับการฝังเข็มระงับปวด

การฝังเข็มระงับปวดมีการวิจัยในการใช้ endorphin antagonist เช่น Naloxone,Naltrexon เมเยอร์ศึกษาในอาสาสมัครที่นำมาทำให้ปวดฟัน แล้วปักที่จุด LI 4 (…….) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่หนึ่งให้ Naloxone i.v. และกลุ่มที่สอง ให้ saline i.v. พบว่ากลุ่มที่ให้ Saline i.v.เริ่มชาเมื่อ30 นาที และชาต่อจากนั้นอีก 1 ชั่วโมง ในขณะที่กลุ่มที่ให้Naloxone i.v. จะไม่มีอาการชาเกิดขึ้น แต่กลุ่มทดลองไม่มีกลุ่มให้ Naloxone i.v. อย่างเดียวโดยไม่ฝังเข็ม เนื่องจากเกรงว่าผู้ป่วยจะเกิดอาการปวดมากกว่าเดิม(Hyperalgesia) จากยาNaloxone i.v. อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยจำนวนมากชี้ว่า Naloxone ไม่ทำให้เกิดอาการปวดมาก (Hyperalgesia) [เนื่องจากมีสมมติฐาน เอนดอร์ฟินไม่มีในระดับต่ำ ขณะเกิดความเจ็บปวดอย่างรวดเร็ว] และเมเยอร์ได้ใช้กลุ่มควบคุมเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาหลอก เพื่อดูการระงับปวดจากยาหลอก พบว่าไม่มีผู้ป่วยที่สามารถระงับปวดได้จากยาหลอก (บีเชอร์ ได้ทดลองในภาวะเจ็บปวดอย่างรวดเร็ว พบว่ามีผู้ป่วยเพียง 3 % เท่านั้นที่มีการระงับปวดจากยาหลอก [Placebo analgesia]) โพเมอรานซ์ได้ทดลองในหนู โดยการฝังเข็มที่ LI 4 (…) โดยแบ่งกลุ่มออกเป็นดังนี้ ฝังเข็มอย่างเดียว ฝังเข็มและให้ Saline i.v. ฝังเข็มและให้Naloxone i.v. ฝังเข็มผิดจุด (Sham point) Naloxone i.v.อย่างเดียว Saline i.v.อย่างเดียว และที่ไม่ได้รับการรักษา (โดยหนูทุกตัวในการทดลองได้รับการกระตุ้นให้ได้รับความเจ็บปวดเท่า ๆ กัน) พบว่า Naloxone ยับยั้งฤทธิ์การฝังเข็มระงับปวดทั้งหมด การฝังเข็มผิดจุดไม่มีผลตอบสนอง Naloxoneอย่างเดียวทำให้เกิดอาการปวดมากขึ้น (Hyperalgesia)เพียงเล็กน้อย และได้นำมาประยุกต์ใช้ในคนคือ 1.การฝังเข็มไม่ใช่ผลทางด้านจิตใจ 2.การฝังเข็มระงับปวดถูกยับยั้งจาก Naloxone อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังพบว่าการเพิ่มปริมาณ Naloxone จะเพิ่มฤทธิ์การยับยั้งการฝังเข็ม การศึกษาต่อมาในแมว โพเมอรานซ์บันทึกจาก Layer 5 cell ในไขสันหลัง (เซลล์(ในรูป 1) พบว่า Naloxone i.v. ยับยั้งฤทธิ์การฝังเข็มระงับปวดได้อย่างสิ้นเชิง

1.3 สาร Midbrain Monoamines กับการฝังเข็มระงับปวด สาร Monoamines ใน Midbrain โดยเฉพาะ Serotonin และ Norepinephrine บริเวณRaphe magnus ในก้านสมอง มีเซลล์ผลิต Serotonin มากที่สุดในสมอง ถ้ามีพยาธิสภาพขึ้นกับส่วนนี้จะทำให้ฤทธิ์การฝังเข็มระงับปวดลดลงด้วย Serotonin ที่หลั่งออกจาก Raphe ไปกระตุ้นไขสันหลังผ่าน Dorsolateral tract (DLT) เสริมฤทธิ์กับ Norepinephrine ออกฤทธิ์ในการส่งกระแสประสาทความเจ็บปวดในไขสันหลัง

1.4 การฝังเข็มระงับปวดกับระบบพิทูอิทารีไฮโปธาลามัส ศูนย์ที่เกี่ยวข้องกับการฝังเข็มศูนย์ที่ 3 จากการกระตุ้นที่ย่านความถี่ต่ำและผ่านระบบสารเอนดอร์ฟิน สารเอนดอร์ฟินจะพบในเซลล์ใน arcuate nucleus ในไฮโปธาลามัสและต่อมพิทูอิทารี ถ้ามีพยาธิสภาพในบริเวณดังกล่าวจะมีผลต่อการฝังเข็มระงับปวด การหลั่งสารเอนดอร์ฟินจะมีความสัมพันธ์กับการหลั่ง ACTH เข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งจะไปยังต่อมหมวกไต แล้วจะมีการหลั่งคอร์ติซอล จะช่วยในผู้ป่วยข้ออักเสบและผู้ป่วยโรคหอบหืด

    1. สรุป

หลักฐานการวิจัยการฝังเข็มระงับปวดจะผ่านระบบสารเอนดอร์ฟินเป็นหลัก ร่วมกับสารMonoamines ในรูปที่ 1 และ 2 ที่กล่าวมา

2.การฝังเข็มระงับปวดสำหรับอาการปวดเรื้อรัง สำหรับอาการปวดเรื้อรังสามรถสรุปข้อสำคัญของการฝังเข็มระงับปวดได้ 2 ประการ คือ 1.การฝังเข็มระงับปวดได้ผลมากกับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรัง โดยสามารถช่วยได้ถึง 55-85 % ของผู้ป่วย เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยยา (เช่น มอร์ฟีน ช่วยได้ 70 % เป็นต้น) 2.การฝังเข็มระงับปวดได้ผลมากกว่าภาวะหลอกมาก ซึ่งแสดงออกโดยทางกาย

จากผลสรุปที่กล่าวมาอยู่บนพื้นฐานข้อมูลจากการแบ่งกลุ่มการศึกษาวิจัยดังนี้ Class A การศึกษาที่ไม่มีกลุ่มควบคุมสำหรับเปรียบเทียบ Class B การศึกษาที่มีกลุ่มควบคุมที่ฝังเข็มผ่านผิวหนังแต่ผิดจุด (Sham acupuncture) เทียบกับกลุ่มที่ได้รับการฝังเข็มที่ถูกต้อง Class C การศึกษาในกลุ่มควบคุมที่ใช้การฝังเข็มหลอก(มักจะใช้ disconnected TENS หรือการใช้เข็มที่ใช้กาวติดกับผิวหนัง) เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการฝังเข็ม โดยจุดฝังเข็มทั้งสองกลุ่มจะเป็น true acupoint ใน Class B และ C ถือว่าเป็นการทดลองแบบ single blind (ผู้ป่วยจะไม่รู้ว่าตนเองได้รับเป็นจริงหรือหลอก แต่ผู้ให้การรักษาจะรู้) สามารถเรียงลำดับคุณภาพได้ Class C , Class B และ Class A ตามลำดับมากไปหาน้อย เริ่มแรกเราคาดว่าการเปรียบเทียบโดยให้Sham acupuncture เป็น Placebo แต่จากการศึกษาพบว่าการใช้ Sham acupuncture สามารถช่วยผู้ป่วยได้ถึง 33-50 % ขณะที่ Placebo ใน Class C สามารถช่วยลดปวดได้ 30-35%ของผู้ป่วยที่รับการรักษา (ส่วน true acupuncture สามารถช่วยได้ถึง 55 – 85 %) เลวิธและมาชินได้ทำการศึกษาพบว่า Sham acupuncture สามารถช่วยผู้ป่วยได้ 40 % ขณะที่ True acupuncture สามารถช่วยได้ 70 %

จากที่กล่าวมา Placebo ช่วยเพียงผู้ป่วยจำนวน 30 – 35 % ที่มาด้วยอาการปวดเรื้อรัง ซึ่งการศึกษาในระยะแรกมีปัญหาเรื่องจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา ต่อมาได้เพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างผลการวิจัยก็ได้ออกมาคล้ายกับการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้น จึงมีการสงสัยกันในจุดฝังเข็มว่าจำเพาะกับการเจ็บปวดมากน้อยเพียงใด

ในการศึกษาทั้งสามกลุ่มข้างต้น มีหลายการศึกษาที่เปรียบเทียบการฝังเข็มกับการใช้ยา(Standard Treatment)กับอาการปวดเรื้อรัง พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน การศึกษาเหล่านี้ก็มีปัญหาเรื่องจำนวนกลุ่มตัวอย่างด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบผลข้างเคียงของการฝังเข็มและการใช้ยาระงับปวดแล้ว การฝังเข็มจะมีน้อยกว่า และเมื่อเปรียบเทียบการฝังเข็มกับ TENS การฝังเข็มจะมีประสิทธิภาพมากกว่า แต่จะไม่พบความแตกต่างทางสถิติ การศึกษาในกลุ่มทั้งสามกลุ่มไม่สามารถแสดงความรู้สึกเต้อฉี้ (De Qi sensation) เมื่อการกระตุ้นผ่านไยประสาท type III ทำให้เกิดความรู้สึกเต้อฉี้ จะทำให้มี success rat ถึง 85-90% เมื่อติดตามการรักษาไป 4-8 เดือน

โดยสรุปการฝังเข็มระงับปวดจะดีกว่า Placebo สำหรับอาการปวดส่วนใหญ่ (ยกเว้น Neuralgia และ Migraine) สามารถช่วยได้ถึง 55-85% เมื่อเทียบกับการใช้มอร์ฟีนช่วยได้ 70% การฝังเข็มระงับปวดได้ผลดีกว่าหรือเท่ากับการใช้ยาและมีผลข้างเคียงที่น้อยกว่า จึงน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาอาการปวดเรื้อรัง การวิจัยในอนาคตคาดว่าจะต้องปรับระดับความรู้สึกเต้อฉี้ (De Qi sensation)ให้มากขึ้น เพื่อให้มีsuccess rate ที่มากขึ้นด้วย

ธรรมชาติของPlacebo พบว่า Half life ของการฝังเข็มระงับปวด 15-17 นาทีในคน และ 7-13 นาที ในสัตว์ ซึ่งไม่สามารถอธิบายด้วย Placebo และการรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นผลจากสารเอ็นดอร์ฟิน ซึ่งไม่ใช่Placebo และข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การทำการรักษาอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้ป่วยดีขึ้น เมื่อเทียบกับ Placebo ผลการรักษาที่อาการไม่เปลี่ยนแปลง

3.การติดสารเสพย์ติด

นพ.เว็น ศัลยแพทย์สมอง พบว่าการฝังเข็มกระตุ้นไฟฟ้า สามารถลดอาการถอนยา (withdrawal symptoms) ของการติดฝิ่น โดยพบเมื่อหลังจากผู้ป่วยบางคนหลังได้รับการผ่าตัดสมองแล้วมีการติดฝิ่นเพื่อลดอาการปวด รายงานแรกเป็นการฝังเข็มที่ใบหูติดไว้ 8 วัน สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเลิกฝิ่นได้ ในรายงานต่อมาเขาได้พบว่าการให้ Naloxone antagonist ร่วมกับการฝังเข็มกระตุ้นไฟฟ้า 30 นาที เป็นเวลา 3 วัน ได้ผลดีกว่าและเร็วกว่า แต่เขาไม่ได้ระบุว่าเป็นการรักษาที่ทำให้ผู้ป่วยหารขาด เนื่องจากผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสภาพ และการบำบัดทางจิตร่วมด้วย การศึกษาต่อ ๆมา พบ success rate ลดลงเนื่องจากมีผู้ป่วยหยุดการรักษาไปกลางคัน นอกจากการติดสารเสพย์ติดแล้วยังมีงานวิจัยที่เกี่ยวกับการติดยาระงับปวด ซึ่งผู้ป่วย 12 ใน 14 คน สามารถหยุดได้ด้วยการใช้การฝังเข็มที่หู 60 นาทีต่อวัน

นักวิจัยคาดว่ากลไกนี้เกิดจากการหลั่งสารกลุ่มเอนดอร์ฟิน บุลลอคค์ได้ทำการศึกษาในคนไข้ที่ติดสุราโดยใช้การฝังเข็มที่หู 3 จุด และเทียบกับการฝังเข็มผิดจุด ในผู้ป่วย 50 คน โดยแบ่งกลุ่มละ 25 คน พบว่า ในผู้ป่วยกลุ่มแรก 42 % สามารถหยุดสุราได้ภายใน 3 เดือน และ 28 % ลดการดื่มลง (สามารถช่วยได้รวม 70 %) ในขณะที่กลุ่มที่สอง ไม่เกิดผล บุลลอคได้เพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างเป็น 80 คน ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน ในรายงานวิจัยหลายแหล่ง ได้ผลลักษณะเดียวกัน

สถาบันยาเสพย์ติดแห่งชาติ (National Institute of Drug Abuse) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้การสนับสนุนการฝังเข็มกับการติดยาเสพย์ติด ซึ่งในระยะแรกใช้ในการรักษาการติดฝิ่นและโคเคน โปรแกรมการรักษาของสมิทที่นิวยอร์ค ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก ในช่วงปี พ.ศ.2513 – 2523 มีสถานบริการฝังเข็มกับยาเสพย์ติด กว่า 400 แห่ง ทั่วโลก โปรแกรมการรักษาใช้การกระตุ้นฝังเข็ม วันละ 30 นาที จนกระทั่งในบางรัฐของอเมริกาได้กำหนดเป็นกฎหมายในการรักษาผู้ป่วยติดยาเสพย์ติด

การเติบโตของการฝังเข็มในการใช้รักษาผู้ติดยาเสพย์ติดมีความสำคัญ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการวิจัยเชิงทดลองเพื่อยืนยันผลการรักษา และมีข้อผิดพลาดของงานวิจัยที่พบบ่อยคือ จุดฝังเข็มที่ใบหู ใกล้เคียงกับจุดฝังเข็มผิดจุดมาก (ห่างกันเพียง 5 มิลลิเมตร) ปัจจุบันมีสถาบันให้การสนับสนุนการวิจัยทางด้านนี้เป็นจำนวนมาก

4.Neurological, Cardiovascular, Antiemesis, Urogenital, Pulmonary ,ระบบทางเดินอาหาร และอื่น ๆ

ในหัวข้อนี้อยู่ภายใต้ข้อเดียวกัน เนื่องจากมีการวิจัยที่มีกลุ่มควบคุมน้อยในเรื่องเหล่านี้

การงอกของเส้นประสาทในผู้ป่วย ไม่สามารถที่จะทำให้เป็นการวิจัย double blind control ได้อย่างสมบูรณ์ ในประเทศจีนได้รายงานผู้ป่วย Bell’s palsy กว่า 100,000 ราย ได้รับการรักษาโดยการฝังเข็ม พบว่ามี success rate ถึง 92 % อย่างไรก็ตาม Bell’s Palsy สามารถหายเองได้ถึง 80 % ทำให้เราไม่สามารถขจัดภาวะหลอกออกไปได้ ในห้องทดลอง พบว่าการฝังเข็มกระตุ้นไฟฟ้า กระตุ้นให้มีการเจริญของเส้นประสาททั้ง Sensory และ Motor ในหนูที่ได้รับการบาดเจ็บที่ Sciatic Nerve

มีงานวิจัยเชิงทดลองถึงผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) โดยใช้การฝังเข็มร่วมกับการกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยที่เป็นในระยะ 36 ชั่วโมง ถึง 3 เดือน หลังจากมีอาการอัมพาต จากการศึกษาพบว่า สามารถลดจำนวนวันในการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลลง โดยสามารถประหยัดเงินได้ถึง 26,000 เหรียญสหรัฐ ต่อผู้ป่วยหนึ่งคน การศึกษาที่ใช้ CT scan ดูบริเวณเส้นเลือดตีบ การฝังเข็มจะช่วยได้ในกรณีที่เป็นน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของ Motor pathway ขณะที่รายงานวิจัยไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดในการรักษาทางเอเชีย ซึ่งการฝังเข็มได้ใช้อย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้ป่วยอัมพาต ในประเทศจีนตึกผู้ป่วยในหลายแห่งเต็มไปด้วยผู้ป่วยอัมพาตที่ได้รับการรักษาด้วยการฝังเข็ม ในประเทศเกาหลีโรงพยาบาลที่ให้บริการฝังเข็ม ขนาด 500 เตียง พบว่า ร้อยละ 80 ในจำนวนนั้นเป็นผู้ป่วย Stroke การศึกษาวิจัยในอนาคตจำเป็นต้องหาข้อบ่งชี้ของการฝังเข็มกับ Stroke

การศึกษาระบบหัวใจและหลอดเลือดในสัตว์ เยาและคณะได้ศึกษาโดยการกระตุ้นที่ Sciatic Nerve ทำให้ความดันโลหิตลดลง ในหนูที่ได้รับการกระตุ้นให้มีความดันโลหิตสูง ซึ่งในรายงานวิจัยต่อมา ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน ปฏิกิริยานี้สามารถลบล้างด้วยฤทธิ์ Naloxone และมีสาร Serotonin เข้ามาเกี่ยวข้องเช่นเดียวกับการฝังเข็มระงับปวด โทเลนได้ทดลองนำหนูที่ทำให้มีความดันโลหิตสูงมาวิ่งระยะหนึ่ง พบว่าสามารถลดความดันและลดอาการปวดได้ (ออกฤทธิ์ผ่านกลไกเอนดอร์ฟินและสาร Serotonin) คาดว่าNerve fiber Type III จะช่วยลดอาการปวดหลังการออกกำลังกาย (การลดความดันโลหิตและลดอาการปวด สามารถถูกยับยั้งด้วย Naloxone) แต่การฝังเข็มจะไม่ได้เกี่ยวกับ Nerve fiber type III ในสุนัขที่ดมยาสลบกระตุ้นที่ Du 26 (upper lip) สามารถเพิ่มความดันโลหิต แต่ Naloxone ไม่สามารถยับยั้งฤทธิ์นี้ได้ ในสุนัขที่มีอาการช็อคจากการเสียเลือด การกระตุ้นทำให้มีความดันสูงขึ้น จากการเพิ่ม Cardiac output มีการศึกษาในสุนัขโดยการฝังเข็มที่จุด ST 36 จะช่วยลด Cardiac output สามารถยับยั้งฤทธิ์ด้วย Atropine คาดว่าเกิดจาก sympathetic effect และมีการศึกษาในหนูและแมวที่ดมยาสลบ การกระตุ้นที่ย่านความถี่ต่ำจะมีการหลั่งสาร catecholamine ออกมาในปริมาณน้อย จากต่อมหมวกไต ขณะที่กระตุ้นที่ย่านความถี่สูง จะมีการหลั่ง catecholamine ออกมามากกว่า ซึ่งการหลั่งสารดังกล่าวในปริมาณน้อย จะช่วยลดความดันโลหิต การหลั่งออกมามาก จะทำให้เพิ่มความดันโลหิต เอินส์และลี ได้ฝังเข็มที่จุด LI 4 และ St 36 ทำให้เกิด cutaneous vasodilation ในคนปกติ โดยการใช้คลื่นความร้อนวัด

มีงานวิจัยการฝังเข็มในด้าน Urogenital Problem การฝังเข็มถูกจุด ดีกว่าการฝังเข็มผิดจุด ในการรักษา Dysmenorrhea ปัญหาเรื่องกระเพาะปัสสาวะดีขึ้นเมื่อได้รับการฝังเข็ม ในการศึกษาต่อมาในหญิงมีครรภ์เกินกำหนด โดยใช้ TENS ที่จุดฝังเข็ม โดยใช้ Sham TENS เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองมีการเพิ่มขึ้นของการหดรัดตัวของมดลูกทั้งความแรงและความถี่ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติต่อกลุ่มควบคุม ซึ่งเข้าได้กับการวิจัยเกี่ยวกับการลดการเกิด Reynaud’s syndrome ได้ผลถึง 63% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้เพียง 27 % แต่ก็มีการศึกษาที่ไม่เป็นไปอย่างที่กล่าวมาคือ การฝังเข็มที่มือจะทำให้เกิดความเย็นขึ้นของผิวหนังบริเวณมือ ในการศึกษาต่อมาการกระตุ้นฝังเข็มด้วยไฟฟ้าและการกระตุ้นด้วยมือ สามารถเพิ่มโอกาสรอดของ Skin flap โดยการป้องกันการตายของผิวหนังบริเวณนั้น

การวิจัยการใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้ โดยใช้จุด Pe 6 (เน่ยกวน) รายงาน 10 ใน 12 ฉบับแสถงถึงผลที่ดีมากจากการฝังเข็ม ใน10 ฉบับนี้: 6 ฉบับใช้ Placebo control group, 2 ฉบับ ไม่มี treatment control group และอีก 2 ฉบับ มี drug treatment control group พบว่าการฝังเข็มได้ผลดีกว่าการใช้ยาและ placebo การกระตุ้นจุดเน่ยกวน Pe 6 มีทั้งการกดจุด, การฝังเข็มกระตุ้นด้วยมือ และการฝังเข็มกระตุ้นด้วยไฟฟ้า และในรายงานวิจัยทั้ง 10 ฉบับ: 6 ฉบับ เป็นการคลื่นไส้หลังการผ่าตัด, 2 ฉบับเป็นกลุ่มคลื่นไส้ในภาวะตั้งครรภ์ และอีก 2ฉบับ เป็นกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งหลังการให้เคมีบำบัด การกดจุดจะมีผลดีต่อกลุ่มคลื่นไส้ในหญิงตั้งครรภ์และกลุ่มวิงเวียนจากการเมารถ อย่างไรก็ตามกลไกการฝังเข็มต่อการคลื่นไส้ยังไม่ชัดเจน Sensory input จาก Median nerve ไปยังส่วนหลังของ brainstem ยับยั้งอาการคลื่นไส้หรือไม่ ? การใช้ยาชาต่อ Median nerve มีผลยับยั้งการฝังเข็มกับกลุ่มอาการคลื่นไส้

การฝังเข็มมีผลการรักษาดีกว่า Placebo ในการรักษา Incontinence ในผู้สูงอายุ พบว่ากว่า 90 % ของกลุ่มที่ได้รับการฝังเข็มสามารถลดการปัสสาวะตอนกลางคืนลง ในขณะที่ Placebo ลดได้ 11 % สำหรับภาวะมีบุตรยาก การฝังเข็มใบหู มีประสิทธิผลใกล้เคียงกับการรักษาด้วยฮอร์โมน แต่ผลข้างเคียงจะน้อยกว่า

การรักษา Vasomotor symptoms ในสตรีวัยทอง สามารถลด Hot flush ลงได้ 50 % ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (Subcutaneous Needle) แต่การติดตามผู้ป่วยใน 3 เดือนต่อมา กลุ่มทดลองเท่านั้นที่คงการไม่มี Hot flush ได้ อย่างไรก็ตามกลุ่มควบคุมยังไม่สมบูรณ์ จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาด้านนี้มากขึ้นในอนาคต

 
 

Webmaster

Hosted by www.Geocities.ws

1