Home คำนำ บทนำ กลไกการฝังเข็ม เข็มและการใช้เข็ม จุดฝังเข็มและเส้นลมปราณ การใช้การฝังเข็มในเวชปฏิบัตแหล่งข้อมูลอ้างอิง เอกสารอ้างอิง WHO Recommendation for Acupuncture การเบิกค่ารักษาพยาบาล ผู้เรียบเรียง

การใช้การฝังเข็มในเวชปฏิบัติ

จุดสำคัญในการฝังเข็ม ความสัมพันธ์ระหว่าง อวัยวะ, เนื้อเยื่อ, Sensory organ และธาตุ
จุดฝังเข็มที่อยู่ distal ต่อศอกหรือเข่า Distal point บางจุด
จุดฝังเข็มสำหรับการรักษาตามอาการ Influencial point
มาตรฐานทั่วไปของการฝังเข็ม  
โรคตามการรับรองจากองค์การอนามัยโลก  
Locomotor Disorder  
Cervical Spondylosis Intercostal Neuralgia
ปวดหลัง Sciatica, Lumbar pain ข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder)
ปวดข้อศอก Epicondylitis, Tennis Elbow ปวดข้อ (Coxarthrosis, Coxarthritis)
ปวดข้อเข่า โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)
โรคระบบทางเดินหายใจ   
ไข้หวัด  ไซนัสอักเสบกระดูกแมกซิลลา
Frontal Sinusitis หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis)
โรคหอบหืด (Bronchial Asthma)  
โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ  
Angina Pectoris โรคความดันโลหิตสูง
กลุ่มอาการความดันโลหิตต่ำ กลุ่มอาการผิดปกติของการไหลเวียนเลือดส่วนปลาย 
โรคระบบทางเดินอาหาร  
กระเพาะอาหารอักเสบ และลำไส้อักเสบ แผลในกระเพาะ, แผลในลำไส้ส่วนบน 
ท้องผูก (Constipation) ท้องร่วง (Diarrhea)
Irritable Bowel Disease โรคระบบทางเดินน้ำดี
กลุ่มโรคจิตเวช  
โรคซึมเศร้า นอนไม่หลับ 
การติดสารเสพย์ติด ติดสุรา
การติดสารนิโคติน โรคอ้วน
กลุ่มโรคทางประสาทวิทยา  
โรคปวดศีรษะและไมเกรน ลมชัก (Epilepsy)
Trigeminal Neuralgia อัมพาต
อัมพาตใบหน้า Facial Paresis, Bell’s Palsy  
โรคทางนรีเวชกรรม ปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea)
อาการปวดจากเนื้องอกทางนรีเวช การระงับปวดระหว่างการคลอด
โรคผิวหนัง สิว (Acne Vulgaris)
แผลเรื้อรัง ผื่นคัน, ผิวหนังอักเสบ (Eczema, Neurodermatitis)
โรคเรื้อนกวาง (Psoriasis)  
 การฝังเข็มในทางทันตกรรม การฝังเข็มชาถอนฟัน
การฝังเข็มระงับอาการเจ็บจาการขูดหินน้ำลาย  

 

จุดสำคัญในการฝังเข็มมีดังนี้ คือ

  1. การวินิจฉัยถูกต้อง โดยเน้นการแยกโรคจากโรคมะเร็งต่าง ๆ
  2. มีการวิเคราะห์อาการของผู้ป่วยอย่างละเอียด โดยเฉพาะกลุ่มอาการเรื้อรังและซับซ้อน
  3. การตรวจร่างกาย การหาจุดปวด และอาการต่าง ๆ ที่ถูกต้อง
  4. มีความรู้ถึงเส้นปราณ ทั้งความสำคัญของแต่ละจุด
  5. จุดแต่ละจุด มีเทคนิคในการฝังเข็มต่างกัน ทั้งความลึก แนวเข็ม และการกระตุ้น

การรักษาได้อาศัยการศึกษาในการฝังเข็มของจีน และการนำมาศึกษาวิจัยในระยะ 30 ปี ที่ผ่านมา พบดังนี้

  1. จุดฝังเข็มมี local effect ต่อบริเวณรอบ ๆ
  2. จุดปวดหรือแข็งตึง ใช้เป็นจุดฝังเข็ม เราเรียกว่า locus dolendi point หรือจีนเรียกว่า Ah Shi point แต่ใน trigger point ของกลุ่มอาการ trigeminal neuralgia จะใช้ไม่ได้เนื่องจากทำให้เพิ่มความปวด
  3. จุดฝังเข็มมีผลกับอวัยวะต่าง ๆ หรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่เส้นปราณเกี่ยวข้อง ข้อนี้เป็นพื้นฐานในการเลือกจุดฝังเข็ม
  4. ความสัมพันธ์ระหว่าง อวัยวะ, เนื้อเยื่อ, Sensory organ และธาตุ

    อวัยวะหยิน

    อวัยวะหยาง

    เนื้อเยื่อ

    Sensory organ

    ธาตุ

    ปอด

    ลำไส้ใหญ่

    ผิวหนัง, ขน

    จมูก

    ทอง

    ไต

    กระเพาะปัสสาวะ

    กระดูก, ข้อ

    หู

    น้ำ

    ตับ

    ถุงน้ำดี

    กล้ามเนื้อ, เอ็น

    ตา

    ไม้

    หัวใจ

    ลำไส้เล็ก

    เลือด, เส้นเลือด

    ลิ้น

    ไฟ

    เยื่อหุ้มหัวใจ

    Sanjiao

         

    ม้าม

    กระเพาะ

    เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

    ปาก

    ดิน

     

  5. จุดฝังเข็มที่อยู่ distal ต่อศอกหรือเข่า เรียกว่า distal point มีผลต่อ Proximal area มีจุดสำคัญ 6 จุด ดังนี้
  6. จุด

    ตำแหน่ง

    Proximal area

    แขน

    LI 4 เหอกู่

    ระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้

    ใบหน้า, คอ และ Sensory organ

     

    Lu 7 เลี่ยเชวีย

    1.5 ชุ่น เหนือข้อมือด้านขอบทางกระดูก Radius

    คอ, ปอด

     

    Pe 6 เน่ยกวาน

    ด้านในของแขน 2 ชุ่น เหนือข้อมือ

    Epigastrium, ด้านหน้าของช่วงอก

    ขา

    St 36 จู๋ซานหลี่

    ด้านข้างของกระดูก Tibia 3 ชุ่นใต้เข่า

    อวัยวะภายในช่องท้อง

     

    UB 40 เหว่ยจง

    ตรงกลางของ popliteal crease

    แผ่นหลังด้านล่าง, ระบบขับถ่ายปัสสาวะ

     

    Sp 6 ซานยินเจียว

    3 ชุ่น เหนือ medial malleolus

    ระบบอวัยวะสืบพันธ์, perinium

  7. Distal point บางจุด สามารถทำให้เกิดการระงับปวด (analgesia), Sedative, เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน, tonifying หรือ homeostatic effect
  8. จุดระงับปวด

    LI 4 เหอกู่

     

    St 44 เน่ยถิง

     

    St 43 เซียงกู

    จุดที่มีผล tonifying effect

    Ren 6 ชี่ห่าย

     

    Ren 8 เชินกี

     

    St 36 จู๋ซานหลี่

     

    Sp 6 ซานจินเจียว

    จุดที่มีผล sedative effect

    Du 20 ไป่หุ้ย

     

    Ex 6 ซือเชินคง

     

    He 6 เซินเหมิน

     

    UB 62 เซินหม่าย

    จุดที่มีผล homeostatic effect

    LI11 ชวีฉือ

     

    Sp 6 ซานจินเจียว

     

    St 36 จู๋ซานหลี่

    จุดที่ผลต่อการเพิ่มภูมิคุ้มกัน

    LI11 ชวีฉือ

     

    Du 14 ต้าจุย

     

    Du 13 เท้าเดา

  9. จุดฝังเข็มสำหรับการรักษาตามอาการ
  10. อาการ

    จุดฝังเข็ม

    สะอึก

    St 36, Pe 6, UB 17

    คลื่นไส้

    Pe 6, St 36

    เหงื่อซึม

    He 6, Ki 7, LI 4

    คัดจมูก

    LI 20, Ex 1, Pe 6

    บวม

    Sp 9, Ren 5, Ren 9

    นอนไม่หลับ

    Du 20, He 7, Ex 8, Ex 9

    ไข้

    Du 14, LI 11, LI 4

    ท้องผูก

    SJ 6, St 25

    ถ่ายเหลว

    Sp 4, St 36, Ren 6

  11. จุดที่มีผลต่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่าง ๆ เรียกว่า Influencial point

เนื้อเยื่อ,อวัยวะ

Influencial points

อวัยวะตัน

Liv 13

จางเหมิน

อวัยวะกลวง

Ren 12

จงวาน

ระบบทางเดินหายใจ

Ren 17

ซานจง

เลือด

UB 17

เก๋อซู

กระดูก

UB 11

ดาซู

ไขกระดูก

GB 39

เสวียนจง

กล้ามเนื้อ, เส้นเอ็น

GB 34

หยางหลิงเฉวียน

ระบบหลอดเลือด

Lu 9

ไท่หยวน

ในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงการฝังเข็มในโรคที่องค์การอนามัยโลกให้การรับรองเมื่อปี พ.ศ. 2522 ซึ่งใช้ได้ผลดีในประเทศทางตะวันตก การรักษาทางแผนปัจจุบันร่วมกับการฝังเข็ม ทั้งการแนะนำเรื่องอาหาร กายภาพบำบัด และจิตบำบัด มีส่วนสำคัญในการหายของผู้ป่วย ในรายที่จำเป็นต้องได้รับยา ก็จะใช้ยาน้อยลง

 

มาตรฐานทั่วไปของการฝังเข็ม

            โดยทั่วไป ผู้ป่วยจะถูกฝังเข็มประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ในรายที่มีอาการปวดอย่างเฉียบพลัน เช่น trigeminal neuralgia, acute migraine และการปวดในโรคมะเร็ง สามารถทำได้วันละ 1 ครั้ง พักการรักษา 7 – 14 วัน หลังการรักษา 8 –12 ครั้ง

            การฝังเข็มแต่ละครั้งใช้เวลานาน 10 – 25 นาที จึงถอนเข็มออก แต่ในรายที่จำเป็น เช่น trigeminal neuralgia สามารถใช้เวลาได้ถึง 1 ชั่วโมง ในบางอาการสามารถฝังเข็มได้ 10 – 15 ครั้ง หรือจนกระทั่ง 20 ครั้ง

            ก่อนการฝังเข็มทุกครั้ง ต้องพยายามหาจุดที่มีการปวด บริเวณที่ sensitive หรือเรียกว่า Ah-Shi point และใช้เป็น local acupuncture point

            จุดต่าง ๆ ที่แสดง คอลัมน์แรกเป็น local point คอลัมน์ที่สองเป็น distal point ที่แขน คอลัมน์ที่สามเป็น distal point ที่ขา และจุดต่าง ๆ ที่แสดงแต่ละแถวจะเรียงตามลำดับความสำคัญ โดยจุดที่สำคัญจะกล่าวถึงก่อน จุดที่แสดงในที่นี้ไม่เป็นสูตรตายตัว แต่เพื่อช่วยให้ผู้เริ่มต้นสามารถพบจุดสำคัญได้ง่าย

 

โรคตามการรับรองจากองค์การอนามัยโลก ที่ได้ผลดีจากการฝังเข็ม

    1. Locomotor Disorder

ผลของการรักษาในโรคกลุ่มนี้ ได้มีการวิจัยที่มีกลุ่มควบคุม พบว่าได้ผลดีโดยเฉพาะกลุ่มอาการปวดเรื้อรังที่รักษาด้วยการฝังเข็มวันละครั้ง

หลักการรักษา

    • จุดที่ปวดและ sensitive ต่อแรงกด หรือ Ah Shi point จะเป็นจุดฝังเข็ม
    • บริเวณที่ปวด และบริเวณที่ปวดร้าว จะสัมพันธ์กับเส้นปราณ สามารถเลือก local และ distal point ของเส้นปราณนั้น ๆ เช่นปวดไหล่ ในแนวเส้นปราณลำไส้ใหญ่ (Large Intestine channel) ก็จะใช้จุด LI 4 เหอกู่ และ LI 11 ชวีฉี
    • Influential point สำหรับกล้ามเนื้อและเอ็น GB 34 หยางหลิงเฉวียน
    • ภาวะเสื่อมของข้อ, กระดูก และกระดูกอ่อน ใช้ UB 11 ต้าซู

จุดระงับปวด LI 4 เหอกู่ และ St 44 เน่ยติง

                1.1 Cervical Spondylosis, Torticollis และ Rheumatoid Arthritis

      จีนได้แบ่ง cervical spondylosis เป็น 2 ประเภท ตามบริเวณที่ปวด ดังนี้

      1. บริเวณแนวกลาง เกี่ยวข้องกับเส้นปราณกระเพาะปัสสาวะ ทำให้การเคลื่อนไหวจำกัด และการก้มหน้า หรือเงยหน้า จะปวดมากขึ้น ซึ่งมีผลจากเส้นปราณลำไส้เล็กและกระเพาะปัสสาวะ

      2. บริเวณด้านข้าง ทำให้การเคลื่อนไหวจำกัด การหันคอจะทำให้ปวดมากขึ้น จุดที่ใช้รักษาอยู่ในเส้นปราณซานเจียวและเส้นปราณถุงน้ำดี

      ในรายที่เป็นเฉียบพลัน การกระตุ้นให้มี sedative effect เป็นสิ่งจำเป็น ส่วนกลุ่มที่เป็นเรื้อรังต้องกระตุ้นด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า

      Cervical spondylosis แนวกลาง (เส้นปราณลำไส้เล็กและกระเพาะปัสสาวะ)

      Du 20 ไป่หุ้ย    
      UB 10 เทียนจู SI 3 หูซี  UB 60 คุนหลุน
      Du 14 ต้าจุ้ย SI 6 หยางเลา  
      UB 11 ต้าซู่  Lu 7 ลีฉวี   
      Ex 21 ฮัวโตวเจียจี  LI 4 เหอกู่  
      Ah Shi points    

          
      Cervical spondylosis ด้านข้าง

      Du 20 ไป่หุ้ย    
      GB 20 เฟิงฉือ SJ 5 ว่ายกวาน  GB 39 เสวียนจง 
      GB 21 เจียนจิง LI 4 เหอกู่  GB 34 หยางหลิงกวาน
      Du 14 ต้าจุ้ย Lu 7 ลีฉวี   
      Ah Shi points    

       

                     1.2 Intercostal Neuralgia, Trauma of the Thorax, Ankylosing Spondylosis และ Zoster Neuralgia

      ในรายที่เป็นรุนแรงร่วมกับการปวดเรื้อรัง สามารถทำการฝังเข็มได้ถึง 20 – 30 ครั้ง

      Du 20 ไป่หุ้ย    
      Ex 21 หัวโทวเจี๋ยจี๋ SJ 8 ซานหยางโลว  GB 40 ฉวีซือ
      GB 21 เจียนจิง LI 4 เหอกู่  GB 34 หยางหลิงกวาน
      UB 11 ถึง UB 21 (เลือก 3-5จุด)    
      Ah Shi points    

                1.3 ปวดหลัง Sciatica, Lumbar pain

      Sciatica แนวกลาง จะสัมพันธ์กับเส้นปราณกระเพาะปัสสาวะ หรือด้านข้าง จะสัมพันธ์กับเส้นปราณถุงน้ำดี

      ปวดตามแนวเส้นปราณกระเพาะปัสสาวะ

      Du 20 ไป่หุ้ย    
      Du 3 เหยาหยางกวาน LI 4 เหอกู่  UB 40 เหว่ยจง
      Du 4 มิงเหมิน Hand Point 1  UB 60 คุนหลุน
      UB 23 เซินซู    UB 58 เฟยหยาง
      UB 25 ต้าชางซู   UB 57 เชงซาน
      UB 26 กวานหยวนซู    
      UB 54 จื้อเปียน    
      UB 36 เชงฟู     
      Ah Shi points    

       

      ปวดตามแนวเส้นปราณถุงน้ำดี

      Du 20 ไป่หุ้ย    
      GB 30 หวนเตียว LI 4 เหอกู่  GB 34 หยางหลิงกวาน
      GB 31 เฟงจี   GB 39 เสวียนจง
      UB 23 เซินซู     
      Du 3 เหยาหยางกวาน    
      Du 4 มิงเหมิน    
      UB 54 จื้อเปียน    
      UB 36 เชงฟู     
      Ah Shi points    

       

                1.4 ข้อไหล่ติด (Periarthritis Humeroscapularis, Frozen Shoulder)

                Local point ในข้อไหล่ สามารถเลือกได้ดังนี้

  1. ปวดด้านหน้าของไหล่ ใช้จุดในเส้นปราณลำไส้ใหญ่ (LI 15, LI 16) distal point ใช้ LI 4, LI 11 และ distal point สำคัญที่ขา คือ St 38
  2. ปวดไหล่ด้านหลัง Local point ที่ SI 9 – 11 ร่วมกับ distal point ที่ SI 6
  3. ปวดบริเวณกลางไหล่ Local และ distal point ในเส้นปราณซานเจียว และเส้นต่าง ๆ ที่เข้าได้กับการยกไหล่ คือ

                    Anteversion ใช้เส้นปราณลำไส้ใหญ่ 
                    Abduction ใช้เส้นปราณซานเจียว 
                    Retroversion ใช้เส้นปราณลำไส้เล็ก

            ผู้ป่วยที่มีข้อไหล่ติด การกระตุ้นที่ St 38 ได้ผลดีเป็นอย่างมาก มีรายงานการวิจัยพบว่า 40% ของผู้ป่วย อาการดีขึ้นในการฝังเข็มครั้งแรก และ 80% ดีขึ้นหลังการรักษา 2-3 ครั้ง

 

           ปวดไหล่ด้านหน้า            

Du 20 ไป่หุ้ย    
LI 15 เจียนหยู  LI 4 เหอกู่  St 38 เตียวคู
LI 16 จูกู๋   LI 11 ฉวีชี  GB 39 เสวียนจง
LI 14 ปี้น่าว    

 

ปวดกลางไหล่

Du 20 ไป่หุ้ย    
SJ 14 เจียนเหลียว  SJ 5 ว่ายกวาน   
SJ 13 หน่างฮุย   LI 4 เหอกู่  St 38 เตียวคู

 

ปวดไหล่ด้านหลัง

Du 20 ไป่หุ้ย    
SI 9 เจียนเจิน  SI 6 หยางเล่า   
Du 14 ต้าจุ้ย  SI 3 ฮัวซี St 38 เตียวคู

 

                1.5ปวดข้อศอก Epicondylitis, Tennis Elbow

      การรักษาอาการปวด ที่สำคัญในการเลือกจุดคือ หาจุดปวดมากที่สุด หรือปวดมากเมื่อได้รับแรงกด distal point สัมพันธ์กับเส้นปราณที่พาดผ่าน การกระตุ้นบริเวณ distal point จะได้ผลดีมาก สิ่งที่ควรระมัดระวังคือ การขยับข้ออย่างรวดเร็วและการยกของหนัก เป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง

      Du 20 ไป่หุ้ย    
      LI 11 ฉวีชี  LI 4 เหอกู่    
      LI 10 จู๋ซานหลี่ SJ 5 ว่ายกวาน  
      Lu 5 ฉือเจ๋อ     
      Pe 3 ฉวีเจ๋อ     
      He 3 เจาห่าย    
      Ah Shi points เป็นจุดสำคัญมาก    

                1.6 ปวดข้อ (Coxarthrosis, Coxarthritis)
      Du 20 ไป่หุ้ย    
      GB 30 หวนเตียว LI 4 เหอกู่  GB 34 หยางหลิงกวาน 
      UB 54 จีเบี่ยน    UB 40 เหว่ยจง 
      UB 32 ซิเหลียว    UB 60 คุนหลุน 
      UB 36 เชงฟู    St 44 เน่ยติง 
      Ah Shi points เป็นจุดสำคัญมาก    

       

                    1.7 ปวดข้อเข่า (Gonarthrosis, Pain in the Knee Joint)

              มี local point สำคัญ 3 จุด คือ Ex 31 เหอติ้ง, Ex 32 ซีหยาน และ St 35 ตู๋ปี๋ เรียกจุดเหล่านี้ว่าเป็น “ตาของเข่า” (Knee eyes) เป็นจุดหลักในการรักษาโรคปวดเข่า จุด local point หรือจุดปวดเมื่อได้รับแรงกดจะเป็นจุดที่นำมาใช้ในการรักษา ส่วน distal point ก็เลือกเส้นปราณที่สัมพันธ์กับ local point

      Du 20 ไป่หุ้ย    
      Ex 31 เหอติ้ง  LI 4 เหอกู่   St 44 เน่ยติง 
      Ex 32 ซีหยาน UB 11 ต้าซู  UB 60 คุนหลุน  
      St 35 ตู๋ปี๋     
      St 36 จู๋ซานหลี่     
      GB 34 หยางหลิงกวาน     
      UB 40 เหว่ยจง    
      Ah Shi points    

      ข้อบวม

      Sp 9 หยางหลิงเฉวียน

                1.8 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)

                    ต้องใช้เวลาในการรักษาเป็นเวลานาน การใช้ยาจะค่อย ๆ ลดลง ขณะที่อาการปวดลดลง                     

Ren 6 ชี่ห่าย  LI 11 ฉวีฉือ  St 36 จู๋ซานหลี่ 
Ren 8 เซินเฉอ LI 10 ซูซานหลี่  Ki 7 ฟุเหลียว 
Ren 12 จงวาน  Lu 9 ไท่หยวน  Sp 6 ซานจินเจียว 
UB 20 ผีซู     
UB 22 ซานเจียวซู     
UB 23 เซินซู     
Du 4 มิงเหมิน     
Du 13 เท่าดาว     
Du 14 ต้าจุ้ย    

                        Influential point ที่มีผลต่อกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น GB 34 หยางหลิงกวาน มีผลดีต่อกลุ่มอาการรูมาติก UB 11 ดาซู เป็น influential point ของกระดูกและกระดูกอ่อน ในรายที่มีการอักเสบเฉียบพลัน ใช้จุด Du 14 ดาจุ้ย การรักษาในระยะยาวไม่เพียงแต่จะลดอาการปวดเท่านั้น ยังทำให้การเคลื่อนไหวของข้อดีขึ้น

                2. โรคระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Disorders)

                    โรคระบบทางเดินหายใจหลายโรคหายได้โดยการฝังเข็ม โดยเฉพาะกลุ่มอาการเรื้อรัง เช่น ไซนัสอักเสบเรื้อรัง, หลอดลมอักเสบ, หอบหืด (Bronchial asthma) การฝังเข็มมีผลดีกว่าการรักษาทั่ว ๆ ไป การรักษาในระยะยาวสามารถช่วยกระทั่งผู้ป่วยที่ดื้อต่อการรักษา ในรายที่ติดเชื้อเฉียบพลันในทางเดินหายใจส่วนต้น สามารถทุเลาลงได้ในระยะเวลาอันสั้น (ฝังเข็มเพียง 1 – 2 ครั้ง)

                    แพทย์จีนถือว่า สภาพอากาศภายนอก ได้แก่ ความเย็น, ความร้อน,ความชื้นของอากาศ และลม จะมีผลต่อพลังชีวิตของปอด ความผิดปกติของปอดก็จะเกิดขึ้น และจากจุดนี้เองเป็นส่วนสำคัญในการรักษา

      หลักการรักษา

      - Local points

      จมูก: LI 20 ยิงเซียง, Ex 1 หยินตาง
      Maxillary sinus: LI 20, St 2, St 3, SI 18 
      Frontal sinus: UB 2, GB 14, Ex 3, Ex 1
      Tonsils: Ren 23, LI 18, SI 17

       

      - Distal points ที่สำคัญต่อโรคระบบทางเดินหายใจ

      Lu 7 เลี่ยเชวีย เป็นจุดสำคัญของปอด และจีนถือว่าเป็นจุดเปิดของผิวหุ้มร่างกาย

      LI 4 เหอกู่ มีผลโดยเฉพาะบริเวณศีรษะและคอ: สามารถลดไข้และเพิ่มการขับเหงื่อ

      Lu 6 คงจุ้ย ข้อบ่งชี้ในรายที่เป็นหลอดลมอักเสบหรือหอบหืด

      SJ 5 ว่ายกวาน สามารถช่วยลดอาการที่เกิดจากความร้อน (heat-type symptoms)

      - Ren 17 ซานจง เป็น Influential point สำหรับโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคหลอดลมอักเสบและหอบหืด

      - Ex 17 ติ้งฉวน ลดอาการหอบหืด

      - Ren 22 เทียนทู ได้ผลดีมากใน อาการหอบหืดเฉียบพลัน

      - UB 17 เก๋อซู ทำให้กระบังลมคลายตัวลง การกระตุ้นที่จุดนี้จะทำให้ลดอาการไอและหายใจไม่สะดวกจากโรคหอบหืด

      - St 40 เฟิงหลง มีฤทธิ์ช่วยในการละลายเสมหะ ในกลุ่มที่มีเสมหะเหนียว (persistent and viscous mucus)

      - Du 14 ต้าจุ้ย, LI 11 ฉวีชี และ LI 4 เหอกู่ มีผลดีต่อการลดไข้

      - He 7 เซินเหมิน และ Pe 6 เน่ยกวาน มีประโยชน์ในรายที่มีภาวะวิตกกังวลเด่น (psychogenic factors)

                        2.1 ไข้หวัด (Common Cold)

                            ในทฤษฎีแพทย์จีน ไข้หวัดเกิดจากสภาพอากาศ ได้แก่ความเย็นและลม อาจเป็นจากความร้อนด้วย ทำให้ลดความแข็งแรงของพลังชีวิตปอด และภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง อาการที่พบบ่อยคือ ปวดศีรษะ, ปวดแขนขา และอ่อนเพลีย หากมีอาการไข้, กระหายน้ำ หรือเยื่อบุทางเดินหายใจแห้ง จะเป็นประเภท heat type (หยินเกิน)                            

Du 20 ไป่หุ้ย     
GB 20 เฟงชี  Lu 7 เลี่ยเชีย  Sp 10 สัวฮ่าย 
Du 14 ต้าจุ้ย  LI 4 เหอกู่  St 44 เน่ยถิง 
Du 16 เฟงฟุ  LI 11 ฉวีชี  Liv 3 ไท่จง 
  SJ 5 ว่ายกวาน  

                     จุดมุ่งหมายของการรักษา คือ การลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดพยาธิสภาพภายนอก และกระตุ้นภูมิคุ้มกันของปอด

                        2.2 ไซนัสอักเสบกระดูกแมกซิลลา (Maxillary Sinusitis)

                               การฝังเข็มจะได้ผลดีมากในรายที่เป็นเรื้อรัง และอัตราการกลับเป็นซ้ำก็จะลดลง                            

Du 20 ไป่หุ้ย     
LI 20 หยิงเซียง  LI 4 เหอกู่  Sp 10 สัวฮ่าย 
St 2 ซิไป๋  LI 11 ฉวีชี  St 44 เน่ยถิง 
St 3 จูเหลียว     
St 18 กวานเหลียว    

                        2.3 ไซนัสอักเสบกระดูกหน้าผาก (Frontal Sinusitis)

        อาการของไซนัสชนิดนี้ ได้แก่ การปวดศีรษะบริเวณหน้าผาก และอาการปวดตื้อบริเวณระหว่างหัวตาทั้งสองข้าง

        Du 20 ไป่หุ้ย     
        UB 2 ซานจู้  LI 4 เหอกู่  UB 60 คุนหลุน 
        Ex 3 อู่เหยา  LI 11 ฉวีชี  St 44 เน่ยถิง 
        Ex 1 อิ้นถาง     
        GB 14 ยางไป๋    

                        2.4 หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis)

                              ทฤษฎีแพทย์จีนจะถือว่า เป็นการขาดพลังงานของปอด ร่วมกับการขาดพลังงานของไต หรือม้าม การรักษาจึงมีพื้นฐานอยู่กับการกระตุ้นอวัยวะที่เกี่ยวข้อง และการปรับสภาพพลังงานของปอด

Du 20 ไป่หุ้ย     
Lu 1 จงฟู่  Lu 9 ไท่หยวน  St 40 เฟิงหลง 
UB 13 เฟ่ยซู  Lu 7 เลี่ยเชวีย  St 36 จู๋ซานหลี่ 
Du 14 ต้าจุ้ย    
Ren 17 ซานจง    

                                                UB 17 เก๋อซู จะช่วยลดอาการไอเรื้อรัง

                        2.5 โรคหอบหืด (Bronchial Asthma)

      การฝังเข็มจะช่วยเป็นอย่างมาก ทั้งในรายที่เป็นเฉียบพลันและเรื้อรัง ทำให้การตีบของหลอดลม (bronchospasm) ลดลง

      แบบที่ 1

      Du 20 ไป่หุ้ย     
      Ren 17 ซานจง  Lu 7 เลี่ยเชวีย St 40 เฟิงหลง 
      UB 13 เฟ่ยซู  LI 4 เหอกู่   St 36 จู๋ซานหลี่ 
      Lu 1 จงฟู่  Lu 5 ซีจี   
      Ex 17 ติงฉวน  Lu 6 คงสุ่ย (ในรายที่หายใจถี่) 
      Ren 22 เทียนทู (ในรายที่หายใจถี่) Ki 3 ไท้ซี 
      Du 14 ต้าจุ้ย (ในรายที่มีการอัเสบเฉียบพลัน)  

       

      แบบที่ 2

      Du 20 ไป่หุ้ย     
      Ren 17 ซานจง  Lu 9 ไท่หยวน  Sp 6 ซานจินเจียว 
      UB 13 เฟ่ยซู  Lu 17 เลี่ยเชวีย  Ki 3 ไท่ซี 
      Ex 17 ติงฉวน    

       

                3. โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ

                    การวินิจฉัยที่ถูกต้อง จำเป็นต้องทำก่อนการฝังเข็ม กลุ่มโรคหลอดเลือดและหัวใจ การฝังเข็มมีผลดีกับ Psychosomatic heart disorders, Hypotension, Hypertension และอาการต่าง ๆ จาก Chronic heart disease

                3.1 โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี และการเจ็บเค้นหน้าอก (Angina Pectoris)

                               ในกลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี การฝังเข็มควรใช้ร่วมกับการใช้ยา การฝังเข็มจะทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลายลง

Du 20 ไป่หุ้ย     
UB 15 สินซู  Pe 6 เน่ยกวาน   
Ren 14 จูฉวี  He 7 เซินเหมิน   
Ren 17 ซานจง  Pe 4 ซีเหมิน (ในรายที่เป็นเฉียบพลัน)

 

                3.2 Cardiac Neurosis

                             ในโรคกลุ่มนี้ จะมีภาวะทางจิตประสาทเด่น ผู้ป่วยจะมีอาการวิตกกังวล, เหนื่อยง่าย, ใจสั่น, หัวใจเต้นเร็ว, เจ็บหน้าอก หรือในบางรายมีอาการปวดต้นแขนซ้าย หลังจากการฝังเข็ม 2 – 3 ครั้ง อาการจะทุเลาลง

Du 20 ไป่หุ้ย     
Ex 6 ซิเฉินคง  He 7 เซินเหมิน  Liv 3 ไท่จง 
Ren 14 จูฉวี  He 5 ทงลี่   
Pe 1 เถียนชี  Pe 6 เน่ยกวาน
 

                 3.3 โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)

                            ตามทฤษฎีแพทย์จีน ความดันโลหิตสูงเกิดจากพลังชีวิตของเส้นปราณตับเกินและเส้นปราณไตขาด การฝังเข็มที่จุด Liv 3 ไท่จง สามารถปรับสมดุลของเส้นปราณทั้งสอง การรักษาต้องใช้ท่านอนเท่านั้น การกระตุ้นจะทำให้ฤทธิ์ของยามากขึ้น จึงจำเป็นต้องลดขนาดของยาความดันลง

Du 20 ไป่หุ้ย     
Ex 6 ซิเฉินคง   
UB 15 ซินซู  LI 11 ฉวีชี  Liv 3 ไท่จง 
GB 20 เฟงชี  He 7 เซินซู  St 36 จู๋ซานหลี่ 
    Liv 2 ซินเจียน

 

                  3.4 กลุ่มอาการความดันโลหิตต่ำ

                     โรคความดันโลหิตต่ำ มีอาการดังนี้ คือ วิงเวียน, เหนื่อย, เพลีย, สั่น หรือมือและเท้าเย็น  

UB 23 เซินซู  LI 11 ฉวีชี  St 36 จู๋ซานหลี่ 
Ren 6 ฉีห่าย  LI 10 ซูซานหลี่  Ki 7 ฟุเหลียว 
Du 12 เซินจู้     
Du 11 เซินเดา    

                  3.5 กลุ่มอาการผิดปกติของการไหลเวียนเลือดส่วนปลาย (Disturbance of Peripheral Blood Supply)

                          จุดที่ทำให้เกิดสมดุลในร่างกาย (Hemeostatic points) ได้แก่ LI 11 ฉวีชี และ St 36 จู๋ซานหลี่ ร่วมกับ Influential points ของหลอดเลือด คือ Lu 9 ไท่หยวน, Ex 28 ปาสี่ และ Ex 36 ปาเฟิง

Du 20 ไป่หุ้ย     
UB 15 สินซู  Lu 9 ไท่หยวน  GB 34 หยางหลิงกวาน 
Ren 17 ซานจง LI 11 ฉวีชี  St 36 จู๋ซานหลี่ 
  He 3 เซาห่าย  Ex 36 ปาเฟิง 
  Ex 28 ปาสี่  Liv 3 ไท่จง 
  LI 4 เหอกู่  

       

                4. โรคระบบทางเดินอาหาร (Gastroenterological Disorders)

                    โดยเฉพาะกลุ่มที่มีปัญหาทางด้านจิตประสาทร่วมด้วย (functional and psychosomatic gastroenterological disorders) จะได้ผลดีมากจากการฝังเข็ม

      จุดที่มีผลดีกับโรคในกลุ่มนี้ได้แก่

                    St 36 จู๋ซานหลี่ เป็นจุดสำคัญที่สุดสำหรับการรักษาโรคระบบทางเดินอาหาร มีการศึกษาพบว่า สามารถลดการหดเกร็งของกระเพาะและลำไส้ ซึ่งผู้ศึกษาได้ตรวจด้วยกล้องส่องกระเพาะ

      Pe 6 เน่ยกวาน มีผลดีต่อระบบทางเดินอาหารส่วนบน ช่วยลดอาการคลื่นไส้ สะอึก และอาเจียน

                4.1 กระเพาะอาหารอักเสบ และลำไส้อักเสบ (Gastritis, Gastroenteritis)
        Du 20 ไป่หุ้ย     
        Ren 12 จงวาน  Pe 6 เน่ยกวาน  St 36 จู๋ซานหลี่ 
        St 21 เหลียงเหมิน  He 7 เซินเหมิน  St 34 เหลียงเฉีย 
        St 25 เทียนชู  LI 4 เหอกู่  St 44 เน่ยถิง 
        SUB 21 เว่ยซู   LI 11 ฉวีชี   
        Liv 16 จางเหมิน    

                4.2 แผลในกระเพาะ, แผลในลำไส้ส่วนบน (Gastric and Duodenal Ulcers)
        Du 20 ไป่หุ้ย     
        St 21 เหลียงเหมิน  Pe 6 เน่ยกวาน  St 36 จู๋ซานหลี่ 
        St 25 เถียนซู  He 7 เซินเหมิน  Sp 4 กงซุน 
        Ren 12 จงวาน LI 4 เหอกู่  St 44 เน่ยถิง 
        UB 21 เว่ยซู  LI 11 ฉวีชี  Liv 3 ไท่จง 
        UB 20 ไป๋ซู     
        Sp 15 ดาเฮง     
        Liv 14 ฉีเหมิน     
        Ren 14 ฉีห่าย    

         

                4.3 ท้องร่วง (Diarrhea)
        Du 20 ไป่หุ้ย     
        St 25 เถียนซู  Pe 6 เน่ยกวาน  Sp 4 กงซุน
        UB 25 ต้าฉางซู LI 11 ฉวีชี   St 37 ซางจูสู
        St 29 กุ้ยหลาย  LI 4 เหอกู่  St 36 จู๋ซานหลี่ 
        Ren 6 กีห่าย    Sp 6 ซานจินเจียว 
        Ren 4 กวานหยวน    St 39 เสียจูซู

         

                4.4 Irritable Bowel Disease
        Du 20 ไป่หุ้ย     
        St 25 เถียนซู  LI 4 เหอกู่   St 37 ซางจูสู
        St 29 กุ้ยหลาย  LI 11 ฉวีชี  St 36 จู๋ซานหลี่ 
        Sp 15 ต้าเหิง  Pe 6 เน่ยกวาน  Sp 4 กงซุน
        UB 25 ต้าฉางซู   Sp 6 ซานจินเจียว 
        UB 20 ไป๋ซู่   
        Liv 13 จางเหมิน    

         

                4.5 ท้องผูก (Constipation)

                               เช่นเดียวกับการรักษา Irritable Bowel Disease คือเลือกจุดตามอาการที่เกี่ยวข้อง เส้นปราณลำไส้ใหญ่และกระเพาะเป็นจุดสำคัญในการรักษา SJ 6 จีกู เป็นจุดที่ได้ผลดีในรายที่มีท้องผูกเรื้อรัง

Du 20 ไป่หุ้ย     
St 25 เถียนซู  SJ 6 จีกู   St 37 ซางจูสู
Sp 15 ต้าเหิง  LI 11 ฉวีชี  St 36 จู๋ซานหลี่ 
St 29 กุ้ยหลาย  LI 4 เหอกู่  Sp 4 กงซุน
UB 25 ต้าฉางซู    

 

                4.6 โรคระบบทางเดินน้ำดี (Cholangitis, Cholecystitis, Biliary Dyskinesia, Biliary colic)

      โรคระบบทางเดินน้ำดี ได้ผลดีจากการฝังเข็มโดยเฉพาะในรายที่เป็นเรื้อรังและไม่พบพยาธิสภาพ (chronic and functional disorders) โรคกลุ่มนี้เกิดจากการเกินของพลังงานความร้อนในเส้นปราณตับและเส้นปราณถุงน้ำดี การรักษาทั้งสองเส้นปราณจึงเป็นส่วนสำคัญในการรักษาโรคกลุ่มนี้ 

      Du 20 ไป่หุ้ย     
      GB 24 หยี่หยู  LI 4 เหอกู่  GB 34 หยางหลิงกวาน 
      Liv 14 กีเหมิน  Pe 6 เน่ยกวาน  GB 37 กวางหมิง 
      UB 19 ต้านซู  LI 11 ฉวีชี  Sp 6 ซานจินเจียว 
      UB 18 กานซู    Liv 3 ไท่จง 
      St 21 เลียงเหมิน    Ex 35 ต้านนัง 
      GB 21 เจียนจิง    St 36 จู๋ซานหลี่ 
          Liv 6 จงตู้

       

                5. กลุ่มโรคจิตเวช (Mental Disturbances and Illnesses)

                    การฝังเข็มรักษากลุ่มอาการทางจิตเวชได้ถูกใช้มากขึ้นในยุโรปตะวันตกและอเมริกา การรักษาร่วมกับจิตบำบัด, สังคมบำบัด สามารถช่วยลดการใช้ยาลง จุดที่มีผลต่อการรักษาโรคทางจิตเวชได้แก่ เส้นปราณหัวใจ, เส้นปราณตูม่าย, เส้นปราณเยื่อหุ้มหัวใจ และเส้นปราณถุงน้ำดี

      จุดที่ใช้บ่อย ๆ ในกลุ่มอาการทางจิตเวช ได้แก่

      Du 20 ไป่หุ้ย       จุดบนเส้นปราณดตูม่าย 
      Ex 6 ซีเฉินคง        กระตุ้น Psychological effects 
      He 7 เซินเหมิน      เป็นจุดช่วยในการนอนหลับ
      Pe 6 เน่ยกวาน   
      UB 62 เซินม่าย   
      UB 15 สินซู  

                      การฝังเข็มได้ผลเป็นอย่างดีในรายที่เป็น Psychosomatic disorders ได้แก่ agitation หรือ exhaustion condition, นอนไม่หลับ, ซึมเศร้า, sexual disturbance, การเสพย์สารเสพติด, โรคอ้วน และอาการปวดศีรษะ ซึ่งได้รับการวิจัยจากหลาย ๆ แห่ง

                        5.1 โรคซึมเศร้า (Depression)

                        ตามทฤษฎีแพทย์จีน โรคนี้เกิดจากการขาดพลังชีวิตของเส้นปราณไต เส้นปราณเส้นนี้เกี่ยวข้องกับไต, ระบบสืบพันธุ์ อีกทั้งระบบต่อมหมวกไต ซึ่งอาจมีผลต่อโรคนี้ กลุ่มอาการนี้จะมีอาการ มือเท้าเย็น, เหนื่อยง่าย, ซีด, กิจวัตรประจำวันลดลง, อารมณ์ซึมเศร้า ในบางรายที่เป็นมากจะมีอาการเย็นบริเวณบั้นเอว, หลังด้านล่างแข็งตึง, ปวดหลังหรือปวดร้าวไปที่เท้า และบางรายอาจมีความรู้สึกทางเพศลดลง

Du 20 ไป่หุ้ย     
Ex 6 ซีเฉินคง  He 7 เซินเหมิน  Liv 3 ไท่จง 
Liv 14 กีเหมิน  Pe 6 เน่ยกวาน  GB 37 กวางหมิง 
Ren 6 กีฮ่าย  He 5 ทงลี่  Sp 6 ซานจินเจียว 
  Pe 6 เน่ยกวาน   
  LI 4 เหอกู่  

                        5.2 Agitation
        Du 20 ไป่หุ้ย     
        Ex 6 ซีเฉินคง  He 7 เซินเหมิน  Liv 3 ไท่จง 
        UB 15 สินซู   Pe 6 เน่ยกวาน  UB 62 เซินหม่าย 
          He 5 ทงลี่  GB 34 หยางหลิงกวาน

         

                        5.3 นอนไม่หลับ (Sleep Disturbances)

                                จุดสำคัญในการรักษาอาการนอนไม่หลับอยู่ที่ จุด Ex 8 อันเหมี่ยน I และ Ex 9 อันเหมี่ยน II ซึ่งอันเหมี่ยนในภาษาจีน แปลว่า “นอนหลับดี” หลังจากการฝังเข็ม 2-3 ครั้ง ยาที่ผู้ป่วยได้รับอยู่จะลดลง และหยุดการกินยาในที่สุด

Du 20 ไป่หุ้ย     
Ex 6 ซีเฉินคง  He 7 เซินเหมิน  UB 62 เซินหม่าย 
Ex 8 อันเหมี่ยน I Pe 6 เน่ยกวาน  Sp 6 ซานจินเจียว 
Ex 9 อันเหมี่ยน II He 5 ทงลี่  Liv 3 ไท่จง 
Ex 1 อิ้นถาง    

                        5.4 การติดสารเสพย์ติด

                              การรักษาการใช้สารเสพย์ติดได้เริ่มใช้การฝังเข็มในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มที่ติดฝิ่น โดยประสาทศัลยแพทย์ ในฮ่องกงช่วง ปี พ.ศ. 2500 – 2510 พบว่าผู้ป่วยไม่มีอาการถอนยาในระยะแรกของการหยุดใช้ฝิ่น ในระยะแรกยังไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่พบ ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 พบว่าเกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับเอนดอร์ฟินในกระแสเลือด อย่างไรก็ตามความสำเร็จในการรักษาขึ้นอยู่กับจิตบำบัด และสิ่งแวดล้อมต่างของผู้ป่วย

                                มีการศึกษาในสหรัฐอเมริกา ได้รักษาผู้ป่วยติดเฮโรอีนและโคเคน ที่โรงพยาบาลลินคอล์น, นิวยอร์ค พบว่าในผู้ป่วย 250 คนที่ได้รับการฝังเข็มวันละ 1 ครั้ง ร้อยละ 60-68 หยุดการใช้ยา (จากการตรวจปัสสาวะ) ซึ่งปัจจุบันได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก

ทั้งจุดฝังเข็ม ที่ลำตัวและจุดจำเพาะที่ใบหู ใช้เป็นจุดฝังเข็มในการรักษาการติดสารเสพย์ติด จุดเซินเหมิน,จุดหัวใจ และจุดไต ที่ใบหู ได้ผลดีมาก

        บางแห่งใช้เพียงจุดที่ใบหูเท่านั้น จุดเซินเหมิน, จุดหัวใจ, จุดตับ, จุดไต และจุด Sympathicus

        Du 20 ไป่หุ้ย     
        Du 14 ต้าจุ้ย  He 7 เซินเหมิน  St 36 จู๋ซานหลี่ 
        จุดใบหู 55 เซินเหมิน  Pe 6 เน่ยกวาน  GB 34 หยางหลิงกวาน 
        จุดใบหู 100 หัวใจ  LI 4 เหอกู่  Liv 3 ไท่จง 
        จุดใบหู 98 ตับ  SJ 5 ว่ายกวาน   
        จุดใบหู 95 ไต     
        จุดใบหู 17 sympathicus    

         

                        5.5 ติดสุรา

                            การฝังเข็ม ร่วมกับการให้ยา รวมทั้งสภาพสังคม ก็มีผลต่อการหายของผู้ป่วย อวัยวะที่ถูกรบกวนจากการติดสุรา คือ กระเพาะ-ไต และ ตับ-ถุงน้ำดี จุดบนเส้นปราณหัวใจมีส่วนช่วยทำให้ผู้ป่วยสงบลง ร่วมกับจุดเฉพาะที่หูที่ช่วยลดอาการถอนสุรา

        Du 20 ไป่หุ้ย     
        Ren 12 จงวาน  He 7 เซินเหมิน  St 36 จู๋ซานหลี่ 
        Liv 13 จางเหมิน  Pe 6 เน่ยกวาน  GB 34 หยางหลิงกวาน 
        Liv 14 กีเหมิน    Liv 3 ไท่จง 
        จุดใบหู 55 เซินเหมิน     
        จุดใบหู 84 ปาก     
        จุดใบหู 87 กระเพาะ     
        จุดใบหู 98 ตับ     
        จุดใบหู 17 sympathicus    

                        5.6 การติดสารนิโคติน

                               การฝังเข็มได้ผลดีมากในผู้ป่วยที่ต้องการอดบุหรี่ อาการอดบุหรี่ ได้แก่ กระสับกระส่าย, หงุดหงิด, หิวจัด, อยากสูบบุหรี่, เหงื่อออก และใจสั่น สามารถบรรเทาด้วยการฝังเข็ม เช่นเดียวกับการติดสารเสพย์ติดต่าง ๆ แรงกระตุ้นภายในผู้ป่วยเองเป็นจุดสำคัญของความสำเร็จ หลังจากผู้ป่วยเริ่มลดการสูบบุหรี่ จะได้รับการรักษา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ประมาณ 4-5 ครั้ง

Du 20 ไป่หุ้ย     
Ex 6 ซีเฉินคง  He 7 เซินเหมิน 
Liv 13 จางเหมิน  Pe 6 เน่ยกวาน 
จุดใบหู 55 เซินเหมิน     
จุดใบหู 101 ปอด     
จุดใบหู 87 กระเพาะ     
จุดใบหู 91 ลำไส้ใหญ่(ในรายที่มีอาการหิวจัด หรือท้องผูก) 
จุดใบหู 17 sypatethicus    

 

                        5.7 โรคอ้วน และน้ำหนักลด

                              การฝังเข็มสามารถลดอาการหิวมากผิดปกติ เนื่องจากการแพทย์จีนถือว่า ผู้ป่วยโรคอ้วนมักเป็นกลุ่มที่มีการขาดพลังงานในเส้นปราณกระเพาะ-ม้าม ในบางรายมีการเกี่ยวเนื่องถึงเส้นปราณไต

                              การรักษาโรคอ้วนจะได้ผลต่อเมื่อผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการควบคุมอาหาร และระหว่างที่ให้การรักษาผู้ป่วยต้องดื่มน้ำวันละ 3-4 ลิตรต่อวัน หลังจากการควบคุมอาหารผู้ป่วยจะสามารถเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยการกินและการเลือกอาหารที่จำเป็นได้ง่ายกว่าเดิม การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการควบคุมอาหารจะเป็นผลดีต่อการรักษาระยะยาว การฝังเข็มจะทำ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ และใช้เวลาประมาณ 6-8 ครั้ง

Du 20 ไป่หุ้ย     
Ren 12 จงวาน  He 7 เซินเหมิน  St 36 จู๋ซานหลี่ 
จุดใบหู 55 เซินเหมิน Pe 6 เน่ยกวาน  Liv 3 ไท่จง 
จุดใบหู 87 กระเพาะ     
จุดใบหู 84 ปาก     
จุดใบหู 17 sypatethicus    

 

                        6. กลุ่มโรคทางประสาทวิทยา (Neurological Disorders)

                              การฝังเข็มได้ผลดีต่อโรคไมเกรน, ปวดศีรษะเรื้อรัง และการปวดประสาทสามแฉก (Trigeminal Neuralgia) การฝังเข็มจะดีกว่าการรักษาวิธีอื่น พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคปวดศีรษะหรือไมเกรน ร้อยละ 30 ได้รับการฝังเข็ม การรักษากลุ่มโรคเหล่านี้ได้แพร่หลายในประเทศตะวันตก แม้แต่ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต ก็สามารถทำให้เคลื่อนไหวได้มากขึ้น นอกจากนี้กลุ่มผู้ป่วยชัก สามารถลดอาการชัก และลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำลง

                        6.1 โรคปวดศีรษะและไมเกรน

                              อาการปวดศีรษะเรื้อรังเกิดจากการอุดตันการไหลเวียนของพลังชีวิตของศีรษะ การปวดศีรษะเรื้อรังส่วนใหญ่เกิดจากอวัยวะภายใน และเส้นปราณ มากกว่าสภาพอากาศภายนอก จุดปวดเป็นสิ่งสำคัญในการวางแผนการรักษา ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้

        อาการปวดศีรษะตามแนวเส้นปราณถุงน้ำดี

                              จะปวดบริเวณ GB 14 หน้าผากบริเวณเหนือตา การปวดนี้จะปวดบริเวณที่เชื่อมต่อระหว่าง เส้นปราณซานจินเจียวและถุงน้ำดี จึงมีชื่อเรียกว่า การปวดศีรษะแบบเซาหยาง (Shao-Yang type headache) ซึ่งร้อยละ 40-50 ของอาการปวดศีรษะ

Du 20 ไป่หุ้ย     
Ex 6 ซีเฉินคง     
GB 14 หยางไป๋  SJ 5 ว่ายกวาน  GB 41 หลิงกี 
GB 20 เฟงชี  LI 4 เหอกู่  GB 37 กวางหมิง 
GB 8 ไซกู  SJ 3 จงจู  St 44 เน่ยติง 
    Liv 3 ไท่จง

 

        ปวดศีรษะบริเวณขมับ

        ซึ่งส่วนใหญ่ที่ปวดจะอยู่ตรงจุด St 8 ตูเว่ย สัมพันธ์กับเส้นปราณกระเพาะ

        Du 20 ไป่หุ้ย     
        St 8 โถ่วเหว่ย  LI 4 เหอกู่  St 44 เน่ยติง 
        GB 4 หันยาน  LI 11 ฉวีชี  St 36 จู๋ซานหลี่ 
        St 7 เซียกหนาน    

         

        ปวดศีรษะตามแนวเส้นปราณกระเพาะปัสสาวะ

        ส่วนใหญ่จะปวดที่จุด UB 2 ซานจู้ (อยู่ระหว่างคิ้ว) หรือ UB 10 เถียนจู้ (บริเวณคอ)

        Du 20 ไป่หุ้ย     
        UB 2 ซานจู้  SI 3 ฮูสี  UB 60 คุนหลุน 
        UB 10 เถียนจู้  LI 4 เหอกู่  UB 67 จี้หยิน

         

        ปวดศีรษะบริเวณกลางกระหม่อม

        บริเวณจุด Du 20 ไป่หุ้ย เป็นจุดที่ปวดบ่อย สัมพันธ์กับเส้นปราณตับ

        Du 20 ไป่หุ้ย     
        Ex 6 ซีเฉินคง  LI 4 เหอกู่  Liv 3 ไท่จง 
        Liv 14 กีเหมิน  SJ 6 ว่ายกวาน Liv 2 สิงเจียน 
            GB 34 หยางหลิงกวาน

         

                        6.2 อาการปวดประสาทสามแฉก (Trigeminal Neuralgia)

                              เกิดจากการอุดตันพลังชีวิตจากความเย็น, ความร้อน และลม ช่วยกันทำให้มีการรบกวนพลังชีวิตของเส้นปราณตับและกระเพาะ ทำให้เกิดอาการปวดแสบร้อน หรือปวดตื้อ บางครั้งอาจมีอาการปวดเป็นพัก ๆ , ปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว หรือในบางรายอาจปวดมากเมื่อถูกลมพัดบริเวณใบหน้า การรักษาจะใช้เข็มประมาณ 10 –12 เล่ม ฝังในด้านตรงข้ามกับที่มีอาการ และกระตุ้นด้วยมือ เพื่อเป็นการบรรเทาอาการ (sedative effects) จุด distal point สำคัญที่ช่วยได้ คือ LI 4 เหอกู่

                            ในรายที่เป็นรุนแรงและเป็นครั้งแรก จะได้รับการรักษาวันละ 1 ครั้ง ใช้เวลา 30 – 60 นาทีต่อครั้ง ในรายที่เป็นรุนแรงควรจะฝังเข็มด้านตรงกันข้ามกับที่เกิดอาการ เนื่องจากหากฝังเข็มในข้างที่มีอาการ อาจทำให้อาการปวดเพิ่มมากขึ้น หลังจากอาการปวดพอทุเลาลง จึงค่อยฝังเข็มด้านที่เป็นด้วยเข็มเพียง 2-3 เล่ม แล้วค่อย ๆ เพิ่มจำนวนเข็มขึ้น อาการปวดจะลดลงหลังจากการฝังเข็ม 4-5 ครั้งแรก จากระยะนี้ทำต่ออีก 15-20 ครั้ง จะทำให้อาการปวดหายไปได้หลายปี หากมีอาการเกิดขึ้นอีกก็เริ่มการรักษาใหม่

        ปวดบริเวณรอบ ๆ ตา (V 1)

        Du 20 ไป่หุ้ย     
        GB14 หยางไป๋  LI 4 เหอกู่  St 44 เน่ยติง 
        Ex 2 ไท่หยาง  SJ 6 ว่ายกวาน Liv 3 ไท่จง 
        UB 2 ซานจู้    St 36 จู๋ซานหลี่ 
        Ex 1 อิ้นถาง    

         

        ปวดบริเวณกระดูกแมกซิลล่า (V 2)

        Du 20 ไป่หุ้ย     
        St 2 ซิไป๋  LI 4 เหอกู่  St 44 เน่ยถิง
        St 3 จูเหลียว  SJ 6 ว่ายกวาน Liv 3 ไท่จง 
        SI 18 กวานเหลียว SI 3 หูซี  St 36 จู๋ซานหลี่ 
        Du 26 เยิ่นจง     
        St 7 เซี๊ยะกวาน     
        LI 20 หยิงเซียง    

         

        อาการปวดบริเวณกราม

        Du 20 ไป่หุ้ย     
        St 4 ตี้คัง  LI 4 เหอกู่  St 44 เน่ยถิง
        St 6 เจียเฉอ SJ 6 ว่ายกวาน Liv 3 ไท่จง 
        St 7 เซี๊ยะกวาน     
        Ren 24 เชงเจียง     
        Ex 5 เจียเชงเจียง    

         

                        6.3 อัมพาต

                             การรักษาในคลินิคฝังเข็มในประเทศจีนโดยส่วนใหญ่เป็นโรคนี้ พยากรณ์ของโรคหลอดเลือดสมองจะดีกว่า กลุ่มที่เป็นจากอุบัติเหตุ การฝังเข็มสามารถช่วยลดอาการเกร็งจากอัมพาตได้ถึงร้อยละ 30 ของผู้ป่วย การรักษาผู้ป่วยในระยะแรกที่เป็นจะให้ผลดีมาก แม้ในรายที่เป็นมานาน สามารถช่วยทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นเช่นกัน

                            การรักษาจะใช้การฝังเข็มประมาณ 2-3 รอบ โดยแต่ละรอบการรักษา จะฝังเข็ม 10-12 ครั้ง หากรอบแรกของการรักษาไม่ไดผลเท่าที่ควร อาจต้องใช้การฝังเข็มที่ศีรษะ (Scalp Acupuncture) เป็นการเสริมการรักษา

         

        อัมพาตที่แขน

        Du 20 ไป่หุ้ย     
        Ex 6 ซีเฉินคง  LI 15 เจียนหยู  GB 34 หยางหลิงกวาน 
          LI 11 ฉวีชี   
          LI 10 ซูซานหลี่   
          LI 4 เหอกู่   
          Ex 28 ปาสี่   
          SJ 14 เจียนเหลียว   
          SJ 5 ว่ายกวาน   
          SJ 3 จงจู้  

        อัมพาตที่ขา

        Du 20 ไป่หุ้ย  LI 4 เหอกู่  St 32 ฟูทู ที่ต้นขา 
        Ex 6 ซีเฉินคง  LI 11 ฉวีชี  St 36 จู๋ซานหลี่ 
        St 31 ไป่กวาน     St 40 เฟงหลง 
            St 41 ไจ๋สี่ 
            St 44 เน่ยถิง
            Ex 36 ป่าเฟิง 
            GB 30 ฮวนเตียว 
            GB 34 หยางหลิงกวาน 
            GB 37 กวางหมิง G
            B 40 กิวสู่ 
            Liv 3 ไท่จง

         

                        6.4 อัมพาตใบหน้า (Facial Paresis, Bell’s Palsy)

                              ในผู้ป่วย Bell’s palsy การกระตุ้นด้วยมือจะช่วยได้มาก

                              การใช้ไฟฟ้ากระตุ้นด้วยความถี่ต่ำ ๆ ประมาณ 3-10 เฮิร์ทส์ การกระตุ้น local point ทำในด้านที่เป็น ส่วนการกระตุ้น distal point สามารถกระตุ้นได้ทั้งสองข้าง

Du 20 ไป่หุ้ย     
Ex 6 ซีเฉินคง  LI 4 เหอกู่  GB 34 หยางหลิงกวาน 
St 31 ไป่กวาน   LI 11 ฉวีชี  St 36 จู๋ซานหลี่ 
GB14 หยางไป๋     
Ex 2 ไท่หยาง     
St 2 ซิไป๋     
St 3 จูเหลียว     
St 4 ตี้คัง     
St 5 ต้าหยิง    
St 7 เสียกวาน    
SI 18 กวานเหลียว     
Ex 5 เจียเชงเจียง    

 

                        6.5 ลมชัก (Epilepsy)

      การฝังเข็มมีผลระงับชักเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในรายที่เป็นเฉียบพลัน การฝังเข็มหรือการกดจุดจะทำให้อาการชักลดลง ในขณะชักอยู่ การฝังเข็มที่จุด Du 26 เยิ่นจง จะได้ผลเป็นอย่างมาก ต่อผู้ป่วยถึงร้อยละ 80-90 ในรายที่เร่งด่วน เราสามาถใช้เข็มฉีดยาแทน

      การรักษาเมื่อมีอาการชัก ฝังที่จุด Du 26 เยิ่นจง

      การรักษาเมื่อไม่มีอาการลมชัก

      Du 20 ไป่หุ้ย     
      Ex 6 ซีเฉินคง  He 7 เซินเหมิน Ki 1 ยงกวาน
      Ex 1 อิ้นถาง  Pe 6 เน่ยกวาน UB 62 เซินหม่าย 
      Du 26 เยิ่นจง  LI 4 เหอกู่  GB 34 หยางหลิงกวาน 
          Liv 3 ไท่จง

       

       

                7. โรคทางนรีเวชกรรม

      อวัยวะสืบพันธุ์จะเกี่ยวข้องกับเส้นปราณไต อีกทั้งตับก็มีส่วนสำคัญเนื่องจากผ่านอวัยวะสืบพันธุ์

                7.1 ปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea)
        Du 20 ไป่หุ้ย     
        Ren 3 จงจี  LI 4 เหอกู่  Ki 1 ยงกวาน
        Ren 6 กีฮ่าย  He 7 เซินเหมิน Sp 10 สุฮ่าย 
        Ren 4 กวานหยวน    Liv 3 ไท่จง 
        St 29 กุ้ยหลาย    St 36 จู๋ซานหลี่

         

                7.2 อาการปวดจากเนื้องอกทางนรีเวช

                        การฝังเข็มมีฤทธิ์ระงับปวดได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกับอาการปวดจากเนื้องอกบริเวณอุ้งเชิงกราน ซึ่งการฝังเข็มจะดีกว่าการใช้ยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์แรง ในรายที่ปวดมากการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นจะได้ผลมาก

        Du 20 ไป่หุ้ย     
        Ren 4 กวานหยวน  LI 4 เหอกู่  Sp 6 ซานจินเจียว 
        Du 3 เหยาหยางกวาน  LI 11 ฉวีชี  St 44 เน่ยถิง 
        UB 23 เซินซู    Liv 3 ไท่จง 
        UB 25 ต้าฉางซู    

                7.3 การระงับปวดระหว่างการคลอด

                    การฝังเข็มสามารถระงับปวดระหว่างคลอด อีกทั้งทำให้ระยะเวลาในการคลอดลดลง ในรายที่การหดตัวของมดลูกไม่ดี สามารถเพิ่มการหดตัวได้

                    Local point อยู่บริเวณท้องส่วนล่าง หรือที่หลังร่วมกับการฝังเข็มที่ distal point สำหรับ distal point จะอยู่ที่ Sp 6 ซานจินเจียว และเน่ยมา ด้านในของขา โดยฝังเข็มเพียงขาข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้นที่จะไม่กีดขวางผู้ทำคลอด

      Du 20 ไป่หุ้ย     
      Ex 6 ซีเฉินคง  LI 4 เหอกู่  Sp 6 ซานจินเจียว 
      Ren 4 กวานหยวน  He 7 เซินเหมิน  เน่ยมา 
      Du 2 เหยาซู    Liv 3 ไท่จง 
      Du 6 จี้จง    St 36 จู๋ซานหลี่ 
      GB 21 เจียนจิง   UB 67 จี้หยิน

การกระตุ้นไฟฟ้าจะสามารถระงับอาการปวดระหว่างคลอดได้เป็นอย่างดี

       

                8. โรคผิวหนัง

                    โรคผิวหนังที่สามารถรักษาโดยการฝังเข็มได้แก่ สิว, งูสวัด, เรื้อนกวาง, ผื่นคัน อาการโรคผิวหนัง ส่วนใหญ่มักสัมพันธ์กับเส้นปราณปอดและลำไส้ใหญ่ การรักษาจึงใช้จุดตามเส้นปราณทั้งสองเป็นสำคัญ

หลักการรักษา

    1. เลือกจุดรอบ ๆ รอยโรค แต่ไม่ควรฝังเข็มภายในบริเวณรอยโรค โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นแผล
    2. จุดบนเส้นปราณปอด เนื่องจากผิวหนังมีความสัมพันธ์กับเส้นปราณปอด
    3. จุด Sp 10 สูฮ่าย มีฤทธิ์ลดอาการแพ้ (antiallergic properties)
    4. จุด Du 14 ต้าจุ้ย และ Sp 6 ซานจินเจียว มีฤทธิ์ลดการอักเสบและกระตุ้นระบบภูมิค้มกัน
    5. จุด LI 11 ฉวีชี เป็นจุดที่ทำให้เกิดสมดุลและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน (Homeostatic and immune-enhancin properties)
    6. จุด Lu 9 ไท่หยวน เป็น influential point สำหรับระบบหลอดเลือด

 

                    8.1 สิว (Acne Vulgaris)

      การรักษาสิว การเลือกจุดฝังเข็มจะดูตามจุดฝังเข็มที่ใกล้เคียงกับบริเวณที่มีสิว และ distal point ที่เส้นปราณเส้นที่เกี่ยวข้องพาดผ่าน ในที่นี้จะกล่าวถึงสิวที่ใบหน้าและแผ่นหลัง

      สิวที่ใบหน้า

      Du 20 ไป่หุ้ย     
      St 3 จูเหลียว  LI 4 เหอกู่  St 36 จู๋ซานหลี่ 
      St 5 ต้ายิง  LI 11 ฉวีชี  Sp 10 สูฮ่าย 
      St 6 เจียเชอ  Lu 7 เลี่ยเชีย  Sp 6 ซานจินเจียว 
      St 7 เสียกวาน  Pe 4 สีเหมิน  
      Local points    

      สิวที่แผ่นหลัง

      Du 20 ไป่หุ้ย     
      Du 14 ต้าจุ้ย  LI 11 ฉวีชี  St 36 จู๋ซานหลี่ 
      Du 12 เซินจู้    Lu 7 เลี่ยเชีย  UB 60 คุนหลุน
      UB 13 เฝ่ยซู    Sp 10 สูฮ่าย 
      Local points    

                    8.2 แผลเรื้อรัง

                        ในรายที่ได้รับรังสีรักษา แล้วเกิดแผลเรื้อรัง ผลการรักษาจะได้ผลดีมาก ภายในระยะเวลา 2-3 วัน เนื้อเยื่อใหม่จะเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว บางรายใช้เวลาเป็นแรมปีจึงหาย

                        Local points: จุดที่เหนือและใต้ต่อแผล, จุดที่เส้นปราณนั้น ๆ พาดผ่าน หรือจุดที่อยู่ด้านตรงข้ามกับแผลที่เป็น เช่นเป็นแผลที่ต้นขาขวา ก็ฝังเข็มที่ต้นขาซ้ายบริเวณที่ตรงกันข้ามกับแผล

Du 20 ไป่หุ้ย  Lu 9 ไท่หยวน  Sp 6 ซานจินเจียว 
Du 14 ต้าจุ้ย  Lu 7 เลี่ยเชีย   
  LI 11 ฉวีชี  

       

                    8.3 ผื่นคัน, ผิวหนังอักเสบ (Eczema, Neurodermatitis)

      อาการเหล่านี้เกิดจากการขาดพลังงานหยินของเส้นปราณปอด การรักษาผื่นคันจะกระตุ้นที่จุดบนเส้นปราณปอดและเส้นปราณลำไส้ใหญ่

      Du 20 ไป่หุ้ย     
      Du 14 ต้าจุ้ย  LI 11 ฉวีชี Sp 10 สูฮ่าย 
      จุดที่ใกล้เคียงบริเวณที่เป็น He 7 เซินเหมิน  Sp 6 ซานจินเจียว 
        LI 4 เหอกู่  St 36 จู๋ซานหลี่ 

                    8.4 โรคเรื้อนกวาง (Psoriasis)

                        ในอาการนี้ การรักษาต้องใช้เวลานาน โดยส่วนใหญ่ใช้เวลา 2-4 รอบการรักษา โดยแต่ละรอบจะทำการฝังเข็ม 10-12 ครั้ง

Du 20 ไป่หุ้ย     
จุดที่ใกล้เคียงบริเวณที่เป็น LI 11 ฉวีชี Sp 10 สูฮ่าย 
  Lu 5 ชีเจ๋อ  Sp 6 ซานจินเจียว 
  Lu 7 เลี่ยเชีย  St 36 จู๋ซานหลี่ 

 

                    9. การฝังเข็มในทางทันตกรรม

                        การประยุกต์การฝังเข็มในประเทศไทยนั้นยังไม่เป็นที่ทราบและแพร่หลาย ทั้ง ๆ ที่มีการค้นคว้าและทดลองในประเทศต่าง ๆ ทั้งภาคคลินิกและทฤษฎีสรีรวิทยาเพื่ออธิบายปรากฎการณ์การระงับปวด และการรักษาโรคกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากการใช้การฝังเข็มในทางทันตกรรมมีข้อดีและข้อจำกัดหลายด้าน ในที่นี้จึงเสนอเรื่องที่น่าสนใจ เพื่อเป็นแนวทางในการค้นคว้าและเลือกใช้ในภาวะจำเป็น

                    9.1 การฝังเข็มชาถอนฟัน

                          การฝังเข็มชา (Acupuncture Anesthesia) ปัจจุบันได้รับการนำมาใช้ในการผ่าตัดบางอย่างของแผนกศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า นอกจากใช้ในการถอนฟันแลล้ว ยังใช้ในการระงับปวดในการผ่าตัดกระดูกขากรรไกร, การผ่าตัดบริเวณต่อมน้ำลายพารอติค, ริมฝีปาก, แก้ม และบริเวณเพดานปาก เป็นต้น อย่างได้ผลมาแล้ว

                          ในการเลือกจุกฝังเข็มนั้น ให้พิจารณาในตำแหน่งซี่ฟันที่จะถอน แล้วเลือกจุดฝังเข็มด้านเดียวกับฟัน เช่น ถอนข้างขวสก็เลือกจุดข้างขวา ดังตารางข้างล่างต่อไปนี้ ส่วนการกระตุ้นเข็มนั้น อาจจะใช้การกระตุ้นด้วยมือ หรือใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าก็ได้ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติ

        ฟันที่จะถอน

        จุดที่เลือกใช้

        จุดร่วมที่ต้องใช้ทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นฟันบนหรือฟันล่าง

        LI 4 เหอกู่ หรือแทงจุด LI 4 เหอกู่ ทะลุไปถึง จุด Pe 8

        ฟันหน้าบน

        Du 26 หยินจง, SI 18 เฉวียนเหลียว, LI 3 จุดซานเจียน แทงทะลุไปยังจุด LI 4 เหอกู่

        ฟันกรามน้อยบน

        SI 18 เฉวียนเหลียว, LI 3 จุดซานเจียน แทงทะลุไปยังจุด LI 4 เหอกู่

        ฟันกรามบน

        St 7 เซี่ยกวาน, SI 18 เฉวียนเหลียว, LI 3 จุดซานเจียน แทงทะลุไปยังจุด LI 4 เหอกู่

        ฟันหน้าล่าง

        Ren 24 เฉิงเจียง, LI 3 จุดซานเจียน แทงทะลุไปยังจุด LI 4 เหอกู่

        ฟันกรามน้อยล่าง

        St 5 ต้าหยิง, LI 3 จุดซานเจียน แทงทะลุไปยังจุด LI 4 เหอกู่

        ฟันกรามล่าง

        Ren 24 เฉิงเจียง, St 7 เซี่ยกวาน, St 6 เจี๋ยเชอ, LI 3 จุดซานเจียน แทงทะลุไปยังจุด LI 4 เหอกู่

         

        ฟันที่ถอน

        โรคของฟันที่ถอน

        จุดที่เลือกใช้

        เหอกู่

        LI 4

        ซานเจียน LI 3

        เหยินจง DU26

        หยิงเซียง LI 20

        ซื่อไป๋ St 2

        เฉวียนเหลียว SI 18

        เซี่ย กวาน St 7

        เจี๋ยเชอ St 6

        เฉิงเจียว Ren24

        เจี่ยเฉิงเจียง Ex 35

        # 21

        Periodontitis

        X

        X

        X

        X

        X

                 

        # 12

        Chronic dentoalveolar abscess

        X

        X

        X

        X

        X

                 

        # 13

        ”

        X

        X

        X

        X

        X

        X

               

        # 13, # 14

        ”

        X

        X

        X

        X

        X

        X

        X

             

        # 16

        ”

        X

        X

               

        X

        X

           

        # 17

        ”

        X

        X

               

        X

        X

           

        # 24

        ”

        X

        X

             

        X

        X

        X

           

        # 26, # 27

        ”

        X

        X

               

        X

        X

           

        # 27

        ”

        X

        X

               

        X

        X

           

        # 43, # 33

        # 32, # 33

        ”

        X

        X

                 

        X

        X

        X

        # 44, # 45

        ”

        X

        X

               

        X

        X

        X

         

        # 46, # 47

        # 36, # 37, # 38

        ”

        X

        X

               

        X

        X

        X

         

        # 37

        ”

        X

        X

                 

        X

        X

        X

        # 38

        ”

        X

        X

               

        X

        X

        X

         

        X คือจุดที่ใช้ในการฝังเข็ม

                        9.2 การฝังเข็มระงับอาการเจ็บจาการขูดหินน้ำลาย

                                การขูดหินน้ำลายใต้เหงือกด้วยเครื่องอุลต้าโซนิค (Ultasonic Scaler) มักทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บไม่มากก็น้อย เพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว อาจพิจารณาใช้เข็มแทงที่จุด LI 11 ฉวีชีและ LI 4 เหอกู่ ทั้งสอข้าง กระตุ้นก่อนขูดประมาณ 10 นาที

 
 

Webmaster

Hosted by www.Geocities.ws

1